สธ.เผยยอดตายหวัด 2009 ในรอบสัปดาห์ เพิ่ม 21 ราย ไม่แจ้งยอดป่วยอ้างไม่ท้อนความจริงแถมฮูแนะว่าไม่จำเป็น ล่าสุดคาดผู้ป่วยเกิน 5 แสนคน ตั้งคณะทำงานศึกษาสาเหตุการตายเชิงลึก ด้านคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการฯ แจง 8 เกณฑ์ก่อนให้คลินิกจ่ายยา ถ้าทำตามพอรับได้ “หมอประเสริฐ” เตือน สธ.ทำอะไรหารือผู้เชี่ยวชาญให้รอบคอบไม่งั้นหมดความน่าเชื่อถือ
เมื่อเวลา 11.00 น. นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น1 ในรอบสัปดาห์ มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 21 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยเสียชีวิตสะสมจำนวน 65 ราย ส่วนการรายงานยอดผู้ป่วยสะสมนั้น องค์การอนามัยโลก(WHO) ยืนยันว่าไม่มีความจำเป็นต้องรายงานเพราะไม่สะท้อนความเป็นจริง อย่างไรก็ตามสำนักระบาดวิทยาคาดการณ์ว่า มียอดผู้ป่วยจริงเกิน 5 แสนรายแล้ว โดยจากการตรวจเชื้อของห้องปฏิบัติการพบว่าร้อยละ 50 เป็นผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 การตรวจทางห้องปฏิบัติการขณะนี้จึงทำเพื่อเฝ้าระวังในกลุ่มที่มีการแพร่ระบาดเช่น โรงเรียน ที่ทำงาน และผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลและมีอาการหนัก
อย่างรก็ตาม สำนักระบาดวิทยาแจ้งยอดผู้ติดเชื้อหวัด 2009 สะสม จำนวนทั้งสิ้น 8,879 ราย
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำนักระบาดวิทยารายงานข้อมูลในรอบสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 22-28 ก.ค. มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 65 รายใน 27 จังหวัด แยกเป็นภาคกลาง 13 จังหวัด ภาคอีสาน 6 จังหวัด ภาคเหนือ 4 จังหวัด และภาคใต้ 4 จังหวัด เป็นหญิง 30 ราย ชาย 35 ราย พบทุกกลุ่มอายุ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 2 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัว คือ 41 ราย เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมากที่สุด ซึ่งอาจเป็นร่วมกันมากว่า 2 โรค คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด 14 ราย เบาหวาน 9 ราย อ้วนน้ำหนักตัวมากกกว่า 100 กิโลกรัม 9 ราย โรคปอดหรือสูบบุหรี่จัด 7 ราย ไตวายเรื้อรัง 6 ราย กินยากดภูมิต้านทาน 4 ราย โรคระบบเลือดและตั้งครรภ์อย่างละ 3 ราย โรคตับและพิการแต่กำเนิดอย่างละ 2 ราย ส่วน 1 ใน 3 หรือ 24 รายไม่มีโรคประจำตัวแต่เข้ารับการรักษาช้าหลังป่วยแล้ว 6 วัน ทำให้ยาต้านไวรัสไม่ได้ผลดี
“ก่อนหน้านี้ได้รับรายงานว่ามีผู้ป่วยที่สธ.ขึ้นทะเบียน 66 ราย แต่หลังจากคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ทบทวนสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่สธ.ขึ้นทะเบียนพบว่า มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ไม่ได้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แต่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ดังนั้นจึงตัดยอดผู้ป่วยจาก 66 รายเหลือ 65 ราย”นพ.ไพจิตร์กล่าว
ตั้งคณะทำงานศึกษาข้อมูลป่วย-ตายเชิงลึก
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับชาติ ซึ่งมี ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน ได้ให้คำแนะนำเพื่อเตรียมพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่ โดย 1.เร่งให้ความรู้กับแพทย์ทุกคนในการดูแลรักษาตามแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ให้เป็นไปในทางเดียวกันทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะเร่งส่งให้แพทย์ทุกจังหวัด เชื่อว่าจะทำให้ผู้ป่วยได้รับยาและการรักษาที่ถูกต้อง และ 2.กระจายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ให้คลินิกทั่วประเทศ ตามมาตรฐานการดำเนินงาน 8 ข้อ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการให้เร็วที่สุดหลังจากที่มีการอบรมให้ความรู้แล้ว ส่วนโครงการนำร่องที่ จ.ราชบุรี ก็จะดำเนินต่อไป โดยไม่ต้องรอการประเมินผลเพื่อทำในระดับประเทศ
“คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาฯ จะมีการตั้งคณะทำงาน ซึ่งจะประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษา ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส ผู้เชียวชาญจากห้องปฏิบัติการ เพื่อติดตามศึกษาเชิงลึก คอยให้คำปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว มีข้อสงสัย รวมถึงพิจารณาสาเหตุการตาย ว่าเกิดจากโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 จริงหรือไม่ รวมทั้งจะขอความร่วมมือจากญาติเพื่อขอนำศพมาผ่าพิสูจน์เพื่อศึกษาลักษณะและความรุนแรงของโรคในประเทศไทย”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
“หมอประเสริฐ” ชี้คณะอนุกรรมการฯ ตั้งเกณฑ์ให้คลินิกทั่วประเทศรอบคอบ
ศ.นพ.(เกียรติคุณ)ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา และประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการฯ กล่าวว่า สำหรับแนวทางในการกระจายยาต้านไวรัส ไปยังคลินิกต่างๆ จากการประชุมเมื่อวันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการหลายท่าน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ได้พิจารณาร่วมกันว่าสามารถกระจายยาทั่วประเทศได้ โดยมีการวิพากษ์และพิจารณาอย่างละเอียด เห็นว่า การที่คนไข้ได้ให้ยาเร็วเป็นสิ่งที่ดี แต่การให้ยาตามคลินิกทุกแห่ง ที่ประชุมเป็นกังวล ว่า ต้องคิดอย่างละเอียดถึงข้อดีข้อเสีย แต่อย่างไรก็จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อลดความสูญเสียให้ได้มากที่สุด จึงเห็นร่วมกันว่ากระทรวงสาธารณสุข จำเป็นต้องพิจารณาว่าที่ใดควรมีหรือไม่ควรมียา จึงกำหนดเป็นเกณฑ์เพื่อปฏิบัติขึ้น
ศ.นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า หลักเกณฑ์การกระจายยา 1 ต้องเป็นคลินิกที่มีแพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น 2 คลินิกจะต้องส่งรายงานหลักฐานการจ่ายยาและอาการไม่พึงประสงค์ คล้ายกับเวชระเบียน ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือกระทรวงสาธารณสุขทุกวัน 3 คลินิกจะต้องมีมาตรการป้องกันการติดเชื้อในคลินิกทุกแห่ง 4 คลินิกที่เข้าร่วมต้องได้รับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ 5คลินิกนั้นๆ จะต้องมีเครือข่ายหรือสามารถส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลได้ ดังนั้นจึงต้องเป็นคลินิกที่มีความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ 6 มีกลไกในการติดตามผู้ป่วยทุกรายหลังการรักษาถือเป็นกระบวนการเฝ้าระวัง 7 ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจังต้องมีระบบการควบคุมการตรวจสอบคลินิกที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งในเรื่องมาตรฐาน การสั่งจ่ายยา การป้องกันการติดเชื้อในคลินิกทุกเดือน 8 คลินิกที่เข้าร่วมโครงการต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด เพราะโรคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
เตือนสธ.หารือผู้เชี่ยวชาญ ไม่เหลือบ่ากว่าแรง
“หาก สธ.ทำอะไรโดยไม่รอบคอบก็จะขาดความน่าเชื่อถือที่สุด ซึ่งคิดว่าไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรงที่กระทรวงสาธารณสุขจะสามารถทำได้ในการปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และหาก สธ.มีปัญหาสำคัญ ก็ควรส่งให้คณะอนุกรรมการฯหารือก่อน การทำการอะไรอาจคิดว่าจำเป็นต้องทำ คิดแล้วว่าเหมาะสม แต่นักวิชาการ ซึ่งมีความคิดที่หลากหลายอาจจะคิดเห็นคนละมุมก็ได้ ซึ่งหากทำตามหลักเกณฑ์การให้จ่ายยา ความกังวลใจของนักวิชาการก็พอจะรับได้”ศ.นพ.ประเสริฐ กล่าว
