ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต
มิใยต้องพูดถึงกรณีทุจริตการเลือกตั้ง เมื่อปลายปี 2550 จนนำไปสู่การยุบพรรคพลังประชาชน พรรคมัชฌิมา และชาติไทย ซึ่งก็ถูกนำมากล่าวบิดเบือน ทำให้รัฐธรรมนูญ 2550 ต้องตกเป็นแพะรับบาป โทษฐานที่วางกฎเกณฑ์ป้องกันการโกงเลือกตั้งอย่างเข้มงวด เอาจริงเอาจัง และรุนแรงเกินไป
ต่อมา เมื่อมีการตั้งกรรมการสมานฉันท์ฯ ก็เลยมีคนความพยายามจะมุ่งไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญ 2550
เพราะกติกาในรัฐธรรมนูญทำให้คนโกง พรรคโกง และพวกโกง จะต้องเปลี่ยนพฤติกรรม จึงจำเป็นต้องตัด “รองเท้ามาตรฐาน” ให้เข้ากับ “เท้าของนักการเมืองบางพวก” ที่สกปรกพิกลพิการ อย่างนั้นหรือ
กรณีเรื่องการถือครองหุ้นโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญของ ส.ส. และ ส.ว. ก็กำลังจะเข้าอีหรอบเดียวกัน
ส.ส.ประชาธิปัตย์ 13 คน และ ส.ว. อีก 16 คน ที่ถูก กกต.วินิจฉัยว่าถือหุ้นในบริษัทที่รับสัมปทานผูกขาดตัดตอนจากรัฐ หรือถือหุ้นในบริษัทโทรคมนาคมสื่อสารมวลชน ทำให้มีคุณสมบัติต้องห้ามของการเป็น ส.ส. ส.ว. และรัฐมนตรี
นำไปสู่การลาออกของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และรองนายกรัฐมนตรี ประกาศลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. แต่ไม่ลาออกจากรัฐมนตรี เพราะอ้างว่า เข้ามาเป็นรัฐมนตรีภายหลังจากที่ขายหุ้นอันก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวออกไปก่อนจะเข้ารับตำแหน่งแล้ว
หลังจากนี้ อีกไม่เกิน 1 เดือน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ภูมิใจไทย และชาติไทยพัฒนา ก็คงจะถูก กกต. วินิจฉัยว่ามีคุณสมบัติ ด้วยบรรทัดฐานเดียวกันต่อไป มากกว่า 30 คน!
หรือเมื่อนั้น พรรคร่วมรัฐบาล ร่วมกับพรรคฝ่ายค้าน และ ส.ว.บางส่วน ก็จะประสานเสียงว่า ตนไม่ผิด เพราะถือหุ้นมาก่อนรับตำแหน่งบ้าง (ทั้งๆ ที่ รัฐธรรมนูญไม่ได้บอกว่าก่อนหรือหลังแล้วจะยกเว้นให้) ไม่ได้มีส่วนในการเข้าบริหารตัดสินใจในบริษัทที่ถือหุ้นบ้าง (ทั้งๆ ที่ รัฐธรรมนูญไม่ได้บอกว่าถ้าไม่เข้าไปบริหารแล้วจะยกเว้นให้) และบางส่วน ที่จะกล่าวหาว่า กกต.กลั่นแกล้งก็คงจะมี ฯลฯ
เมื่อ กกต.ถูกโจมตี หากคร้านจะอธิบายเหตุผลและเจตนารมณ์ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติห้ามไว้ ก็คงจะออกมาอ้างง่ายๆ บอกปัดพ้นๆ ตัวไปว่า ตนเองวินิจฉัยไปตามรัฐธรรมนูญ
ถ้าจะโทษก็ต้องไปโทษรัฐธรรมนูญ กับผู้ร่างรัฐธรรมนูญ
ในที่สุด เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง ท่านผู้ทรงเกียรติส่วนใหญ่ก็คงจะไปลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อกลับเข้ามาอีก
แก้ตัวว่า “บกพร่องโดยสุจริต”
