ยอดผู้ป่วยหวัดใหญ่ 2009 รอบสัปดาห์ตายเพิ่มขึ้น 20 ราย รวม 44 ราย ตายเฉลี่ย 3 รายต่อวัน อายุน้อยสุด 4 เดือน มากสุด 91 ปี นักระบาดฯ ประมาณการณ์ 3 เดือน ไทยติดเชื้อ 5 แสนราย อัตราติดเชื้อ 1 แสน ตาย 10 ตัวแทนองค์การอนามัยโลกชมไทยระบบติดตามเฝ้าระวังให้ข้อมูลมีคุณภาพ ติดอันดับ 4 ประเทศที่รายงานผู้ป่วย-เสียชีวิตมากสุด ชี้ ระบาดใหญ่แล้วหยุดไม่ได้
เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 22 กรกฎาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รศ.(พิเศษ) ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับ 11 กรมการแพทย์ รศ.พญ.สยมพร ศิรินาวิน หัวหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี พญ.มัวรีน เบอร์มิงแฮม ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (Dr.Maureen Birmingham, WHO Representative to Thailand) นพ.ไมเคิล มาลิสัน (Dr. Michael Malison) ผู้แทนศูนย์ความร่วมมือควบคุมโรคไทย-สหรัฐอเมริกา ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์ไวรัสวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แถลงข่าวความคืบหน้าของสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช1เอ็น1
ยอดตายรายสัปดาห์หวัดใหญ่2009 เพิ่ม 20 ราย
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ในรอบ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยรายใหม่ยืนยันเพิ่มขึ้น 2,307 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 20 ราย ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 6,776 ราย เสียชีวิตสะสม 44 ราย ในจำนวนนี้หายแล้ว 6,697 ราย ยังพักรักษาในโรงพยาบาลจำนวน 35 ราย อาการหนัก 7 ราย ในจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นชายและหญิงในจำนวน 22 รายเท่าๆ กัน มีผู้เสียชีวิตอายุต่ำสุด คือ 4 เดือน อายุมากที่สุด 91 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา 16-21 ก.ค.ที่ สธ.หยุดการแถลงตัวเลขพบว่ามีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 20 ราย เฉลี่ยเสียชีวิต 3 รายต่อวัน ซึ่งไม่แตกต่างจากช่วงที่มีการแถลงข่าวรายวัน ไม่เกี่ยวกับโรคมีความรุนแรงขึ้น
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า จากจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด พบว่า 29 ราย หรือร้อยละ 66 มีโรคประจำตัว พบว่า เป็นโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูงมากที่สุด อย่างละ 6 ราย ส่วนโรคประจำตัวอื่นที่พบรองลงมา ได้แก่ โรคไตวาย หัวใจ และมะเร็ง อย่างละ 3 ราย ตั้งครรภ์ 2 ราย ที่เหลือเป็นโรคต่อมไทรอยด์ ทำงานน้อยกว่าปกติ ตับอักเสบเรื้อรัง ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ปอดอักเสบติดเชื้อซ้ำ ร่างกายพิการ และเด็กเล็กอย่างละ 1 ราย
ปัจจัยเสี่ยงตายส่วนใหญ่มาหาหมอช้า
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ถึงปัจจัยสาเหตุการเสียชีวิต พบว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มารับการรักษาช้า ทำให้ได้รับยาต้านไวรัสไม่ทัน ดังนั้น สธ.จะมีการปรับ 3 มาตรการ มาตรกาแรกซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วน คือ ลดการเสียชีวิต จะปรับปรุงการรักษาให้ผู้ป่วยได้รับยาเร็วขึ้น กลุ่มมีโรคประจำตัว ตั้งครรภ์ โรคอ้วน และเด็กต่ำกว่า 2 ปี หากติดเชื้อจะมีโอกาสเกิดอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป เมื่อมีอาการจึงต้องได้รับยาต้านไวรัสทันที ส่วนผู้ป่วยทั่วไปหากเป็นไข้ 2 วัน ทานยาแล้วไข้ไม่ลดให้มาพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับยาทันที โดยไม่ต้องรอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพิ่มขีดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยหนักในห้องฉุกเฉิน จากการวางทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญจากแต่ละมหาวิทยาไว้ เชื่อว่าจะเห็นผลใน 3-4 สัปดาห์ข้างหน้า ทั้งนี้ ได้กำชับให้ผู้ตรวจราชการทุกจังหวัด ต้องกำชับพื้นที่ในความดูแลของตน ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของ สธ.อย่างเคร่งครัด
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า 2 มาตรการป้องกันการแพร่กระจายโรค ซึ่งจะกระจายเชื้อจากครอบครัวไปสู่ที่ทำงาน โดยเพิ่มความเข้มข้นการคัดกรองผู้ป่วย ในกลุ่มนักเรียน โรงงาน ให้ อสม.เคาะประตูบ้าน แนะนำความรู้ประชาชน เน้นผู้ที่มีโรคประจำตัว จะเน้นขอความร่วมมือผู้ป่วยให้พักอยู่กับบ้านจนกว่าจะหาย และต้องใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ แยกห้อง แยกของใช้ประจำตัว และตามมติ ครม.ประชาชนสามารถหยุดเรียน ทำงานได้ โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ ซึ่งจากการวิเคราะห์ทางวิชาการ พบว่า ในระยะนี้ การแพร่เชื้อของโรคจะเพิ่มแบบทวีคูณ ผู้ป่วย 1 คน อาจแพร่เชื้อให้ผู้ป่วยโดย 2 คนโดยเฉลี่ย หากสามารถสกัดกั้นในระยะนี้ได้ ก็จะสามารถชะลอการแพร่เชื้อลงได้มาก และมาตรการที่ 3 คือ การให้ความรู้ประชาชน ให้เข้าใจโรคโดย สธ.มอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเป็นประธานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคในระดับจังหวัด เพื่อประสานเฝ้าระวังและควบคุมโรค และให้ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวง หรือ ขสมก.
