ASTVผู้จัดการรายวัน-ราคาน้ำตาลทรายตลาดโลกสวนเศรษฐกิจโลกซบ วิ่งแตะระดับ 14-15 เซนต์ต่อปอนด์และน่าจะทรงตัวระดับนี้ตลอดทั้งปี เหตุอินเดียกลายเป็นผู้นำเข้าแทนส่งออก เผยส่งสัญญาณด้านบวกราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 2551/52 จะสูงกว่าขั้นต้นและราคาอ้อยขั้นต้นปี 2552/53 จะไม่ต่ำกว่า 800 บาทต่อตัน
นายวิบูลย์ ผานิตวงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ไทยซูการ์ มิลเลอร์ จำกัด เปิดเผยว่า มีแนวโน้มว่าราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2552/53 จะสูงในระดับไม่ต่ำกว่า 800 บาทต่อตัน เนื่องจากประเมินว่าราคาน้ำตาลตลาดโลกน่าจะทรงตัวในระดับสูง 14-15 เซนต์ต่อปอนด์ หลังจากที่หลายประเทศประสบกับปัญหาภัยธรรมชาติจนทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง โดยเฉพาะอินเดีย จีน และยุโรป ส่งผลให้ประเทศเหล่านี้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
“ปัจจุบันราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกขยับมาอยู่ในระดับ 14-15 เซนต์ต่อปอนด์ ซึ่งเราเห็นสัญญาณตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เพราะอินเดียเป็นตัวแปรสำคัญในการผลักดันราคาน้ำตาลตลาดโลก เพราะเดิมเคยเป็นผู้ส่งออกได้กลายเป็นผู้นำเข้าคาดว่าปีนี้จะต้องนำเข้าสูง 3-4 ล้านตัน เพราะอินเดียเจอปัญหาภัยแล้ง และเกษตรกรหันไปปลูกข้าวสาลีแทน ขณะที่ประเทศส่งออกรายใหญ่อย่างบราซิลก็ยังคงปกติไม่ได้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งหากเศรษฐกิจไม่ชะลอตัวราคาอาจขยับสูงกว่านี้”นายวิบูลย์กล่าว
ผลพวงจากราคาตลาดโลกขยับสูงจึงทำให้ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 2551/52 สูงกว่าขั้นต้นโดยคาดว่าน่าจะอยู่ในระดับ 860-870 บาทต่อตัน อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าเสียดายที่ผลผลิตอ้อยปีนี้จากการหีบอ้อยล่าสุดปริมาณอ้อยต่ำกว่าที่คาดไว้ค่อนข้างมากโดยมีผลผลิตอ้อยเพียง 66 ล้านตันขณะที่เคยมองกันว่าสูงถึง 73 ล้านตันเนื่องจากเจอภัยแล้งช่วงหนึ่ง ประกอบกับมีการหันไปปลูกพืชอื่นแทนส่วนหนึ่งแต่คาดว่าผลผลิตฤดูหน้าจะมีเพิ่มขึ้น
นายวิบูลย์กล่าวว่า สำหรับกรณีฟิลิปปินส์ขอชะลอการเปิดเสรีสินค้าน้ำตาลภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ออกไปนั้น ได้ทำหนังสือไปยังกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศแล้ว เพื่อให้มีการเจรจากับรัฐบาลฟิลิปปินส์ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงการลดภาษีนำเข้าสินค้าน้ำตาล และไม่เห็นด้วยหากฟิลิปปินส์จะมีการเจรจาขอชดเชยนำเข้าสินค้าชนิดอื่นแทนเพื่อแลกกับการชะลอการเปิดตลาดสินค้าน้ำตาล
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(บอร์ดกท.) กล่าวว่า ราคาน้ำตาลตลาดโลกที่อยู่ระดับ 14-15 เซนต์ต่อปอนด์ ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อฐานะกองทุนฯ ซึ่งมีภาระหนี้เงินกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ปัจจุบัน 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งกรอบการใช้หนี้ตามแผน คาดว่าหากไม่มีการกู้เพิ่มจะทำให้หนี้ก้อนดังกล่าวหมดลงตามที่กำหนดไว้ในช่วงไม่เกินกลางปี 2553
