ASTVผู้จัดการรายวัน - แผนเดินหน้าโครงการโปแตซอาเซียนอาจไร้ผลหากกระทรวงทรัพยากรฯยังเล่นบทเตะถ่วงเปิดพื้นที่เหมืองให้บริษัทเพื่อเปิดทางทำอีไอเอตามขั้นตอน ผลของการถ่วงทำโครงการเคว้งมาแล้ว 3 ปีผู้ถือหุ้นทยอยถอนตัวออก เตรียมออกประกาศผ่านสื่อสิ่งพิมพ์เร็วๆ นี้เปิดทางพันธมิตรร่วมทุนเพิ่ม เอ็นจีโอในพื้นที่ค้านรัฐบาลผลาญงบฯ อุ้มซาก
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริษัท เหมืองแร่โปแตซอาเซี่ยน จำกัด(มหาชน)(APMC) เปิดเผยว่า จากมติ ครม.เมื่อวันที่ 1ก.ค.52ที่ให้เดินหน้าโครงการเหมืองแร่โปแตซอาเซียน ที่อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิต่อไปนั้นสิ่งสำคัญคือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะต้องเร่งอนุมัติเปิดพื้นที่ตามมาตรา 6 ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 เพื่อเปิดทางให้บริษัทประกอบกิจการเหมืองได้ หากไม่เช่นนั้นโครงการจะไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ และการหาพันธมิตรร่วมทุนตามแผนที่กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมอาจไม่ประสบผลเช่นกัน
“ ที่ผ่านมากรมทรัพยากรฯเปิดพื้นที่ให้เพียง 2,500 ไร่ขณะที่บริษัทขอไป 40,000 ไร่ที่จะรวมถึงพื้นที่กองแร่อีกแต่ที่ผ่านมาไม่มีการอนุมัติเปิดพื้นที่เหมืองตามที่ขอทำให้บริษัทต่างๆที่เพิ่มทุนก็ถอนตัวออก บางรายจะเข้ามาใหม่ก็จดๆ จ้องๆ เพราะเห็นว่าโครงการคงจะเดินไปไม่ได้แน่ ซึ่งในสมัยนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นรมว.กระทรวงทรัพยากรฯได้เห็นปัญหานี้จึงอนุมัติให้และเตรียมเสนอครม.แต่ต้องถอนออกเพราะจะมีการเลือกตั้งและเปิดทางให้รัฐบาลใหม่เข้ามาซึ่งเรื่องก็ยังคงค้างจนถึงวันนี้ใช้เวลารวมถึง 3 ปีแล้ว”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ บริษัทได้ลงพื้นที่ชี้แจงประชาชนมีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)แล้วตั้งแต่ปี 2549 แต่สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม(สผ.) ไม่รับแผนเพราะยังไม่มีการเปิดพื้นที่เหมืองครอบคลุมทั้งหมด ซึ่งบริษัทพร้อมจะทำอีไอเอใหม่แต่ตามขั้นตอนก็จะต้องให้มีการเปิดเหมืองใหม่ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดก่อนจึงจะไปจัดทำรังวัดพื้นที่ทำประชาพิจารณ์ควบคู่กับอีไอเอ ซึ่งเห็นว่าหากจะให้โครงการไปได้เร็ว 3 กระทรวงคือคลัง อุตสาหกรรม ทรัพยากรฯ ควรตั้งคณะทำงานร่วมกันแล้วดึงนักวิชาการอิสระมาเพื่อดำเนินการ
***เล็งเพิ่มทุน 50 ล.เสริมสภาพคล่อง
แหล่งข่าวกล่าวว่า คณะกรรมการบริษัทฯได้อนุมัติแผนการเพิ่มทุน 50 ล้านบาทเพื่อเสริมสภาพคล่องโดยเฉพาะนำมาจ่ายเงินเดือนพนักงาน 30 คนที่ค้างจ่ายมาเป็นเวลา 14 เดือน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตั้งแต่ 5 มิ.ย.เมื่อครม.อนุมัติแล้วเมื่อวันที่ 1 ก.ค.ก็จะทำหนังสือเพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นเพิ่มทุนในสัดส่วนที่ถืออยู่ต่อไป