อ้างว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามคนทำผิดกลับเข้ามาเล่นการเมืองอีก โดยไม่สำนึกว่า การที่ตนเองอาสาเข้ามาทำงานการเมือง แล้วทำผิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกติกาสูงสุดเสียเอง เป็นเพราะตนเองบกพร่องที่ไม่ได้ดูให้ดี จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งผู้อื่นเข้ามาทำหน้าที่แทน ตนเองจึงควรแสดงความรับผิดชอบ ก็ควรจะเปิดโอกาสให้คนอื่นๆ ได้อาสาเข้ามาทำงานเพื่อส่วนรวมบ้าง
อย่างน้อยที่สุด ก็จนกว่าจะครบรอบ หรือครบวาระของสภาชุดปัจจุบัน
แต่ถ้าผู้กระทำผิดรัฐธรรมนูญเหล่านี้ ยังจะลงเลือกตั้งเพื่อกลับมาอีกครั้ง เมื่อเลือกตั้งใหม่ ก็คงได้กลับเข้ามาเป็น ส.ส. หรือ ส.ว.อีกจำนวนมาก
และเมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ควรกลับมาเป็น ส.ส. หรือ ส.ว.อีก เพราะจะเสมือนว่าการละเมิดรัฐธรรมนูญเป็นแค่เรื่องเล็กน้อย ไม่ต้องรับผิดชอบ และไม่ส่งผลกระทบอะไรเลย คนเหล่านี้ก็คงจะประสานเสียงกัน อ้างว่า “ประชาชนตัดสินแล้ว” หรือ “ประชาชนเลือกแล้วว่าอะไรดีไม่ดี ถูกไม่ถูก” หรือ “ประชาชนเป็นผู้เลือกพวกข้าพเจ้ากลับมาเอง” เป็นต้น
วิธีปลอบใจตัวเอง หรือลวงล่อไม่ให้ตนเองตกเป็นเป้าสังคมต่อไป ก็โดยการอ้างว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามลงสมัครใหม่ ขณะนี้ได้ขายหุ้นเหล่านั้นออกไปแล้ว เป็นตำแหน่งใหม่ คนใหม่
จนตรอกมากๆ เข้า ก็โยนขี้ไปให้รัฐธรรมนูญเสียเลย (ง่ายดี เพราะรัฐธรรมนูญมันพูดไม่ได้ เถียงไม่ได้) อ้างว่า รัฐธรรมนูญไม่ดี ใช้ไม่ได้ ต้องแก้ไขใหม่ ให้กลับไปสอดคล้องกับพฤติกรรมเดิมๆ ของนักการเมืองเก่าๆ
ถ้าจะพิจารณารัฐธรรมนูญ มาตรา 265 (2) และ 267 ที่กำหนดโดยย่อว่า บรรดา ส.ส. ส.ว. และรัฐมนตรี จะเป็นหุ้นส่วน หรือเป็นผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานจากรัฐไม่ได้ โดยข้อบังคับนี้ให้รวมบังคับถึงคู่สมรส บุตร และตัวแทนเชิดทั้งหลายด้วย ทั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันมิให้นักการเมืองไปกำหนดนโยบายหรือกฎหมายหรือมาตรการเพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัทเหล่านี้ ที่ตนเองมีผลประโยชน์ส่วนได้เสียอยู่ด้วย
ในความเป็นจริง ข้อความหลักที่ปรากฏในมาตรานี้ มีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 แล้ว แต่ที่ไม่สามารถเอาคนกระทำผิด หรือละเมิดรัฐธรรมนูญมาลงโทษ เพราะประชาชนและสังคมไม่เคยรับรู้ข้อมูลว่า ส.ส. ส.ว. หรือรัฐมนตรีคนใด ถือหุ้นบริษัทใดบ้าง เมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 อีกมาตราหนึ่ง บังคับให้ ป.ป.ช.ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน ข้อมูลการถือหุ้นของ ส.ส. และ ส.ว.เหล่านี้จึงปรากฏสู่สาธารณะ
ไม่ใช่ปล่อยให้นักการเมืองแจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. แล้ว ป.ป.ช.ก็เก็บใส่แฟ้ม โดยที่ไม่ตรวจสอบดำเนินการด้วยกระบวนการของ ป.ป.ช.เอง