ศ.นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ในสถานการณ์ที่มีโรคระบาดเกิดขึ้นนั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่เกิดความสูญเสียเลย แต่สิ่งที่ต้องทำคือลดความสูญเสียให้ได้มากที่สุด กรณีที่มีคนตายนั้น แม้ว่าจะมีเพียงคนเดียว ก็ไม่มีใครสบายใจ สิ่งที่สำคัญ ที่ต้องทำวันนี้ คือ ช่วยกันคิด ไม่ใช่มีคนตายก็มาถล่มกัน สิ่งที่ต้องการ คือ อยากให้ประชาชนตระหนักว่าจะป้องกันตัวเองได้อย่างไร ซึ่งสธ.มีการออกคำแนะนำมาตลอดว่าประชาชนควรปฏิบัติอย่างไร หากปฏิบัติตามคำแนะนำ
“หมอคำนวณ” ชี้ป่วยหวัดเข้าโรงพยาบาลเริ่มลด
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ10 กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มนักเรียนยังคงเป็นกลุ่มที่มีการป่วยมากที่สุด แต่จากการใช้มาตรการหลายอย่างของ สธ.และศธ. รวมถึงความร่วมมือจากโรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ ทำให้แนวโน้มเริ่มลดลงบ้าง โดยเมื่อพิจารณาจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด ซึ่งเข้ารักษาในโรงพยาบาล ทั่วประเทศครึ่งเดือนแรกของเดือน ก.ค.พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยถึง 25,000 คนต่อวัน แต่ครึ่งเดือนหลัง พบว่ามีจำนวนผู้ป่วย 18,000 คนต่อวัน
สหรัฐจับตาแม่ตั้งครรภ์ถ่ายทอดเชื้อให้ลูก ชี้เกิดได้ยาก
นพ.มาร์ค ซิมเมอแมน หัวหน้าฝ่ายไข้หวัดใหญ่ โครงการโรคติดเชื้อระหว่างประเทศ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสำคัญกรณีการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกมาก โดยพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 6 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด โดยกำลังมีการตีพิมพ์เรื่องการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกลงในวารสารทางการแพทย์ และจะมีการถกเถียงกันต่อไปในระดับวิชาการ อย่างไรก็ตาม กรณีการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ถือเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ยากมาก
“หมอยง” เผยทั่วโลกพบดื้อยาต้านไวรัส 5 ราย ยันยังไม่พบในไทย
ศ.นพ.ยง วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า สำหรับปัญหาการดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ ขณะนี้ทั่วโลกพบว่ามีจำนวน 5 ราย ใน 4 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น 2 ราย แคนาดา เดนมาร์ค และฮ่องกง แห่งละ 1 ราย ในจำนวนนี้มีประเทศฮ่องกงเพียงประเทศเดียวที่ผู้ป่วยไม่มีประวัติรับยาโอเซลทามิเวียร์มาก่อน แต่มีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ซานฟราสซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะที่อีก 4 ราย ได้รับยาโอเซลทามิเวียร์ทั้งหมด และจากการติดตามอาการผู้ป่วยพบว่า ไม่มีรายใดที่แพร่เชื้อโรคดื้อยาไปสู่ผู้อื่น เนื่องจากสามารถควบคุมการกระจายของเชื้อดื้อยาได้มีประสิทธิภาพ
ศ.นพ.ยง กล่าวต่อว่า ส่วนประเทศไทยขณะนี้ยังไม่พบว่ามีการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์แต่อย่างใด และไทยมีมาตรการในการรองรับอยู่แล้ว โดยมีการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นและมีการสุ่มตรวจแบบคัดกรองเชื้อว่ามีการดื้อยาหรือไม่ ซึ่งสามารถทำได้ในปริมาณมากและรวดเร็ว ที่ผ่านมามีการตรวจเชื้อดื้อยาในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาโอเซลทามิเวียร์ในหลายพื้นที่ เช่น จ.ขอนแก่น และกรุงเทพมหานคร ยืนยันว่ายังไม่พบว่าดื้อยาในไทยขอให้ประชาชนสบายใจได้
“วิทยา” ประกาศพื้นที่ชนบทไทยต้องปลอดหวัดใหญ่ 2009
