ASTVผู้จัดการรายวัน – ทีมที่ปรึกษาวิชาการฯ เคือง ถูกการเมืองล็อบบี้นำร่องคลินิกจ่ายยาต้านหวัดใหญ่ 2009 แล้วมาขอความเห็นกดดันให้เห็นชอบ ผอ.ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกไวรัสสัตว์สู่คนฉะยับ ต้องการได้คะแนนเสียง หวั่นเชื้อดื้อยาระบาดใหญ่ครั้งหน้าตายเกลื่อนประเทศ ด้าน สธ.ชงครม.ของบเพิ่มอีก 626 ล้านบาท สามีหญิงท้อง จ.ราชบุรี คาดภรรยาติดเชื้อจาก รพ.หลังเยี่ยมลูกชาย
นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีหญิงตั้งครรภ์ วัย 26 ปี จ.ราชบุรี ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดยได้ผ่าตัดคลอดบุตรขณะที่อายุครรภ์ 7 เดือน ซึ่งพบว่าทารกติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นรายแรกของโลก ว่า กรณีนี้ถือเป็นกรณีศึกษาที่คณะแพทย์ให้ความสนใจและขณะนี้ ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และนายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย รวมทั้งคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ลงพื้นที่ตรวจสอบการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปทั้งหมดว่าเป็นการติดเชื้อจากการกินน้ำคร่ำ หรือผ่านทางรก อย่างไรก็ตาม สธ.ได้รายงานข้อมูลกับองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ทราบเป็นระยะๆ อยู่แล้ว
**หญิงท้อง 7 เดือนรักษาอีก 1 ราย
นพ.ธนินทร์ พันธุเตชะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ได้รับตัวหญิงตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุ 30 ปีเข้ารักษาตัวอีก 1 ราย โดยผู้ป่วยมาโรงพยาบาลด้วยอาการไข้สูง หอบ แพทย์ทำการเอ็กซเรย์ปอด พบมีภาวะปอดบวมแทรก จึงได้แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกปลอดเชื้อของโรงพยาบาล และให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ทันทีก่อนจะส่งสารคัดหลั่งตรวจในห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่หรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากอาการของผู้ป่วยค่อนข้างมั่นใจว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่แน่นอน แต่ยังต้องรอผลตรวจจากห้องปฏิบัติการยืนยันอีกครั้งหนึ่ง
**ทารกหญิง 7 เดือนไร้เชื้อไวรัส
นพ.ธนินทร์กล่าวต่อว่าสำหรับอาการของทารกเพศหญิงที่ผ่าคลอดก่อนกำหนดขณะที่มารดามีอายุครรภ์ 7 เดือนและติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จากมารดาว่า ขณะนี้เด็กอาการปลอดภัยและให้ยาต้านไวรัสครบกำหนด 5 วันแล้ว มีการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งตรวจในห้องปฏิบัติการซ้ำอีกครั้ง พบว่า ไม่มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 อยู่ในร่างกายเด็กแล้ว ขณะนี้เด็กพักรักษาตัวอยู่ในห้องเด็กคลอดก่อนกำหนดเช่นเด็กคนอื่นๆ แต่ยังต้องให้นมทางสายยาง หากเด็กดื่มนมได้เอง ไม่มีอาการตัวเหลือง และน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น อาจจะอนุญาตให้กลับบ้านได้ ทั้งนี้ การให้ยาโอเซลทามิเวียร์จะไม่ส่งผลกระทบต่อเด็ก เนื่องจากมีการปรับขนาดยาให้มีความเหมาะสมตามน้ำหนักตัวของเด็ก