และที่รัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ได้กำหนดต่อไปว่า ส.ส. ส.ว. และรัฐมนตรี ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย จะต้องหยุดหรือเว้นการอาสาสมัครเข้ามาทำงานการเมืองของส่วนรวมเป็นเวลา 5 ปี หรือ 1 ปี ก็เพราะคาดหวังว่า คนระดับผู้ทรงเกียรติ คงจะไม่คิดหาทางลอด-ลัดเลาะ เพื่อให้ตนเองได้กลับมาดำรงตำแหน่งได้ดังเดิม
ถ้ารู้ว่าจะมี “ศรีธนญชัย” กลับชาติมาเกิดมากขนาดนี้ คงไม่มีใครยอมให้รัฐต้องเสียเงินเพื่อเลือกตั้งใหม่ แต่คงระบุโทษเพียงว่าให้มีโทษปรับ แล้วให้จำหน่ายหุ้นออกไป แต่ให้ดำรงตำแหน่งต่อไป
หรือถ้าดูว่าน่าเกลียด ที่ผู้ทรงเกียรติกระทำผิดแล้วจะมีโทษแค่ปรับ ก็อาจจะพิจารณาให้มีโทษจำคุก หรือระบุห้ามอาสาเข้ามาทำงานการเมืองส่วนรวม สักระยะหนึ่ง (1-5 ปี) เหมือนมาตรา 237 ไปเลย
อย่างไรก็ตาม ผู้ทรงเกียรติทั้งหลายก็คงจะออกมาตำหนิอีก ว่าโทษรุนแรงไป รัฐธรรมนูญไม่ดี ต้องแก้ไขให้เข้ากับพฤติกรรมที่เคยชินของนักการเมือง เหมือนที่พยายามแก้ มาตรา 237 อยู่ในขณะนี้
สังคมควรช่วยกันตั้งสติ ไตร่ตรอง และตั้งคำถาม ดังนี้
1) รัฐธรรมนูญควรห้ามนักการเมืองเป็นเจ้าของ หรือถือหุ้นบริษัทสัมปทาน ที่อาจมีผลประโยชน์ขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวของนักการเมืองกับผลประโยชน์ของรัฐส่วนรวม หรือไม่ ?
2) กฎหมายไม่ได้ห้ามคนขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ กลับเข้าสมัครรับเลือกตั้งได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ควรแก้ไขให้ตรงกับพฤติกรรมของนักการเมืองหรือไม่
ถ้าคิดว่าควร... ก็ต้องแก้ไขอีกหลายมาตรา เช่น กรณีนายไชยา สะสมทรัพย์ เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อกระทำผิดรัฐธรรมนูญมาตราหนึ่ง เพราะถือหุ้นเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด ก็ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แล้วอ้างว่า ได้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเดิมไปแล้ว !
กรณีนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) ก็เปลี่ยนไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลังได้ หรือแม้แต่คุณอุไรวรรณ เทียนทอง ก็เช่นเดียวกัน ฯลฯ
ถ้าจะทำกันอย่างนี้ รัฐธรรมนูญของประเทศไทยก็คงจะเป็นรัฐธรรมนูญที่ยาวที่สุดในโลก และจะยาวขึ้นไปอีกเรื่อยๆ ตามพฤติกรรมวิปริต พิสดาร ที่ต้องการจะหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญของนักการเมือง
3) เราควรให้นักการเมืองผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง แก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนกับที่พวกเขากำลังจะทำในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์และโทษของเขา หรือไม่
เราจะปล่อยให้การพัฒนาประชาธิปไตย เสียเวลาไปกับการหาแพะ หรือการแก้กติกาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมแบบเก่าๆ ของนักการเมืองหน้าเดิมๆ อย่างนั้นหรือ ?