เตือนใจเด็กอายุ 4 เดือนตาย ติดเชื้อจากคนมาเยี่ยม-ไปนอกบ้าน
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตที่เป็นเด็กทารกอายุไม่ถึง 4 เดือน ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง โดยเด็กเป็นโรคปอดอักเสบ และจากการสอบสวนโรค พบว่า ช่วงก่อนเด็กเสียชีวิต มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่ขึ้นทะเบียนมาเยี่ยมเด็กที่บ้าน รวมทั้งแม่เด็กได้พาเด็กออกไปนอกบ้าน จึงเป็นข้อเตือนใจ ว่า เด็กทารกอายุ 1-3 ปี ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังสุขภาพอย่างดี โดยผลชันสูตร พบว่า ที่ปอดมีความพิการแต่กำเนิด ลักษณะเนื้อปอดแข็งคล้ายฟองน้ำ จึงมีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ต้องรอผลตรวจเนื้อปอดที่นำไปเพาะเชื้อไวรัส เพื่อตรวจสอบว่าปอดมีการติดเชื้อไวรัส เอช1เอ็น1 หรือไม่
นักระบาดฯ คาดป่วยจริงถึง 5 แสน อัตราตาย 1 แสนต่อ10
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับ 10 กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้อัตราการเสียชีวิตของคนไทยอยู่ที่ร้อยละ 0.6 แต่ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง เพราะเป็นการคำนวณจากจำนวนผู้ป่วยที่ สธ.รายงาน คือ 6,776 ราย เป็นเพียงผู้ป่วยที่ส่งตรวจเชื้อเท่านั้น ทำให้ไทยยังไม่ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของการระบาดเป็น ระดับ 3 ซึ่งจากการประเมินจำนวนผู้ติดเชื้อโดยใช้โมเดลจำลอง คาดว่า ไทยจะมีผู้ติดเชื้อแล้วราว 5 แสนคน เมื่อมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตลดต่ำลงตามไปด้วย ขณะที่โรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลเมื่อมีผู้ป่วย 10,000 คน จะมีผู้เสียชีวิต 1 คน เมื่อเปรียบเทียบกับโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่มีผู้เสียชีวิต 44 ราย จะมีผู้ติดเชื้อแล้วประมาณ 500,000 ราย จึงมีการคาดการณ์ว่า ในผู้ป่วย 100,000 ราย จะมีเสียชีวิต 10 ราย ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เทียบเคียงกันได้
ย้ำป่วยอยู่บ้าน 7 วัน ชะลอแพร่ระบาด
นพ.คำนวณ กล่าวต่อว่า ดังนั้น สธ.ต้อง จะทำมาตรการป้องกันอย่างเข้มข้นในทุกมาตรการที่วางไว้ ขณะนี้จากการเก็บตัวเลขผู้ป่วยที่เข้าไปรับการรักษาในโรงพยาบาลมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัด มาตรวจที่โรงพยาบาล จำนวน 25,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยมีอาการน้อยแต่สามารถแพร่เชื้อได้ หากคนเหล่านี้ไม่อยู่บ้านก็จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวคือ 50,000 คน จึงจำเป็นต้องทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้หยุดอยู่บ้าน ซึ่งต้องพยายามทำให้ได้ประมาณร้อยละ 70-80 ดังนั้น หากมีอาการป่วยแม้เพียงเล็กน้อยต้องหยุดจริงๆ 7 วัน รวมถึงคนที่บ้านต้องรู้จักวิธีป้องกันตนเองตามมาตรการที่ สธ.แนะนำ จึงจะสามารถชะลอการแพร่ระบาดได้จริง
รับหยุดยาว-ปิดโรงเรียนไม่ช่วย หากป่วยแล้วไม่อยู่บ้าน
“ยอมรับว่า ไทยอยู่ในช่วงขาขึ้นมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย แต่ก็ไม่สามารถระบุได้ว่า การมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น คือ โรคมีความรุนแรงมากขึ้น ที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อการปิดโรงเรียนแล้ว นักเรียนทั้งหลายต้องอยู่บ้าน จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เช่น การในช่วงที่มีการหยุดยาว 5 วัน จากที่คาดว่าจำนวนเด็กป่วยจะลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงต้องใช้มาตรการป่วยแล้วอยู่บ้านอย่างจริงจังเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยลง มิฉะนั้น การปิดเรียนอาจทำไม่ได้ผล”นพ.คำนวณ กล่าว
นพ.คำนวณ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มาตรการการปิดสถานศึกษาถือว่าไม่มีความจำเป็น ถ้าหากสถานศึกษามีการคัดกรองนักเรียนที่มีอาการป่วยทุกวัน ใครป่วยก็ให้พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ไม่ใช่ออกนอกบ้านก็ไม่สามารถยุติการแพร่ระบาดได้ ทั้งนี้หากมีการให้นักเรียนป่วยหยุดเรียนรายบุคคลแล้วยังพบว่ามีการนักเรียนป่วยอีกมากกว่าร้อยละ 10 ของนักเรียนทั้งโรงเรียน ถือว่ามาตรการดังกล่าวไม่ได้ผล สถานศึกษาก็ต้องปรึกษาในส่วนของผู้ปกครอง กระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการปิดโรงเรียนต่อไป
เก็บเชื้อผู้เสียชีวิตตรวจแล้ว 7 ราย ยังไม่ดื้อยา
นพ.คำนวณ กล่าวอีกว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เฝ้าระวังไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 กลายพันธุ์ และไวรัสดื้อยา ซึ่งได้มีการเก็บเชื้อจากผู้เสียชีวิต ได้ 7 รายและผู้ป่วยเป็นกลุ่มในโรงเรียน ค่ายทหาร อีก 23 แห่ง โดยนำมาตรวจวิธีขั้นต้นทางพันธุกรรม เพื่อหาการกลายพันธุ์ดื้อยา และตรวจยืนยันทางชีววิทยา โดยการเติมยาต้านไวรัสในเซลล์ ที่เพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส พบว่าเชื้อทั้งหมด ยังตอบสนองต่อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ ได้เป็นอย่างดี ยังไม่พบว่ามีการดื้อยาแต่อย่างใด และยังไม่พบการกลายพันธุ์ใดๆ ที่ต่างจากเชื้อที่เริ่มระบาดในช่วงแรก ในสหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก
คาดตัวเลข นร.ใน กทม.ป่วยลดลง
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าทางจะมีการนำข้อมูลจำนวนนักเรียนนักศึกษาที่ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 ภายหลังจากมีการดำเนินการมาตรการปิดโรงเรียนว่า มีผู้ป่วยในกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร ซึ่งจะมานำเสนอในภาพรวมอีกครั้ง โดยที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการคัดกรองนักเรียนนักศึกษาที่ป่วยให้พักรักษาตัวอยู่ที่บ้านและรายงานอาการมายังกระทรวงสาธารณสุข ทำให้มีระบบการรายงานที่เป็นในทิศทางเดียวกัน
นพ.ยง กล่าวว่า จากข้อมูลการตรวจยืนยันเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในห้องปฏิบัติโดยภาพรวม เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ในกลุ่มนักเรียนมีมีจำนวนมากในช่วง เม.ย.-ก.ค.เป็นกลุ่มวัยรุ่น แต่ขณะนี้แนวโน้มลดลงแล้วแต่กลุ่มอายุ 20-40 ปี มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น แต่ในต่างจังหวัดจะต้องพิจารณาตัวเลขอีกครั้ง เนื่องจากเกิดการระบาดหลังในกรุงเทพฯ
ตัวแทน WHO ชี้ทั่วโลกหยุดระบาดไม่ได้ ไทยดีสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พญ.มัวรีน เบอร์มิงแฮม ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า การสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ในระยะที่ผ่านมา จะต้องปรับเปลี่ยนทำความเข้าใจใหม่ เพราะประชาชนยังเข้าใจว่าหากเกิดการระบาดใหญ่แล้วจะสามารถหยุดได้ แต่ความจริงแล้วการระบาดใหญ่ไม่สามารถหยุดได้ เมื่อเกิดการระบาดแล้วจะไปทั่วโลก ลักษณะการระบาดแต่ละประเทศก็จะไม่เหมือนกัน บางประเทศระบาดเร็ว เกิดเป็นกลุ่ม บางประเทศเกิดแบบกระจาย จะเอาข้อมูลมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ เพราะจะไม่สะท้อนความเป็นจริง
สิ่งที่มีความจำเป็นในระดับแรกต้องป้องกันประชาชน ต้องช่วยกันสื่อสารแนะนำประชาชนว่าทำอย่างไรจะไม่ติดเชื้อ และไทยถือว่าเข้มแข็งและดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการติดตามความเปลี่ยนแปลง เฝ้าระวังโรค สอบสวนโรค มีการให้ข้อมูลผู้ป่วย ลักษณะการระบาด ให้ข้อมูลที่มีคุณภาพสูงกับองค์การอนามัยโลก
พญ.มัวรีน กล่าวว่า การสื่อสารต้องให้ข้อความว่า ธรรมชาติส่วนใหญ่ของโรคมีอาการน้อย แต่มีบางส่วนที่มีอาการมากและรุนแรงได้ ต้องพยายามชะลอการแพร่การระบาด ให้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุม จัดการได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อระบบสาธารณสุข และให้สามารถจัดการได้ บางสังคมอาจเลือกวิธีการปิดเรียนชั่วคราว ซึ่งแต่ละประเทศต้องเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม มิฉะนั้นโรงพยาบาลจะมีผู้ป่วยล้น และเป็นผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล โดยต้องเน้นกลุ่มที่ต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
“กระทรวงสาธารณสุขไทย กับองค์การอนามัยโลกมีความร่วมมือในการป้องกันการระบาดมาหลายปีแล้ว และขณะนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการร่วมมือดังกล่าว ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีระบบเฝ้าระวังโรคที่เข้มแข็งที่สุด ประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีระบบเฝ้าระวังโรคดี เข้มแข็ง มีห้องปฏิบัติการตรวจเชื้อหลายแห่ง มีโรงพยาบาลและบุคคลากรทางการแพทย์ ที่รับมือกับโรคได้อย่างไม่ตกใจ มีเตรียมยาต้านไวรัส มีใช้อย่างความขาดแคลน และในอนาคตจะมีวัคซีนใช้เอง”พญ.มัวรีน กล่าว
การันตีวัคซีนเชื้อเป็น ปลอดภัย ถือเป็นการพึ่งตัวเอง
พญ.มัวรีน กล่าวถึงความปลอดภัยของการผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของไทย ว่า ไทยกับองค์การอนามัยโลก มีร่วมมือกันมาประมาณ 2 ปี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตวัคซีนได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งประเทศอื่น ซึ่งการผลิตจากวัคซีนเชื้อเป็น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในประเทศรัสเซียมานานแล้ว มีข้อบ่งขี้ชัดเจน ไม่ใช่วิธีการใหม่ และได้รับการรับรองว่ามีมาตรฐานความปลอดภัยสูง ซึ่งมีการตรวจสอบความปลอดภัย การป้องกันโรค การขึ้นทะเบียน เทคโนโลยีดังกล่าว ที่เป็นการพ่นวัคซีนเข้าจมูก ได้ใช้ในสหรัฐมานานแล้ว ข้อดีคือ สามารถผลิตได้รวดเร็วมากในเวลาสั้น ถือเป็นทางเลือกที่สำคัญมากในจะประเทศต่างๆ จะเลือกใช้
ควมคุมโรค สหรัฐฯ ชี้มาตรการป้องกันโรคไม่ต่างจากไทย
นพ.ไมเคิล มาลิสัน ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือควบคุมโรคไทย-สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ระบบการสาธารณสุขและระบบป้องกันและควบคุมโรคของไทยเข้มแข็งสุดในภูมิภาคนี้ โดยอัตราป่วยตายจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั่วไป 0.7% อยู่ในระดับเดียวกับของประเทศไทย จะสังเกตได้ว่า ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นนั้นไม่ผิดจากความคาดหมาย โดยหากปรับการดูเฉพาะผู้ป่วยเสียชีวิตแต่ละคน มามองในภาพกว้าง จะเห็นว่า จำนวนผู้เสียชีวิตค้นหาได้ไม่ยาก แต่จำนวนผู้ป่วยนับยากมาก เพราะฉะนั้น อัตราป่วยตายไม่สะท้อนความเป็นจริง เป็นปัญหาการดำเนินการเหมือนกันทุกประเทศ
“มาตรการสำคัญของประเทศสหรัฐอเมริกาโดยภาพรวมเหมือนกับประเทศไทย โดยเน้นการป้องกันการป่วยด้วยการสร้างสุขอนามัยส่วนบุคคล ขณะที่การดูแลรักษาผู้ป่วยทำตามแนวทางที่เหมาะสม ผู้ป่วยอาการน้อยให้พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน และสหรัฐฯไม่มีนโยบายระดับชาติให้ปิดโรงเรียน แต่เป็นหน้าที่ของแต่ละรัฐที่จะพิจารณาเองตามความเหมาะสมว่าจะดำเนินการอย่างไร แม้ผู้ป่วยจำนวนมากจะเป็นเด็กวัยเรียนก็ตาม”นพ.ไมเคิล กล่าว
นพ.ไมเคิล กล่าวอีกว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ตามฤดูกาลในช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค. ขณะนี้ในสหรัฐฯยังไม่ถึงฤดูกาลระบาด คาดการณ์ว่า ในช่วงการระบาดดังกล่าวจะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นกว่าปัจจุบัน ซึ่งในแต่ละปีสหรัฐฯมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ตามฤดูกาลประมาณ 20 %ของประชาการทั้งประเทศ และจะมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2 แสนคน เสียชีวิต 3 หมื่นคน
ไทยติดอันดับ 4 รายงานผู้ป่วย-ตายมากสุด
นพ.ทวี กล่าวว่า แม้ว่าประเทศไทยจะมีผู้เสียชีวิต 44 ราย แต่ไม่ได้ถือว่าเป็นประเทศที่มีการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ เพราะไทยมีการรายงานผู้เสียชีวิตและผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไปยังองค์การอนามัยโลก มากเป็นอันดับที่ 4 จากทั่วโลก ซึ่งถือว่าไทยมีระบบการรายงานที่ดี ขณะที่บางประเทศไม่มีการรายงานผู้เสียชีวิตไปยังองค์การอนามัยโลก จึงไม่ทราบว่า มีประเทศไม่ได้รายงานอีกมากเท่าไหร่
ยันกระบวนการผลิตวัคซีนในไทยปลอดภัย
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 22 กรกฎาคม ที่โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ และประธานอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการฯ ของไข้หวัดใหญ่ จัดการประชุมสัมมนาวิทยุชุมชน ดีเจวิทยุ ฯ จำนวน 200 คน เพื่อเป็นสื่อกลางในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบอย่างถูกต้อง เพื่อสร้างให้เกิดความมั่นใจ และลดการตื่นกลัว รวมทั้งให้ประชาชนสามารถปฏิบัติตนเองเพื่อการป้องกันโรค และหากมีผู้ป่วยในบ้านก็สามารถดูแลเบื้องต้นโดยถูกต้องและปลอดภัยได้ ซึ่งจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาที่โรงพยาบาลโดยไม่จำเป็นได้อย่างมาก
นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล ผู้อำนวยการสถาบันและพัฒนาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และนายกสมาคมไวรัสวิทยาประเทศไทย กล่าวว่า ความกังวลในเรื่องความปลอดภัยของโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่อาจมีเชื้อไวรัสตัวเป็นที่นำมาใช้ในการผลิตหลุดออกมาสู่สิ่งแวดล้อมและทำให้เกิดการระบาดว่า ไม่เป็นความจริง เนื่องจาก เชื้อตามปกติจะมีการควบคุมมาตรฐานไม่ให้เกิดการเล็ดรอดของเชื้อสู่สิ่งแวดล้อม แต่หากเกิดความผิดพลาด ก็จะไม่เกิดอันตราย เพราะเชื้อเป็นที่นำมาใช้ในการผลิต เป็นเชื้อที่ทำการลดความอันตรายแล้ว แม้ว่าจะหลุดออกมาก็ไม่สามารถทำให้เกิดการระบาดได้ อีกทั้ง ตัวเชื้อที่อยู่ในโรงงานผลิตวัคซีน เป็นตัวเดียวกับวัคซีนที่จะไม่เป็นอันตราย
“เชื้อเป็นที่จะนำมาใช้ในการผลิตวัคซีนชนิดพ่น ที่ประเทศไทยจะทำการผลิต แม้จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ แต่ต้นแบบในเทคโนโลยีในการผลิตใช้มานานแล้ว ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงแค่เปลือกของผิวไวรัสเท่านั้น แต่โครงสร้างภายในยังเหมือนเดิม จึงทำให้เชื่อได้ว่าจะมีความปลอดภัยไม่ต่างจากเดิม ทั้งนี้ วัคซีนที่ทำจากเชื้อเป็นไม่มีรายงานความไม่ปลอดภัย แต่ต้องศึกษาข้อจำกัดในการใช้ ความปลอดภัย เพราะอาจมีข้อบ่งชี้ที่ห้ามใช้ไม่สามารถใช้ได้ดีในเด็กเล็ก และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี ดังนั้น ข้อมูลที่วัคซีนจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท เป็นข้อมูลจากผลิตวัคซีนเชื้อตาย และใช้เทคโนโลยีเก่า ที่ปัจจุบันไม่มีการใช้แล้ว” นพ.ประเสริฐ กล่าว
เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 22 กรกฎาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รศ.(พิเศษ) ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับ 11 กรมการแพทย์ รศ.พญ.สยมพร ศิรินาวิน หัวหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี พญ.มัวรีน เบอร์มิงแฮม ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (Dr.Maureen Birmingham, WHO Representative to Thailand) นพ.ไมเคิล มาลิสัน (Dr. Michael Malison) ผู้แทนศูนย์ความร่วมมือควบคุมโรคไทย-สหรัฐอเมริกา ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์ไวรัสวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แถลงข่าวความคืบหน้าของสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช1เอ็น1
ยอดตายรายสัปดาห์หวัดใหญ่2009 เพิ่ม 20 ราย
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ในรอบ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยรายใหม่ยืนยันเพิ่มขึ้น 2,307 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 20 ราย ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 6,776 ราย เสียชีวิตสะสม 44 ราย ในจำนวนนี้หายแล้ว 6,697 ราย ยังพักรักษาในโรงพยาบาลจำนวน 35 ราย อาการหนัก 7 ราย ในจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นชายและหญิงในจำนวน 22 รายเท่าๆ กัน มีผู้เสียชีวิตอายุต่ำสุด คือ 4 เดือน อายุมากที่สุด 91 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา 16-21 ก.ค.ที่ สธ.หยุดการแถลงตัวเลขพบว่ามีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 20 ราย เฉลี่ยเสียชีวิต 3 รายต่อวัน ซึ่งไม่แตกต่างจากช่วงที่มีการแถลงข่าวรายวัน ไม่เกี่ยวกับโรคมีความรุนแรงขึ้น
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า จากจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด พบว่า 29 ราย หรือร้อยละ 66 มีโรคประจำตัว พบว่า เป็นโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูงมากที่สุด อย่างละ 6 ราย ส่วนโรคประจำตัวอื่นที่พบรองลงมา ได้แก่ โรคไตวาย หัวใจ และมะเร็ง อย่างละ 3 ราย ตั้งครรภ์ 2 ราย ที่เหลือเป็นโรคต่อมไทรอยด์ ทำงานน้อยกว่าปกติ ตับอักเสบเรื้อรัง ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ปอดอักเสบติดเชื้อซ้ำ ร่างกายพิการ และเด็กเล็กอย่างละ 1 ราย
ปัจจัยเสี่ยงตายส่วนใหญ่มาหาหมอช้า
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ถึงปัจจัยสาเหตุการเสียชีวิต พบว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มารับการรักษาช้า ทำให้ได้รับยาต้านไวรัสไม่ทัน ดังนั้น สธ.จะมีการปรับ 3 มาตรการ มาตรกาแรกซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วน คือ ลดการเสียชีวิต จะปรับปรุงการรักษาให้ผู้ป่วยได้รับยาเร็วขึ้น กลุ่มมีโรคประจำตัว ตั้งครรภ์ โรคอ้วน และเด็กต่ำกว่า 2 ปี หากติดเชื้อจะมีโอกาสเกิดอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป เมื่อมีอาการจึงต้องได้รับยาต้านไวรัสทันที ส่วนผู้ป่วยทั่วไปหากเป็นไข้ 2 วัน ทานยาแล้วไข้ไม่ลดให้มาพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับยาทันที โดยไม่ต้องรอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพิ่มขีดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยหนักในห้องฉุกเฉิน จากการวางทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญจากแต่ละมหาวิทยาไว้ เชื่อว่าจะเห็นผลใน 3-4 สัปดาห์ข้างหน้า ทั้งนี้ ได้กำชับให้ผู้ตรวจราชการทุกจังหวัด ต้องกำชับพื้นที่ในความดูแลของตน ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของ สธ.อย่างเคร่งครัด
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า 2 มาตรการป้องกันการแพร่กระจายโรค ซึ่งจะกระจายเชื้อจากครอบครัวไปสู่ที่ทำงาน โดยเพิ่มความเข้มข้นการคัดกรองผู้ป่วย ในกลุ่มนักเรียน โรงงาน ให้ อสม.เคาะประตูบ้าน แนะนำความรู้ประชาชน เน้นผู้ที่มีโรคประจำตัว จะเน้นขอความร่วมมือผู้ป่วยให้พักอยู่กับบ้านจนกว่าจะหาย และต้องใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ แยกห้อง แยกของใช้ประจำตัว และตามมติ ครม.ประชาชนสามารถหยุดเรียน ทำงานได้ โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ ซึ่งจากการวิเคราะห์ทางวิชาการ พบว่า ในระยะนี้ การแพร่เชื้อของโรคจะเพิ่มแบบทวีคูณ ผู้ป่วย 1 คน อาจแพร่เชื้อให้ผู้ป่วยโดย 2 คนโดยเฉลี่ย หากสามารถสกัดกั้นในระยะนี้ได้ ก็จะสามารถชะลอการแพร่เชื้อลงได้มาก และมาตรการที่ 3 คือ การให้ความรู้ประชาชน ให้เข้าใจโรคโดย สธ.มอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเป็นประธานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคในระดับจังหวัด เพื่อประสานเฝ้าระวังและควบคุมโรค และให้ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวง หรือ ขสมก.