นอกจากนี้จะนำเงินส่วนหนึ่งไปทำการประชาสัมพันธ์ในสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อประกาศหาพันธมิตรร่วมทุนที่จะระดมเงินอีกประมาณ 1,000 ล้านบาทส่วนที่เหลือจากทุนจดทะเบียน 2,200 ล้านบาทแต่มีการจ่ายตามทุนจดทะเบียนจริงเพียง 1,000 กว่าล้านบาทเท่านั้นหรือคิดเป็นสัดส่วนถือหุ้นประมาณ 46%
ปัจจุบันโครงสร้างผู้ถือหุ้นไม่ได้มีนายเหยียนปินถือหุ้นแล้ว โดยคลังถือ 22.08% ธนาคารทหารไทย 10% บริษัทเทพารักษ์ จำกัด 16.83% บางจาก 5.56% อื่นๆ 15.53% ขณะที่บรูไน 1.1% อินโดนีเซีย 14.35% มาเลเซีย 14.35% ฟิลิปปินส์ 1.1% และสิงคโปร์ 1.1%
***"ก.อุตฯ-คลัง" หนุนเต็มพิกัด
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้มาหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้วถึงการเพิ่มทุนซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าควรจะต้องเดินหน้าเพราะส่วนหนึ่งเป็นโครงการอาเซียนที่ผ่านมามีปัญหาทำให้ภาพลักษณ์ไทยแย่ลงมาก ประกอบกับการผลิตปุ่ยในไทยนั้นยังไม่มีทำให้ต้องนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศถึงปีละ 5 แสนตันคิดเป็นมูลค่ากว่า 350ล้านบาท หากโครงการเกิดนอกจากจะลดการนำเข้าแล้วยังมีปริมาณส่งออกได้อีก ประกอบกับกระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการไปเจรจากับนักลงทุนอินเดียที่จะให้เข้ามาฟื้นฟูบริษัทปุ๋ยแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) แล้วนำโพแตชที่เป็นวัตถุดิบในโครงการนี้ไปป้อนการผลิตได้ซึ่งผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยจะมีมากทั้งการจ้างงาน ทำให้ปุ๋ยในประเทศราคาต่ำลงมีคุณภาพ
“โครงการนี้หากไม่ดำเนินการต่อไปเป็นที่น่าเสียดายเพราะมีการลงทุนสร้างอุโมงค์ การจัดซื้อพื้นที่แล้ว 6,500 ไร่ หมดไปแล้วกว่า 1,000 ล้านบาทหากต้องทิ้งไปอุโมงค์ก็จะพังแบบเปล่าประโยชน์ จึงเห็นว่าไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่คืบหน้าหากไม่มีการเตะถ่วงจากบางหน่วยงาน” แหล่งข่าวกล่าว
***NGOค้านรัฐผลาญงบฯ อุ้มซาก
นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานงานโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคอีสาน (กป.อพช.อีสาน) ผู้ศึกษาติดตามเหมืองแร่โปแตช (POTASH) มาอย่างต่อเนื่อง กล่าวถึงกรณีรัฐบาลที่พยายามปลุกผีโครงการเหมืองแร่โปแตชของอาเซียน อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ โดยจะให้กระทรวงการคลังเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนในบริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) หรือ APMC ตามสัดส่วน 20 % วงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง ว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะนำเงินงบประมาณแผ่นดินซึ่งเป็นภาษีประชาชนเข้าไปอุ้มบริษัทดังกล่าว ซึ่งได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนในรูปของเอกชนเต็มตัวแล้ว หากมีปัญหาเรื่องเงินทุนดำเนินการก็ควรไประดมทุนจากนักลงทุนเอกชนที่สนใจ ไม่ใช่จะมาเอาเงินรัฐเข้าไปอุ้มอย่างไม่รู้จักจบสิ้นเช่นนี้
ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า โครงการเหมืองแร่โปแตชของอาเซียนดังกล่าวในเชิงพาณิชย์แล้วมีความคุ้มค่าทางในการลงทุนต่ำมาก เพราะแหล่งแร่โปแตชแห่งนี้เป็นแร่ชนิด “คาร์นัลไลต์” ที่มีโปแตชเปอร์เซ็นต์ต่ำ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมผู้รับผิดชอบโครงการไร้ปัญญาที่จะหาผู้ร่วมทุนหรือแหล่งเงินทุนมาดำเนินการเหมืองแร่ต่อได้ จนกลายเป็นโครงการล้มเหลวตายซากมานานกว่า 30 ปี ผลาญงบไปแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้แร่โปแตชขึ้นมาใช้แม้แต่เม็ดเดียว และ ยังต้องการเงินเข้าสนับสนุนโครงการอีกทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท
“ ขณะที่สถานะของบริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน ในขณะนี้ก็ตกอยู่ในสภาพไม่มีรายได้ ไม่มีเงินแม้แต่จะจ่ายเงินเดือนพนักงานมานานแล้ว และจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนทั้งเรื่อง EIA และ ประทานบัตรเหมืองแร่ แต่อย่างใด”
นายเลิศศักดิ์ กล่าวต่อว่า แร่โปแตชชนิด“คาร์นัลไลต์” ในพื้นที่แหล่งแร่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ เป็นแร่โปแตชเปอร์เซ็นต์ต่ำ มีปริมาณโพแทสเซียม (K) เพียง 14.07% หรือโพแทสเซียมออกไซด์ (K2O) สูงเพียง 16.95% หรือคิดเป็นโพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) 26.83% เท่านั้น จึงเสี่ยงต่อการลงทุนมากและมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมสูงเพราะต้องใช้น้ำในขบวนการแต่แร่จำนวนมหาศาล แต่รัฐบาลกลับดื้อดึงเลือกที่จะนำมาดำเนินการเองตลอดเวลา
ส่วนแหล่งแร่โปแตช พื้นที่ จ.อุดรธานีและ จ.สกลนคร กลับใส่พานประเคนให้บริษัทเอกชนต่างชาติ เอาไปดำเนินการ ทั้งที่แร่โปแตชที่พบในพื้นที่เหล่านี้ เป็นชนิด “ซิลไวต์” ซึ่งเป็นแร่โปแตชที่ดีที่สุดในโลก เพราะมีปริมาณของโปแตสเซียม (K) สูงถึง 52.44% หรือ โปแตสเซียมออกไซด์ (K2O) สูงถึง 63.17% หรือ โปแตสเซียมคลอไรด์ (KCI) 100%
การพยายามปลุกผีโครงการเหมืองแร่โปแตชอาเซียนครั้งนี้ น่าจะมีเบื้องหน้าเบื้องหลังที่ไม่ชอบมาพากล เนื่องจากในความเป็นจริงแล้ว นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกระทรวงที่รับผิดชอบโดยตรงมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวเกี่ยวโปแตชดีมากเพราะครอบครัวพ่อแม่ธุรกิจค้าขายเกลือที่จ.มหาสารคามมาก่อน และทราบว่าได้ไปโรด์โชว์พบปะนักลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่โปแตชทั้งที่จีนและออสเตรีย มาตลอด แล้วทำไมจึงไม่ดึงเข้ามาร่วมทุนในโครงการเหมืองแร่โปแตชที่ จ.ชัยภูมิ หรือมุ่งที่จะดึงไปที่โครงการเมืองแร่ของเอกชนที่ จ.สกลนคร ที่มีแกนนำพรรคเพื่อแผ่นดินร่วมผลักดันอยู่เบื้องหลังมากกว่า
สิ่งที่น่าต้องข้อสังเกตอีกประการสำคัญ คือ เป็นที่รับรู้ในหมู่ของประชาชนชาวชัยภูมิมาตลอด ว่า พื้นที่ตั้งโครงการเหมืองแร่โปแตช อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ มีกลุ่มนักการเมืองใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งได้มีส่วนผลักดันโครงการนี้มาอย่างต่อเนื่องและล่าสุดได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นั้น ได้มีการรวบรวมกว้านซื้อที่ดินบริเวณดังกล่าวไว้เป็นจำนวนมาก
