สธ.ตั้งเทอร์โมสแกน 6 เครื่องหน้าสนามราชมังคลาฯ สกัดแฟนบอลป่วย ส่งยาโอเซลทามิเวียร์ ลงต่างจังหวัดอีก 1.2 ล้านเม็ด เดินหน้่าส่ง sms ป้องหวัดเข้ามือถือ “วิทยา” ก้มหน้ายอมรับความจริงหากเจ็บ-ตายเพิ่ม
นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษ “เดอะ คอป คัม ทู เอเชีย” ระหว่างทีมสโมสรลิเวอร์พูล และทีมชาติไทย ในวันที่ 22 ก.ค.นี้ ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน กรมควบคุมโรค (คร.) นำเครื่องเทอร์โมสแกนจำนวน 6 เครื่อง ไปติดตั้งหน้าประตูทางเข้า-ออกของสนามทุกประตู เพื่อคัดกรองผู้ที่จะเข้าชมการแข่งขันฟุตบอล หากพบว่ามีไข้ให้กลับบ้านทันที โดยผู้จัดการแข่งขันจะคืนเงินค่าตั๋วในภายหลัง นอกจากนี้ จะมีการตั้งเต็นท์ให้มีแพทย์และพยาบาลประจำคอยตรวจวัดอุณหภูมิและให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่จะเข้าชมและสงสัยว่าตนเองจะป่วยไข้ด้วย
“ขอเตือนผู้ที่จะเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลดังกล่าว หากใครมีอาการป่วยเป็นไข้ขอให้นอนดูโทรทัศน์ที่บ้าน เพราะหากมีอาการป่วยแล้วเข้าชมการแข่งขัน ทำให้มีการหายใจแรงในภาวะที่มีความตื่นเต้นกับการลุ้นการทำประตู หรือโห่ฮา กระโดดโลดเต้น เป็นเหมือนการออกกำลัง เชื้อไวรัสจะลงปอดเร็วกว่าปกติ ทำให้มีอาการรุนแรงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย และผู้ที่ป่วยไข้แล้วยังเข้าชมการแข่งขันไม่เป็นสุภาพบุรุษ ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะจะเอาเชื้อไปแพร่ให้กับคนอื่น” นายวิทยา กล่าว
นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า คาดว่า จะมีผู้เข้าชมการแข่งขันฟุตบอลครั้งนี้ประมาณ 4-5 หมื่นคน แม้จะมีความปลอดภัยต่อการติดเชื้อมากกว่าการจัดแสดงคอนเสิร์ต เนื่องจากเป็นพื้นที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ปิดทึบเหมือนการจัดคอนเสิร์ต แต่ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังคนเข้าชมที่นั่งติดกับผู้ป่วยได้ง่าย จึงขอร้องให้คนป่วยพักรักษาตัวอยู่กับบ้าน เพราะการออกมาเผชิญแดดอาจทำให้อาการทรุดหนักลง
ยันตัวเลขผู้ป่วย 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่สูง 10,000-50,000 คน
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัด สธ.กล่าวว่า มีกระแสข่าวว่าในช่วง 1 สัปดาห์ที่ สธ.หยุดรายงานตัวเลขผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทำให้มียอดผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 10,000-50,000 รายนั้น ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง ตัวเลขผู้ป่วยอาจจะมีเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่สูงเท่ากระแสข่าวดังกล่าวอย่างแน่นอน โดยตัวเลขที่สูงขึ้นเป็นเพราะ สธ.จะนำตัวเลขผู้ป่วยจากโรงเรียนแพทย์ทุกแห่งทั่วประเทศมารวมด้วย เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นต้น เพราะก่อนหน้านี้โรงเรียนแพทย์ยังไม่เคยแจ้งตัวเลขผู้ป่วยมายัง สธ.แต่อย่างใด
“วิทยา-มานิต” หนีลงพื้นที่บอกต้องยอมรับความจริงป่วย-ตายเพิ่ม
นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้หารือกับนายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข แบ่งพื้นที่ในการตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลในต่างจังหวัด คนละ 5 แห่งในวันที่ 22 ก.ค.นี้ เพื่อตรวจช่องทางพิเศษในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 การสำรองยาในโรงพยาบาลมีเพียงพอหรือไม่ การกระจายยาจากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาคเป็นอย่างไร และรับทราบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานในโรงพยาบาลต่างจังหวัด ซึ่งขณะนี้นโยบายจะต้องนำไปสู่การปฎิบัติ เนื่องจากได้รับทราบข้อมูลว่า ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ยังลงไปไม่ถึงโรงพยาบาลในชุมชน ซึ่งหากนโยบายไม่นำไปสู่การปฏิบัติก็จบมีปัญหาได้
