ASTVผู้จัดการรายวัน-ขุนคลังคาดดอลลาร์อ่อนหลังสหรัฐเล็งพิมพ์แบงก์เพิ่ม เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องสถาบันการเงินที่ยังไม่ฟื้นตัว ส่งผลเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า เตือนธปท.ดูแลให้เกาะกลุ่มภูมิภาค ส่วนคลังช่วยบาทอ่อนได้แค่สั่งซื้อสินค้าทุนต่างประเทศในระดับหนึ่ง พร้อมยอมรับกังวลการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน เผยกำลังทบทวนว่าจะขยายเวลา"5 มาตรการ 6 เดือน ช่วยเหลือค่าครองชีพ" หม่อมอุ๋ย จี้รัฐบาลเผยรายละเอียดโปรเจกต์ลงทุนมโหฬาร เพื่อให้เอกชนต่อยอดเศรษฐกิจได้ ด้านเวิลด์แบงก์คาดเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวครึ่งปีหลัง
ในงานสัมมนาประจำปี2552 หัวข้อ “โอกาส...ประเทศไทย” จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า จากแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐจะพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มเงินในระบบ ซึ่งส่งผลดีต่อการคงกำลังซื้อสินค้าจากต่างประเทศรวมถึงประเทศไทยที่ตลาดสหรัฐเป็นคู่ค้าใหญ่เป็นอันดับสอง แต่ปัญหาที่จะเกิดตามมาคือ เงินสกุลดอลลาร์จะอ่อนค่าทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก มีผลโดยตรงต่อรายได้ของผู้ส่งออก กระทรวงการคลังก็มีเครื่องมือที่ดูแลปัญหาเรื่องนี้ได้บ้าง คือการกำหนดให้การกู้เงินจำนวน 8 แสนล้านบาทตาม พ.ร.ก.และพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจต้องกู้จากแหล่งเงินในประเทศทั้งหมด ซึ่งจะมีผลให้การซื้อสินค้าทุนจากต่างประเทศซึ่งแม้จะเป็นเงินตราต่างประเทศก็มาจากการแลกเปลี่ยนจากเงินบาทจะมีผลโดยตรงให้ค่าเงินบาทอ่อนลงได้ในอนาคต แต่ก็ทำได้ในขีดจำกัด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้รับผิดชอบโดยตรงจึงต้องดูแลด้วย โดยให้ค่าเงินเกาะกลุ่มกับประเทศเพื่อนบ้าน
"เงินบาทที่แข็งค่าในตอนนี้จะส่งผลระยะสั้นต่อผู้ซื้อสินค้าและนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาจชะลอการซื้อสินค้าไทยและท่องเที่ยวในไทย แต่ไม่อยากให้ประเมินค่าเงินวันต่อวัน เราต้องเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่นด้วยว่าเราแข็งค่าในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันหรือไม่ แต่ปัญหาที่สำคัญคือการเน้นพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาว พัฒนากำลังซื้อในประเทศทดแทนกำลังซื้อจากต่างประเทศ ขณะนี้ได้ประสานโดยตรงกับแบงก์ชาติให้เข้ามาดูแลมิให้บาทแข็งค่าขึ้นจนส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ" นายกรณ์กล่าวถึงกรณีราคาน้ำมันที่ตลาดโลกปรับขึ้น ส่งผลกระทบให้ต้นทุนของผู้ประกอบการและค่าครองชีพของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น โดยปัจจัยการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน นอกจากเป็นผลจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มดีขึ้น ยังเกิดจากการเก็งกำไรของนักลงทุน ซึ่งเรื่องนี้เป็นไปตามคาดการณ์ของรัฐที่เชื่อว่าทั้งปีจะอยู่ที่ 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และแนวโน้มก็เป็นเช่นนั้น ซึ่งแม้ว่าก่อนหน้านี้รัฐบาลจะปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันแต่นโยบายนี้ถือเป็นความจำเป็น ไม่ได้เป็นการซ้ำเติมประชาชน รัฐบาลก็ให้กองทุนน้ำมันเข้ามารองรับราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มในช่วงแรกและเร่งรัดนโยบายพลังงานทดแทน
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างทบทวนมาตรการ 5 มาตรการ 6 เดือน ช่วยเหลือเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน ได้แก่ ค่าน้ำประปา ไฟฟ้าฟรี รถประจำทางฟรี ลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 และชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการลงในเดือน ก.ค.นี้ว่าจะต่ออายุมาตรการใดบ้างหรือไม่ โดยขอศึกษาผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับก่อน
