**เมื่อ“มาร์ค”คิดการใหญ่
วาระการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่จะเข้าสู่ที่ประชุม ในวันนี้( 28 ก.ค.) มีวาระที่สำคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องจับตามอง ที่กระทรวงการต่างประเทศ จะเสนอ ครม.พิจารณา การรับสมัครเลือกตั้งเป็น สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นไปตามบัญชาของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลกระทรวงการต่างประเทศด้วยตัวเอง
ทั้งนี้ โครงสร้างของสหประชาชาติในเรื่องของความมั่นคง จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีสมาชิกถาวร 5 ชาติ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษ และสหรัฐฯ รวมทั้งสมาชิกไม่ถาวร 10 ชาติ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม ลิเบีย เบลเยียม อิตาลี โครเอเชีย ปานามา แอฟริกาใต้ คอสตาริกา และ เบอร์กินา ฟาโซ
โดย คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วยสมาชิกถาวร 5 ชาติ และสมาชิกไม่ถาวร 10 ชาติ ซึ่งต้องสลับผลัดเปลี่ยนกันไป โดยมีวาระะ 2 ปี โดยเอเชีย มีโควต้าที่นั่งของสมาชิกไม่ถาวร 2 ที่นั่ง ซึ่งญี่ปุ่น จะเข้าทำหน้าที่แทนอินโดนีเซีย ตั้งแต่ปี 2552 - 2553 ส่วนอีก 1 ที่นั่งเป็นของเวียดนาม ซึ่งวาระยังมีไปจนถึงสิ้นปี 2552
ล่าสุด ประเทศญี่ปุ่นได้เสียงสนับสนุนให้เป็นสมาชิกไม่ถาวร ของคณะมนตรีความมั่นคง จากการโหวตในที่ประชุมเมื่อปีที่แล้ว ด้วยคะแนนเสียง 158 เสียง ขณะที่ผู้ท้าชิงประเทศอิหร่าน ได้คะแนน 32 เสียง
ประเด็นสำคัญ ในการพิจารณาวาระรับสมัครเลือกตั้งเป็น สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ของนายอภิสิทธิ์ คือ ประเทศไทย หวังจะเข้าเป็นตัวเลือกแทนประเทศเวียดนาม ที่จะหมดวาระในวันที่ 31 ธ.ค.นี้ และถ้าได้ จะได้นั่งถึงปี 2553
ทำให้ต้องจับตาว่า ใคร ? ผู้ใด? จะได้เป็นตัวแทน ตัวเลือกประกวดเข้าเป็นหัวหน้าชุด หัวหน้าทีมสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จากประเทศไทย
คณะมนตรีความมั่นคง ถือเป็นหน่วยงานที่ทรงอิทธิพลที่สุดในของสหประชาชาติ เพราะมีอำนาจในการตัดสินใจคว่ำบาตร และส่งกองกำลังรักษาสันติภาพไปประจำการในดินแดนต่างๆ
และที่สำคัญที่สุด คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นองค์กรกลางมีอำนาจพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาท เช่น กรณีไทย-กัมพูชา ด้วย
**ห้ามใช้อนุญาโตฯ ระงับข้อพิพาท
ขณะที่ กระทรวงยุติธรรม ตามบัญชาของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี จะเสนอร่าง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ... สาระสำคัญ คือ หากเกิดข้อพิพาทระหว่างภาครัฐกับเอกชนให้หน่วยงานของรัฐยกเลิกการใช้ระบบระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ และ กำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งอนุญาโตตุลาการ ต้องไม่เป็นข้าราชการ เนื่องจากที่ผ่านมาภาครัฐเสียเปรียบในการใช้ระบบอนุญาโตตุลาการ ในการระงับข้อพิพาทกับเอกชนมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) แสดงความเห็นไม่เห็นด้วย เนื่องจากเห็นว่าอาจจะทำลายบรรยากาศการลงทุนจากต่างประเทศได้ หากไม่ใช้ระบบอนุญาโตตุลาการ ในการระงับข้อพิพาทระหว่างภาครัฐกับเอกชน พร้อมกับเสนอแนะว่า ควรศึกษาในรายละเอียดว่า แท้จริงแล้วปัญหาการแพ้คดีของภาครัฐกับเอกชน เกิดจากสาเหตุใด เช่น ขั้นตอนการยกร่างทีโออาร์ หรือไม่