ต่อมาเวลา 13.00 น.นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวในการประชุมเพื่อมอบนโยบายเร่งรัดบทบาท อสม.และแนวทางดำเนินการสร้างความพร้อมในการรับมือโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ว่า พื้นที่ในชนบทของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับหมู่บ้านและชุมชนจะต้องปลอดจากผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เนื่องจากบริบทสภาพบ้านเรือนและพื้นที่มีลักษณะที่อยู่ห่างกันไม่แออัดยัดเยียดอย่างในพื้นที่เมือง จึงไม่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หากมีการคัดกรองเร็วก็จะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ง่าย
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยในพื้นที่ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันดำเนินการอย่างจริงจัง ถ้ามีผู้ป่วยในหมู่บ้านจะต้องถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับจังหวัด ที่จะต้องซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อติดตามผู้ป่วยทันทีว่าไปที่ไหนและเกี่ยวข้องกับใครมาบ้าง เพื่อจำกัดวงไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่ระบาดในระดับหมู่บ้าน ซึ่งไม่ว่าจะต้องเคาะประตูบ้านกี่รอบก็ต้องทำ
ลั่นตลอด 3 เดือน สธ.ทำตามคำแนะนำนักวิชาการตลอด
“3 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการมาตรการต่างๆภายใต้คำแนะนำของนักวิชาการมาโดยตลอด ไม่เคยอออกนอกเส้นทาง พึ่งจะมีกรณีเดียว คือ ที่ให้จ.ราชบุรีนำร่องในการให้คลินิกจ่ายยาโอเซลทามิเวียร์ให้กับผู้ป่วย ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็ยอมรับและจะไม่ดำเนินการเช่นนั้นอีก”นายวิทยากล่าว
ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่พอใจกับการที่มีรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตปรากฏบนสื่อก่อนที่จะมีการแถลงรอบสัปดาห์ นายวิทยา กล่าวว่า คงทำอะไรไม่ได้เพราะผู้สื่อข่าวล้วงลูกเก่ง แต่ยอมรับว่าทำให้การทำงานลำบากขึ้น
ดึง รพ.ศูนย์ ในสังกัด 25 แห่งทั่วประเทศ ร่วมพัฒนาแล็บตรวจเชื้อหวัด 2009
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้มีนโยบายที่จะพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลศูนย์ในสังกัดทั่วประเทศ 25 แห่งให้เป็นรูปแบบห้องปฏิบัติการเครือข่าย โดยมอบให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นผู้จัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานและฝึกอบรมบุคลากรให้สามารถตรวจยืนยันเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องด้วยเทคนิค PCR เนื่องจากโรงพยาบาลศูนย์หลายแห่งมีเครื่องตรวจ PCR และ real-time PCR สำหรับโรคเอดส์และโรคธาลัสซีเมียอยู่แล้ว ซึ่งขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์คล้ายกัน จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่หรือเชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์อื่นๆ รวมถึงเชื้ออุบัติใหม่และเชื้อปกติที่มีความรุนแรงได้
"จากรายงานการให้บริการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ทางห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในส่วนกลางตรวจเฉลี่ยวันละ 150 ตัวอย่าง และในส่วนภูมิภาคศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่ง สามารถตรวจได้แห่งละ 60-80 ตัวอย่างต่อวัน รวมแล้วกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีปริมาณการตรวจประมาณ 1,500 ตัวอย่างต่อวัน นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่ให้บริการตรวจตัวอย่างผู้ป่วย เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งการพัฒนารูปแบบห้องปฏิบัติการเครือข่ายจะส่งผลให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถเฝ้าระวัง พยากรณ์แนวโน้มของโรค รวมทั้งการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" นายวิทยา กล่าว
