นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว. หนึ่งใน 16 ส.ว. ที่ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพกรณีการถือหุ้นสัมปทานรัฐว่า ขณะนี้ได้คัดสำเนาคำวินิจฉัยของ กกต.เสร็จเรียบร้อยแล้ว เห็นข้อบกพร่องหลายประการ อาทิ การไม่ระบุรายละเอียดคำร้อง คำวินิจฉัยของ ส.ว.ทั้ง 16 คนเป็นรายบุคคล ว่าแต่ละคนผิดอย่างไร หุ้นบริษัทไหนเป็นหุ้นที่ได้สัมปทานจากรัฐ และมีการผูกขาดตัดตอนอย่างไรบ้าง แต่กลับเขียนรวมกว้าง ๆ ถึงการกระทำความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 265 ว่า เป็นการเข้าไปถือครองหุ้นที่ได้สัมปทานจากรัฐ โดยเฉพาะในกรณีของตนที่ไปถือหุ้นอยู่ในบริษัท โรงไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนไม่ได้รับสัมปทานจากรัฐโดยตรง และไม่ได้มีการผูกขาด จึงไม่น่าจะเข้าข่าย เปรียบเทียบกับกรณี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ กกต.วินิจฉัยว่าไม่เข้าข่ายได้รับสัมปทานรัฐ หรือผูกขาดตัดตอน เพราะเปิดให้มีการแข่งขันเสรี ทำไม กกต.จึงวินิจฉัยแตกต่างกัน ในเมื่อบริษัทโรงไฟฟ้าฯ ก็เปิดเสรีให้รายเล็ก รายใหญ่ แข่งขันกัน
นอกจากนี้ กรณีมาตรา48 เกี่ยวกับการถือหุ้นสื่อ ที่มีความแตกต่างกันระหว่างหุ้นของ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) กับบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ซึ่งทั้ง 2 บริษัททำธุรกิจด้านสื่อ แต่กลับไม่เข้าข่าย โดย กกต.อ้างว่าไอทีวีหมดอายุสัมปทานแล้ว แต่ข้อเท็จจริงยังมีชื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์และกรมทะเบียนการค้า โดยอยู่ระหว่างการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอยู่กับรัฐ แต่ที่บริษัท ผู้จัดการ จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) และบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถูกระบุว่าเข้าข่ายตามมาตรา 48 จึงเป็นข้อสังเกตว่ากระบวนการวินิจฉัยของ กกต. ไม่ใช่แค่ 2 มาตรฐานแล้ว แต่เป็นมาตรฐานที่หลากหลาย ซึ่งไม่อยากจะใช้คำว่ามั่ว ดังนั้นเมื่อเห็นข้อบกพร่องเหล่านี้ เราก็ต้องขอความเป็นธรรมจากศาลปกครอง เพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ กกต. และให้พิจารณาว่าคำวินิจฉัยของ กกต.เป็นมาตรฐานหรือไม่
นายสมชาย กล่าวว่า ขณะนี้กำลังร่างคำร้องเพื่อยื่นต่อศาลปกครอง โดยคาดว่าจะสามารถยื่นได้ภายในสัปดาห์หน้า ยืนยันว่าสิ่งที่เราดำเนินการไม่ใช่การยื้อ แต่ต้องการชี้ให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมในการวินิจฉัย
นอกจากนี้ กรณีมาตรา48 เกี่ยวกับการถือหุ้นสื่อ ที่มีความแตกต่างกันระหว่างหุ้นของ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) กับบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ซึ่งทั้ง 2 บริษัททำธุรกิจด้านสื่อ แต่กลับไม่เข้าข่าย โดย กกต.อ้างว่าไอทีวีหมดอายุสัมปทานแล้ว แต่ข้อเท็จจริงยังมีชื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์และกรมทะเบียนการค้า โดยอยู่ระหว่างการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอยู่กับรัฐ แต่ที่บริษัท ผู้จัดการ จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) และบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถูกระบุว่าเข้าข่ายตามมาตรา 48 จึงเป็นข้อสังเกตว่ากระบวนการวินิจฉัยของ กกต. ไม่ใช่แค่ 2 มาตรฐานแล้ว แต่เป็นมาตรฐานที่หลากหลาย ซึ่งไม่อยากจะใช้คำว่ามั่ว ดังนั้นเมื่อเห็นข้อบกพร่องเหล่านี้ เราก็ต้องขอความเป็นธรรมจากศาลปกครอง เพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ กกต. และให้พิจารณาว่าคำวินิจฉัยของ กกต.เป็นมาตรฐานหรือไม่
นายสมชาย กล่าวว่า ขณะนี้กำลังร่างคำร้องเพื่อยื่นต่อศาลปกครอง โดยคาดว่าจะสามารถยื่นได้ภายในสัปดาห์หน้า ยืนยันว่าสิ่งที่เราดำเนินการไม่ใช่การยื้อ แต่ต้องการชี้ให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมในการวินิจฉัย