ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจใหม่ ทั้งปีติดลบมากขึ้นจาก 2.5% เป็น 3% แม้เดือน พ.ค.เริ่มมีสัญญาณดีขึ้น แต่ยังมีปัจจัยลบรอบด้านทั้งส่งออกการบริโภค การลงทุน ท่องเที่ยวหดตัวรุรนแรง จี้แบงก์ชาติยื่นมือช่วยทั้งนโยบายสินเชื่อ-อัตราแลกเปลี่ยน
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะโฆษกสศค. เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจทั้งปีใหม่ อยู่ที่ -3.0% โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ -3.5 ถึง -2.5% ซึ่งเพิ่มจากเดิมในระดับ -2.5% ที่ประมาณการณ์ไว้เมื่อเดือนมีนาคม เนื่องจากยังมีปัจจัยลบต่อเนื่องแม้จะเริ่มมีสัญญาณบวกของเครื่องชี้วัดบางตัว โดยเฉพาะความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวไม่ชัดเจนและเศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากการลงทุนและการบริโภคเอกชนที่ยังไม่ฟื้นตัว รวมทั้งการส่งออกเดือน พ.ค.ที่ยังติดลบสูงถึง 26.6% โดยทั้งปีคาดว่าจะติดลบถึง 20.2% และการนำเข้าที่หดตัวมากสะท้อนให้เห็นว่าการลงทุนยังไม่ฟื้นตัว โดยทั้งปีคาดติดลบถึง 31.7% ส่งผลให้มีการเกินดุลการค้าถึง 23.6 พันล้านดอลลาร์ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขทั้งปีที่แย่ลงนั้น หากพิจารณาถึงสถานการณ์เดือนเมษายนถือว่าปรับตัวดีขึ้นเพราะขณะนั้นมองว่าจีดีพีอาจติดลบถึง 3.5% ด้วยซ้ำ จากปัจจัยการเมืองในประเทศและการส่งออกการท่องเที่ยวที่ทรุดหนัก แต่พอเข้าสู่เดือน พ.ค.หลังออกออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 และมีการเร่งเบิกจ่ายงบกลางปีทำให้นโยบายการคลังที่ทำมาช่วยพยุงเศรษฐกิจไว้ได้ในระดับหนึ่ง และทำให้ตัวเลขการว่างงานดีขึ้นจาก 3.8%เหลือ 2.5% ส่วนเงินเฟ้อเหลือ 0%
“การประเมินครั้งนี้มีเหตุผลสำคัญมาจากการใช้จ่ายภาครัฐเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นหลัก ทำให้ตัวเลขเริ่มดีขึ้นบ้างแม้ยังชะลอตัวอยู่ โดยยังยืนยันว่าเราผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้วในไตรมาสแรกที่ติดลบ 7.1% ส่วนไตรมาส 2 น่าจะมีสัญญาณหดตัวน้อยลงเหลือลบ 4-5% จากนั้นไตรมาส 3 น่าจะติดลบ 3-4%lส่วนไตรมาส 4 น่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ 2-3% ส่งผลให้ทั้งปีจีดีพีติดลบแค่ 3% แต่ขณะนี้คงยังนิ่งนอนใจไมได้ รัฐบาลต้องเดินหน้านโยบายการคลังอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเร่งเบิกจ่ายงบประมารและใช้เงินกู้ไทยเข้มแข็งให้ได้ไตรมาส 3 ของปีนี้“ นายเอกนิติกล่าว
โฆษก สศค.กล่าวว่า หากมีการผลักดันนโยบายการเงินมาใช้ควบคู่กันน่าจะเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านสินเชื่อและอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเห็นว่ายังมีช่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)สามารถบริหารจัดการได้ โดยเฉพาะค่าเงินหากมีการเปลี่ยนแปลงทุก 1 บาทจะมีผลต่อจีดีพีถึง 0.3% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงทุก 1% มีผลแค่ 0.04% เท่านั้น จึงเชื่อว่าธปท.คงจะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกทั้งที่มองว่าสามารถลดได้อีก 0.25%.
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะโฆษกสศค. เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจทั้งปีใหม่ อยู่ที่ -3.0% โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ -3.5 ถึง -2.5% ซึ่งเพิ่มจากเดิมในระดับ -2.5% ที่ประมาณการณ์ไว้เมื่อเดือนมีนาคม เนื่องจากยังมีปัจจัยลบต่อเนื่องแม้จะเริ่มมีสัญญาณบวกของเครื่องชี้วัดบางตัว โดยเฉพาะความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวไม่ชัดเจนและเศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากการลงทุนและการบริโภคเอกชนที่ยังไม่ฟื้นตัว รวมทั้งการส่งออกเดือน พ.ค.ที่ยังติดลบสูงถึง 26.6% โดยทั้งปีคาดว่าจะติดลบถึง 20.2% และการนำเข้าที่หดตัวมากสะท้อนให้เห็นว่าการลงทุนยังไม่ฟื้นตัว โดยทั้งปีคาดติดลบถึง 31.7% ส่งผลให้มีการเกินดุลการค้าถึง 23.6 พันล้านดอลลาร์ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขทั้งปีที่แย่ลงนั้น หากพิจารณาถึงสถานการณ์เดือนเมษายนถือว่าปรับตัวดีขึ้นเพราะขณะนั้นมองว่าจีดีพีอาจติดลบถึง 3.5% ด้วยซ้ำ จากปัจจัยการเมืองในประเทศและการส่งออกการท่องเที่ยวที่ทรุดหนัก แต่พอเข้าสู่เดือน พ.ค.หลังออกออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 และมีการเร่งเบิกจ่ายงบกลางปีทำให้นโยบายการคลังที่ทำมาช่วยพยุงเศรษฐกิจไว้ได้ในระดับหนึ่ง และทำให้ตัวเลขการว่างงานดีขึ้นจาก 3.8%เหลือ 2.5% ส่วนเงินเฟ้อเหลือ 0%
“การประเมินครั้งนี้มีเหตุผลสำคัญมาจากการใช้จ่ายภาครัฐเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นหลัก ทำให้ตัวเลขเริ่มดีขึ้นบ้างแม้ยังชะลอตัวอยู่ โดยยังยืนยันว่าเราผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้วในไตรมาสแรกที่ติดลบ 7.1% ส่วนไตรมาส 2 น่าจะมีสัญญาณหดตัวน้อยลงเหลือลบ 4-5% จากนั้นไตรมาส 3 น่าจะติดลบ 3-4%lส่วนไตรมาส 4 น่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ 2-3% ส่งผลให้ทั้งปีจีดีพีติดลบแค่ 3% แต่ขณะนี้คงยังนิ่งนอนใจไมได้ รัฐบาลต้องเดินหน้านโยบายการคลังอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเร่งเบิกจ่ายงบประมารและใช้เงินกู้ไทยเข้มแข็งให้ได้ไตรมาส 3 ของปีนี้“ นายเอกนิติกล่าว
โฆษก สศค.กล่าวว่า หากมีการผลักดันนโยบายการเงินมาใช้ควบคู่กันน่าจะเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านสินเชื่อและอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเห็นว่ายังมีช่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)สามารถบริหารจัดการได้ โดยเฉพาะค่าเงินหากมีการเปลี่ยนแปลงทุก 1 บาทจะมีผลต่อจีดีพีถึง 0.3% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงทุก 1% มีผลแค่ 0.04% เท่านั้น จึงเชื่อว่าธปท.คงจะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกทั้งที่มองว่าสามารถลดได้อีก 0.25%.