นายวิบูลย์ ผานิตวงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ไทยซูการ์ มิลเลอร์ จำกัด เปิดเผยว่า มีแนวโน้มว่าราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2552/53 จะสูงในระดับไม่ต่ำกว่า 800 บาทต่อตัน เนื่องจากประเมินว่าราคาน้ำตาลตลาดโลกน่าจะทรงตัวในระดับสูง 14-15 เซนต์ต่อปอนด์ หลังจากที่หลายประเทศประสบกับปัญหาภัยธรรมชาติจนทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง โดยเฉพาะอินเดีย จีน และยุโรป ส่งผลให้ประเทศเหล่านี้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
“ปัจจุบันราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกขยับมาอยู่ในระดับ 14-15 เซนต์ต่อปอนด์ ซึ่งเราเห็นสัญญาณตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เพราะอินเดียเป็นตัวแปรสำคัญในการผลักดันราคาน้ำตาลตลาดโลก เพราะเดิมเคยเป็นผู้ส่งออกได้กลายเป็นผู้นำเข้าคาดว่าปีนี้จะต้องนำเข้าสูง 3-4 ล้านตัน เพราะอินเดียเจอปัญหาภัยแล้ง และเกษตรกรหันไปปลูกข้าวสาลีแทน ขณะที่ประเทศส่งออกรายใหญ่อย่างบราซิลก็ยังคงปกติไม่ได้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งหากเศรษฐกิจไม่ชะลอตัวราคาอาจขยับสูงกว่านี้”นายวิบูลย์กล่าว
ผลพวงจากราคาตลาดโลกขยับสูงจึงทำให้ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 2551/52 สูงกว่าขั้นต้นโดยคาดว่าน่าจะอยู่ในระดับ 860-870 บาทต่อตัน อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าเสียดายที่ผลผลิตอ้อยปีนี้จากการหีบอ้อยล่าสุดปริมาณอ้อยต่ำกว่าที่คาดไว้ค่อนข้างมากโดยมีผลผลิตอ้อยเพียง 66 ล้านตันขณะที่เคยมองกันว่าสูงถึง 73 ล้านตันเนื่องจากเจอภัยแล้งช่วงหนึ่ง ประกอบกับมีการหันไปปลูกพืชอื่นแทนส่วนหนึ่งแต่คาดว่าผลผลิตฤดูหน้าจะมีเพิ่มขึ้น
นายวิบูลย์กล่าวว่า สำหรับกรณีฟิลิปปินส์ขอชะลอการเปิดเสรีสินค้าน้ำตาลภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ออกไปนั้น ได้ทำหนังสือไปยังกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศแล้ว เพื่อให้มีการเจรจากับรัฐบาลฟิลิปปินส์ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงการลดภาษีนำเข้าสินค้าน้ำตาล และไม่เห็นด้วยหากฟิลิปปินส์จะมีการเจรจาขอชดเชยนำเข้าสินค้าชนิดอื่นแทนเพื่อแลกกับการชะลอการเปิดตลาดสินค้าน้ำตาล
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(บอร์ดกท.) กล่าวว่า ราคาน้ำตาลตลาดโลกที่อยู่ระดับ 14-15 เซนต์ต่อปอนด์ ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อฐานะกองทุนฯ ซึ่งมีภาระหนี้เงินกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ปัจจุบัน 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งกรอบการใช้หนี้ตามแผน คาดว่าหากไม่มีการกู้เพิ่มจะทำให้หนี้ก้อนดังกล่าวหมดลงตามที่กำหนดไว้ในช่วงไม่เกินกลางปี 2553