เตือนใจเด็กอายุ 4 เดือนตาย ติดเชื้อจากคนมาเยี่ยม-ไปนอกบ้าน
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตที่เป็นเด็กทารกอายุไม่ถึง 4 เดือน ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง โดยเด็กเป็นโรคปอดอักเสบ และจากการสอบสวนโรค พบว่า ช่วงก่อนเด็กเสียชีวิต มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่ขึ้นทะเบียนมาเยี่ยมเด็กที่บ้าน รวมทั้งแม่เด็กได้พาเด็กออกไปนอกบ้าน จึงเป็นข้อเตือนใจ ว่า เด็กทารกอายุ 1-3 ปี ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังสุขภาพอย่างดี โดยผลชันสูตร พบว่า ที่ปอดมีความพิการแต่กำเนิด ลักษณะเนื้อปอดแข็งคล้ายฟองน้ำ จึงมีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ต้องรอผลตรวจเนื้อปอดที่นำไปเพาะเชื้อไวรัส เพื่อตรวจสอบว่าปอดมีการติดเชื้อไวรัส เอช1เอ็น1 หรือไม่
นักระบาดฯ คาดป่วยจริงถึง 5 แสน อัตราตาย 1 แสนต่อ10
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับ 10 กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้อัตราการเสียชีวิตของคนไทยอยู่ที่ร้อยละ 0.6 แต่ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง เพราะเป็นการคำนวณจากจำนวนผู้ป่วยที่ สธ.รายงาน คือ 6,776 ราย เป็นเพียงผู้ป่วยที่ส่งตรวจเชื้อเท่านั้น ทำให้ไทยยังไม่ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของการระบาดเป็น ระดับ 3 ซึ่งจากการประเมินจำนวนผู้ติดเชื้อโดยใช้โมเดลจำลอง คาดว่า ไทยจะมีผู้ติดเชื้อแล้วราว 5 แสนคน เมื่อมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตลดต่ำลงตามไปด้วย ขณะที่โรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลเมื่อมีผู้ป่วย 10,000 คน จะมีผู้เสียชีวิต 1 คน เมื่อเปรียบเทียบกับโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่มีผู้เสียชีวิต 44 ราย จะมีผู้ติดเชื้อแล้วประมาณ 500,000 ราย จึงมีการคาดการณ์ว่า ในผู้ป่วย 100,000 ราย จะมีเสียชีวิต 10 ราย ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เทียบเคียงกันได้
ย้ำป่วยอยู่บ้าน 7 วัน ชะลอแพร่ระบาด
นพ.คำนวณ กล่าวต่อว่า ดังนั้น สธ.ต้อง จะทำมาตรการป้องกันอย่างเข้มข้นในทุกมาตรการที่วางไว้ ขณะนี้จากการเก็บตัวเลขผู้ป่วยที่เข้าไปรับการรักษาในโรงพยาบาลมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัด มาตรวจที่โรงพยาบาล จำนวน 25,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยมีอาการน้อยแต่สามารถแพร่เชื้อได้ หากคนเหล่านี้ไม่อยู่บ้านก็จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวคือ 50,000 คน จึงจำเป็นต้องทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้หยุดอยู่บ้าน ซึ่งต้องพยายามทำให้ได้ประมาณร้อยละ 70-80 ดังนั้น หากมีอาการป่วยแม้เพียงเล็กน้อยต้องหยุดจริงๆ 7 วัน รวมถึงคนที่บ้านต้องรู้จักวิธีป้องกันตนเองตามมาตรการที่ สธ.แนะนำ จึงจะสามารถชะลอการแพร่ระบาดได้จริง
รับหยุดยาว-ปิดโรงเรียนไม่ช่วย หากป่วยแล้วไม่อยู่บ้าน
“ยอมรับว่า ไทยอยู่ในช่วงขาขึ้นมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย แต่ก็ไม่สามารถระบุได้ว่า การมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น คือ โรคมีความรุนแรงมากขึ้น ที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อการปิดโรงเรียนแล้ว นักเรียนทั้งหลายต้องอยู่บ้าน จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เช่น การในช่วงที่มีการหยุดยาว 5 วัน จากที่คาดว่าจำนวนเด็กป่วยจะลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงต้องใช้มาตรการป่วยแล้วอยู่บ้านอย่างจริงจังเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยลง มิฉะนั้น การปิดเรียนอาจทำไม่ได้ผล”นพ.คำนวณ กล่าว
นพ.คำนวณ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มาตรการการปิดสถานศึกษาถือว่าไม่มีความจำเป็น ถ้าหากสถานศึกษามีการคัดกรองนักเรียนที่มีอาการป่วยทุกวัน ใครป่วยก็ให้พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ไม่ใช่ออกนอกบ้านก็ไม่สามารถยุติการแพร่ระบาดได้ ทั้งนี้หากมีการให้นักเรียนป่วยหยุดเรียนรายบุคคลแล้วยังพบว่ามีการนักเรียนป่วยอีกมากกว่าร้อยละ 10 ของนักเรียนทั้งโรงเรียน ถือว่ามาตรการดังกล่าวไม่ได้ผล สถานศึกษาก็ต้องปรึกษาในส่วนของผู้ปกครอง กระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการปิดโรงเรียนต่อไป
เก็บเชื้อผู้เสียชีวิตตรวจแล้ว 7 ราย ยังไม่ดื้อยา
