xs
xsm
sm
md
lg

สุเทพžยื่นใบลาออกจากส.ส.พ้อหุ้นแค่เศษฝุ่นถูกสอย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ส.ส.สุราษฎร์ธานี เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส.ต่อประธานสภาฯแล้ว เมื่อช่วงบ่ายของวานนี้ (17 ก.ค.) เนื่องจากตนถูกกล่าวหา ถือครองหุ้นขัดรัฐธรรมนูญ และ กกต.ก็มีมติออกมาแล้ว
นายสุเทพ กล่าวว่า หุ้นทั้งหมดตนซื้อมาจากตลาดหลักทรัพย์ เมื่อปี 2538 ไม่ได้คิดจะไปเป็นเจ้าของหรือไปมีส่วนจัดการบริหารบริษัท เช่น หุ้นที่ถือในบริษัท ทรู คอเปเรชั่น 5,000 หุ้น ซึ่งทั้งบริษัทมี 4,500 ล้านหุ้น ดังนั้น 5,000 หุ้นของตน เป็นเพียงแค่เศษฝุ่น และตั้งแต่ซื้อหุ้นมาก็ไม่เคยไปประชุมแสดงความคิดเห็น บริหารจัดการรวมกับทางบริษัทใดๆ ทั้งสิ้น ซื้อหุ้นมาเพื่อต้องการกำไร ซึ่งในการแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. 12 ครั้ง และได้อ่านรัฐธรรมนูญ ม. 48 ก็ระบุว่าการถือหุ้นจะเข้าข่ายผิดกฎหมายต้องเป็นลักษณะเข้าไปมีส่วนได้เสียแบบเป็นเจ้าของบริษัท ซึ่งตนก็ไม่ได้เป็น ตนจึงไม่ได้ขาย แต่เมื่อมีคนมาร้องเพื่อตัดความรำคาญจึงขายไป เมื่อปี 2551 แต่เมื่อ กกต.วินิจฉัยว่าตนคาดคุณสมบัติและต้องไปสู่คดีในศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งการต่อสู้คดีต้องเสียเวลา ตน
ผมมีภาระหน้าที่เป็นรองนายกฯ ทุกวันก็ทำงานไม่ได้ลืมหุลืมตาอยู่แล้ว จึงไม่อยากเสียสมาธิในการเตรียมสู้คดี และไม่อยากเสียเวลา จึงตัดสินใจลาออกจาก ส.ส. ผมขอเรียนให้ กกต.ได้ยินด้วยว่าผมเป็น ส.ส.มา 31 ปี ไม่เคยลาออกเลย แต่เมื่อวินิจฉัยผมอย่างนี้ผมยากที่จะทำใจให้รับได้ผมก็ลาออก เพราะอ่านกฎหมายมาเป็นอย่างดี แต่เมื่อเป็นอำนาจของท่านๆ ก็รับผิดชอบของท่านไปก็แล้วกัน ส่วน ส.ส.คนอื่นก็มีเวลาในการต่อสู้คดี ผมยินดีสนับสนุนให้ท่าสนสู้คดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า ใน 13 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์มีใครจะลาออกตามหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า เรื่องนี้ตนไม่ได้ปรึกษาใคร เพราะเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ละคนมีปัญหาไม่เหมือนกันตนอยากให้สู้ในศาลรัฐธรรมนูญ เพราะอีก 12 คนไม่ได้เป็นรัฐมนตรี ไม่ต้องมารับภาระในงานบริหาร
ส่วนหากต่อไปศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตรงข้ามกับกกต.ท่านจะดำเนินการยังไง นายสุเทพ กล่าวว่ส กกต.ก็ลาออกซิ ถึงรอบ กกต.บ้างตอนนั้น และผมก็ไม่ร้องหรอก กกต.เขาก็ละอายตัวเขาเอง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตนเพิ่งเห็นหนังสือที่นายสุเทพ ที่จะยื่นลาออก อันที่จริงตนก็ไม่อยากให้ลาออก แต่เมื่อนายสุเทพตัดสินใจแล้วก็เป็นเอกสิทธิ์ ส่วนเหตุที่ไม่อยากให้ลาออกเพราะต้องการให้ดูคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อน แต่นายสุเทพก็ให้เหตุผลชัดเจนว่าการไปต่อสู้คดี มันจะกระทบกับการทำหน้าที่ในฐานะรองนายกฯ เมื่อถามว่า การลาออกของนายสุเทพ เป็นการใช้อารมณ์มากไปหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่น่าจะใช่ เพราะนายสุเทพได้คิดอยู่นานแล้ว และก็เคยคุยกันตนไว้ คงไม่ใช่การตัดสินใจแบบชั่วครู่ชั่วยาม ท่านสุเทพเคยปรารภไว้นานแล้ว และผมก็ได้ท้วงติงไป แต่ไม่ทราบว่าทำไม ถึงตัดสินใจเช่นนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นการแสดงสปิริตให้นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ผู้ต้องหาในคดีก่อการร้ายจากการยึดสนามบินดูหรือไม่ นายอภิสิทธิ์หันมามองคนถาม ด้วยสีหน้าไม่พอใจ พร้อมกล่าวว่า คนนะเรื่องกันนะครับ