**สามีคาดเมียติดเชื้อจาก รพ.
ที่ตึกนวมินทร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ นายมานิต นพอมรบดี รมช.สธ.พร้อมด้วยนายจินดา เปียถนอม อายุ 38 ปี สามีของผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์และป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่และติดเชื้อไปสู่ลูกได้เดินทางเข้า เยี่ยมผู้ป่วยซึ่งรักษาตัวอยู่ที่ห้องผู้ป่วยหนัก และยังอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากยังมีอาการปอดบวมอยู่
รศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ ผอ.รพ.จุฬาฯ กล่าวว่า ผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ 2009 อาการยังทรงตัว ชีพจรและความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยังต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งผลการตรวจเชื้อซ้ำไม่พบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่แล้วและได้รับยาต้านไวรัสครบชุดการรักษาแล้ว แต่ยังมีอาการปอดอักเสบ เพราะมีการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดรุนแรงซ้ำที่ปอด ซึ่งผลเอ็กซเรย์ปอดล่าสุดยังไม่ดีขึ้น แพทย์ต้องให้ยาปฏิชีวนะเต็มที่ และให้ยานอนหลับควบคู่เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ต่อต้านเครื่องช่วยหายใจ โดยต้องรอดูอาการอีก 2 วันจึงจะสามารถประเมินอาการได้อีกครั้ง
“การติดเชื้อสันนิษฐานว่า อาจมาจาก 2 ทางคือรกกับน้ำคร่ำ ซึ่งรายดังกล่าวมีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อมาจากน้ำคร่ำเพราะเด็กที่อยู่ในครรภ์จะมีการกลืนน้ำคร่ำเป็นปกติ และจะปัสสาวะออกมาวนเวียนอยู่ในน้ำคร่ำ จากข้อมูลทางการแพทย์มีการศึกษาวิจัยพบว่า ในน้ำคร่ำมีไวรัสปะปนอยู่และมีโอกาสติดต่อสู่เด็กในครรภ์ได้ แต่เป็นโรคอื่นๆ” รศ.นพ.อดิศรกล่าว
ขณะที่นายจินดาสามีของหญิงตั้งครรภ์รายดังกล่าว กล่าวว่า คาดว่าภรรยาจะติดเชื้อเนื่องจากไปเฝ้าลูกชายอีกคนที่โรงพยาบาล แต่ลูกชายตนไม่ได้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ จึงคาดว่าเป็นเพราะภรรยาไม่ได้สวมหน้ากากตลอดเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล เมื่อเริ่มมีไข้ได้พาไปรักษาที่คลินิกแพทย์ฉีดยาให้ 1 เข็ม วันถัดมาก็พบว่าอาการยังไม่ดีขึ้น จึงเตรียมพาไปโรงพยาบาล แต่อาการได้ทรุดหนักอย่างรวดเร็วมีอาการหอบ หายใจไม่ออก ซึ่งภรรยาไม่มีโรคประจำตัวอื่น นอกจากอ้วนมีน้ำหนักตัว 115 กิโลกรัม ขณะนี้อยากให้ปาฏิหาริย์ให้ภรรยาและลูกหายไวๆ ซึ่งตั้งชื่อลูกสาวไว้ว่า ด.ญ.ภิรมย์รัตน์ แต่ยังไม่มีชื่อเล่น
**ชง ครม.ของบเพิ่ม 626 ล้าน
แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 ก.ค.นี้ สธ.เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจำนวน 626 ล้านบาท โดยแบ่งงบฯ 3 ส่วน ดังนี้ 1.ควบคุมคัดกรองโรคและการแพร่ระบาดในส่วนกลางและภูมิภาค จำนวน 514 ล้านบาท 2.ซื้อยา ROLENZA เพิ่มเติม 2 หมื่นชุด สำหรับผู้ป่วยที่ดื้อยา จำนวน 9 ล้านบาท 3.งบประชาสัมพันธ์ 103 ล้านบาท ซึ่งสำนักงบประมาณเห็นด้วย เนื่องจากเห็นว่า เป็นกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
**“มานิต” เผยใช้ยาต้านวันละ 8 แสนเม็ด
ที่องค์การเภสัชกรรม นายมานิต นพอมรบดี กล่าวภายหลังการประชุมหารือเรื่องการสำรองยาต้านไวรัส โอลเซลทามิเวียร์ ว่า ขณะนี้เหลือยาต้านไวรัสคงคลังจำนวน 3.39 ล้านเม็ด จากเดิมที่มียาสำรองทั้งหมดก่อนการระบาด 6.2 ล้านเม็ด โดยตั้งแต่มีการระบาดปลายเดือนเม.ย. มีการใช้ยาไปแล้วทั้งสิ้น 2.8 ล้านเม็ด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้เริ่มผลิตยาต้านไวรัสอีก 10 ล้านเม็ด โดยมีกำลังการผลิตวันละ 1 ล้านเม็ด พร้อมทั้งได้สั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อผลิตเพิ่มอีก 30 ล้านเม็ด เมื่อวัตถุดิบมาถึงในสัปดาห์หน้าจะเริ่มการผลิตทันที
