ปลุกผีโครงการเหมืองแร่โปแตชอาเซียน มติครม.เศรษฐกิจเห็นควรเดินหน้าต่อ ฝันคืนทุนใน 2-3 ปี คลังยกเหตุอ้างหากหยุดจะสูญเงินลงทุนพันล้านไปฟรีๆ แถมเหมืองมีสิทธิ์ถล่ม “มาร์ค” แตะเบรกคลังซื้อหุ้นเพิ่มทุน 100 ล้านเสริมสภาพคล่องขอให้รอผลการศึกษาทบทวนใหม่ให้ชัดเจนจากกระทรวงทรัพยากรฯ ก่อนทั้งประเด็นการปรับโครงสร้างใหม่บริษัทร่วมทุน รายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม-สุขภาพ รวมทั้งคดีถูกฟ้องที่ศาลปกครอง
วานนี้ (1 ก.ค.) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุรองนายกรัฐมนตรี) แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจว่า ที่ประชุมได้พิจารณาความเหมาะสมของแนวทางการดำเนินการโครงการเมืองแร่โปแตชของอาเซียน (เหมืองแร่บำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ)ในระยะต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง เสนอว่า เป็นโครงการสำคัญซึ่งจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่
ทั้งนี้ ควรดำเนินการต่อไปโดยให้บริษัทคัดเลือกพันธมิตรเข้าร่วมทุน โดยคลังถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 20% ตลอดโครงการ ระหว่างหาพันธมิตรคลังควรซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนวงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท เพื่อแก้ไขสภาพคล่อง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการเปิดพื้นที่และขอประทานบัตร เนื่องจากหากไม่สนับสนุนโครงการจะเดินต่อไม่ได้และต้องยุบบริษัทโดยที่สุด ทั้งนี้ เมื่อยุบเลิกบริษัทฯแล้ว ให้ผู้ถือหุ้นทุกรายเข้าถือหุ้นโดยตรงในบริษัท เหมืองแร่โปรแตชอาเซียน จำกัด ซึ่งอินโดนีเซียและมาเลเซีย ก็มีความสนใจ และเป็นแนวทางที่อาเซียนก็เห็นพ้องกัน
“กระทรวงคลัง ชี้แจงว่า โครงการขาดสภาพคล่องในการดูแลเหมือง อาจะส่งผลให้เหมืองถล่มและมีผลให้เงินลงทุน 1 พันล้านบาทสูญเปล่า และไทยก็เป็นเจ้าภาพในโครงการนี้ และหากไม่ได้รับการเปิดพื้นที่โครงการจะหยุดชะงัก”
ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปสร้างความชัดเจนของเงื่อนไขด้านการป้องกันและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สามารถทราบถึงต้นทุนในการดำเนินการ และพิจารณากำหนดตารางเวลาการพิจารณาที่ชัดเจนก่อนที่กระทรวงการคลัง จะดำเนินการในขั้นตอนอื่น ๆ ต่อไป
“มาร์ค”สั่งก.ทรัพย์ฯศึกษาใหม่
นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันนี้บริษัทร่วมทุนเมืองแร่โปรแตชอยู่ระหว่างการหาพันธมิตรร่วมทุนใหม่ หลังจากที่ปี 2547 มติผู้ถือหุ้นเดิมฝ่ายไทย 71% และสมาชิกอาเซียนบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่ถือหุ้นรวมกัน 29 % โดยกระทรวงการคลัง ลงทุนจำนวน 257.4 ล้านบาทได้ยุบเลิกบริษัทร่วมทุน และให้ผู้ถือหุ้นไทยทุกรายเข้าถือหุ้นโดยตรงในบริษัทเหมืองแร่ฯ และได้คัดเลือกพันธมิตรร่วมทุน (บริษัท STPD) แต่ STPD ชำระเพียง 30 ล้านบาทและยกเลิกสัญญาไป
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลัง เห็นว่า โครงการนี้มีประโยชน์ที่จะสามารถลดการนำเข้าโปรแตช และเพิ่มรายได้จากการส่งออกมูลค่าหลายร้อยล้านดอลล่าร์ต่อปี เพื่อความมั่นคงในการจัดหาปุ๋ยให้กับภาคการเกษตรในต้นทุนที่ต่ำกว่า รวมถึงการจ้างงาน ผลพลอยได้ทางอุตสาหกรรมต่อเนื่องในภาคอีสาน
นายกรัฐมนตรีได้สอบถามปัญหากระบวนการรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) และ มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรฯไปศึกษาหาข้อบกพร่อง รวมถึงศึกษาความไม่ชัดเจนของการตั้งบริษัทร่วมทุนฯที่ระบุว่าจะมีการปรับโครงสร้างบริษัทใหม่หรือไม่ ขั้นตอนกับมวลชนในจ.ชัยภูมิและพื้นที่ใกล้เคียงได้มีการหารือเพียงใด และควรจะมีการกำหนดมาตรการให้ชัดเจนเพื่อควบคุมผลกระทบ และเรื่องการประทานบัตรของเหมืองโปรแตช ดังนั้นการขอเพิ่มทุนจึงต้องรอความชัดเจนจากกระทรวงทรัพย์ฯ ก่อน
“นายกฯ ยังขอให้ไปดูในเรื่องการแก้ปัญหาในพื้นที่ ที่อาจต้องนำเรื่องเข้าพิจารณาต่อที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในส่วนของเทคนิค ขณะที่การประทานบัตรทางบริษัทฯขอรับอนุญาต 10,000 ไร่ แต่กระทรวงทรัพย์ฯ อนุญาต 2,500 ไร่ซึ่งก็ต้องไปดู รวมทั้งต้องดำเนินตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งเรื่อง EIA HIA และปฏิบัติตตามความเห็นขององค์กรอิสระ” นายพุทธิพงษ์ กล่าว
ยกเรื่องฟ้องบริษัทฯ-ร่างพ.ร.บ.แร่ ทบทวน
นายพุทธิพงษ์ กล่าวด้วยว่า ขณะที่กระบวนการที่มีการฟ้องร้องกันในชั้นศาลปกครอง ของกลุ่มผู้คัดค้านโครงการเหมืองโปรแตชที่ให้ล้มโครงการและร่างพ.ร.บ.เมืองแร่ พ.ศ....นั้น ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการทบทวนโครงการในภูมิภาคด้วยเช่นกัน
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านั้น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์หลายคนในสมัยที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า โครงการนี้มีปัญหาทุจริตเชิงนโยบายโดยเฉพาะกรณีที่รัฐบาลสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้นายเหยียน ปิน เข้าถือหุ้นถึง 49% ซึ่งกรณีที่ไปทำสัญญาให้มีชาวต่างชาติเข้ามาถือหุ้นใหญ่นั้น ถือว่าผิดขั้นตอนและขัดมติของกลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งขัดมติ ครม.ปี 2533
เผยสมัยสมชาย ขอเพิ่มทุนแล้ว 257 ล้าน
รายงานข่าวแจ้งว่า ในสมัยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.กระทรวงการคลัง ขณะนั้น ได้เสนอให้มีการเพิ่มทุนในโครงการเหมืองแร่โปแตชอาเซียน ที่ จ.ชัยภูมิ วงเงิน 257 ล้านบาท เพื่อคงสัดส่วนการถือหุ้น 22% แม้ที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวจะมีปัญหาขาดทุนมาต่อเนื่อง แต่เห็นว่าธุรกิจดังกล่าวมีแนวโน้มสร้างรายได้ในอนาคต และมีโอกาสคืนทุนได้ภายใน 2-3 ปี หากโครงการได้รับใบอนุญาตทำสัมปทานเหมืองแร่
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะมีการเพิ่มทุนจำนวน 1,000 ล้านบาท เป็นการขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 10 ล้านหุ้น หุ้นละ 100 บาท โดยกระทรวงการคลังต้องเพิ่มทุนให้ 257 ล้านบาท แต่หากกระทรวงการคลังไม่เพิ่มทุนใหม่จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นลดลงเหลือ 11% โดยอ้างปัญหาที่โครงการดังกล่าวประสบปัญหาขาดทุนมาโดยตลอด เนื่องจากยังไม่ได้ใบรับอนุญาตทำสัมปทานเหมืองแร่จากกระทรวงอุตสาหกรรม ขณะที่พื้นที่โครงการทำเหมืองแร่ปัจจุบัน มีจำนวน 2,500 ไร่ ผ่านการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว แต่มีเป้าหมายขยายพื้นที่โครงการเป็น 10,000 ไร่