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต
มิใยต้องพูดถึงกรณีทุจริตการเลือกตั้ง เมื่อปลายปี 2550 จนนำไปสู่การยุบพรรคพลังประชาชน พรรคมัชฌิมา และชาติไทย ซึ่งก็ถูกนำมากล่าวบิดเบือน ทำให้รัฐธรรมนูญ 2550 ต้องตกเป็นแพะรับบาป โทษฐานที่วางกฎเกณฑ์ป้องกันการโกงเลือกตั้งอย่างเข้มงวด เอาจริงเอาจัง และรุนแรงเกินไป
ต่อมา เมื่อมีการตั้งกรรมการสมานฉันท์ฯ ก็เลยมีคนความพยายามจะมุ่งไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญ 2550
เพราะกติกาในรัฐธรรมนูญทำให้คนโกง พรรคโกง และพวกโกง จะต้องเปลี่ยนพฤติกรรม จึงจำเป็นต้องตัด “รองเท้ามาตรฐาน” ให้เข้ากับ “เท้าของนักการเมืองบางพวก” ที่สกปรกพิกลพิการ อย่างนั้นหรือ
กรณีเรื่องการถือครองหุ้นโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญของ ส.ส. และ ส.ว. ก็กำลังจะเข้าอีหรอบเดียวกัน
ส.ส.ประชาธิปัตย์ 13 คน และ ส.ว. อีก 16 คน ที่ถูก กกต.วินิจฉัยว่าถือหุ้นในบริษัทที่รับสัมปทานผูกขาดตัดตอนจากรัฐ หรือถือหุ้นในบริษัทโทรคมนาคมสื่อสารมวลชน ทำให้มีคุณสมบัติต้องห้ามของการเป็น ส.ส. ส.ว. และรัฐมนตรี
นำไปสู่การลาออกของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และรองนายกรัฐมนตรี ประกาศลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. แต่ไม่ลาออกจากรัฐมนตรี เพราะอ้างว่า เข้ามาเป็นรัฐมนตรีภายหลังจากที่ขายหุ้นอันก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวออกไปก่อนจะเข้ารับตำแหน่งแล้ว
หลังจากนี้ อีกไม่เกิน 1 เดือน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ภูมิใจไทย และชาติไทยพัฒนา ก็คงจะถูก กกต. วินิจฉัยว่ามีคุณสมบัติ ด้วยบรรทัดฐานเดียวกันต่อไป มากกว่า 30 คน!
หรือเมื่อนั้น พรรคร่วมรัฐบาล ร่วมกับพรรคฝ่ายค้าน และ ส.ว.บางส่วน ก็จะประสานเสียงว่า ตนไม่ผิด เพราะถือหุ้นมาก่อนรับตำแหน่งบ้าง (ทั้งๆ ที่ รัฐธรรมนูญไม่ได้บอกว่าก่อนหรือหลังแล้วจะยกเว้นให้) ไม่ได้มีส่วนในการเข้าบริหารตัดสินใจในบริษัทที่ถือหุ้นบ้าง (ทั้งๆ ที่ รัฐธรรมนูญไม่ได้บอกว่าถ้าไม่เข้าไปบริหารแล้วจะยกเว้นให้) และบางส่วน ที่จะกล่าวหาว่า กกต.กลั่นแกล้งก็คงจะมี ฯลฯ
เมื่อ กกต.ถูกโจมตี หากคร้านจะอธิบายเหตุผลและเจตนารมณ์ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติห้ามไว้ ก็คงจะออกมาอ้างง่ายๆ บอกปัดพ้นๆ ตัวไปว่า ตนเองวินิจฉัยไปตามรัฐธรรมนูญ
ถ้าจะโทษก็ต้องไปโทษรัฐธรรมนูญ กับผู้ร่างรัฐธรรมนูญ
ในที่สุด เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง ท่านผู้ทรงเกียรติส่วนใหญ่ก็คงจะไปลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อกลับเข้ามาอีก
แก้ตัวว่า “บกพร่องโดยสุจริต”