นายเลิศศักดิ์กล่าวว่า จากการที่ได้ศึกษาติดตามโครงการเหมืองแร่โปแตช ในภาคอีสานมาโดยตลอด ล่าสุดพบว่าหลังจากมีการแก้ไข พ.ร.บ.แร่ ฉบับพ.ศ. 2545 ให้สามารถทำเหมืองใต้ดินลึกกว่า 100 เมตรได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของที่ดินข้างบน ทำให้มีการยื่นขอสำรวจและผลิตแร่โปแตชในอีสาน จำนวนถึง 7 โครงการ แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจับตาเป็นอย่างมาก
นายสุวิทย์ กุหลาบวงศ์ เลขาธิการเครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน กล่าวว่า ในสภาพภาวะเศรษฐกิจในตอนนี้ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะมองไม่เห็นจุดคุ้มทุนในเชิงเศรษฐกิจ ตลาดความต้องการแร่โปแตชทั่วโลกชะลอตัวจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ รัฐบาลต้องทบทวนชะลอโครงการนี้ออกไปก่อน ที่สำคัญยังไม่มีการศึกษาเหมืองแร่โปแตชในทางยุทธศาสตร์ (SEA) เลย ทั้งที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติไปแล้วตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547
เหมืองแร่โปแตซอาเซียนอำเภอบำเหน็จณรงค์มีปัญหาค่อนข้างมากในหลายประเด็นที่ถูกเพิกเฉยมาโดยตลอดทั้งเรื่องคุณภาพของแร่ที่ค่อนข้างต่ำ, ปัญหาเรื่องน้ำที่จะนำมาใช้ในกระบวนการทำเหมือง ในพื้นที่ขาดแคลนน้ำทางการเกษตรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากไม่มีความชัดเจนเรื่องแหล่งน้ำ จะมีปัญหาความขัดแย้งกับเกษตรกรเรื่องการแย่งน้ำในอนาคตแน่นอน จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งปัดฝุ่นโครงการนี้ขึ้นมาในขณะที่ปัญหาต่างๆ ยังไม่มีแนวทางแก้ไขที่ชัดเจน.
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริษัท เหมืองแร่โปแตซอาเซี่ยน จำกัด(มหาชน)(APMC) เปิดเผยว่า จากมติ ครม.เมื่อวันที่ 1ก.ค.52ที่ให้เดินหน้าโครงการเหมืองแร่โปแตซอาเซียน ที่อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิต่อไปนั้นสิ่งสำคัญคือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะต้องเร่งอนุมัติเปิดพื้นที่ตามมาตรา 6 ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 เพื่อเปิดทางให้บริษัทประกอบกิจการเหมืองได้ หากไม่เช่นนั้นโครงการจะไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ และการหาพันธมิตรร่วมทุนตามแผนที่กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมอาจไม่ประสบผลเช่นกัน
“ ที่ผ่านมากรมทรัพยากรฯเปิดพื้นที่ให้เพียง 2,500 ไร่ขณะที่บริษัทขอไป 40,000 ไร่ที่จะรวมถึงพื้นที่กองแร่อีกแต่ที่ผ่านมาไม่มีการอนุมัติเปิดพื้นที่เหมืองตามที่ขอทำให้บริษัทต่างๆที่เพิ่มทุนก็ถอนตัวออก บางรายจะเข้ามาใหม่ก็จดๆ จ้องๆ เพราะเห็นว่าโครงการคงจะเดินไปไม่ได้แน่ ซึ่งในสมัยนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นรมว.กระทรวงทรัพยากรฯได้เห็นปัญหานี้จึงอนุมัติให้และเตรียมเสนอครม.