นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวถึงเหตุผลการเลื่อนพิจารณาวินิจฉัยกรณี การขาดคุณสมบัติความเป็นส.ส. เนื่องจากถือหุ้นสื่อ และหุ้นสัมปทานรัฐ ว่า ที่ต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากบางบริษัท และส.ส. อีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ได้มาให้ปากคำกับกกต.ตามที่อนุฯสอบสวนได้เชิญไป จึงอยากขอความร่วมมือกับบุคคลเหล่านี้ มาให้ปากคำภายใน15 วัน ตามที่ กกต.ได้ขยายเวลาออกไป
"หากไม่มา กกต. ก็จะใช้สิทธิประกาศรายชื่อบริษัท และรายชื่อ ส.ส.ที่ไม่ให้ความร่วมมือ เพราะเราอยากพิจารณาด้วยหลักฐานที่ครบถ้วน ชัดเจน ไม่อยากให้ใครมาว่า กกต. พิจารณาโดยไม่มีหลักฐานครบถ้วน และจะมาโวยวายว่า กกต.ไม่ทำตามหลักเกณฑ์ไม่สอบปากคำ ทั้งนี้ กกต.จะเร่งคณะอนุกรรมการฯ ให้ทำงานโดยเร็วที่สุด และเราจะทำอย่างรอบคอบไม่ทำตามกระแส"
ส่วนกรณีที่นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ระบุว่า เพิ่งได้รับหนังสือเรียกไปชี้แจง และมี ส.ส. บางคนระบุว่า ได้ขอเข้ามาชี้แจงแต่เจ้าหน้าที่ กกต.ไม่อนุญาตและไล่กลับนั้น คิดว่าไม่เป็นความจริง การพูดอย่างนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ กกต.เสียหาย จะพูดอะไรก็ควรเอาหลักฐานมาแสดง กกต. จะพิจารณาว่า มีการทำเช่นนั้นหรือไม่ และหากเป็นเรื่องจริงจะดำเนินการทันที
"กกต.ไม่ได้ต้องการให้เกิดสูญญากาศ แต่ต้องทำตามหน้าที่ ซึ่งต้องตีความต่อในศาลรัฐธรรมนูญ ว่าส.ส. ถือหุ้นไว้ผิดกฎหมายหรือไม่"
นางสดศรี กล่าวอีกว่า ขณะนี้อนุกรรมการสอบสวนชุดพรรคประชาธิปัตย์ พิจารณาเสร็จแล้ว อยู่ขั้นตอนการทำสรุปผล ก่อนเสนอให้ กกต. พิจารณา เมื่อเสนอเข้ามาก็ต้องดูว่า การพิจาณาของอนุกรรมการฯ เหมือนกับที่ผ่านมาหรือไม่ เพราะการพิจารณาของกกต. ก็เหมือนศาล ต้องดูเอกสารหลักฐานต่างๆ ส่วนที่มีการมองว่า อนุฯสอบ ส.ส.ทำงานล่าช้า เพราะไม่อยากให้เกิดปัญหาการได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมืองนั้น ตนไม่อยากคิดในแง่ร้ายว่ามีการประวิงเวลา หรือดึงเรื่อง หรือใส่เกียร์ว่าง เพราะเรามีหน้าที่ในการตรวจสอบ เมื่อร้องเข้ามาก็ต้องดำเนินการ
"เราไม่เคยมีความขัดแย้งกับใครเลย และไม่เคยคิดจะเอาคืนด้วย การที่มีคนกล่าวหาว่า กกต.เป็นโมฆะ แล้วเราจะมาเอาคืนก็ไม่ใช่ ถ้าจะเอาคืนต้องเอาทั้งสภา และความจริงแล้ว กกต. ก็ไม่ได้ขัดแย้งกับสภา มีแต่คณะกรรมการสมานฉันท์กล่าวหาว่า กกต.เป็นโมฆะ ก็น่าจะไปยื่นร้องศาลรัฐธรรมนูญให้มีการตีความว่า กกต. โมฆะจริงหรือไม่" นางสดศรีกล่าว