อ้างว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามคนทำผิดกลับเข้ามาเล่นการเมืองอีก โดยไม่สำนึกว่า การที่ตนเองอาสาเข้ามาทำงานการเมือง แล้วทำผิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกติกาสูงสุดเสียเอง เป็นเพราะตนเองบกพร่องที่ไม่ได้ดูให้ดี จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งผู้อื่นเข้ามาทำหน้าที่แทน ตนเองจึงควรแสดงความรับผิดชอบ ก็ควรจะเปิดโอกาสให้คนอื่นๆ ได้อาสาเข้ามาทำงานเพื่อส่วนรวมบ้าง
อย่างน้อยที่สุด ก็จนกว่าจะครบรอบ หรือครบวาระของสภาชุดปัจจุบัน
แต่ถ้าผู้กระทำผิดรัฐธรรมนูญเหล่านี้ ยังจะลงเลือกตั้งเพื่อกลับมาอีกครั้ง เมื่อเลือกตั้งใหม่ ก็คงได้กลับเข้ามาเป็น ส.ส. หรือ ส.ว.อีกจำนวนมาก
และเมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ควรกลับมาเป็น ส.ส. หรือ ส.ว.อีก เพราะจะเสมือนว่าการละเมิดรัฐธรรมนูญเป็นแค่เรื่องเล็กน้อย ไม่ต้องรับผิดชอบ และไม่ส่งผลกระทบอะไรเลย คนเหล่านี้ก็คงจะประสานเสียงกัน อ้างว่า “ประชาชนตัดสินแล้ว” หรือ “ประชาชนเลือกแล้วว่าอะไรดีไม่ดี ถูกไม่ถูก” หรือ “ประชาชนเป็นผู้เลือกพวกข้าพเจ้ากลับมาเอง” เป็นต้น
วิธีปลอบใจตัวเอง หรือลวงล่อไม่ให้ตนเองตกเป็นเป้าสังคมต่อไป ก็โดยการอ้างว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามลงสมัครใหม่ ขณะนี้ได้ขายหุ้นเหล่านั้นออกไปแล้ว เป็นตำแหน่งใหม่ คนใหม่
จนตรอกมากๆ เข้า ก็โยนขี้ไปให้รัฐธรรมนูญเสียเลย (ง่ายดี เพราะรัฐธรรมนูญมันพูดไม่ได้ เถียงไม่ได้) อ้างว่า รัฐธรรมนูญไม่ดี ใช้ไม่ได้ ต้องแก้ไขใหม่ ให้กลับไปสอดคล้องกับพฤติกรรมเดิมๆ ของนักการเมืองเก่าๆ
ถ้าจะพิจารณารัฐธรรมนูญ มาตรา 265 (2) และ 267 ที่กำหนดโดยย่อว่า บรรดา ส.ส. ส.ว. และรัฐมนตรี จะเป็นหุ้นส่วน หรือเป็นผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานจากรัฐไม่ได้ โดยข้อบังคับนี้ให้รวมบังคับถึงคู่สมรส บุตร และตัวแทนเชิดทั้งหลายด้วย ทั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันมิให้นักการเมืองไปกำหนดนโยบายหรือกฎหมายหรือมาตรการเพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัทเหล่านี้ ที่ตนเองมีผลประโยชน์ส่วนได้เสียอยู่ด้วย
ในความเป็นจริง ข้อความหลักที่ปรากฏในมาตรานี้ มีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 แล้ว แต่ที่ไม่สามารถเอาคนกระทำผิด หรือละเมิดรัฐธรรมนูญมาลงโทษ เพราะประชาชนและสังคมไม่เคยรับรู้ข้อมูลว่า ส.ส. ส.ว. หรือรัฐมนตรีคนใด ถือหุ้นบริษัทใดบ้าง เมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 อีกมาตราหนึ่ง บังคับให้ ป.ป.ช.ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน ข้อมูลการถือหุ้นของ ส.ส. และ ส.ว.เหล่านี้จึงปรากฏสู่สาธารณะ
ไม่ใช่ปล่อยให้นักการเมืองแจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. แล้ว ป.ป.ช.ก็เก็บใส่แฟ้ม โดยที่ไม่ตรวจสอบดำเนินการด้วยกระบวนการของ ป.ป.ช.เอง