แต่ต้องถอนออกเพราะจะมีการเลือกตั้งและเปิดทางให้รัฐบาลใหม่เข้ามาซึ่งเรื่องก็ยังคงค้างจนถึงวันนี้ใช้เวลารวมถึง 3 ปีแล้ว”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ บริษัทได้ลงพื้นที่ชี้แจงประชาชนมีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)แล้วตั้งแต่ปี 2549 แต่สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม(สผ.) ไม่รับแผนเพราะยังไม่มีการเปิดพื้นที่เหมืองครอบคลุมทั้งหมด ซึ่งบริษัทพร้อมจะทำอีไอเอใหม่แต่ตามขั้นตอนก็จะต้องให้มีการเปิดเหมืองใหม่ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดก่อนจึงจะไปจัดทำรังวัดพื้นที่ทำประชาพิจารณ์ควบคู่กับอีไอเอ ซึ่งเห็นว่าหากจะให้โครงการไปได้เร็ว 3 กระทรวงคือคลัง อุตสาหกรรม ทรัพยากรฯ ควรตั้งคณะทำงานร่วมกันแล้วดึงนักวิชาการอิสระมาเพื่อดำเนินการ
***เล็งเพิ่มทุน 50 ล.เสริมสภาพคล่อง
แหล่งข่าวกล่าวว่า คณะกรรมการบริษัทฯได้อนุมัติแผนการเพิ่มทุน 50 ล้านบาทเพื่อเสริมสภาพคล่องโดยเฉพาะนำมาจ่ายเงินเดือนพนักงาน 30 คนที่ค้างจ่ายมาเป็นเวลา 14 เดือน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตั้งแต่ 5 มิ.ย.เมื่อครม.อนุมัติแล้วเมื่อวันที่ 1 ก.ค.ก็จะทำหนังสือเพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นเพิ่มทุนในสัดส่วนที่ถืออยู่ต่อไป
นอกจากนี้จะนำเงินส่วนหนึ่งไปทำการประชาสัมพันธ์ในสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อประกาศหาพันธมิตรร่วมทุนที่จะระดมเงินอีกประมาณ 1,000 ล้านบาทส่วนที่เหลือจากทุนจดทะเบียน 2,200 ล้านบาทแต่มีการจ่ายตามทุนจดทะเบียนจริงเพียง 1,000 กว่าล้านบาทเท่านั้นหรือคิดเป็นสัดส่วนถือหุ้นประมาณ 46%
ปัจจุบันโครงสร้างผู้ถือหุ้นไม่ได้มีนายเหยียนปินถือหุ้นแล้ว โดยคลังถือ 22.08% ธนาคารทหารไทย 10% บริษัทเทพารักษ์ จำกัด 16.83% บางจาก 5.56% อื่นๆ 15.53% ขณะที่บรูไน 1.1% อินโดนีเซีย 14.35% มาเลเซีย 14.35% ฟิลิปปินส์ 1.1% และสิงคโปร์ 1.1%
***"ก.อุตฯ-คลัง" หนุนเต็มพิกัด
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้มาหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้วถึงการเพิ่มทุนซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าควรจะต้องเดินหน้าเพราะส่วนหนึ่งเป็นโครงการอาเซียนที่ผ่านมามีปัญหาทำให้ภาพลักษณ์ไทยแย่ลงมาก ประกอบกับการผลิตปุ่ยในไทยนั้นยังไม่มีทำให้ต้องนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศถึงปีละ 5 แสนตันคิดเป็นมูลค่ากว่า 350ล้านบาท หากโครงการเกิดนอกจากจะลดการนำเข้าแล้วยังมีปริมาณส่งออกได้อีก ประกอบกับกระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการไปเจรจากับนักลงทุนอินเดียที่จะให้เข้ามาฟื้นฟูบริษัทปุ๋ยแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) แล้วนำโพแตชที่เป็นวัตถุดิบในโครงการนี้ไปป้อนการผลิตได้ซึ่งผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยจะมีมากทั้งการจ้างงาน ทำให้ปุ๋ยในประเทศราคาต่ำลงมีคุณภาพ
“โครงการนี้หากไม่ดำเนินการต่อไปเป็นที่น่าเสียดายเพราะมีการลงทุนสร้างอุโมงค์ การจัดซื้อพื้นที่แล้ว 6,500 ไร่ หมดไปแล้วกว่า 1,000 ล้านบาทหากต้องทิ้งไปอุโมงค์ก็จะพังแบบเปล่าประโยชน์ จึงเห็นว่าไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่คืบหน้าหากไม่มีการเตะถ่วงจากบางหน่วยงาน” แหล่งข่าวกล่าว