ด้านนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. กล่าวถึงกรณีเดียวกันว่า เพราะยังขาดข้อมูลและข้อเท็จจริง โดยเฉพาะข้อมูลของบริษัทต่างๆ ที่ขาดกว่า 70 บริษัท จึงไม่อาจด่วนพิจารณา กกต. ต้องการมาตรฐานแนวเดียวกับส.ว. และเกิดความเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ เมื่อครบ 15 วัน ของเวลาที่ขยายก็ คงต้องพิจารณาอีกครั้ง เบื้องต้นอยากให้ ส.ส. และผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล และหากไม่สะดวกมาด้วยตนเอง ก็ส่งเอกสารมาแทนได้ พร้อมกันนี้ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้มีการดึงเรื่องการพิจาณา คำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ แต่อย่างใด
**ยอมรับได้เมื่อศาลรธน.ชี้ขาด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้วินิจฉัย ซึ่งเจตนาของกฎหมายคือ ป้องกันผลประโยชน์ที่ขัดกัน ซึ่งอาจจะต้องมาดูว่า ผลประโยชน์ที่ขัดกันเกิดขึ้นในเงื่อนไขอย่างไร คือ บางคนแล้วแต่มุมมอง บางคนว่า การถือหุ้นไม่มากไม่น่าจะมีผลประโยชน์ที่ขัดกัน แต่บางคนบอกว่าแม้แต่หุ้นเดียวก็มีผลประโยชน์ขัดกัน ก็ต้องมาดู
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรานี้ ถือว่าดีหรือไม่สำหรับนักการเมือง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่จริงแล้วเป็นบทบัญญัติซึ่งขยายมาจากบทเดิมเรื่องสัมปทาน เริ่มต้นจากตรงนั้น สมัยก่อนชัดเจนว่าใครเป็นเจ้าของสัมปทาน ต่อมาองค์ที่รับสัมปทานจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็มาขยายตรงนี้ แต่เมื่อมาเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลายคนมองว่า ถือหุ้นเพียงเล็กน้อยไม่น่าจะนับว่าเขาเป็นผู้ที่จะไปจัดการเรื่องสัมปทานโดยตรง ก็เลยเป็นปัญหาในการตีความขึ้นมา ไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญตีความอย่างไรก็ต้องยอมรับ ถ้าหมายถึงว่าส.ส.จะต้องพ้นสภาพ ส.ส. ก็ต้องยอมรับ
เมื่อถามว่า มองว่าตัวคนมีปัญหา หรือกฎหมายมาตรานี้มีปัญหาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กฎหมายก็มาจากคน เมื่อถามย้ำอีกว่า ระบบกฎหมายตรงนี้สมควรแก้ไขหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่า เจตนารมย์กฎหมายมันดี ถ้าจะกำหนดกฎเกณฑ์ต่อจากนี้ไป ทำอย่างไรให้ชัดเจนที่สุด คนจะได้เข้าใจได้ง่าย เหมือนกับ มาตรา 266 มีคนเถียงกันอยู่ตลอดเวลาทำอย่างนี้ได้หรือไม่ ทำอย่างนั้นได้หรือไม่ ถ้าศาลชี้ออกมาก็ต้องยอมรับ
**บุญจงยอมรับมีหุ้นเจ้าปัญหา
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ในฐานะรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ซึ่งเป็นหนึ่งในส.ส.ที่ถูกตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องการถือหุ้น กล่าวว่า พร้อมไปชี้แจงเรื่องนี้กับ กกต. ทั้งนี้ หุ้นที่ตนมีอยู่ มีเล็กน้อย และเป็นหุ้นที่ครอบครองไว้ก่อนรัฐธรรมนูญ 50 บังคับใช้ ซึ่งตนได้แจ้งบัญชีทรัพย์สินชัดเจน ไม่มีอะไรปกปิดซ้อนเร้น อย่างไรก็ตาม ถ้าผลสอบออกมาว่าหลุดจากตำแหน่ง ก็พร้อมลงสมัครส.ส.ทุกรูปแบบ