“ส่วนตัวเลขผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเท่าใดนั้นไม่สามารถบอกได้ ซึ่งในที่ประชุม ครม.ไม่มีการรายงานตัวเลขยืนยันผู้ติดเชื้อแต่อย่างใด เป็นเพียงการประมาณการ เพราะขณะนี้สำนักระบาดวิทยาอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลอยู่ ซึ่งหากจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นก็ต้องยอมรับความเป็นจริง”นายวิทยา กล่าว
สธ.ส่งยาโอเซลทามิเวียร์ ลงต่างจังหวัดอีก 1.2 ล้านเม็ด
นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้ สธ.จะจัดส่งยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์กระจายไปยังโรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัด สธ.เพิ่มอีก 1.2 ล้านเม็ด รวมทั้งโรงพยาบาลชุมชนด้วย เพื่อให้มีศักยภาพรองรับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ สธ.ได้จัดส่งยาต้านไวรัสไปแล้วจำนวน 1 ล้านเม็ด นอกจากนี้ ในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้ ทุกๆ จังหวัด จะมีการประชุมทีมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวางมาตรการการรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ขณะนี้การระบาดเริ่มขยายไปยังต่างจังหวัดแล้ว และในอนาคตอาจจะระบาดไปตามชุมชนต่างๆ ได้
สธ.ส่งเอสเอ็มเอสให้ความรู้ป้องกันหวัด 2009 แล้ว
นพ.สินชัย ต่อวัฒนกิจกุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ศูนย์ได้ประสานงานกับบริษัทเจ้าของเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด หรือเอไอเอส บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด หรือ ดีแทค และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ทรูมูฟ ในการช่วยส่งข้อความสั้นหรือเอสเอ็มเอสเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการให้ความรู้ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 โดยได้ส่งเนื้อหาของเอสเอ็มเอสแรกไปแล้ว ซึ่งในวันที่ 21 ก.ค.ได้ประสานส่งข้อความอีก 3 เรื่องให้กับบริษัททั้ง 3 อีก เพื่อให้ความรู้ประชาชนเพิ่มเติม
ทั้งนี้“ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อเป็นไข้หวัดและเมื่ออยู่ในชุมชนหนาแน่น, ล้างมือบ่อยๆ” ได้ส่งไปแล้ว โดย อีก 3 เนื้อหาได้แก่ “ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ควรหยุดเรียนหยุดงาน พักที่บ้านอย่างน้อย 7 วัน จาก สธ.”, “อาการโรคแทรกไข้หวัดใหญ่ คือ ไข้สูง ไอ หอบ อาเจียนมาก ซึม รีบพบแพทย์ทันที:สธ." และโรคอ้วน หญิงมีครรภ์ โรคตับ ไต หัวใจ ปอด เด็กและผู้สูงอายุรีบพบแพทย์เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่:สธ.” และขอให้ใช้ชื่อผู้ส่งเป็น สธ. หรือ MOPH
“ข้อความเนื้อหาแรกที่กำลังทยอยส่งอยู่ระหว่างนี้ ทุกเครือข่ายได้ให้ความร่วมมือในการส่งแล้ว แต่จะส่งกับกลุ่มที่เป็นระบบเติมเงินของทุกระบบก่อน เนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมาย นักเรียน นักศึกษา แรงงานที่พบว่าอัตราการป่วยมากกว่าช่วงอายุอื่นๆ จากนั้นจึงทยอยส่งให้กับผู้ใช้บริการโทรศัพท์ลงทะเบียนจ่ายเงินรายเดือนต่อไป” นพ.สินชัย กล่าว