“คลังใส่เงินทุนไปแล้ว 250 ล้านบาท แต่ต้องเพิ่มทุนใหม่ เพราะมองว่ามีโอกาสคืนทุนภายใน 2-3 ปีมีสูง นอกจากนี้ มองแนวโน้มธุรกิจสร้างผลตอบแทนได้ เพราะแร่มีราคาสูงตันละ 500 ดอลลาร์ หากดำเนินการต่อไปก็ต้องสร้างรายได้” แหล่งข่าว กล่าว
วานนี้ (1 ก.ค.) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุรองนายกรัฐมนตรี) แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจว่า ที่ประชุมได้พิจารณาความเหมาะสมของแนวทางการดำเนินการโครงการเมืองแร่โปแตชของอาเซียน (เหมืองแร่บำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ)ในระยะต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง เสนอว่า เป็นโครงการสำคัญซึ่งจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่
ทั้งนี้ ควรดำเนินการต่อไปโดยให้บริษัทคัดเลือกพันธมิตรเข้าร่วมทุน โดยคลังถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 20% ตลอดโครงการ ระหว่างหาพันธมิตรคลังควรซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนวงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท เพื่อแก้ไขสภาพคล่อง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการเปิดพื้นที่และขอประทานบัตร เนื่องจากหากไม่สนับสนุนโครงการจะเดินต่อไม่ได้และต้องยุบบริษัทโดยที่สุด ทั้งนี้ เมื่อยุบเลิกบริษัทฯแล้ว ให้ผู้ถือหุ้นทุกรายเข้าถือหุ้นโดยตรงในบริษัท เหมืองแร่โปรแตชอาเซียน จำกัด ซึ่งอินโดนีเซียและมาเลเซีย ก็มีความสนใจ และเป็นแนวทางที่อาเซียนก็เห็นพ้องกัน
“กระทรวงคลัง ชี้แจงว่า โครงการขาดสภาพคล่องในการดูแลเหมือง อาจะส่งผลให้เหมืองถล่มและมีผลให้เงินลงทุน 1 พันล้านบาทสูญเปล่า และไทยก็เป็นเจ้าภาพในโครงการนี้ และหากไม่ได้รับการเปิดพื้นที่โครงการจะหยุดชะงัก”
ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปสร้างความชัดเจนของเงื่อนไขด้านการป้องกันและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สามารถทราบถึงต้นทุนในการดำเนินการ และพิจารณากำหนดตารางเวลาการพิจารณาที่ชัดเจนก่อนที่กระทรวงการคลัง จะดำเนินการในขั้นตอนอื่น ๆ ต่อไป
“มาร์ค”สั่งก.ทรัพย์ฯศึกษาใหม่
นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันนี้บริษัทร่วมทุนเมืองแร่โปรแตชอยู่ระหว่างการหาพันธมิตรร่วมทุนใหม่ หลังจากที่ปี 2547 มติผู้ถือหุ้นเดิมฝ่ายไทย 71% และสมาชิกอาเซียนบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่ถือหุ้นรวมกัน 29 % โดยกระทรวงการคลัง ลงทุนจำนวน 257.4 ล้านบาทได้ยุบเลิกบริษัทร่วมทุน และให้ผู้ถือหุ้นไทยทุกรายเข้าถือหุ้นโดยตรงในบริษัทเหมืองแร่ฯ และได้คัดเลือกพันธมิตรร่วมทุน (บริษัท STPD) แต่ STPD ชำระเพียง 30 ล้านบาทและยกเลิกสัญญาไป
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลัง เห็นว่า โครงการนี้มีประโยชน์ที่จะสามารถลดการนำเข้าโปรแตช และเพิ่มรายได้จากการส่งออกมูลค่าหลายร้อยล้านดอลล่าร์ต่อปี เพื่อความมั่นคงในการจัดหาปุ๋ยให้กับภาคการเกษตรในต้นทุนที่ต่ำกว่า รวมถึงการจ้างงาน ผลพลอยได้ทางอุตสาหกรรมต่อเนื่องในภาคอีสาน