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นายบุญจง พยายามหลีกเลี่ยงการตอบคำถามของสื่อเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยนายบุญจงเพียงแต่กล่าวว่า "อย่าไปพูดถึงเรื่องนี้ มันยังไม่จบ ยังไม่รู้จะไปชี้แจงกับกกต.วันไหน ตอนนี้ไม่มีหุ้นแล้ว ขายหมดไปนานแล้ว เป็นของภรรยา ผมมีแต่ตัว"
"หากไม่มา กกต. ก็จะใช้สิทธิประกาศรายชื่อบริษัท และรายชื่อ ส.ส.ที่ไม่ให้ความร่วมมือ เพราะเราอยากพิจารณาด้วยหลักฐานที่ครบถ้วน ชัดเจน ไม่อยากให้ใครมาว่า กกต. พิจารณาโดยไม่มีหลักฐานครบถ้วน และจะมาโวยวายว่า กกต.ไม่ทำตามหลักเกณฑ์ไม่สอบปากคำ ทั้งนี้ กกต.จะเร่งคณะอนุกรรมการฯ ให้ทำงานโดยเร็วที่สุด และเราจะทำอย่างรอบคอบไม่ทำตามกระแส"
ส่วนกรณีที่นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ระบุว่า เพิ่งได้รับหนังสือเรียกไปชี้แจง และมี ส.ส. บางคนระบุว่า ได้ขอเข้ามาชี้แจงแต่เจ้าหน้าที่ กกต.ไม่อนุญาตและไล่กลับนั้น คิดว่าไม่เป็นความจริง การพูดอย่างนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ กกต.เสียหาย จะพูดอะไรก็ควรเอาหลักฐานมาแสดง กกต. จะพิจารณาว่า มีการทำเช่นนั้นหรือไม่ และหากเป็นเรื่องจริงจะดำเนินการทันที
"กกต.ไม่ได้ต้องการให้เกิดสูญญากาศ แต่ต้องทำตามหน้าที่ ซึ่งต้องตีความต่อในศาลรัฐธรรมนูญ ว่าส.ส. ถือหุ้นไว้ผิดกฎหมายหรือไม่"
นางสดศรี กล่าวอีกว่า ขณะนี้อนุกรรมการสอบสวนชุดพรรคประชาธิปัตย์ พิจารณาเสร็จแล้ว อยู่ขั้นตอนการทำสรุปผล ก่อนเสนอให้ กกต. พิจารณา เมื่อเสนอเข้ามาก็ต้องดูว่า การพิจาณาของอนุกรรมการฯ เหมือนกับที่ผ่านมาหรือไม่ เพราะการพิจารณาของกกต. ก็เหมือนศาล ต้องดูเอกสารหลักฐานต่างๆ ส่วนที่มีการมองว่า อนุฯสอบ ส.ส.ทำงานล่าช้า เพราะไม่อยากให้เกิดปัญหาการได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมืองนั้น ตนไม่อยากคิดในแง่ร้ายว่ามีการประวิงเวลา หรือดึงเรื่อง หรือใส่เกียร์ว่าง เพราะเรามีหน้าที่ในการตรวจสอบ เมื่อร้องเข้ามาก็ต้องดำเนินการ
"เราไม่เคยมีความขัดแย้งกับใครเลย และไม่เคยคิดจะเอาคืนด้วย การที่มีคนกล่าวหาว่า กกต.เป็นโมฆะ แล้วเราจะมาเอาคืนก็ไม่ใช่ ถ้าจะเอาคืนต้องเอาทั้งสภา และความจริงแล้ว กกต. ก็ไม่ได้ขัดแย้งกับสภา มีแต่คณะกรรมการสมานฉันท์กล่าวหาว่า กกต.เป็นโมฆะ ก็น่าจะไปยื่นร้องศาลรัฐธรรมนูญให้มีการตีความว่า กกต. โมฆะจริงหรือไม่" นางสดศรีกล่าว
ด้านนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. กล่าวถึงกรณีเดียวกันว่า เพราะยังขาดข้อมูลและข้อเท็จจริง โดยเฉพาะข้อมูลของบริษัทต่างๆ ที่ขาดกว่า 70 บริษัท จึงไม่อาจด่วนพิจารณา กกต. ต้องการมาตรฐานแนวเดียวกับส.ว. และเกิดความเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ เมื่อครบ 15 วัน ของเวลาที่ขยายก็ คงต้องพิจารณาอีกครั้ง เบื้องต้นอยากให้ ส.ส. และผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล และหากไม่สะดวกมาด้วยตนเอง ก็ส่งเอกสารมาแทนได้ พร้อมกันนี้ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้มีการดึงเรื่องการพิจาณา คำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ แต่อย่างใด