“ต่อจากนี้ อภ.จะเป็นหน่วยงานที่กระจายยาทั้งหมดทั่วประเทศ โดยกระจายผ่านศูนย์ที่ จ.เชียงใหม่ อุดรธานี สงขลาและกทม. โดยโรงพยาบาลทุกแห่งต้องรายงานการใช้ยาอย่างละเอียดทุกวัน โดยจะตัดยอดทุก 15.00 น.เพื่อให้ทราบว่ามีการใช้วันละเท่าใด รวมทั้งติดตามผลการใช้ยาของผู้ป่วยทุกราย เพื่อรายงานให้อภ.และสธ.รับทราบ”นายมานิต กล่าว
นายมานิตกล่าวต่อว่า สำหรับแนวคิดการกระจายยาต้านไวรัสลงไปในระดับคลินิก หากทีมผู้เชี่ยวชาญของสธ. เห็นชอบหลักการแล้ว อภ.จะเป็นผู้ควบคุมคลินิกอิสระที่อยู่ในกทม. ซึ่งมีประมาณ 2,100 แห่ง โดยจะเปิดให้คลินิกมาลงทะเบียนรับยา พร้อมทั้งรายงานยอดการจ่ายยาทุกวัน และให้ประวัติการรักษาทุกราย มีชื่อที่อยู่ พร้อมเลข 13 หลักและติดตามการใช้ยา ส่วนคลินิกในทั่วประเทศอีก 14,900 แห่ง จะให้เบิกจ่ายยากับโรงพยาบาลในพื้นที่ ซึ่งคลินิกแต่ละแห่งจะได้ยาวันละ 50 เม็ดหรือ 5 ชุดการรักษาสำหรับผู้ป่วย 5 คนต่อวัน รวมทั้งหมดจะต้องใช้ยา 8 แสนเม็ดต่อวัน สำหรับผู้ป่วย 8 หมื่นคนต่อวัน
ด้านนพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ขณะนี้ราคาวัตถุดิบเพื่อผลิตยาต้านไวรัสขึ้นไปร้อยละ 50 ซึ่งแต่ละประเทศไม่มีใครทราบว่าในช่วงฤดูหนาวจะมีการระบาดรุนแรงอีกหรือไม่ ทำให้มีการสำรองยาเพิ่มขึ้น หากไม่มีการสั่งซื้อในช่วงนี้อาจทำให้ประเทศไทยเป็นลำดับท้ายที่จะได้รับวัตถุดิบและอาจทำให้เกิดความขาดแคลน
**ฉะการเมืองล็อบบี้นำร่องจ่ายยาคลินิก
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข โรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 กล่าวภายหลังการประชุมนานกว่า 4 ชั่วโมงว่า คณะอนุกรรมการฯเห็นด้วยที่จะให้คลินิกเอกชนมีการสำรองยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์เพื่อจ่ายยาให้กับผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจรักษาและสงสัยว่าจะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เพียงแต่การดำเนินการของคลินิกต่างจะต้องกระทำภายใต้หลักเกณฑ์ที่คณะอนุกรรมการฯกำหนดไว้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประชุมของคณะอนุกรรมการฯในครั้งนี้ ไม่มีการแถลงข่าวภายหลังการประชุมโดยให้เหตุผลว่าประธานคณะอนุกรรมการฯป่วยมีอาการไอ ขณะที่นักวิชาการท่านอื่นที่เข้าร่วมประชุมไม่มีใครยอมให้ผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์แต่อย่างใด
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมในครั้งนี้ มีนักวิชาการบางท่านไม่พอใจที่ฝ่ายบริหารมีการให้ข่าวก่อนว่าได้มีการนำร่องให้คลินิกจ่ายยาโอเซลทามิเวียร์กับผู้ป่วยแล้วในบางพื้นที่ เนื่องจากเห็นว่าเมื่อมีแนวทางเช่นนั้นแล้วจะขอความเห็นจากนักวิชาการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทำไม เหมือนเป็นการกดดันให้มีมติเป็นไปตามแนวทางที่มีการตั้งธงไว้ล่วงหน้า
อย่างไรก็ตาม ความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ ที่ออกมายังไม่ถือเป็นมติที่คณะอนุกรรมการฯให้การรับรอง แต่เป็นแนวทางเพื่อให้สธ.นำไปใช้ก่อน โดยคณะอนุกรรมการจะมีการลงมติเห็นชอบในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งเชื่อว่าจะไม่มีการปรับแก้ในหลักการหลักของแนวทางที่มอบให้สธ.ไป ทั้งนี้ จะมีการให้รายละเอียดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของคลินิกที่จะได้รับอนุญาตให้มีการจ่ายยา ในการแถลงข่าวประจำสัปดาห์วันพุธที่ 29 ก.ค.นี้