นายกรัฐมนตรีได้สอบถามปัญหากระบวนการรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) และ มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรฯไปศึกษาหาข้อบกพร่อง รวมถึงศึกษาความไม่ชัดเจนของการตั้งบริษัทร่วมทุนฯที่ระบุว่าจะมีการปรับโครงสร้างบริษัทใหม่หรือไม่ ขั้นตอนกับมวลชนในจ.ชัยภูมิและพื้นที่ใกล้เคียงได้มีการหารือเพียงใด และควรจะมีการกำหนดมาตรการให้ชัดเจนเพื่อควบคุมผลกระทบ และเรื่องการประทานบัตรของเหมืองโปรแตช ดังนั้นการขอเพิ่มทุนจึงต้องรอความชัดเจนจากกระทรวงทรัพย์ฯ ก่อน
“นายกฯ ยังขอให้ไปดูในเรื่องการแก้ปัญหาในพื้นที่ ที่อาจต้องนำเรื่องเข้าพิจารณาต่อที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในส่วนของเทคนิค ขณะที่การประทานบัตรทางบริษัทฯขอรับอนุญาต 10,000 ไร่ แต่กระทรวงทรัพย์ฯ อนุญาต 2,500 ไร่ซึ่งก็ต้องไปดู รวมทั้งต้องดำเนินตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งเรื่อง EIA HIA และปฏิบัติตตามความเห็นขององค์กรอิสระ” นายพุทธิพงษ์ กล่าว
ยกเรื่องฟ้องบริษัทฯ-ร่างพ.ร.บ.แร่ ทบทวน
นายพุทธิพงษ์ กล่าวด้วยว่า ขณะที่กระบวนการที่มีการฟ้องร้องกันในชั้นศาลปกครอง ของกลุ่มผู้คัดค้านโครงการเหมืองโปรแตชที่ให้ล้มโครงการและร่างพ.ร.บ.เมืองแร่ พ.ศ....นั้น ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการทบทวนโครงการในภูมิภาคด้วยเช่นกัน
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านั้น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์หลายคนในสมัยที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า โครงการนี้มีปัญหาทุจริตเชิงนโยบายโดยเฉพาะกรณีที่รัฐบาลสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้นายเหยียน ปิน เข้าถือหุ้นถึง 49% ซึ่งกรณีที่ไปทำสัญญาให้มีชาวต่างชาติเข้ามาถือหุ้นใหญ่นั้น ถือว่าผิดขั้นตอนและขัดมติของกลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งขัดมติ ครม.ปี 2533
เผยสมัยสมชาย ขอเพิ่มทุนแล้ว 257 ล้าน
รายงานข่าวแจ้งว่า ในสมัยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.กระทรวงการคลัง ขณะนั้น ได้เสนอให้มีการเพิ่มทุนในโครงการเหมืองแร่โปแตชอาเซียน ที่ จ.ชัยภูมิ วงเงิน 257 ล้านบาท เพื่อคงสัดส่วนการถือหุ้น 22% แม้ที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวจะมีปัญหาขาดทุนมาต่อเนื่อง แต่เห็นว่าธุรกิจดังกล่าวมีแนวโน้มสร้างรายได้ในอนาคต และมีโอกาสคืนทุนได้ภายใน 2-3 ปี หากโครงการได้รับใบอนุญาตทำสัมปทานเหมืองแร่
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะมีการเพิ่มทุนจำนวน 1,000 ล้านบาท เป็นการขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 10 ล้านหุ้น หุ้นละ 100 บาท โดยกระทรวงการคลังต้องเพิ่มทุนให้ 257 ล้านบาท แต่หากกระทรวงการคลังไม่เพิ่มทุนใหม่จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นลดลงเหลือ 11% โดยอ้างปัญหาที่โครงการดังกล่าวประสบปัญหาขาดทุนมาโดยตลอด เนื่องจากยังไม่ได้ใบรับอนุญาตทำสัมปทานเหมืองแร่จากกระทรวงอุตสาหกรรม ขณะที่พื้นที่โครงการทำเหมืองแร่ปัจจุบัน มีจำนวน 2,500 ไร่ ผ่านการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว แต่มีเป้าหมายขยายพื้นที่โครงการเป็น 10,000 ไร่
“คลังใส่เงินทุนไปแล้ว 250 ล้านบาท แต่ต้องเพิ่มทุนใหม่ เพราะมองว่ามีโอกาสคืนทุนภายใน 2-3 ปีมีสูง นอกจากนี้ มองแนวโน้มธุรกิจสร้างผลตอบแทนได้ เพราะแร่มีราคาสูงตันละ 500 ดอลลาร์ หากดำเนินการต่อไปก็ต้องสร้างรายได้” แหล่งข่าว กล่าว