ASTVผู้จัดการรายวัน- สธ.เผยยอดตายหวัด 2009 ในรอบสัปดาห์เพิ่ม 21 ราย ยอดสะสม 65 คน “หมอประเสริฐ” เตือนสธ.ทำอะไรหารือผู้เชี่ยวชาญให้รอบคอบ ขณะที่ “หมอยง” เผยทั่วโลกพบดื้อยาต้านไวรัส 5 ราย ศิริราชขอใช้ยาซานามิเวียร์แล้ว 5 ชุดหลังผู้ป่วยตอบสนองต่อยาโอเซลทามิเวียร์ได้ไม่ดี อภ.เผยมีการนำเข้าแล้ว7 หมื่นกล่อง
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น1 ในรอบสัปดาห์ มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 21 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยเสียชีวิตสะสมจำนวน 65 ราย โดยสำนักระบาดวิทยาคาดการณ์ว่า มียอดผู้ป่วยจริงเกิน 5 แสนรายแล้ว
ทั้งนี้ สำนักระบาดวิทยารายงานข้อมูลในรอบสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 22-28 ก.ค. มียอดผู้ป่วยสะสม 8,879 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตมีทั้งหมด 65 รายใน 27 จังหวัด แยกเป็นภาคกลาง 13 จังหวัด ภาคอีสาน 6 จังหวัด ภาคเหนือ 4 จังหวัด และภาคใต้ 4 จังหวัด เป็นหญิง 30 ราย ชาย 35 ราย
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ10 กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มนักเรียนยังคงเป็นกลุ่มที่มีการป่วยมากที่สุด แต่จากการใช้มาตรการหลายอย่างของ สธ.และศธ. รวมถึงความร่วมมือจากโรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ ทำให้แนวโน้มเริ่มลดลงบ้าง โดยเมื่อพิจารณาจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด ซึ่งเข้ารักษาในโรงพยาบาล ทั่วประเทศครึ่งเดือนแรกของเดือน ก.ค.พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยถึง 25,000 คนต่อวัน แต่ครึ่งเดือนหลัง พบว่ามีจำนวนผู้ป่วย 18,000 คนต่อวัน
**ตั้งคณะศึกษาข้อมูลป่วย-ตายเชิงลึก
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับชาติ ซึ่งมี ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน จะมีการตั้งคณะทำงาน ซึ่งจะประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษา ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส ผู้เชียวชาญจากห้องปฏิบัติการ เพื่อติดตามศึกษาเชิงลึก คอยให้คำปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว มีข้อสงสัย รวมถึงพิจารณาสาเหตุการตาย ว่าเกิดจากโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 จริงหรือไม่ รวมทั้งจะขอความร่วมมือจากญาติเพื่อขอนำศพมาผ่าพิสูจน์เพื่อศึกษาลักษณะและความรุนแรงของโรคในประเทศไทย
ด้านศ.(เกียรติคุณ)นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า สำหรับแนวทางในการกระจายยาต้านไวรัส ไปยังคลินิกต่างๆ นั้น คณะอนุกรรมการมีความเห็นร่วมกันว่า 1. ต้องเป็นคลินิกที่มีแพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น 2. คลินิกจะต้องส่งรายงานหลักฐานการจ่ายยาและอาการไม่พึงประสงค์ คล้ายกับเวชระเบียน ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือกระทรวงสาธารณสุขทุกวัน 3.คลินิกจะต้องมีมาตรการป้องกันการติดเชื้อในคลินิกทุกแห่ง 4 .คลินิกที่เข้าร่วมต้องได้รับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ 5.คลินิกนั้นๆ จะต้องมีเครือข่ายหรือสามารถส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลได้ ดังนั้นจึงต้องเป็นคลินิกที่มีความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ
6.มีกลไกในการติดตามผู้ป่วยทุกรายหลังการรักษาถือเป็นกระบวนการเฝ้าระวัง 7.ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจังต้องมีระบบการควบคุมการตรวจสอบคลินิกที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งในเรื่องมาตรฐาน การสั่งจ่ายยา การป้องกันการติดเชื้อในคลินิกทุกเดือน 8.คลินิกที่เข้าร่วมโครงการต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด เพราะโรคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