นพ.คำนวณ กล่าวอีกว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เฝ้าระวังไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 กลายพันธุ์ และไวรัสดื้อยา ซึ่งได้มีการเก็บเชื้อจากผู้เสียชีวิต ได้ 7 รายและผู้ป่วยเป็นกลุ่มในโรงเรียน ค่ายทหาร อีก 23 แห่ง โดยนำมาตรวจวิธีขั้นต้นทางพันธุกรรม เพื่อหาการกลายพันธุ์ดื้อยา และตรวจยืนยันทางชีววิทยา โดยการเติมยาต้านไวรัสในเซลล์ ที่เพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส พบว่าเชื้อทั้งหมด ยังตอบสนองต่อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ ได้เป็นอย่างดี ยังไม่พบว่ามีการดื้อยาแต่อย่างใด และยังไม่พบการกลายพันธุ์ใดๆ ที่ต่างจากเชื้อที่เริ่มระบาดในช่วงแรก ในสหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก
คาดตัวเลข นร.ใน กทม.ป่วยลดลง
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าทางจะมีการนำข้อมูลจำนวนนักเรียนนักศึกษาที่ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 ภายหลังจากมีการดำเนินการมาตรการปิดโรงเรียนว่า มีผู้ป่วยในกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร ซึ่งจะมานำเสนอในภาพรวมอีกครั้ง โดยที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการคัดกรองนักเรียนนักศึกษาที่ป่วยให้พักรักษาตัวอยู่ที่บ้านและรายงานอาการมายังกระทรวงสาธารณสุข ทำให้มีระบบการรายงานที่เป็นในทิศทางเดียวกัน
นพ.ยง กล่าวว่า จากข้อมูลการตรวจยืนยันเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในห้องปฏิบัติโดยภาพรวม เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ในกลุ่มนักเรียนมีมีจำนวนมากในช่วง เม.ย.-ก.ค.เป็นกลุ่มวัยรุ่น แต่ขณะนี้แนวโน้มลดลงแล้วแต่กลุ่มอายุ 20-40 ปี มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น แต่ในต่างจังหวัดจะต้องพิจารณาตัวเลขอีกครั้ง เนื่องจากเกิดการระบาดหลังในกรุงเทพฯ
ตัวแทน WHO ชี้ทั่วโลกหยุดระบาดไม่ได้ ไทยดีสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พญ.มัวรีน เบอร์มิงแฮม ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า การสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ในระยะที่ผ่านมา จะต้องปรับเปลี่ยนทำความเข้าใจใหม่ เพราะประชาชนยังเข้าใจว่าหากเกิดการระบาดใหญ่แล้วจะสามารถหยุดได้ แต่ความจริงแล้วการระบาดใหญ่ไม่สามารถหยุดได้ เมื่อเกิดการระบาดแล้วจะไปทั่วโลก ลักษณะการระบาดแต่ละประเทศก็จะไม่เหมือนกัน บางประเทศระบาดเร็ว เกิดเป็นกลุ่ม บางประเทศเกิดแบบกระจาย จะเอาข้อมูลมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ เพราะจะไม่สะท้อนความเป็นจริง
สิ่งที่มีความจำเป็นในระดับแรกต้องป้องกันประชาชน ต้องช่วยกันสื่อสารแนะนำประชาชนว่าทำอย่างไรจะไม่ติดเชื้อ และไทยถือว่าเข้มแข็งและดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการติดตามความเปลี่ยนแปลง เฝ้าระวังโรค สอบสวนโรค มีการให้ข้อมูลผู้ป่วย ลักษณะการระบาด ให้ข้อมูลที่มีคุณภาพสูงกับองค์การอนามัยโลก
พญ.มัวรีน กล่าวว่า การสื่อสารต้องให้ข้อความว่า ธรรมชาติส่วนใหญ่ของโรคมีอาการน้อย แต่มีบางส่วนที่มีอาการมากและรุนแรงได้ ต้องพยายามชะลอการแพร่การระบาด ให้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุม จัดการได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อระบบสาธารณสุข และให้สามารถจัดการได้ บางสังคมอาจเลือกวิธีการปิดเรียนชั่วคราว ซึ่งแต่ละประเทศต้องเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม มิฉะนั้นโรงพยาบาลจะมีผู้ป่วยล้น และเป็นผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล โดยต้องเน้นกลุ่มที่ต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
“กระทรวงสาธารณสุขไทย กับองค์การอนามัยโลกมีความร่วมมือในการป้องกันการระบาดมาหลายปีแล้ว และขณะนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการร่วมมือดังกล่าว ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีระบบเฝ้าระวังโรคที่เข้มแข็งที่สุด ประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีระบบเฝ้าระวังโรคดี เข้มแข็ง มีห้องปฏิบัติการตรวจเชื้อหลายแห่ง มีโรงพยาบาลและบุคคลากรทางการแพทย์ ที่รับมือกับโรคได้อย่างไม่ตกใจ มีเตรียมยาต้านไวรัส มีใช้อย่างความขาดแคลน และในอนาคตจะมีวัคซีนใช้เอง”พญ.มัวรีน กล่าว
การันตีวัคซีนเชื้อเป็น ปลอดภัย ถือเป็นการพึ่งตัวเอง
พญ.มัวรีน กล่าวถึงความปลอดภัยของการผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของไทย ว่า ไทยกับองค์การอนามัยโลก มีร่วมมือกันมาประมาณ 2 ปี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตวัคซีนได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งประเทศอื่น ซึ่งการผลิตจากวัคซีนเชื้อเป็น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในประเทศรัสเซียมานานแล้ว มีข้อบ่งขี้ชัดเจน ไม่ใช่วิธีการใหม่ และได้รับการรับรองว่ามีมาตรฐานความปลอดภัยสูง ซึ่งมีการตรวจสอบความปลอดภัย การป้องกันโรค การขึ้นทะเบียน เทคโนโลยีดังกล่าว ที่เป็นการพ่นวัคซีนเข้าจมูก ได้ใช้ในสหรัฐมานานแล้ว ข้อดีคือ สามารถผลิตได้รวดเร็วมากในเวลาสั้น ถือเป็นทางเลือกที่สำคัญมากในจะประเทศต่างๆ จะเลือกใช้