เมื่อเวลา 11.00 น. นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น1 ในรอบสัปดาห์ มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 21 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยเสียชีวิตสะสมจำนวน 65 ราย ส่วนการรายงานยอดผู้ป่วยสะสมนั้น องค์การอนามัยโลก(WHO) ยืนยันว่าไม่มีความจำเป็นต้องรายงานเพราะไม่สะท้อนความเป็นจริง อย่างไรก็ตามสำนักระบาดวิทยาคาดการณ์ว่า มียอดผู้ป่วยจริงเกิน 5 แสนรายแล้ว โดยจากการตรวจเชื้อของห้องปฏิบัติการพบว่าร้อยละ 50 เป็นผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 การตรวจทางห้องปฏิบัติการขณะนี้จึงทำเพื่อเฝ้าระวังในกลุ่มที่มีการแพร่ระบาดเช่น โรงเรียน ที่ทำงาน และผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลและมีอาการหนัก
อย่างรก็ตาม สำนักระบาดวิทยาแจ้งยอดผู้ติดเชื้อหวัด 2009 สะสม จำนวนทั้งสิ้น 8,879 ราย
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำนักระบาดวิทยารายงานข้อมูลในรอบสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 22-28 ก.ค. มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 65 รายใน 27 จังหวัด แยกเป็นภาคกลาง 13 จังหวัด ภาคอีสาน 6 จังหวัด ภาคเหนือ 4 จังหวัด และภาคใต้ 4 จังหวัด เป็นหญิง 30 ราย ชาย 35 ราย พบทุกกลุ่มอายุ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 2 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัว คือ 41 ราย เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมากที่สุด ซึ่งอาจเป็นร่วมกันมากว่า 2 โรค คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด 14 ราย เบาหวาน 9 ราย อ้วนน้ำหนักตัวมากกกว่า 100 กิโลกรัม 9 ราย โรคปอดหรือสูบบุหรี่จัด 7 ราย ไตวายเรื้อรัง 6 ราย กินยากดภูมิต้านทาน 4 ราย โรคระบบเลือดและตั้งครรภ์อย่างละ 3 ราย โรคตับและพิการแต่กำเนิดอย่างละ 2 ราย ส่วน 1 ใน 3 หรือ 24 รายไม่มีโรคประจำตัวแต่เข้ารับการรักษาช้าหลังป่วยแล้ว 6 วัน ทำให้ยาต้านไวรัสไม่ได้ผลดี
“ก่อนหน้านี้ได้รับรายงานว่ามีผู้ป่วยที่สธ.ขึ้นทะเบียน 66 ราย แต่หลังจากคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ทบทวนสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่สธ.ขึ้นทะเบียนพบว่า มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ไม่ได้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แต่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ดังนั้นจึงตัดยอดผู้ป่วยจาก 66 รายเหลือ 65 ราย”นพ.ไพจิตร์กล่าว
ตั้งคณะทำงานศึกษาข้อมูลป่วย-ตายเชิงลึก
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับชาติ ซึ่งมี ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน ได้ให้คำแนะนำเพื่อเตรียมพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่ โดย 1.เร่งให้ความรู้กับแพทย์ทุกคนในการดูแลรักษาตามแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ให้เป็นไปในทางเดียวกันทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะเร่งส่งให้แพทย์ทุกจังหวัด เชื่อว่าจะทำให้ผู้ป่วยได้รับยาและการรักษาที่ถูกต้อง และ 2.กระจายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ให้คลินิกทั่วประเทศ ตามมาตรฐานการดำเนินงาน 8 ข้อ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการให้เร็วที่สุดหลังจากที่มีการอบรมให้ความรู้แล้ว ส่วนโครงการนำร่องที่ จ.ราชบุรี ก็จะดำเนินต่อไป โดยไม่ต้องรอการประเมินผลเพื่อทำในระดับประเทศ
“คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาฯ จะมีการตั้งคณะทำงาน ซึ่งจะประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษา ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส ผู้เชียวชาญจากห้องปฏิบัติการ เพื่อติดตามศึกษาเชิงลึก คอยให้คำปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว มีข้อสงสัย รวมถึงพิจารณาสาเหตุการตาย ว่าเกิดจากโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 จริงหรือไม่ รวมทั้งจะขอความร่วมมือจากญาติเพื่อขอนำศพมาผ่าพิสูจน์เพื่อศึกษาลักษณะและความรุนแรงของโรคในประเทศไทย”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
“หมอประเสริฐ” ชี้คณะอนุกรรมการฯ ตั้งเกณฑ์ให้คลินิกทั่วประเทศรอบคอบ
ศ.นพ.(เกียรติคุณ)ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา และประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการฯ กล่าวว่า สำหรับแนวทางในการกระจายยาต้านไวรัส ไปยังคลินิกต่างๆ จากการประชุมเมื่อวันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการหลายท่าน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ได้พิจารณาร่วมกันว่าสามารถกระจายยาทั่วประเทศได้ โดยมีการวิพากษ์และพิจารณาอย่างละเอียด เห็นว่า การที่คนไข้ได้ให้ยาเร็วเป็นสิ่งที่ดี แต่การให้ยาตามคลินิกทุกแห่ง ที่ประชุมเป็นกังวล ว่า ต้องคิดอย่างละเอียดถึงข้อดีข้อเสีย แต่อย่างไรก็จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อลดความสูญเสียให้ได้มากที่สุด จึงเห็นร่วมกันว่ากระทรวงสาธารณสุข จำเป็นต้องพิจารณาว่าที่ใดควรมีหรือไม่ควรมียา จึงกำหนดเป็นเกณฑ์เพื่อปฏิบัติขึ้น
ศ.นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า หลักเกณฑ์การกระจายยา 1 ต้องเป็นคลินิกที่มีแพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น 2 คลินิกจะต้องส่งรายงานหลักฐานการจ่ายยาและอาการไม่พึงประสงค์ คล้ายกับเวชระเบียน ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือกระทรวงสาธารณสุขทุกวัน 3 คลินิกจะต้องมีมาตรการป้องกันการติดเชื้อในคลินิกทุกแห่ง 4 คลินิกที่เข้าร่วมต้องได้รับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ 5คลินิกนั้นๆ จะต้องมีเครือข่ายหรือสามารถส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลได้ ดังนั้นจึงต้องเป็นคลินิกที่มีความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ 6 มีกลไกในการติดตามผู้ป่วยทุกรายหลังการรักษาถือเป็นกระบวนการเฝ้าระวัง 7 ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจังต้องมีระบบการควบคุมการตรวจสอบคลินิกที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งในเรื่องมาตรฐาน การสั่งจ่ายยา การป้องกันการติดเชื้อในคลินิกทุกเดือน 8 คลินิกที่เข้าร่วมโครงการต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด เพราะโรคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
เตือนสธ.หารือผู้เชี่ยวชาญ ไม่เหลือบ่ากว่าแรง
“หาก สธ.ทำอะไรโดยไม่รอบคอบก็จะขาดความน่าเชื่อถือที่สุด ซึ่งคิดว่าไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรงที่กระทรวงสาธารณสุขจะสามารถทำได้ในการปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และหาก สธ.มีปัญหาสำคัญ ก็ควรส่งให้คณะอนุกรรมการฯหารือก่อน การทำการอะไรอาจคิดว่าจำเป็นต้องทำ คิดแล้วว่าเหมาะสม แต่นักวิชาการ ซึ่งมีความคิดที่หลากหลายอาจจะคิดเห็นคนละมุมก็ได้ ซึ่งหากทำตามหลักเกณฑ์การให้จ่ายยา ความกังวลใจของนักวิชาการก็พอจะรับได้”ศ.นพ.ประเสริฐ กล่าว