“หาก สธ.ทำอะไรโดยไม่รอบคอบก็จะขาดความน่าเชื่อถือที่สุด ซึ่งคิดว่าไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรงที่สธ.จะสามารถทำได้ในการปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และหาก สธ.มีปัญหาสำคัญ ก็ควรส่งให้คณะอนุกรรมการฯหารือก่อน การทำการอะไรอาจคิดว่าจำเป็นต้องทำ คิดแล้วว่าเหมาะสม แต่นักวิชาการ ซึ่งมีความคิดที่หลากหลายอาจจะคิดเห็นคนละมุมก็ได้ ซึ่งหากทำตามหลักเกณฑ์การให้จ่ายยา ความกังวลใจของนักวิชาการก็พอจะรับได้”ศ.นพ.ประเสริฐ กล่าว
**สหรัฐฯจับตาแม่ถ่ายทอดเชื้อให้ลูก
นพ.มาร์ค ซิมเมอแมน หัวหน้าฝ่ายไข้หวัดใหญ่ โครงการโรคติดเชื้อระหว่างประเทศ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า สหรัฐฯให้ความสำคัญกรณีการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกมาก โดยพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 6 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด โดยกำลังมีการตีพิมพ์เรื่องการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกลงในวารสารทางการแพทย์ และจะมีการถกเถียงกันต่อไปในระดับวิชาการ อย่างไรก็ตาม กรณีการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ถือเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ยากมาก
**ทั่วโลกดื้อยา 5 ราย
ศ.นพ.ยง วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า สำหรับปัญหาการดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ ขณะนี้ทั่วโลกพบว่ามีจำนวน 5 ราย ใน 4 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น 2 ราย แคนาดา เดนมาร์ค และฮ่องกง แห่งละ 1 ราย ในจำนวนนี้มีประเทศฮ่องกงเพียงประเทศเดียวที่ผู้ป่วยไม่มีประวัติรับยาโอเซลทามิเวียร์มาก่อน แต่มีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ซานฟราสซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะที่อีก 4 ราย ได้รับยาโอเซลทามิเวียร์ทั้งหมด และจากการติดตามอาการผู้ป่วยพบว่า ไม่มีรายใดที่แพร่เชื้อโรคดื้อยาไปสู่ผู้อื่น เนื่องจากสามารถควบคุมการกระจายของเชื้อดื้อยาได้มีประสิทธิภาพ
ด้านนพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ได้สำรองยาซานามิเวียร์อยู่ในความรับผิดชอบแล้ว 2 หมื่นชุด ได้มีการจ่ายยาออกไปแล้ว 5 ชุดให้กับโรงพยาบาลศิริราช เนื่องจากมีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวด้วยอาการไข้สูง มีภาวะปอดอักเสบ ให้ยาโอเซลทามิเวียร์แล้วปรากฎว่าตอบสนองต่อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ได้ไม่ดี จึงจำเป็นต้องให้ยาซานามิเวียร์ที่เป็นแบบพ่น
**อภ.ผลิตยาต้าน20 ล.เม็ดเสร็จส.ค.
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า ในส่วนของยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ที่อภ.จะผลิตเพิ่มอีก 40 ล้านเม็ด ได้สั่งซื้อวัตถุดิบไปเรียบร้อยแล้ว คาดว่าในอีก 2 สัปดาห์จะส่งมาถึงประเทศไทย และอภ.จะผลิตแล้วเสร็จจำนวน 20 ล้านเม็ดภายในเดือนส.ค.นี้และจะทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อภ.ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการกระจายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ไปทั่วประเทศ โดยจะดำเนินการผ่านสหภาพอภ.ในจ.เชียงใหม่ อุดรธานีและอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ที่รับผิดชอบอย่างน้อยแห่งละ 6 จังหวัด แต่ละแห่งจะมียาสำรองไว้แห่งละ 5 หมื่นเม็ด ทั้งนี้ การที่ต้องมีการสำรองยาในจำนวนดังกล่าว ได้มีการคิดแล้วว่าจะต้องสำรองยาไม่น้อยกว่า 50 %ของจำนวนประชาการทั้งประเทศจึงจะจัดอยู่ในภาวะปลอดภัย
“ยาในรอบ 1-2 เดือนที่ผ่านมา สถานพยาบาลเอกชนสั่งซื้อยาจีพีโอ เอ-ฟลูแล้วมากกว่า 6 แสนเม็ด ใช้รักษาผู้ป่วยได้ 6 หมื่นคน เพราะ1 คนจะต้องใช้ยานี้ 10 เม็ด โดยขายให้ในราคาเดียวกับภาครัฐ เม็ดละ 25 บาท ”นพ.วิทิตกล่าว
นพ.วิทิต กล่าวอีกว่า สำหรับยาต้านไวรัสซานามิเวียร์ ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในกรณีที่เชื้อไวรัสดื้อยาโอเซลทามิเวียร์นั้น ได้รับรายงานตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการว่าในขณะนี้ไทยมีการนำเข้ายาชนิดนี้แล้ว 7 หมื่นกล่อง โดย 2 หมื่นกล่องอยู่ในภาคเอกชน และอีก 5 หมื่นกล่อง อภ.กำลังจะดำเนินการลงนามบันทึกข้อตกลงกับบริษัทยาเจ้าของลิขสิทธิ์ยาดังกล่าวเพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการกระจายยาภาครัฐ ซึ่งงบประมาณที่ครม.อนุมัติให้กรมควบคุมโรคซื้อยาซานามิเวียร์ เพิ่มอีก 2 หมื่นกล่อง กรมฯก็อาจจะสั่งซื้อจากอภ.ได้