นพ.สินชัย กล่าวว่า ขณะนี้มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งสิ้น 21 ล้านเครื่อง ดังนั้นทางบริษัทเครือข่ายฯจำเป็นต้องทยอยส่งเอสเอ็มเอส เนื่องจากหากส่งพร้อมกันเป็นล้านข้อความอาจทำให้เกิดปัญหาทางการส่งข้อความได้ อีกทั้งการส่งแต่ละครั้งต้องจำกัดจำนวนตัวอักษรเพียง 70 อักษรเท่านั้น เพราะหากเกินจะเป็นการส่งข้อความหลายครั้ง
รพ.เด็กรับทารกคลอดก่อนกำหนด แม่ตายสงสัยหวัด 2009
นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ก.ค.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีได้รับการส่งตัวทารกที่คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 6 เดือน ส่งมาจากโรงพยาบาลนครธน ซึ่งมารดาเสียชีวิตจากอาการปอดอักเสบ โดยไม่ทราบสาเหตุการเสียชีวิตว่าจากไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือไม่ มีอาการออกซิเจนต่ำ คณะแพทย์ของโรงพยาบาลนครธนจึงได้ตัดสินช่วยเหลือทารกก่อน
นพ.เรวัต กล่าวว่า ขณะนี้อาการของทารกรายดังกล่าวถือว่าหนักมาก เพราะอาการของเด็กคลอดก่อนกำหนดในช่วงระยะเวลา 6 เดือน ปอดยังทำงานได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งเกิดภาวะการขาดอากาศหายใจ จึงต้องใช้เครื่องช่วยหายใจพิเศษ และยังใช้แก๊สช่วยในการหายใจ
“ทารกคลอดด้วยน้ำหนักเพียง 1,300 กรัมเท่านั้น โดยอาการของทารกรายนี้ มีอาการเหมือนกับเด็กคลอดก่อนกำหนดในช่วงระยะเวลาทารกครรภ์เพียง 6 เดือนทั่วไป แต่รายนี้เกิดภาวะขาดอากาศหายใจร่วมด้วยจึงทำให้อาการหนัก แต่ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดอีกระยะ ซึ่งโดยปกติหากทารกคลอดก่อนกำหนดที่สถาบันฯจะมีโอกาสรอดประมาณ 60-70% แต่หากเป็นสถานพยาบาลแห่งอื่นก็ไม่ทราบว่าระหว่างการคลอดเป็นอย่างไรบ้าง ดังนั้น รายดังกล่าวจึงถือว่าโอกาสในการรอดจะน้อยกว่าที่คลอดในสถาบัน” นพ.เรวัต กล่าว
นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษ “เดอะ คอป คัม ทู เอเชีย” ระหว่างทีมสโมสรลิเวอร์พูล และทีมชาติไทย ในวันที่ 22 ก.ค.นี้ ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน กรมควบคุมโรค (คร.) นำเครื่องเทอร์โมสแกนจำนวน 6 เครื่อง ไปติดตั้งหน้าประตูทางเข้า-ออกของสนามทุกประตู เพื่อคัดกรองผู้ที่จะเข้าชมการแข่งขันฟุตบอล หากพบว่ามีไข้ให้กลับบ้านทันที โดยผู้จัดการแข่งขันจะคืนเงินค่าตั๋วในภายหลัง นอกจากนี้ จะมีการตั้งเต็นท์ให้มีแพทย์และพยาบาลประจำคอยตรวจวัดอุณหภูมิและให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่จะเข้าชมและสงสัยว่าตนเองจะป่วยไข้ด้วย
“ขอเตือนผู้ที่จะเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลดังกล่าว หากใครมีอาการป่วยเป็นไข้ขอให้นอนดูโทรทัศน์ที่บ้าน เพราะหากมีอาการป่วยแล้วเข้าชมการแข่งขัน ทำให้มีการหายใจแรงในภาวะที่มีความตื่นเต้นกับการลุ้นการทำประตู หรือโห่ฮา กระโดดโลดเต้น เป็นเหมือนการออกกำลัง เชื้อไวรัสจะลงปอดเร็วกว่าปกติ ทำให้มีอาการรุนแรงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย และผู้ที่ป่วยไข้แล้วยังเข้าชมการแข่งขันไม่เป็นสุภาพบุรุษ ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะจะเอาเชื้อไปแพร่ให้กับคนอื่น” นายวิทยา กล่าว
นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า คาดว่า จะมีผู้เข้าชมการแข่งขันฟุตบอลครั้งนี้ประมาณ 4-5 หมื่นคน แม้จะมีความปลอดภัยต่อการติดเชื้อมากกว่าการจัดแสดงคอนเสิร์ต เนื่องจากเป็นพื้นที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ปิดทึบเหมือนการจัดคอนเสิร์ต แต่ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังคนเข้าชมที่นั่งติดกับผู้ป่วยได้ง่าย จึงขอร้องให้คนป่วยพักรักษาตัวอยู่กับบ้าน เพราะการออกมาเผชิญแดดอาจทำให้อาการทรุดหนักลง
ยันตัวเลขผู้ป่วย 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่สูง 10,000-50,000 คน
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัด สธ.กล่าวว่า มีกระแสข่าวว่าในช่วง 1 สัปดาห์ที่ สธ.หยุดรายงานตัวเลขผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทำให้มียอดผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 10,000-50,000 รายนั้น ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง ตัวเลขผู้ป่วยอาจจะมีเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่สูงเท่ากระแสข่าวดังกล่าวอย่างแน่นอน โดยตัวเลขที่สูงขึ้นเป็นเพราะ สธ.จะนำตัวเลขผู้ป่วยจากโรงเรียนแพทย์ทุกแห่งทั่วประเทศมารวมด้วย เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นต้น เพราะก่อนหน้านี้โรงเรียนแพทย์ยังไม่เคยแจ้งตัวเลขผู้ป่วยมายัง สธ.แต่อย่างใด
“วิทยา-มานิต” หนีลงพื้นที่บอกต้องยอมรับความจริงป่วย-ตายเพิ่ม
นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้หารือกับนายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข แบ่งพื้นที่ในการตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลในต่างจังหวัด คนละ 5 แห่งในวันที่ 22 ก.ค.นี้ เพื่อตรวจช่องทางพิเศษในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 การสำรองยาในโรงพยาบาลมีเพียงพอหรือไม่ การกระจายยาจากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาคเป็นอย่างไร และรับทราบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานในโรงพยาบาลต่างจังหวัด ซึ่งขณะนี้นโยบายจะต้องนำไปสู่การปฎิบัติ เนื่องจากได้รับทราบข้อมูลว่า ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ยังลงไปไม่ถึงโรงพยาบาลในชุมชน ซึ่งหากนโยบายไม่นำไปสู่การปฏิบัติก็จบมีปัญหาได้
“ส่วนตัวเลขผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเท่าใดนั้นไม่สามารถบอกได้ ซึ่งในที่ประชุม ครม.ไม่มีการรายงานตัวเลขยืนยันผู้ติดเชื้อแต่อย่างใด เป็นเพียงการประมาณการ เพราะขณะนี้สำนักระบาดวิทยาอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลอยู่ ซึ่งหากจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นก็ต้องยอมรับความเป็นจริง”นายวิทยา กล่าว
สธ.ส่งยาโอเซลทามิเวียร์ ลงต่างจังหวัดอีก 1.2 ล้านเม็ด
นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้ สธ.จะจัดส่งยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์กระจายไปยังโรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัด สธ.เพิ่มอีก 1.2 ล้านเม็ด รวมทั้งโรงพยาบาลชุมชนด้วย เพื่อให้มีศักยภาพรองรับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ สธ.ได้จัดส่งยาต้านไวรัสไปแล้วจำนวน 1 ล้านเม็ด นอกจากนี้ ในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้ ทุกๆ จังหวัด จะมีการประชุมทีมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวางมาตรการการรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ขณะนี้การระบาดเริ่มขยายไปยังต่างจังหวัดแล้ว และในอนาคตอาจจะระบาดไปตามชุมชนต่างๆ ได้
สธ.ส่งเอสเอ็มเอสให้ความรู้ป้องกันหวัด 2009 แล้ว