**หวั่นดื้อยาตายเกลื่อนประเทศ
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผอ.ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกไวรัสสัตว์สู่คน กล่าวว่า ก่อนหน้านี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มีการเชิญนักวิชาการเข้าหารือเกี่ยวกับการให้คลินิกเอกชนจ่ายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ให้กับผู้ป่วย เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยได้รับยาช้าทำให้เสียชีวิต ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าการกระจายยาลักษณะนี้ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ การจะกระจายยาในลักษณะเช่นนี้ได้คลินิกจะต้องผ่านเกณฑ์หลักๆ 4 ข้อ คือ 1.มีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับโรคนี้ 2.แพทย์ในคลินิกจะต้องสามารถให้คำแนะนำกับผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำงานเป็นกะทำให้ไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ตลอดเวลาเช่นในโรงพยาบาล เนื่องจากการรักษาโรคนี้จำเป็นต้องติดตามผู้ป่วยสม่ำเสมอ และให้คำแนะนำหากมีอาการรุนแรงขึ้นให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล 3.คลินิกต้องมีความสามารถในการแยกผู้ป่วยไข้หวัดและผู้ป่วยที่ไม่ใช่ผู้ป่วยไข้หวัด และ4.ต้องมีระบบการรายงานข้อมูลผู้ป่วยให้กับสธ.อย่างชัดเจน ซึ่งคลินิกในไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์ดังกล่าว
“สาเหตุที่จะต้องกระจายยาให้กับคลินิก เป็นเพราะนักการเมืองอยากได้คะแนนเสียง เพราะคิดว่าการให้ยากับผู้ป่วยเร็วที่สุด จะลดอัตราการเสียชีวิตได้ ทั้งที่ผู้ป่วยไข้หวัดที่มาพบแพทย์ไม่ได้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ทุกราย อาจเกิดการให้ยาเกินความจำเป็น”ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าว
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า ข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนี้ ยังไม่สามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยเสียชีวิตเนื่องจากการรับยาช้า การออกมาให้ข้อมูลว่าผู้ป่วยเสียชีวิตเนื่องจากการได้รับยาช้าอาจไม่ใช่ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยเสียชีวิตในวันที่ 8 แต่ให้ยาเมื่อวันที่ 6 ไม่ได้หมายความว่าให้ยาช้า เนื่องจากผู้ป่วยบางรายในวันที่ 1-5 อาการยังไม่ปรากฏเข้าเกณฑ์ที่จะต้องให้ยา เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตก็มีการเหมารวมว่าป่วยมานานถึง 6 วันแล้วพึ่งจะได้รับยา เหมือนกับว่าได้รับยาช้า ทั้งที่ความจริงแล้วกรณีเช่นนี้เป็นคนละเรื่องกับการได้รับยาช้า
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวด้วยว่า นักวิชาการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการกระจายให้กับคลินิก แต่ถูกล็อบบี้จากฝ่ายการเมืองคิดว่าหากดำเนินการเช่นนี้แล้วจะสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน เมื่อจำเป็นต้องเห็นด้วย คณะอนุกรรมการฯจึงได้กำหนดเงื่อนไขคลินิกที่จะสามารถจ่ายยาโอเซลทามิเวียร์ให้กับผู้ป่วยไว้อย่างชัดเจน คือ ต้องมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ข้างต้นทั้ง 4 ข้อ
“การเสียชีวิตของผู้ป่วยอาจมาจากสาเหตุอื่น เพราะถ้ารู้ว่าปัญหาอยู่ที่การให้ยาช้า การแก้ปัญหาต้องให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ ไม่ใช่ปล่อยให้กระจายยากระจัดกระจาย เพราะปัจจุบันไม่ใช่ระยะรุนแรงของโรค ถ้ามีการให้และเกิดการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ก็ไม่มีมาตรการรองรับ ก็จะตายกันทั้งประเทศ หมดทางรักษา เนื่องจากเมื่อเชื้อดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ ต้องให้ยาซานามิเวียร์ ซึ่งไทยยังผลิตเองไม่ได้และยามีราคาแพงมาก ไม่สามารถซื้อมาให้กับผู้ป่วยได้ครอบคลุมทั้งหมด หากเกิดการระบาดใหญ่ในอนาคต” ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าว.
นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีหญิงตั้งครรภ์ วัย 26 ปี จ.ราชบุรี ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดยได้ผ่าตัดคลอดบุตรขณะที่อายุครรภ์ 7 เดือน ซึ่งพบว่าทารกติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นรายแรกของโลก ว่า กรณีนี้ถือเป็นกรณีศึกษาที่คณะแพทย์ให้ความสนใจและขณะนี้ ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และนายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย รวมทั้งคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ลงพื้นที่ตรวจสอบการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปทั้งหมดว่าเป็นการติดเชื้อจากการกินน้ำคร่ำ หรือผ่านทางรก อย่างไรก็ตาม สธ.ได้รายงานข้อมูลกับองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ทราบเป็นระยะๆ อยู่แล้ว
**หญิงท้อง 7 เดือนรักษาอีก 1 ราย
นพ.ธนินทร์ พันธุเตชะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ได้รับตัวหญิงตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุ 30 ปีเข้ารักษาตัวอีก 1 ราย โดยผู้ป่วยมาโรงพยาบาลด้วยอาการไข้สูง หอบ แพทย์ทำการเอ็กซเรย์ปอด พบมีภาวะปอดบวมแทรก จึงได้แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกปลอดเชื้อของโรงพยาบาล และให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ทันทีก่อนจะส่งสารคัดหลั่งตรวจในห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่หรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากอาการของผู้ป่วยค่อนข้างมั่นใจว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่แน่นอน แต่ยังต้องรอผลตรวจจากห้องปฏิบัติการยืนยันอีกครั้งหนึ่ง
**ทารกหญิง 7 เดือนไร้เชื้อไวรัส
นพ.ธนินทร์กล่าวต่อว่าสำหรับอาการของทารกเพศหญิงที่ผ่าคลอดก่อนกำหนดขณะที่มารดามีอายุครรภ์ 7 เดือนและติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จากมารดาว่า ขณะนี้เด็กอาการปลอดภัยและให้ยาต้านไวรัสครบกำหนด 5 วันแล้ว มีการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งตรวจในห้องปฏิบัติการซ้ำอีกครั้ง พบว่า ไม่มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 อยู่ในร่างกายเด็กแล้ว ขณะนี้เด็กพักรักษาตัวอยู่ในห้องเด็กคลอดก่อนกำหนดเช่นเด็กคนอื่นๆ แต่ยังต้องให้นมทางสายยาง หากเด็กดื่มนมได้เอง ไม่มีอาการตัวเหลือง และน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น อาจจะอนุญาตให้กลับบ้านได้ ทั้งนี้ การให้ยาโอเซลทามิเวียร์จะไม่ส่งผลกระทบต่อเด็ก เนื่องจากมีการปรับขนาดยาให้มีความเหมาะสมตามน้ำหนักตัวของเด็ก