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น1 ในรอบสัปดาห์ มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 21 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยเสียชีวิตสะสมจำนวน 65 ราย โดยสำนักระบาดวิทยาคาดการณ์ว่า มียอดผู้ป่วยจริงเกิน 5 แสนรายแล้ว
ทั้งนี้ สำนักระบาดวิทยารายงานข้อมูลในรอบสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 22-28 ก.ค. มียอดผู้ป่วยสะสม 8,879 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตมีทั้งหมด 65 รายใน 27 จังหวัด แยกเป็นภาคกลาง 13 จังหวัด ภาคอีสาน 6 จังหวัด ภาคเหนือ 4 จังหวัด และภาคใต้ 4 จังหวัด เป็นหญิง 30 ราย ชาย 35 ราย
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ10 กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มนักเรียนยังคงเป็นกลุ่มที่มีการป่วยมากที่สุด แต่จากการใช้มาตรการหลายอย่างของ สธ.และศธ. รวมถึงความร่วมมือจากโรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ ทำให้แนวโน้มเริ่มลดลงบ้าง โดยเมื่อพิจารณาจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด ซึ่งเข้ารักษาในโรงพยาบาล ทั่วประเทศครึ่งเดือนแรกของเดือน ก.ค.พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยถึง 25,000 คนต่อวัน แต่ครึ่งเดือนหลัง พบว่ามีจำนวนผู้ป่วย 18,000 คนต่อวัน
**ตั้งคณะศึกษาข้อมูลป่วย-ตายเชิงลึก
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับชาติ ซึ่งมี ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน จะมีการตั้งคณะทำงาน ซึ่งจะประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษา ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส ผู้เชียวชาญจากห้องปฏิบัติการ เพื่อติดตามศึกษาเชิงลึก คอยให้คำปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว มีข้อสงสัย รวมถึงพิจารณาสาเหตุการตาย ว่าเกิดจากโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 จริงหรือไม่ รวมทั้งจะขอความร่วมมือจากญาติเพื่อขอนำศพมาผ่าพิสูจน์เพื่อศึกษาลักษณะและความรุนแรงของโรคในประเทศไทย
ด้านศ.(เกียรติคุณ)นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า สำหรับแนวทางในการกระจายยาต้านไวรัส ไปยังคลินิกต่างๆ นั้น คณะอนุกรรมการมีความเห็นร่วมกันว่า 1. ต้องเป็นคลินิกที่มีแพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น 2. คลินิกจะต้องส่งรายงานหลักฐานการจ่ายยาและอาการไม่พึงประสงค์ คล้ายกับเวชระเบียน ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือกระทรวงสาธารณสุขทุกวัน 3.คลินิกจะต้องมีมาตรการป้องกันการติดเชื้อในคลินิกทุกแห่ง 4 .คลินิกที่เข้าร่วมต้องได้รับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ 5.คลินิกนั้นๆ จะต้องมีเครือข่ายหรือสามารถส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลได้ ดังนั้นจึงต้องเป็นคลินิกที่มีความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ
6.มีกลไกในการติดตามผู้ป่วยทุกรายหลังการรักษาถือเป็นกระบวนการเฝ้าระวัง 7.ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจังต้องมีระบบการควบคุมการตรวจสอบคลินิกที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งในเรื่องมาตรฐาน การสั่งจ่ายยา การป้องกันการติดเชื้อในคลินิกทุกเดือน 8.คลินิกที่เข้าร่วมโครงการต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด เพราะโรคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
“หาก สธ.ทำอะไรโดยไม่รอบคอบก็จะขาดความน่าเชื่อถือที่สุด ซึ่งคิดว่าไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรงที่สธ.จะสามารถทำได้ในการปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และหาก สธ.มีปัญหาสำคัญ ก็ควรส่งให้คณะอนุกรรมการฯหารือก่อน การทำการอะไรอาจคิดว่าจำเป็นต้องทำ คิดแล้วว่าเหมาะสม แต่นักวิชาการ ซึ่งมีความคิดที่หลากหลายอาจจะคิดเห็นคนละมุมก็ได้ ซึ่งหากทำตามหลักเกณฑ์การให้จ่ายยา ความกังวลใจของนักวิชาการก็พอจะรับได้”ศ.นพ.ประเสริฐ กล่าว