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังยังยืนยันคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 52 ว่าจะหดตัวจากปีก่อน 4-5% โดยการปรับตัวลดลงในไตรมาสแรก 7.1% น่าจะเป็นระดับที่รุนแรงสุด และมีทิศทางจะฟื้นตัวดีขึ้น โดยในไตรมาส 2/52 และ 3/52 เศรษฐกิจจะหดตัวน้อยลง ส่วนไตรมาส 4/52 น่าจะฟื้นตัวเป็นบวกได้ หรืออย่างเลวร้ายสุดก็ทรงตัว จะไม่ติดลบแน่นอน รัฐบาลจะต้องทบทวนมาตรการสินเชื่อซึ่งที่ผ่านมาถือว่าล้มเหลว เพราะสถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ เนื่องจากกำลังการผลิตและคำสั่งซื้อลดลง จากนี้จะต้องพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่สอดคล้องกับความต้องการบริโภคมากขึ้นเพื่อให้มีกำลังซื้อ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง
นายกรณ์ยืนยันว่าช่วงนี้ภาครัฐยังคงเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เนื่องจากภาคเอกชนยังไม่มีความพร้อมในการลงทุน รัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระลอกที่ 2 ในโครงการไทยเข้มแข็ง จำนวน 1.56 ล้านล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจากการดำเนินการโครงการนี้ อาจทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ขึ้นไปถึง ร้อยละ 60 แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นปัญหาในการบริหาร พร้อมยืนยันว่า โครงการแต่ละโครงการ มีความสำคัญและมีความจำเป็น แม้ว่าจะมีผู้คัดค้าน แต่ก็เชื่อว่าหากพรรคฝ่ายค้านเป็นรัฐบาล ก็ดำเนินการในลักษณะนี้เช่นกัน
***หม่อมอุ๋ยจี้รัฐแบแผนลงทุนยักษ์
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า ไม่อยากให้รัฐบาลนี้ประมาทว่าเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณดีจากการชะลอตัวที่ลดลง โดยการผลิตที่กระเตื้องขึ้นอาจมาจากสินค้าหมดสต็อกจึงต้องผลิตใหม่แต่เป็นการผลิตตามความจำเป็นต้องใช้เท่านั้น ไม่ได้มาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ไตรมาสแรกที่ว่าเศรษฐกิจลงไปถึงจุดต่ำสุดแล้วจึงอาจไม่ใช่ และอย่าหวังว่าเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้นในระยะเวลาอันสั้น แต่การที่รัฐบาลใช้นโยบายการคลังและเร่งอัดฉีดเงินเข้าระบบและใช้เพื่อการลงทุนในแผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง 1.56 ล้านล้านบาท เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้วและไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้หนี้สาธารณะพุ่งขึ้นสูง เพราะสัดส่วนหนี้ที่ระดับ 60% ของจีดีพียังเป็นตัวเลขที่ยอมรับได้หากเทียบกับต่างประเทศ และสิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งทำคือการเปิดเผยรายละเอียดข้อมูลของโครงการลงทุนเพื่อให้เอกชนตื่นตัวและเตรียมพร้อมลงทุนรองรับรวมทั้งต้องเร่งใช้เงินโดยในปี 53 อยากเห็นการใช้เงินได้จริง 8 แสนล้านถึง 1 ล้านล้านบาท
นอกจากนั้นรัฐบาลต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นในสายตาของต่างชาติ ต้องดึงผู้นำเข้ามาประชุมอาเซียนซัมมิทให้ได้ และต้องเผยแพร่ข้อมูลเชิงบวกของประเทศออกไป เช่น การที่ไทยจัดการควบคุมไข้หวัด 2009 ได้ดี และสิ่งสำคัญต้องไม่ตัดสินใจผิดพลาดกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนเหมือนกรณีชะลอการลงทุนที่มาบตาพุด และบางนโยบายดูเหมือนยังไม่ชัดเจนและไม่ตรงกับภาคเอกชน เช่น การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่ผ่านมาเห็นว่ายังไม่เกิดผลกระตุ้นเศรษฐกิจเนื่องจากรัฐบาลต้องช่วยเหลือผู้ประกอบการ เช่น เอสเอ็มอี แต่ในความเป็นจริงแล้วภาคเอกชนไม่ได้ต้องการสินเชื่อเพราะลดกำลังการผลิตและชะลอการลงทุนอยู่แล้ว จึงควรไปสนับสนุนสินเชื่อให้ผู้ซื้อ หรือสินเชื่ออุปโภคบริโภคน่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้จ่ายในประเทศได้ดีกว่า