และที่รัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ได้กำหนดต่อไปว่า ส.ส. ส.ว. และรัฐมนตรี ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย จะต้องหยุดหรือเว้นการอาสาสมัครเข้ามาทำงานการเมืองของส่วนรวมเป็นเวลา 5 ปี หรือ 1 ปี ก็เพราะคาดหวังว่า คนระดับผู้ทรงเกียรติ คงจะไม่คิดหาทางลอด-ลัดเลาะ เพื่อให้ตนเองได้กลับมาดำรงตำแหน่งได้ดังเดิม
ถ้ารู้ว่าจะมี “ศรีธนญชัย” กลับชาติมาเกิดมากขนาดนี้ คงไม่มีใครยอมให้รัฐต้องเสียเงินเพื่อเลือกตั้งใหม่ แต่คงระบุโทษเพียงว่าให้มีโทษปรับ แล้วให้จำหน่ายหุ้นออกไป แต่ให้ดำรงตำแหน่งต่อไป
หรือถ้าดูว่าน่าเกลียด ที่ผู้ทรงเกียรติกระทำผิดแล้วจะมีโทษแค่ปรับ ก็อาจจะพิจารณาให้มีโทษจำคุก หรือระบุห้ามอาสาเข้ามาทำงานการเมืองส่วนรวม สักระยะหนึ่ง (1-5 ปี) เหมือนมาตรา 237 ไปเลย
อย่างไรก็ตาม ผู้ทรงเกียรติทั้งหลายก็คงจะออกมาตำหนิอีก ว่าโทษรุนแรงไป รัฐธรรมนูญไม่ดี ต้องแก้ไขให้เข้ากับพฤติกรรมที่เคยชินของนักการเมือง เหมือนที่พยายามแก้ มาตรา 237 อยู่ในขณะนี้
สังคมควรช่วยกันตั้งสติ ไตร่ตรอง และตั้งคำถาม ดังนี้
1) รัฐธรรมนูญควรห้ามนักการเมืองเป็นเจ้าของ หรือถือหุ้นบริษัทสัมปทาน ที่อาจมีผลประโยชน์ขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวของนักการเมืองกับผลประโยชน์ของรัฐส่วนรวม หรือไม่ ?
2) กฎหมายไม่ได้ห้ามคนขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ กลับเข้าสมัครรับเลือกตั้งได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ควรแก้ไขให้ตรงกับพฤติกรรมของนักการเมืองหรือไม่
ถ้าคิดว่าควร... ก็ต้องแก้ไขอีกหลายมาตรา เช่น กรณีนายไชยา สะสมทรัพย์ เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อกระทำผิดรัฐธรรมนูญมาตราหนึ่ง เพราะถือหุ้นเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด ก็ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แล้วอ้างว่า ได้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเดิมไปแล้ว !
กรณีนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) ก็เปลี่ยนไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลังได้ หรือแม้แต่คุณอุไรวรรณ เทียนทอง ก็เช่นเดียวกัน ฯลฯ
ถ้าจะทำกันอย่างนี้ รัฐธรรมนูญของประเทศไทยก็คงจะเป็นรัฐธรรมนูญที่ยาวที่สุดในโลก และจะยาวขึ้นไปอีกเรื่อยๆ ตามพฤติกรรมวิปริต พิสดาร ที่ต้องการจะหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญของนักการเมือง
3) เราควรให้นักการเมืองผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง แก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนกับที่พวกเขากำลังจะทำในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์และโทษของเขา หรือไม่
เราจะปล่อยให้การพัฒนาประชาธิปไตย เสียเวลาไปกับการหาแพะ หรือการแก้กติกาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมแบบเก่าๆ ของนักการเมืองหน้าเดิมๆ อย่างนั้นหรือ ?