***NGOค้านรัฐผลาญงบฯ อุ้มซาก
นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานงานโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคอีสาน (กป.อพช.อีสาน) ผู้ศึกษาติดตามเหมืองแร่โปแตช (POTASH) มาอย่างต่อเนื่อง กล่าวถึงกรณีรัฐบาลที่พยายามปลุกผีโครงการเหมืองแร่โปแตชของอาเซียน อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ โดยจะให้กระทรวงการคลังเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนในบริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) หรือ APMC ตามสัดส่วน 20 % วงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง ว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะนำเงินงบประมาณแผ่นดินซึ่งเป็นภาษีประชาชนเข้าไปอุ้มบริษัทดังกล่าว ซึ่งได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนในรูปของเอกชนเต็มตัวแล้ว หากมีปัญหาเรื่องเงินทุนดำเนินการก็ควรไประดมทุนจากนักลงทุนเอกชนที่สนใจ ไม่ใช่จะมาเอาเงินรัฐเข้าไปอุ้มอย่างไม่รู้จักจบสิ้นเช่นนี้
ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า โครงการเหมืองแร่โปแตชของอาเซียนดังกล่าวในเชิงพาณิชย์แล้วมีความคุ้มค่าทางในการลงทุนต่ำมาก เพราะแหล่งแร่โปแตชแห่งนี้เป็นแร่ชนิด “คาร์นัลไลต์” ที่มีโปแตชเปอร์เซ็นต์ต่ำ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมผู้รับผิดชอบโครงการไร้ปัญญาที่จะหาผู้ร่วมทุนหรือแหล่งเงินทุนมาดำเนินการเหมืองแร่ต่อได้ จนกลายเป็นโครงการล้มเหลวตายซากมานานกว่า 30 ปี ผลาญงบไปแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้แร่โปแตชขึ้นมาใช้แม้แต่เม็ดเดียว และ ยังต้องการเงินเข้าสนับสนุนโครงการอีกทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท
“ ขณะที่สถานะของบริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน ในขณะนี้ก็ตกอยู่ในสภาพไม่มีรายได้ ไม่มีเงินแม้แต่จะจ่ายเงินเดือนพนักงานมานานแล้ว และจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนทั้งเรื่อง EIA และ ประทานบัตรเหมืองแร่ แต่อย่างใด”
นายเลิศศักดิ์ กล่าวต่อว่า แร่โปแตชชนิด“คาร์นัลไลต์” ในพื้นที่แหล่งแร่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ เป็นแร่โปแตชเปอร์เซ็นต์ต่ำ มีปริมาณโพแทสเซียม (K) เพียง 14.07% หรือโพแทสเซียมออกไซด์ (K2O) สูงเพียง 16.95% หรือคิดเป็นโพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) 26.83% เท่านั้น จึงเสี่ยงต่อการลงทุนมากและมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมสูงเพราะต้องใช้น้ำในขบวนการแต่แร่จำนวนมหาศาล แต่รัฐบาลกลับดื้อดึงเลือกที่จะนำมาดำเนินการเองตลอดเวลา
ส่วนแหล่งแร่โปแตช พื้นที่ จ.อุดรธานีและ จ.สกลนคร กลับใส่พานประเคนให้บริษัทเอกชนต่างชาติ เอาไปดำเนินการ ทั้งที่แร่โปแตชที่พบในพื้นที่เหล่านี้ เป็นชนิด “ซิลไวต์” ซึ่งเป็นแร่โปแตชที่ดีที่สุดในโลก เพราะมีปริมาณของโปแตสเซียม (K) สูงถึง 52.44% หรือ โปแตสเซียมออกไซด์ (K2O) สูงถึง 63.17% หรือ โปแตสเซียมคลอไรด์ (KCI) 100%