ด้านนายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.กล่าวว่าขอชื่นชมนายสุเทพ ที่แสดงสปิริต แต่ 13 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่หมดสมาชิกภาพจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสิน ส่วน กกต.จากนี้ต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ใน 45 วัน นับจากตำแหน่งว่างลง
ส.ส.ที่กกต.มีมติให้สิ้นสมาชิกภาพอย่าเพิ่งตีตนไปก่อนไข้ เพราะเรื่องเหล่านี้ยังต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความให้เป็นบรรทัดฐานต่อไป มติกกต.ยังไม่เป็นที่สิ้นสุด ขอให้ ส.ส.และ ส.ว.ที่เป็นผู้ใหญ่มีความรับผิดชอบเข้าใจการทำงานของ กกต.คำร้องเป็นเรื่องที่คนในรัฐบาลเป็นผู้ร้องมา ไม่ตรวจสอบก็ไม่ได้ และกกต.ก็ไม่ได้มีมติตามลำพังมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายร่วมให้ความเห็นด้วย
นายสมชาย แสวงการ ส.ส.สรรหา 1 ใน 16 ส.ว.ที่ถูก กกต.มีมติให้พ้น สมาชิกภาพจากการถือครองหุ้นขัดรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอความเป็นธรรมต่อกรณีดังกล่าวในสัปดาห์หน้า
นายสมชาย กล่าวว่า จากการตรวจสอบคำวินิจฉัยของ กกต. พบว่ามีข้อบกพร่อง หลายประการ อาทิ ไม่ได้ระบุรายละเอียดคำวินิจฉัยของ ส.ว.ทั้ง 16 คน แต่เขียนรวม กว้างๆ ถึงการกระทำผิด ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 265 ว่าเป็นการเข้าไปถือครองหุ้น ที่ได้สัมปทานจากรัฐ โดยเฉพาะในกรณีของตนที่ไปถือหุ้นอยู่ในบริษัท โรงไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนไม่ได้รับสัมปทานจากรัฐโดยตรง และไม่ได้มีการผูกขาด จึงไม่น่าจะเข้าข่าย เปรียบเทียบกับกรณี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่กกต.วินิจฉัยว่าไม่เข้าข่ายได้รับสัมปทานรัฐ หรือผูกขาดตัดตอน เพราะเปิดให้มีการแข่งขันเสรี ทำไมกกต.จึงวินิจฉัยแตกต่างกัน ในเมื่อบริษัทโรงไฟฟ้าฯ ก็เปิดเสรีให้รายเล็ก รายใหญ่ แข่งขันกัน
นอกจากนี้กรณี ม.48 เกี่ยวกับการถือหุ้นสื่อ อย่างบริษัท ไอทีวี จำกัด กกต.อ้างว่าหมดอายุสัมปทานแล้ว ทั้งที่ข้อเท็จจริงชื่อยังอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่ทีบริษัท ผู้จัดการ จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) และบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถูกระบุว่าเข้าข่ายตามมาตรา 48 จึงเป็นข้อสังเกตว่ากระบวนการวินิจฉัยของกกต. ไม่ใช่แค่ 2 มาตรฐานแล้ว แต่เป็นมาตรฐานที่หลากหลาย ซึ่งไม่อยากจะใช้คำว่ามั่ว ดังนั้นเมื่อเห็นข้อบกพร่องเหล่านี้ เราก็ต้องขอความเป็นธรรม จากศาลปกครอง เพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ กกต. และให้พิจารณาว่าคำวินิจฉัยของ กกต.เป็นมาตรฐานหรือไม่
กำลังโหลดความคิดเห็น