**ของบ 1.4 พันล้านให้ เขมรกู้สร้างถนน
กระทรวงการคลัง จะเสนอให้ ครม.เห็นชอบการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศกัมพูชา สำหรับโครงการพัฒนาถนนหมายเลข 68 งบประมาณ 1,400 ล้านบาท ระยะทาง 116 ก.ม. (กลอรันห์–สำโรง–โอเสม็ด) เป็นเงินกู้สัญญา 30 ปี ปลอดดอกเบี้ยระยะเวลา 10 ปีแรก โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1.5% ต่อปี โดยในปี 2553 เงินกู้ 280 ล้านบาท ปี 2554 เงินกู้ 490 ล้านบาท ในปี 2555 เงินกู้ 520 ล้านบาท และปี 2556 เงินกู้ 210 ล้านบาท
**ชงร่างกม.ประกันสังคม งดส่งเงินสมทบได้
กระทรวงแรงงาน จะเสนอร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ... สาระสำคัญ คือ 1.ขอให้ขยายการคุ้มครองผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวในสังกัดหน่วยงานของภาครัฐ และครอบคลุมลูกจ้างในงานบ้านด้วย 2. ขอให้กำหนดเงื่อนไขการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และเป็นธรรมต่อผู้ประกันตน จึงขอให้ขยายระยะเวลา หากผู้ประกันตนขาดส่งเงินสมทบประกันสังคม จากเดิมหากขาดส่งเงินสมทบเงินประกันสังคมเป็นเวลา 3 เดือน จะถูกตัดสิทธิ แต่เสนอให้ขยายเป็น 5 เดือนแทน ถือเป็นการช่วยเหลือผู้ประกันตน และ 3. ผู้ประกันตนสามารถงดส่งเงินสมทบประกันสังคมได้ หากผู้ประกันตนประสบภัยพิบัติ
วาระการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่จะเข้าสู่ที่ประชุม ในวันนี้( 28 ก.ค.) มีวาระที่สำคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องจับตามอง ที่กระทรวงการต่างประเทศ จะเสนอ ครม.พิจารณา การรับสมัครเลือกตั้งเป็น สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นไปตามบัญชาของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลกระทรวงการต่างประเทศด้วยตัวเอง
ทั้งนี้ โครงสร้างของสหประชาชาติในเรื่องของความมั่นคง จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีสมาชิกถาวร 5 ชาติ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษ และสหรัฐฯ รวมทั้งสมาชิกไม่ถาวร 10 ชาติ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม ลิเบีย เบลเยียม อิตาลี โครเอเชีย ปานามา แอฟริกาใต้ คอสตาริกา และ เบอร์กินา ฟาโซ
โดย คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วยสมาชิกถาวร 5 ชาติ และสมาชิกไม่ถาวร 10 ชาติ ซึ่งต้องสลับผลัดเปลี่ยนกันไป โดยมีวาระะ 2 ปี โดยเอเชีย มีโควต้าที่นั่งของสมาชิกไม่ถาวร 2 ที่นั่ง ซึ่งญี่ปุ่น จะเข้าทำหน้าที่แทนอินโดนีเซีย ตั้งแต่ปี 2552 - 2553 ส่วนอีก 1 ที่นั่งเป็นของเวียดนาม ซึ่งวาระยังมีไปจนถึงสิ้นปี 2552
ล่าสุด ประเทศญี่ปุ่นได้เสียงสนับสนุนให้เป็นสมาชิกไม่ถาวร ของคณะมนตรีความมั่นคง จากการโหวตในที่ประชุมเมื่อปีที่แล้ว ด้วยคะแนนเสียง 158 เสียง ขณะที่ผู้ท้าชิงประเทศอิหร่าน ได้คะแนน 32 เสียง