ศ.นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ในสถานการณ์ที่มีโรคระบาดเกิดขึ้นนั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่เกิดความสูญเสียเลย แต่สิ่งที่ต้องทำคือลดความสูญเสียให้ได้มากที่สุด กรณีที่มีคนตายนั้น แม้ว่าจะมีเพียงคนเดียว ก็ไม่มีใครสบายใจ สิ่งที่สำคัญ ที่ต้องทำวันนี้ คือ ช่วยกันคิด ไม่ใช่มีคนตายก็มาถล่มกัน สิ่งที่ต้องการ คือ อยากให้ประชาชนตระหนักว่าจะป้องกันตัวเองได้อย่างไร ซึ่งสธ.มีการออกคำแนะนำมาตลอดว่าประชาชนควรปฏิบัติอย่างไร หากปฏิบัติตามคำแนะนำ
“หมอคำนวณ” ชี้ป่วยหวัดเข้าโรงพยาบาลเริ่มลด
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ10 กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มนักเรียนยังคงเป็นกลุ่มที่มีการป่วยมากที่สุด แต่จากการใช้มาตรการหลายอย่างของ สธ.และศธ. รวมถึงความร่วมมือจากโรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ ทำให้แนวโน้มเริ่มลดลงบ้าง โดยเมื่อพิจารณาจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด ซึ่งเข้ารักษาในโรงพยาบาล ทั่วประเทศครึ่งเดือนแรกของเดือน ก.ค.พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยถึง 25,000 คนต่อวัน แต่ครึ่งเดือนหลัง พบว่ามีจำนวนผู้ป่วย 18,000 คนต่อวัน
สหรัฐจับตาแม่ตั้งครรภ์ถ่ายทอดเชื้อให้ลูก ชี้เกิดได้ยาก
นพ.มาร์ค ซิมเมอแมน หัวหน้าฝ่ายไข้หวัดใหญ่ โครงการโรคติดเชื้อระหว่างประเทศ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสำคัญกรณีการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกมาก โดยพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 6 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด โดยกำลังมีการตีพิมพ์เรื่องการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกลงในวารสารทางการแพทย์ และจะมีการถกเถียงกันต่อไปในระดับวิชาการ อย่างไรก็ตาม กรณีการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ถือเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ยากมาก
“หมอยง” เผยทั่วโลกพบดื้อยาต้านไวรัส 5 ราย ยันยังไม่พบในไทย
ศ.นพ.ยง วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า สำหรับปัญหาการดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ ขณะนี้ทั่วโลกพบว่ามีจำนวน 5 ราย ใน 4 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น 2 ราย แคนาดา เดนมาร์ค และฮ่องกง แห่งละ 1 ราย ในจำนวนนี้มีประเทศฮ่องกงเพียงประเทศเดียวที่ผู้ป่วยไม่มีประวัติรับยาโอเซลทามิเวียร์มาก่อน แต่มีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ซานฟราสซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะที่อีก 4 ราย ได้รับยาโอเซลทามิเวียร์ทั้งหมด และจากการติดตามอาการผู้ป่วยพบว่า ไม่มีรายใดที่แพร่เชื้อโรคดื้อยาไปสู่ผู้อื่น เนื่องจากสามารถควบคุมการกระจายของเชื้อดื้อยาได้มีประสิทธิภาพ
ศ.นพ.ยง กล่าวต่อว่า ส่วนประเทศไทยขณะนี้ยังไม่พบว่ามีการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์แต่อย่างใด และไทยมีมาตรการในการรองรับอยู่แล้ว โดยมีการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นและมีการสุ่มตรวจแบบคัดกรองเชื้อว่ามีการดื้อยาหรือไม่ ซึ่งสามารถทำได้ในปริมาณมากและรวดเร็ว ที่ผ่านมามีการตรวจเชื้อดื้อยาในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาโอเซลทามิเวียร์ในหลายพื้นที่ เช่น จ.ขอนแก่น และกรุงเทพมหานคร ยืนยันว่ายังไม่พบว่าดื้อยาในไทยขอให้ประชาชนสบายใจได้
“วิทยา” ประกาศพื้นที่ชนบทไทยต้องปลอดหวัดใหญ่ 2009