"ครึ่งปีหลังจะหวังพึ่งรายได้จากสินค้าเกษตรคงจะทำได้น้อยลง เพราะผลของการดำเนินนโยบายแทรกแซงราคาข้าวที่ผิดพลาดของรัฐบาลทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลงตามราคาตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้กำลังซื้อในประเทศไม่ฟื้นตัวตามไปด้วย" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
นายโอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ภาวะขณะนี้มีความจำเป็นที่รัฐบาลต้องนำภาคเอกชนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่สิ่งสำคัญคงอยู่กับการลงทุนและการอุปโภคบริโภคในประเทศด้วยเพราะ 2 ส่วนนี้มีน้ำหนักทางเศรษฐกิจถึง 80% ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐมีขนาดเพียง 20% ทำให้แต่ละประเทศพยายามใช้มาตรการ 3 ด้านในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ แต่อาจจะให้น้ำหนักไม่เท่ากันระหว่างนโยบายการคลังโดยการอัดฉีดเงินงบประมาณ การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน และการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนในระดับที่เหมาะสม
ส่วนในระยะยาวเมื่อรัฐบาลเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติซึ่งอาจจะเป็นปลายปีนี้หรือกลางปีหน้า คงต้องมาพิจารณาถึงแนวทางการพัฒนาประเทศใน 10 ปีข้างหน้า เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะสหรัฐที่น่าจะมีการเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ทั้งภาคการผลิตและภาคการเงิน เพื่อช่วยให้ภาคเอกชนปรับตัวตามได้ทัน
***เวิลด์แบงก์คาด ศก.ไทยฟื้นครึ่งปีหลัง
น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจหลายประเทศเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว การที่ไทยพึ่งพิงการส่งออกค่อนข้างมากน่าจะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จึงคาดว่าเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังจะฟื้นตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีความไม่แน่นอนอีกมาก ต้องรอดูปัจจัยสภาวะเศรษฐกิจโลกในภาพรวม โดยเมื่อเดือนเมษายนธนาคารโลกประเมินภาพรวมการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปีนี้ว่าจะติดลบร้อยละ 2.7 ซึ่งในเดือนตุลาคมนี้จะมีการประเมินใหม่
สำหรับการระดมเงินตามโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 นั้น เป็นการใช้เงินลงทุนภาครัฐปี 2553 และต่อเนื่องอีก 3 ปี ซึ่งเงินจะเบิกจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไม่รวดเร็วแต่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยโครงการลงทุนจะเริ่มมีผลปี 2553
น.ส.กิริฎากล่าวถึงภาพรวมสถาบันการเงินว่า ผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น แต่ไม่น่าห่วง ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์อีกระยะ อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินไทยยังมีสภาพคล่องส่วนเกินค่อนข้างมาก แต่ช่วงนี้อาจจะไม่อยากปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากไม่มั่นใจด้านความเสี่ยงการทำงานในช่วง 5 เดือนของรัฐบาลนี้ มีผลงานดี สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค มีการออกมาตรการรวดเร็ว เม็ดเงินกระจายถึงประชาชนได้ตามเป้าหมายแม้จะไม่ทุกกลุ่มก็ตาม
"แม้ความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่การทำงานในช่วง 5 เดือนของรัฐบาลนี้ มีผลงานดี สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค มีการออกมาตรการรวดเร็ว เม็ดเงินกระจายถึงประชาชนได้ตามเป้าหมายแม้จะไม่ทุกกลุ่มก็ตาม" น.ส.กิริฎากล่าว.