**สามีคาดเมียติดเชื้อจาก รพ.
ที่ตึกนวมินทร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ นายมานิต นพอมรบดี รมช.สธ.พร้อมด้วยนายจินดา เปียถนอม อายุ 38 ปี สามีของผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์และป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่และติดเชื้อไปสู่ลูกได้เดินทางเข้า เยี่ยมผู้ป่วยซึ่งรักษาตัวอยู่ที่ห้องผู้ป่วยหนัก และยังอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากยังมีอาการปอดบวมอยู่
รศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ ผอ.รพ.จุฬาฯ กล่าวว่า ผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ 2009 อาการยังทรงตัว ชีพจรและความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยังต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งผลการตรวจเชื้อซ้ำไม่พบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่แล้วและได้รับยาต้านไวรัสครบชุดการรักษาแล้ว แต่ยังมีอาการปอดอักเสบ เพราะมีการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดรุนแรงซ้ำที่ปอด ซึ่งผลเอ็กซเรย์ปอดล่าสุดยังไม่ดีขึ้น แพทย์ต้องให้ยาปฏิชีวนะเต็มที่ และให้ยานอนหลับควบคู่เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ต่อต้านเครื่องช่วยหายใจ โดยต้องรอดูอาการอีก 2 วันจึงจะสามารถประเมินอาการได้อีกครั้ง
“การติดเชื้อสันนิษฐานว่า อาจมาจาก 2 ทางคือรกกับน้ำคร่ำ ซึ่งรายดังกล่าวมีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อมาจากน้ำคร่ำเพราะเด็กที่อยู่ในครรภ์จะมีการกลืนน้ำคร่ำเป็นปกติ และจะปัสสาวะออกมาวนเวียนอยู่ในน้ำคร่ำ จากข้อมูลทางการแพทย์มีการศึกษาวิจัยพบว่า ในน้ำคร่ำมีไวรัสปะปนอยู่และมีโอกาสติดต่อสู่เด็กในครรภ์ได้ แต่เป็นโรคอื่นๆ” รศ.นพ.อดิศรกล่าว
ขณะที่นายจินดาสามีของหญิงตั้งครรภ์รายดังกล่าว กล่าวว่า คาดว่าภรรยาจะติดเชื้อเนื่องจากไปเฝ้าลูกชายอีกคนที่โรงพยาบาล แต่ลูกชายตนไม่ได้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ จึงคาดว่าเป็นเพราะภรรยาไม่ได้สวมหน้ากากตลอดเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล เมื่อเริ่มมีไข้ได้พาไปรักษาที่คลินิกแพทย์ฉีดยาให้ 1 เข็ม วันถัดมาก็พบว่าอาการยังไม่ดีขึ้น จึงเตรียมพาไปโรงพยาบาล แต่อาการได้ทรุดหนักอย่างรวดเร็วมีอาการหอบ หายใจไม่ออก ซึ่งภรรยาไม่มีโรคประจำตัวอื่น นอกจากอ้วนมีน้ำหนักตัว 115 กิโลกรัม ขณะนี้อยากให้ปาฏิหาริย์ให้ภรรยาและลูกหายไวๆ ซึ่งตั้งชื่อลูกสาวไว้ว่า ด.ญ.ภิรมย์รัตน์ แต่ยังไม่มีชื่อเล่น
**ชง ครม.ของบเพิ่ม 626 ล้าน
แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 ก.ค.นี้ สธ.เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจำนวน 626 ล้านบาท โดยแบ่งงบฯ 3 ส่วน ดังนี้ 1.ควบคุมคัดกรองโรคและการแพร่ระบาดในส่วนกลางและภูมิภาค จำนวน 514 ล้านบาท 2.ซื้อยา ROLENZA เพิ่มเติม 2 หมื่นชุด สำหรับผู้ป่วยที่ดื้อยา จำนวน 9 ล้านบาท 3.งบประชาสัมพันธ์ 103 ล้านบาท ซึ่งสำนักงบประมาณเห็นด้วย เนื่องจากเห็นว่า เป็นกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
**“มานิต” เผยใช้ยาต้านวันละ 8 แสนเม็ด
ที่องค์การเภสัชกรรม นายมานิต นพอมรบดี กล่าวภายหลังการประชุมหารือเรื่องการสำรองยาต้านไวรัส โอลเซลทามิเวียร์ ว่า ขณะนี้เหลือยาต้านไวรัสคงคลังจำนวน 3.39 ล้านเม็ด จากเดิมที่มียาสำรองทั้งหมดก่อนการระบาด 6.2 ล้านเม็ด โดยตั้งแต่มีการระบาดปลายเดือนเม.ย. มีการใช้ยาไปแล้วทั้งสิ้น 2.8 ล้านเม็ด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้เริ่มผลิตยาต้านไวรัสอีก 10 ล้านเม็ด โดยมีกำลังการผลิตวันละ 1 ล้านเม็ด พร้อมทั้งได้สั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อผลิตเพิ่มอีก 30 ล้านเม็ด เมื่อวัตถุดิบมาถึงในสัปดาห์หน้าจะเริ่มการผลิตทันที