การพยายามปลุกผีโครงการเหมืองแร่โปแตชอาเซียนครั้งนี้ น่าจะมีเบื้องหน้าเบื้องหลังที่ไม่ชอบมาพากล เนื่องจากในความเป็นจริงแล้ว นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกระทรวงที่รับผิดชอบโดยตรงมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวเกี่ยวโปแตชดีมากเพราะครอบครัวพ่อแม่ธุรกิจค้าขายเกลือที่จ.มหาสารคามมาก่อน และทราบว่าได้ไปโรด์โชว์พบปะนักลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่โปแตชทั้งที่จีนและออสเตรีย มาตลอด แล้วทำไมจึงไม่ดึงเข้ามาร่วมทุนในโครงการเหมืองแร่โปแตชที่ จ.ชัยภูมิ หรือมุ่งที่จะดึงไปที่โครงการเมืองแร่ของเอกชนที่ จ.สกลนคร ที่มีแกนนำพรรคเพื่อแผ่นดินร่วมผลักดันอยู่เบื้องหลังมากกว่า
สิ่งที่น่าต้องข้อสังเกตอีกประการสำคัญ คือ เป็นที่รับรู้ในหมู่ของประชาชนชาวชัยภูมิมาตลอด ว่า พื้นที่ตั้งโครงการเหมืองแร่โปแตช อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ มีกลุ่มนักการเมืองใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งได้มีส่วนผลักดันโครงการนี้มาอย่างต่อเนื่องและล่าสุดได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นั้น ได้มีการรวบรวมกว้านซื้อที่ดินบริเวณดังกล่าวไว้เป็นจำนวนมาก
นายเลิศศักดิ์กล่าวว่า จากการที่ได้ศึกษาติดตามโครงการเหมืองแร่โปแตช ในภาคอีสานมาโดยตลอด ล่าสุดพบว่าหลังจากมีการแก้ไข พ.ร.บ.แร่ ฉบับพ.ศ. 2545 ให้สามารถทำเหมืองใต้ดินลึกกว่า 100 เมตรได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของที่ดินข้างบน ทำให้มีการยื่นขอสำรวจและผลิตแร่โปแตชในอีสาน จำนวนถึง 7 โครงการ แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจับตาเป็นอย่างมาก
นายสุวิทย์ กุหลาบวงศ์ เลขาธิการเครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน กล่าวว่า ในสภาพภาวะเศรษฐกิจในตอนนี้ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะมองไม่เห็นจุดคุ้มทุนในเชิงเศรษฐกิจ ตลาดความต้องการแร่โปแตชทั่วโลกชะลอตัวจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ รัฐบาลต้องทบทวนชะลอโครงการนี้ออกไปก่อน ที่สำคัญยังไม่มีการศึกษาเหมืองแร่โปแตชในทางยุทธศาสตร์ (SEA) เลย ทั้งที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติไปแล้วตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547
เหมืองแร่โปแตซอาเซียนอำเภอบำเหน็จณรงค์มีปัญหาค่อนข้างมากในหลายประเด็นที่ถูกเพิกเฉยมาโดยตลอดทั้งเรื่องคุณภาพของแร่ที่ค่อนข้างต่ำ, ปัญหาเรื่องน้ำที่จะนำมาใช้ในกระบวนการทำเหมือง ในพื้นที่ขาดแคลนน้ำทางการเกษตรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากไม่มีความชัดเจนเรื่องแหล่งน้ำ จะมีปัญหาความขัดแย้งกับเกษตรกรเรื่องการแย่งน้ำในอนาคตแน่นอน จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งปัดฝุ่นโครงการนี้ขึ้นมาในขณะที่ปัญหาต่างๆ ยังไม่มีแนวทางแก้ไขที่ชัดเจน.