นพ.สินชัย ต่อวัฒนกิจกุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ศูนย์ได้ประสานงานกับบริษัทเจ้าของเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด หรือเอไอเอส บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด หรือ ดีแทค และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ทรูมูฟ ในการช่วยส่งข้อความสั้นหรือเอสเอ็มเอสเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการให้ความรู้ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 โดยได้ส่งเนื้อหาของเอสเอ็มเอสแรกไปแล้ว ซึ่งในวันที่ 21 ก.ค.ได้ประสานส่งข้อความอีก 3 เรื่องให้กับบริษัททั้ง 3 อีก เพื่อให้ความรู้ประชาชนเพิ่มเติม
ทั้งนี้“ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อเป็นไข้หวัดและเมื่ออยู่ในชุมชนหนาแน่น, ล้างมือบ่อยๆ” ได้ส่งไปแล้ว โดย อีก 3 เนื้อหาได้แก่ “ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ควรหยุดเรียนหยุดงาน พักที่บ้านอย่างน้อย 7 วัน จาก สธ.”, “อาการโรคแทรกไข้หวัดใหญ่ คือ ไข้สูง ไอ หอบ อาเจียนมาก ซึม รีบพบแพทย์ทันที:สธ." และโรคอ้วน หญิงมีครรภ์ โรคตับ ไต หัวใจ ปอด เด็กและผู้สูงอายุรีบพบแพทย์เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่:สธ.” และขอให้ใช้ชื่อผู้ส่งเป็น สธ. หรือ MOPH
“ข้อความเนื้อหาแรกที่กำลังทยอยส่งอยู่ระหว่างนี้ ทุกเครือข่ายได้ให้ความร่วมมือในการส่งแล้ว แต่จะส่งกับกลุ่มที่เป็นระบบเติมเงินของทุกระบบก่อน เนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมาย นักเรียน นักศึกษา แรงงานที่พบว่าอัตราการป่วยมากกว่าช่วงอายุอื่นๆ จากนั้นจึงทยอยส่งให้กับผู้ใช้บริการโทรศัพท์ลงทะเบียนจ่ายเงินรายเดือนต่อไป” นพ.สินชัย กล่าว
นพ.สินชัย กล่าวว่า ขณะนี้มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งสิ้น 21 ล้านเครื่อง ดังนั้นทางบริษัทเครือข่ายฯจำเป็นต้องทยอยส่งเอสเอ็มเอส เนื่องจากหากส่งพร้อมกันเป็นล้านข้อความอาจทำให้เกิดปัญหาทางการส่งข้อความได้ อีกทั้งการส่งแต่ละครั้งต้องจำกัดจำนวนตัวอักษรเพียง 70 อักษรเท่านั้น เพราะหากเกินจะเป็นการส่งข้อความหลายครั้ง
รพ.เด็กรับทารกคลอดก่อนกำหนด แม่ตายสงสัยหวัด 2009
นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ก.ค.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีได้รับการส่งตัวทารกที่คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 6 เดือน ส่งมาจากโรงพยาบาลนครธน ซึ่งมารดาเสียชีวิตจากอาการปอดอักเสบ โดยไม่ทราบสาเหตุการเสียชีวิตว่าจากไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือไม่ มีอาการออกซิเจนต่ำ คณะแพทย์ของโรงพยาบาลนครธนจึงได้ตัดสินช่วยเหลือทารกก่อน
นพ.เรวัต กล่าวว่า ขณะนี้อาการของทารกรายดังกล่าวถือว่าหนักมาก เพราะอาการของเด็กคลอดก่อนกำหนดในช่วงระยะเวลา 6 เดือน ปอดยังทำงานได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งเกิดภาวะการขาดอากาศหายใจ จึงต้องใช้เครื่องช่วยหายใจพิเศษ และยังใช้แก๊สช่วยในการหายใจ
“ทารกคลอดด้วยน้ำหนักเพียง 1,300 กรัมเท่านั้น โดยอาการของทารกรายนี้ มีอาการเหมือนกับเด็กคลอดก่อนกำหนดในช่วงระยะเวลาทารกครรภ์เพียง 6 เดือนทั่วไป แต่รายนี้เกิดภาวะขาดอากาศหายใจร่วมด้วยจึงทำให้อาการหนัก แต่ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดอีกระยะ ซึ่งโดยปกติหากทารกคลอดก่อนกำหนดที่สถาบันฯจะมีโอกาสรอดประมาณ 60-70% แต่หากเป็นสถานพยาบาลแห่งอื่นก็ไม่ทราบว่าระหว่างการคลอดเป็นอย่างไรบ้าง ดังนั้น รายดังกล่าวจึงถือว่าโอกาสในการรอดจะน้อยกว่าที่คลอดในสถาบัน” นพ.เรวัต กล่าว