“ต่อจากนี้ อภ.จะเป็นหน่วยงานที่กระจายยาทั้งหมดทั่วประเทศ โดยกระจายผ่านศูนย์ที่ จ.เชียงใหม่ อุดรธานี สงขลาและกทม. โดยโรงพยาบาลทุกแห่งต้องรายงานการใช้ยาอย่างละเอียดทุกวัน โดยจะตัดยอดทุก 15.00 น.เพื่อให้ทราบว่ามีการใช้วันละเท่าใด รวมทั้งติดตามผลการใช้ยาของผู้ป่วยทุกราย เพื่อรายงานให้อภ.และสธ.รับทราบ”นายมานิต กล่าว
นายมานิตกล่าวต่อว่า สำหรับแนวคิดการกระจายยาต้านไวรัสลงไปในระดับคลินิก หากทีมผู้เชี่ยวชาญของสธ. เห็นชอบหลักการแล้ว อภ.จะเป็นผู้ควบคุมคลินิกอิสระที่อยู่ในกทม. ซึ่งมีประมาณ 2,100 แห่ง โดยจะเปิดให้คลินิกมาลงทะเบียนรับยา พร้อมทั้งรายงานยอดการจ่ายยาทุกวัน และให้ประวัติการรักษาทุกราย มีชื่อที่อยู่ พร้อมเลข 13 หลักและติดตามการใช้ยา ส่วนคลินิกในทั่วประเทศอีก 14,900 แห่ง จะให้เบิกจ่ายยากับโรงพยาบาลในพื้นที่ ซึ่งคลินิกแต่ละแห่งจะได้ยาวันละ 50 เม็ดหรือ 5 ชุดการรักษาสำหรับผู้ป่วย 5 คนต่อวัน รวมทั้งหมดจะต้องใช้ยา 8 แสนเม็ดต่อวัน สำหรับผู้ป่วย 8 หมื่นคนต่อวัน
ด้านนพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ขณะนี้ราคาวัตถุดิบเพื่อผลิตยาต้านไวรัสขึ้นไปร้อยละ 50 ซึ่งแต่ละประเทศไม่มีใครทราบว่าในช่วงฤดูหนาวจะมีการระบาดรุนแรงอีกหรือไม่ ทำให้มีการสำรองยาเพิ่มขึ้น หากไม่มีการสั่งซื้อในช่วงนี้อาจทำให้ประเทศไทยเป็นลำดับท้ายที่จะได้รับวัตถุดิบและอาจทำให้เกิดความขาดแคลน
**ฉะการเมืองล็อบบี้นำร่องจ่ายยาคลินิก
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข โรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 กล่าวภายหลังการประชุมนานกว่า 4 ชั่วโมงว่า คณะอนุกรรมการฯเห็นด้วยที่จะให้คลินิกเอกชนมีการสำรองยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์เพื่อจ่ายยาให้กับผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจรักษาและสงสัยว่าจะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เพียงแต่การดำเนินการของคลินิกต่างจะต้องกระทำภายใต้หลักเกณฑ์ที่คณะอนุกรรมการฯกำหนดไว้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประชุมของคณะอนุกรรมการฯในครั้งนี้ ไม่มีการแถลงข่าวภายหลังการประชุมโดยให้เหตุผลว่าประธานคณะอนุกรรมการฯป่วยมีอาการไอ ขณะที่นักวิชาการท่านอื่นที่เข้าร่วมประชุมไม่มีใครยอมให้ผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์แต่อย่างใด
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมในครั้งนี้ มีนักวิชาการบางท่านไม่พอใจที่ฝ่ายบริหารมีการให้ข่าวก่อนว่าได้มีการนำร่องให้คลินิกจ่ายยาโอเซลทามิเวียร์กับผู้ป่วยแล้วในบางพื้นที่ เนื่องจากเห็นว่าเมื่อมีแนวทางเช่นนั้นแล้วจะขอความเห็นจากนักวิชาการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทำไม เหมือนเป็นการกดดันให้มีมติเป็นไปตามแนวทางที่มีการตั้งธงไว้ล่วงหน้า
อย่างไรก็ตาม ความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ ที่ออกมายังไม่ถือเป็นมติที่คณะอนุกรรมการฯให้การรับรอง แต่เป็นแนวทางเพื่อให้สธ.นำไปใช้ก่อน โดยคณะอนุกรรมการจะมีการลงมติเห็นชอบในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งเชื่อว่าจะไม่มีการปรับแก้ในหลักการหลักของแนวทางที่มอบให้สธ.ไป ทั้งนี้ จะมีการให้รายละเอียดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของคลินิกที่จะได้รับอนุญาตให้มีการจ่ายยา ในการแถลงข่าวประจำสัปดาห์วันพุธที่ 29 ก.ค.นี้