**ยอมรับได้เมื่อศาลรธน.ชี้ขาด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้วินิจฉัย ซึ่งเจตนาของกฎหมายคือ ป้องกันผลประโยชน์ที่ขัดกัน ซึ่งอาจจะต้องมาดูว่า ผลประโยชน์ที่ขัดกันเกิดขึ้นในเงื่อนไขอย่างไร คือ บางคนแล้วแต่มุมมอง บางคนว่า การถือหุ้นไม่มากไม่น่าจะมีผลประโยชน์ที่ขัดกัน แต่บางคนบอกว่าแม้แต่หุ้นเดียวก็มีผลประโยชน์ขัดกัน ก็ต้องมาดู
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรานี้ ถือว่าดีหรือไม่สำหรับนักการเมือง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่จริงแล้วเป็นบทบัญญัติซึ่งขยายมาจากบทเดิมเรื่องสัมปทาน เริ่มต้นจากตรงนั้น สมัยก่อนชัดเจนว่าใครเป็นเจ้าของสัมปทาน ต่อมาองค์ที่รับสัมปทานจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็มาขยายตรงนี้ แต่เมื่อมาเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลายคนมองว่า ถือหุ้นเพียงเล็กน้อยไม่น่าจะนับว่าเขาเป็นผู้ที่จะไปจัดการเรื่องสัมปทานโดยตรง ก็เลยเป็นปัญหาในการตีความขึ้นมา ไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญตีความอย่างไรก็ต้องยอมรับ ถ้าหมายถึงว่าส.ส.จะต้องพ้นสภาพ ส.ส. ก็ต้องยอมรับ
เมื่อถามว่า มองว่าตัวคนมีปัญหา หรือกฎหมายมาตรานี้มีปัญหาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กฎหมายก็มาจากคน เมื่อถามย้ำอีกว่า ระบบกฎหมายตรงนี้สมควรแก้ไขหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่า เจตนารมย์กฎหมายมันดี ถ้าจะกำหนดกฎเกณฑ์ต่อจากนี้ไป ทำอย่างไรให้ชัดเจนที่สุด คนจะได้เข้าใจได้ง่าย เหมือนกับ มาตรา 266 มีคนเถียงกันอยู่ตลอดเวลาทำอย่างนี้ได้หรือไม่ ทำอย่างนั้นได้หรือไม่ ถ้าศาลชี้ออกมาก็ต้องยอมรับ
**บุญจงยอมรับมีหุ้นเจ้าปัญหา
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ในฐานะรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ซึ่งเป็นหนึ่งในส.ส.ที่ถูกตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องการถือหุ้น กล่าวว่า พร้อมไปชี้แจงเรื่องนี้กับ กกต. ทั้งนี้ หุ้นที่ตนมีอยู่ มีเล็กน้อย และเป็นหุ้นที่ครอบครองไว้ก่อนรัฐธรรมนูญ 50 บังคับใช้ ซึ่งตนได้แจ้งบัญชีทรัพย์สินชัดเจน ไม่มีอะไรปกปิดซ้อนเร้น อย่างไรก็ตาม ถ้าผลสอบออกมาว่าหลุดจากตำแหน่ง ก็พร้อมลงสมัครส.ส.ทุกรูปแบบ
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นายบุญจง พยายามหลีกเลี่ยงการตอบคำถามของสื่อเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยนายบุญจงเพียงแต่กล่าวว่า "อย่าไปพูดถึงเรื่องนี้ มันยังไม่จบ ยังไม่รู้จะไปชี้แจงกับกกต.วันไหน ตอนนี้ไม่มีหุ้นแล้ว ขายหมดไปนานแล้ว เป็นของภรรยา ผมมีแต่ตัว"