ประเด็นสำคัญ ในการพิจารณาวาระรับสมัครเลือกตั้งเป็น สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ของนายอภิสิทธิ์ คือ ประเทศไทย หวังจะเข้าเป็นตัวเลือกแทนประเทศเวียดนาม ที่จะหมดวาระในวันที่ 31 ธ.ค.นี้ และถ้าได้ จะได้นั่งถึงปี 2553
ทำให้ต้องจับตาว่า ใคร ? ผู้ใด? จะได้เป็นตัวแทน ตัวเลือกประกวดเข้าเป็นหัวหน้าชุด หัวหน้าทีมสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จากประเทศไทย
คณะมนตรีความมั่นคง ถือเป็นหน่วยงานที่ทรงอิทธิพลที่สุดในของสหประชาชาติ เพราะมีอำนาจในการตัดสินใจคว่ำบาตร และส่งกองกำลังรักษาสันติภาพไปประจำการในดินแดนต่างๆ
และที่สำคัญที่สุด คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นองค์กรกลางมีอำนาจพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาท เช่น กรณีไทย-กัมพูชา ด้วย
**ห้ามใช้อนุญาโตฯ ระงับข้อพิพาท
ขณะที่ กระทรวงยุติธรรม ตามบัญชาของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี จะเสนอร่าง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ... สาระสำคัญ คือ หากเกิดข้อพิพาทระหว่างภาครัฐกับเอกชนให้หน่วยงานของรัฐยกเลิกการใช้ระบบระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ และ กำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งอนุญาโตตุลาการ ต้องไม่เป็นข้าราชการ เนื่องจากที่ผ่านมาภาครัฐเสียเปรียบในการใช้ระบบอนุญาโตตุลาการ ในการระงับข้อพิพาทกับเอกชนมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) แสดงความเห็นไม่เห็นด้วย เนื่องจากเห็นว่าอาจจะทำลายบรรยากาศการลงทุนจากต่างประเทศได้ หากไม่ใช้ระบบอนุญาโตตุลาการ ในการระงับข้อพิพาทระหว่างภาครัฐกับเอกชน พร้อมกับเสนอแนะว่า ควรศึกษาในรายละเอียดว่า แท้จริงแล้วปัญหาการแพ้คดีของภาครัฐกับเอกชน เกิดจากสาเหตุใด เช่น ขั้นตอนการยกร่างทีโออาร์ หรือไม่
**ของบ 1.4 พันล้านให้ เขมรกู้สร้างถนน
กระทรวงการคลัง จะเสนอให้ ครม.เห็นชอบการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศกัมพูชา สำหรับโครงการพัฒนาถนนหมายเลข 68 งบประมาณ 1,400 ล้านบาท ระยะทาง 116 ก.ม. (กลอรันห์–สำโรง–โอเสม็ด) เป็นเงินกู้สัญญา 30 ปี ปลอดดอกเบี้ยระยะเวลา 10 ปีแรก โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1.5% ต่อปี โดยในปี 2553 เงินกู้ 280 ล้านบาท ปี 2554 เงินกู้ 490 ล้านบาท ในปี 2555 เงินกู้ 520 ล้านบาท และปี 2556 เงินกู้ 210 ล้านบาท
**ชงร่างกม.ประกันสังคม งดส่งเงินสมทบได้
กระทรวงแรงงาน จะเสนอร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ... สาระสำคัญ คือ 1.ขอให้ขยายการคุ้มครองผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวในสังกัดหน่วยงานของภาครัฐ และครอบคลุมลูกจ้างในงานบ้านด้วย 2. ขอให้กำหนดเงื่อนไขการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และเป็นธรรมต่อผู้ประกันตน จึงขอให้ขยายระยะเวลา หากผู้ประกันตนขาดส่งเงินสมทบประกันสังคม จากเดิมหากขาดส่งเงินสมทบเงินประกันสังคมเป็นเวลา 3 เดือน จะถูกตัดสิทธิ แต่เสนอให้ขยายเป็น 5 เดือนแทน ถือเป็นการช่วยเหลือผู้ประกันตน และ 3. ผู้ประกันตนสามารถงดส่งเงินสมทบประกันสังคมได้ หากผู้ประกันตนประสบภัยพิบัติ