**สหรัฐฯจับตาแม่ถ่ายทอดเชื้อให้ลูก
นพ.มาร์ค ซิมเมอแมน หัวหน้าฝ่ายไข้หวัดใหญ่ โครงการโรคติดเชื้อระหว่างประเทศ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า สหรัฐฯให้ความสำคัญกรณีการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกมาก โดยพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 6 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด โดยกำลังมีการตีพิมพ์เรื่องการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกลงในวารสารทางการแพทย์ และจะมีการถกเถียงกันต่อไปในระดับวิชาการ อย่างไรก็ตาม กรณีการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ถือเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ยากมาก
**ทั่วโลกดื้อยา 5 ราย
ศ.นพ.ยง วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า สำหรับปัญหาการดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ ขณะนี้ทั่วโลกพบว่ามีจำนวน 5 ราย ใน 4 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น 2 ราย แคนาดา เดนมาร์ค และฮ่องกง แห่งละ 1 ราย ในจำนวนนี้มีประเทศฮ่องกงเพียงประเทศเดียวที่ผู้ป่วยไม่มีประวัติรับยาโอเซลทามิเวียร์มาก่อน แต่มีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ซานฟราสซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะที่อีก 4 ราย ได้รับยาโอเซลทามิเวียร์ทั้งหมด และจากการติดตามอาการผู้ป่วยพบว่า ไม่มีรายใดที่แพร่เชื้อโรคดื้อยาไปสู่ผู้อื่น เนื่องจากสามารถควบคุมการกระจายของเชื้อดื้อยาได้มีประสิทธิภาพ
ด้านนพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ได้สำรองยาซานามิเวียร์อยู่ในความรับผิดชอบแล้ว 2 หมื่นชุด ได้มีการจ่ายยาออกไปแล้ว 5 ชุดให้กับโรงพยาบาลศิริราช เนื่องจากมีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวด้วยอาการไข้สูง มีภาวะปอดอักเสบ ให้ยาโอเซลทามิเวียร์แล้วปรากฎว่าตอบสนองต่อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ได้ไม่ดี จึงจำเป็นต้องให้ยาซานามิเวียร์ที่เป็นแบบพ่น
**อภ.ผลิตยาต้าน20 ล.เม็ดเสร็จส.ค.
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า ในส่วนของยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ที่อภ.จะผลิตเพิ่มอีก 40 ล้านเม็ด ได้สั่งซื้อวัตถุดิบไปเรียบร้อยแล้ว คาดว่าในอีก 2 สัปดาห์จะส่งมาถึงประเทศไทย และอภ.จะผลิตแล้วเสร็จจำนวน 20 ล้านเม็ดภายในเดือนส.ค.นี้และจะทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อภ.ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการกระจายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ไปทั่วประเทศ โดยจะดำเนินการผ่านสหภาพอภ.ในจ.เชียงใหม่ อุดรธานีและอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ที่รับผิดชอบอย่างน้อยแห่งละ 6 จังหวัด แต่ละแห่งจะมียาสำรองไว้แห่งละ 5 หมื่นเม็ด ทั้งนี้ การที่ต้องมีการสำรองยาในจำนวนดังกล่าว ได้มีการคิดแล้วว่าจะต้องสำรองยาไม่น้อยกว่า 50 %ของจำนวนประชาการทั้งประเทศจึงจะจัดอยู่ในภาวะปลอดภัย
“ยาในรอบ 1-2 เดือนที่ผ่านมา สถานพยาบาลเอกชนสั่งซื้อยาจีพีโอ เอ-ฟลูแล้วมากกว่า 6 แสนเม็ด ใช้รักษาผู้ป่วยได้ 6 หมื่นคน เพราะ1 คนจะต้องใช้ยานี้ 10 เม็ด โดยขายให้ในราคาเดียวกับภาครัฐ เม็ดละ 25 บาท ”นพ.วิทิตกล่าว
นพ.วิทิต กล่าวอีกว่า สำหรับยาต้านไวรัสซานามิเวียร์ ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในกรณีที่เชื้อไวรัสดื้อยาโอเซลทามิเวียร์นั้น ได้รับรายงานตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการว่าในขณะนี้ไทยมีการนำเข้ายาชนิดนี้แล้ว 7 หมื่นกล่อง โดย 2 หมื่นกล่องอยู่ในภาคเอกชน และอีก 5 หมื่นกล่อง อภ.กำลังจะดำเนินการลงนามบันทึกข้อตกลงกับบริษัทยาเจ้าของลิขสิทธิ์ยาดังกล่าวเพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการกระจายยาภาครัฐ ซึ่งงบประมาณที่ครม.อนุมัติให้กรมควบคุมโรคซื้อยาซานามิเวียร์ เพิ่มอีก 2 หมื่นกล่อง กรมฯก็อาจจะสั่งซื้อจากอภ.ได้