ต่อมาเวลา 13.00 น.นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวในการประชุมเพื่อมอบนโยบายเร่งรัดบทบาท อสม.และแนวทางดำเนินการสร้างความพร้อมในการรับมือโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ว่า พื้นที่ในชนบทของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับหมู่บ้านและชุมชนจะต้องปลอดจากผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เนื่องจากบริบทสภาพบ้านเรือนและพื้นที่มีลักษณะที่อยู่ห่างกันไม่แออัดยัดเยียดอย่างในพื้นที่เมือง จึงไม่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หากมีการคัดกรองเร็วก็จะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ง่าย
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยในพื้นที่ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันดำเนินการอย่างจริงจัง ถ้ามีผู้ป่วยในหมู่บ้านจะต้องถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับจังหวัด ที่จะต้องซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อติดตามผู้ป่วยทันทีว่าไปที่ไหนและเกี่ยวข้องกับใครมาบ้าง เพื่อจำกัดวงไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่ระบาดในระดับหมู่บ้าน ซึ่งไม่ว่าจะต้องเคาะประตูบ้านกี่รอบก็ต้องทำ
ลั่นตลอด 3 เดือน สธ.ทำตามคำแนะนำนักวิชาการตลอด
“3 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการมาตรการต่างๆภายใต้คำแนะนำของนักวิชาการมาโดยตลอด ไม่เคยอออกนอกเส้นทาง พึ่งจะมีกรณีเดียว คือ ที่ให้จ.ราชบุรีนำร่องในการให้คลินิกจ่ายยาโอเซลทามิเวียร์ให้กับผู้ป่วย ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็ยอมรับและจะไม่ดำเนินการเช่นนั้นอีก”นายวิทยากล่าว
ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่พอใจกับการที่มีรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตปรากฏบนสื่อก่อนที่จะมีการแถลงรอบสัปดาห์ นายวิทยา กล่าวว่า คงทำอะไรไม่ได้เพราะผู้สื่อข่าวล้วงลูกเก่ง แต่ยอมรับว่าทำให้การทำงานลำบากขึ้น
ดึง รพ.ศูนย์ ในสังกัด 25 แห่งทั่วประเทศ ร่วมพัฒนาแล็บตรวจเชื้อหวัด 2009
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้มีนโยบายที่จะพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลศูนย์ในสังกัดทั่วประเทศ 25 แห่งให้เป็นรูปแบบห้องปฏิบัติการเครือข่าย โดยมอบให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นผู้จัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานและฝึกอบรมบุคลากรให้สามารถตรวจยืนยันเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องด้วยเทคนิค PCR เนื่องจากโรงพยาบาลศูนย์หลายแห่งมีเครื่องตรวจ PCR และ real-time PCR สำหรับโรคเอดส์และโรคธาลัสซีเมียอยู่แล้ว ซึ่งขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์คล้ายกัน จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่หรือเชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์อื่นๆ รวมถึงเชื้ออุบัติใหม่และเชื้อปกติที่มีความรุนแรงได้
"จากรายงานการให้บริการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ทางห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในส่วนกลางตรวจเฉลี่ยวันละ 150 ตัวอย่าง และในส่วนภูมิภาคศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่ง สามารถตรวจได้แห่งละ 60-80 ตัวอย่างต่อวัน รวมแล้วกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีปริมาณการตรวจประมาณ 1,500 ตัวอย่างต่อวัน นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่ให้บริการตรวจตัวอย่างผู้ป่วย เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งการพัฒนารูปแบบห้องปฏิบัติการเครือข่ายจะส่งผลให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถเฝ้าระวัง พยากรณ์แนวโน้มของโรค รวมทั้งการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" นายวิทยา กล่าว