**หวั่นดื้อยาตายเกลื่อนประเทศ
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผอ.ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกไวรัสสัตว์สู่คน กล่าวว่า ก่อนหน้านี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มีการเชิญนักวิชาการเข้าหารือเกี่ยวกับการให้คลินิกเอกชนจ่ายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ให้กับผู้ป่วย เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยได้รับยาช้าทำให้เสียชีวิต ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าการกระจายยาลักษณะนี้ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ การจะกระจายยาในลักษณะเช่นนี้ได้คลินิกจะต้องผ่านเกณฑ์หลักๆ 4 ข้อ คือ 1.มีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับโรคนี้ 2.แพทย์ในคลินิกจะต้องสามารถให้คำแนะนำกับผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำงานเป็นกะทำให้ไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ตลอดเวลาเช่นในโรงพยาบาล เนื่องจากการรักษาโรคนี้จำเป็นต้องติดตามผู้ป่วยสม่ำเสมอ และให้คำแนะนำหากมีอาการรุนแรงขึ้นให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล 3.คลินิกต้องมีความสามารถในการแยกผู้ป่วยไข้หวัดและผู้ป่วยที่ไม่ใช่ผู้ป่วยไข้หวัด และ4.ต้องมีระบบการรายงานข้อมูลผู้ป่วยให้กับสธ.อย่างชัดเจน ซึ่งคลินิกในไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์ดังกล่าว
“สาเหตุที่จะต้องกระจายยาให้กับคลินิก เป็นเพราะนักการเมืองอยากได้คะแนนเสียง เพราะคิดว่าการให้ยากับผู้ป่วยเร็วที่สุด จะลดอัตราการเสียชีวิตได้ ทั้งที่ผู้ป่วยไข้หวัดที่มาพบแพทย์ไม่ได้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ทุกราย อาจเกิดการให้ยาเกินความจำเป็น”ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าว
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า ข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนี้ ยังไม่สามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยเสียชีวิตเนื่องจากการรับยาช้า การออกมาให้ข้อมูลว่าผู้ป่วยเสียชีวิตเนื่องจากการได้รับยาช้าอาจไม่ใช่ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยเสียชีวิตในวันที่ 8 แต่ให้ยาเมื่อวันที่ 6 ไม่ได้หมายความว่าให้ยาช้า เนื่องจากผู้ป่วยบางรายในวันที่ 1-5 อาการยังไม่ปรากฏเข้าเกณฑ์ที่จะต้องให้ยา เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตก็มีการเหมารวมว่าป่วยมานานถึง 6 วันแล้วพึ่งจะได้รับยา เหมือนกับว่าได้รับยาช้า ทั้งที่ความจริงแล้วกรณีเช่นนี้เป็นคนละเรื่องกับการได้รับยาช้า
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวด้วยว่า นักวิชาการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการกระจายให้กับคลินิก แต่ถูกล็อบบี้จากฝ่ายการเมืองคิดว่าหากดำเนินการเช่นนี้แล้วจะสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน เมื่อจำเป็นต้องเห็นด้วย คณะอนุกรรมการฯจึงได้กำหนดเงื่อนไขคลินิกที่จะสามารถจ่ายยาโอเซลทามิเวียร์ให้กับผู้ป่วยไว้อย่างชัดเจน คือ ต้องมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ข้างต้นทั้ง 4 ข้อ
“การเสียชีวิตของผู้ป่วยอาจมาจากสาเหตุอื่น เพราะถ้ารู้ว่าปัญหาอยู่ที่การให้ยาช้า การแก้ปัญหาต้องให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ ไม่ใช่ปล่อยให้กระจายยากระจัดกระจาย เพราะปัจจุบันไม่ใช่ระยะรุนแรงของโรค ถ้ามีการให้และเกิดการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ก็ไม่มีมาตรการรองรับ ก็จะตายกันทั้งประเทศ หมดทางรักษา เนื่องจากเมื่อเชื้อดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ ต้องให้ยาซานามิเวียร์ ซึ่งไทยยังผลิตเองไม่ได้และยามีราคาแพงมาก ไม่สามารถซื้อมาให้กับผู้ป่วยได้ครอบคลุมทั้งหมด หากเกิดการระบาดใหญ่ในอนาคต” ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าว.