ควมคุมโรค สหรัฐฯ ชี้มาตรการป้องกันโรคไม่ต่างจากไทย
นพ.ไมเคิล มาลิสัน ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือควบคุมโรคไทย-สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ระบบการสาธารณสุขและระบบป้องกันและควบคุมโรคของไทยเข้มแข็งสุดในภูมิภาคนี้ โดยอัตราป่วยตายจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั่วไป 0.7% อยู่ในระดับเดียวกับของประเทศไทย จะสังเกตได้ว่า ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นนั้นไม่ผิดจากความคาดหมาย โดยหากปรับการดูเฉพาะผู้ป่วยเสียชีวิตแต่ละคน มามองในภาพกว้าง จะเห็นว่า จำนวนผู้เสียชีวิตค้นหาได้ไม่ยาก แต่จำนวนผู้ป่วยนับยากมาก เพราะฉะนั้น อัตราป่วยตายไม่สะท้อนความเป็นจริง เป็นปัญหาการดำเนินการเหมือนกันทุกประเทศ
“มาตรการสำคัญของประเทศสหรัฐอเมริกาโดยภาพรวมเหมือนกับประเทศไทย โดยเน้นการป้องกันการป่วยด้วยการสร้างสุขอนามัยส่วนบุคคล ขณะที่การดูแลรักษาผู้ป่วยทำตามแนวทางที่เหมาะสม ผู้ป่วยอาการน้อยให้พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน และสหรัฐฯไม่มีนโยบายระดับชาติให้ปิดโรงเรียน แต่เป็นหน้าที่ของแต่ละรัฐที่จะพิจารณาเองตามความเหมาะสมว่าจะดำเนินการอย่างไร แม้ผู้ป่วยจำนวนมากจะเป็นเด็กวัยเรียนก็ตาม”นพ.ไมเคิล กล่าว
นพ.ไมเคิล กล่าวอีกว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ตามฤดูกาลในช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค. ขณะนี้ในสหรัฐฯยังไม่ถึงฤดูกาลระบาด คาดการณ์ว่า ในช่วงการระบาดดังกล่าวจะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นกว่าปัจจุบัน ซึ่งในแต่ละปีสหรัฐฯมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ตามฤดูกาลประมาณ 20 %ของประชาการทั้งประเทศ และจะมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2 แสนคน เสียชีวิต 3 หมื่นคน
ไทยติดอันดับ 4 รายงานผู้ป่วย-ตายมากสุด
นพ.ทวี กล่าวว่า แม้ว่าประเทศไทยจะมีผู้เสียชีวิต 44 ราย แต่ไม่ได้ถือว่าเป็นประเทศที่มีการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ เพราะไทยมีการรายงานผู้เสียชีวิตและผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไปยังองค์การอนามัยโลก มากเป็นอันดับที่ 4 จากทั่วโลก ซึ่งถือว่าไทยมีระบบการรายงานที่ดี ขณะที่บางประเทศไม่มีการรายงานผู้เสียชีวิตไปยังองค์การอนามัยโลก จึงไม่ทราบว่า มีประเทศไม่ได้รายงานอีกมากเท่าไหร่
ยันกระบวนการผลิตวัคซีนในไทยปลอดภัย
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 22 กรกฎาคม ที่โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ และประธานอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการฯ ของไข้หวัดใหญ่ จัดการประชุมสัมมนาวิทยุชุมชน ดีเจวิทยุ ฯ จำนวน 200 คน เพื่อเป็นสื่อกลางในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบอย่างถูกต้อง เพื่อสร้างให้เกิดความมั่นใจ และลดการตื่นกลัว รวมทั้งให้ประชาชนสามารถปฏิบัติตนเองเพื่อการป้องกันโรค และหากมีผู้ป่วยในบ้านก็สามารถดูแลเบื้องต้นโดยถูกต้องและปลอดภัยได้ ซึ่งจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาที่โรงพยาบาลโดยไม่จำเป็นได้อย่างมาก
นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล ผู้อำนวยการสถาบันและพัฒนาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และนายกสมาคมไวรัสวิทยาประเทศไทย กล่าวว่า ความกังวลในเรื่องความปลอดภัยของโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่อาจมีเชื้อไวรัสตัวเป็นที่นำมาใช้ในการผลิตหลุดออกมาสู่สิ่งแวดล้อมและทำให้เกิดการระบาดว่า ไม่เป็นความจริง เนื่องจาก เชื้อตามปกติจะมีการควบคุมมาตรฐานไม่ให้เกิดการเล็ดรอดของเชื้อสู่สิ่งแวดล้อม แต่หากเกิดความผิดพลาด ก็จะไม่เกิดอันตราย เพราะเชื้อเป็นที่นำมาใช้ในการผลิต เป็นเชื้อที่ทำการลดความอันตรายแล้ว แม้ว่าจะหลุดออกมาก็ไม่สามารถทำให้เกิดการระบาดได้ อีกทั้ง ตัวเชื้อที่อยู่ในโรงงานผลิตวัคซีน เป็นตัวเดียวกับวัคซีนที่จะไม่เป็นอันตราย
“เชื้อเป็นที่จะนำมาใช้ในการผลิตวัคซีนชนิดพ่น ที่ประเทศไทยจะทำการผลิต แม้จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ แต่ต้นแบบในเทคโนโลยีในการผลิตใช้มานานแล้ว ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงแค่เปลือกของผิวไวรัสเท่านั้น แต่โครงสร้างภายในยังเหมือนเดิม จึงทำให้เชื่อได้ว่าจะมีความปลอดภัยไม่ต่างจากเดิม ทั้งนี้ วัคซีนที่ทำจากเชื้อเป็นไม่มีรายงานความไม่ปลอดภัย แต่ต้องศึกษาข้อจำกัดในการใช้ ความปลอดภัย เพราะอาจมีข้อบ่งชี้ที่ห้ามใช้ไม่สามารถใช้ได้ดีในเด็กเล็ก และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี ดังนั้น ข้อมูลที่วัคซีนจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท เป็นข้อมูลจากผลิตวัคซีนเชื้อตาย และใช้เทคโนโลยีเก่า ที่ปัจจุบันไม่มีการใช้แล้ว” นพ.ประเสริฐ กล่าว