ในงานสัมมนาประจำปี2552 หัวข้อ “โอกาส...ประเทศไทย” จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า จากแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐจะพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มเงินในระบบ ซึ่งส่งผลดีต่อการคงกำลังซื้อสินค้าจากต่างประเทศรวมถึงประเทศไทยที่ตลาดสหรัฐเป็นคู่ค้าใหญ่เป็นอันดับสอง แต่ปัญหาที่จะเกิดตามมาคือ เงินสกุลดอลลาร์จะอ่อนค่าทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก มีผลโดยตรงต่อรายได้ของผู้ส่งออก กระทรวงการคลังก็มีเครื่องมือที่ดูแลปัญหาเรื่องนี้ได้บ้าง คือการกำหนดให้การกู้เงินจำนวน 8 แสนล้านบาทตาม พ.ร.ก.และพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจต้องกู้จากแหล่งเงินในประเทศทั้งหมด ซึ่งจะมีผลให้การซื้อสินค้าทุนจากต่างประเทศซึ่งแม้จะเป็นเงินตราต่างประเทศก็มาจากการแลกเปลี่ยนจากเงินบาทจะมีผลโดยตรงให้ค่าเงินบาทอ่อนลงได้ในอนาคต แต่ก็ทำได้ในขีดจำกัด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้รับผิดชอบโดยตรงจึงต้องดูแลด้วย โดยให้ค่าเงินเกาะกลุ่มกับประเทศเพื่อนบ้าน
"เงินบาทที่แข็งค่าในตอนนี้จะส่งผลระยะสั้นต่อผู้ซื้อสินค้าและนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาจชะลอการซื้อสินค้าไทยและท่องเที่ยวในไทย แต่ไม่อยากให้ประเมินค่าเงินวันต่อวัน เราต้องเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่นด้วยว่าเราแข็งค่าในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันหรือไม่ แต่ปัญหาที่สำคัญคือการเน้นพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาว พัฒนากำลังซื้อในประเทศทดแทนกำลังซื้อจากต่างประเทศ ขณะนี้ได้ประสานโดยตรงกับแบงก์ชาติให้เข้ามาดูแลมิให้บาทแข็งค่าขึ้นจนส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ" นายกรณ์กล่าวถึงกรณีราคาน้ำมันที่ตลาดโลกปรับขึ้น ส่งผลกระทบให้ต้นทุนของผู้ประกอบการและค่าครองชีพของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น โดยปัจจัยการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน นอกจากเป็นผลจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มดีขึ้น ยังเกิดจากการเก็งกำไรของนักลงทุน ซึ่งเรื่องนี้เป็นไปตามคาดการณ์ของรัฐที่เชื่อว่าทั้งปีจะอยู่ที่ 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และแนวโน้มก็เป็นเช่นนั้น ซึ่งแม้ว่าก่อนหน้านี้รัฐบาลจะปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันแต่นโยบายนี้ถือเป็นความจำเป็น ไม่ได้เป็นการซ้ำเติมประชาชน รัฐบาลก็ให้กองทุนน้ำมันเข้ามารองรับราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มในช่วงแรกและเร่งรัดนโยบายพลังงานทดแทน
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างทบทวนมาตรการ 5 มาตรการ 6 เดือน ช่วยเหลือเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน ได้แก่ ค่าน้ำประปา ไฟฟ้าฟรี รถประจำทางฟรี ลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 และชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการลงในเดือน ก.ค.นี้ว่าจะต่ออายุมาตรการใดบ้างหรือไม่ โดยขอศึกษาผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับก่อน
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังยังยืนยันคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 52 ว่าจะหดตัวจากปีก่อน 4-5% โดยการปรับตัวลดลงในไตรมาสแรก 7.1% น่าจะเป็นระดับที่รุนแรงสุด และมีทิศทางจะฟื้นตัวดีขึ้น โดยในไตรมาส 2/52 และ 3/52 เศรษฐกิจจะหดตัวน้อยลง ส่วนไตรมาส 4/52 น่าจะฟื้นตัวเป็นบวกได้ หรืออย่างเลวร้ายสุดก็ทรงตัว จะไม่ติดลบแน่นอน รัฐบาลจะต้องทบทวนมาตรการสินเชื่อซึ่งที่ผ่านมาถือว่าล้มเหลว เพราะสถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ เนื่องจากกำลังการผลิตและคำสั่งซื้อลดลง จากนี้จะต้องพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่สอดคล้องกับความต้องการบริโภคมากขึ้นเพื่อให้มีกำลังซื้อ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง
นายกรณ์ยืนยันว่าช่วงนี้ภาครัฐยังคงเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เนื่องจากภาคเอกชนยังไม่มีความพร้อมในการลงทุน รัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระลอกที่ 2 ในโครงการไทยเข้มแข็ง จำนวน 1.56 ล้านล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจากการดำเนินการโครงการนี้ อาจทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ขึ้นไปถึง ร้อยละ 60 แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นปัญหาในการบริหาร พร้อมยืนยันว่า โครงการแต่ละโครงการ มีความสำคัญและมีความจำเป็น แม้ว่าจะมีผู้คัดค้าน แต่ก็เชื่อว่าหากพรรคฝ่ายค้านเป็นรัฐบาล ก็ดำเนินการในลักษณะนี้เช่นกัน
***หม่อมอุ๋ยจี้รัฐแบแผนลงทุนยักษ์
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า ไม่อยากให้รัฐบาลนี้ประมาทว่าเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณดีจากการชะลอตัวที่ลดลง โดยการผลิตที่กระเตื้องขึ้นอาจมาจากสินค้าหมดสต็อกจึงต้องผลิตใหม่แต่เป็นการผลิตตามความจำเป็นต้องใช้เท่านั้น ไม่ได้มาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ไตรมาสแรกที่ว่าเศรษฐกิจลงไปถึงจุดต่ำสุดแล้วจึงอาจไม่ใช่ และอย่าหวังว่าเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้นในระยะเวลาอันสั้น แต่การที่รัฐบาลใช้นโยบายการคลังและเร่งอัดฉีดเงินเข้าระบบและใช้เพื่อการลงทุนในแผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง 1.56 ล้านล้านบาท เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้วและไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้หนี้สาธารณะพุ่งขึ้นสูง เพราะสัดส่วนหนี้ที่ระดับ 60% ของจีดีพียังเป็นตัวเลขที่ยอมรับได้หากเทียบกับต่างประเทศ และสิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งทำคือการเปิดเผยรายละเอียดข้อมูลของโครงการลงทุนเพื่อให้เอกชนตื่นตัวและเตรียมพร้อมลงทุนรองรับรวมทั้งต้องเร่งใช้เงินโดยในปี 53 อยากเห็นการใช้เงินได้จริง 8 แสนล้านถึง 1 ล้านล้านบาท
นอกจากนั้นรัฐบาลต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นในสายตาของต่างชาติ ต้องดึงผู้นำเข้ามาประชุมอาเซียนซัมมิทให้ได้ และต้องเผยแพร่ข้อมูลเชิงบวกของประเทศออกไป เช่น การที่ไทยจัดการควบคุมไข้หวัด 2009 ได้ดี และสิ่งสำคัญต้องไม่ตัดสินใจผิดพลาดกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนเหมือนกรณีชะลอการลงทุนที่มาบตาพุด และบางนโยบายดูเหมือนยังไม่ชัดเจนและไม่ตรงกับภาคเอกชน เช่น การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่ผ่านมาเห็นว่ายังไม่เกิดผลกระตุ้นเศรษฐกิจเนื่องจากรัฐบาลต้องช่วยเหลือผู้ประกอบการ เช่น เอสเอ็มอี แต่ในความเป็นจริงแล้วภาคเอกชนไม่ได้ต้องการสินเชื่อเพราะลดกำลังการผลิตและชะลอการลงทุนอยู่แล้ว จึงควรไปสนับสนุนสินเชื่อให้ผู้ซื้อ หรือสินเชื่ออุปโภคบริโภคน่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้จ่ายในประเทศได้ดีกว่า
"ครึ่งปีหลังจะหวังพึ่งรายได้จากสินค้าเกษตรคงจะทำได้น้อยลง เพราะผลของการดำเนินนโยบายแทรกแซงราคาข้าวที่ผิดพลาดของรัฐบาลทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลงตามราคาตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้กำลังซื้อในประเทศไม่ฟื้นตัวตามไปด้วย" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
นายโอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ภาวะขณะนี้มีความจำเป็นที่รัฐบาลต้องนำภาคเอกชนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่สิ่งสำคัญคงอยู่กับการลงทุนและการอุปโภคบริโภคในประเทศด้วยเพราะ 2 ส่วนนี้มีน้ำหนักทางเศรษฐกิจถึง 80% ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐมีขนาดเพียง 20% ทำให้แต่ละประเทศพยายามใช้มาตรการ 3 ด้านในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ แต่อาจจะให้น้ำหนักไม่เท่ากันระหว่างนโยบายการคลังโดยการอัดฉีดเงินงบประมาณ การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน และการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนในระดับที่เหมาะสม
ส่วนในระยะยาวเมื่อรัฐบาลเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติซึ่งอาจจะเป็นปลายปีนี้หรือกลางปีหน้า คงต้องมาพิจารณาถึงแนวทางการพัฒนาประเทศใน 10 ปีข้างหน้า เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะสหรัฐที่น่าจะมีการเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ทั้งภาคการผลิตและภาคการเงิน เพื่อช่วยให้ภาคเอกชนปรับตัวตามได้ทัน
***เวิลด์แบงก์คาด ศก.ไทยฟื้นครึ่งปีหลัง
น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจหลายประเทศเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว การที่ไทยพึ่งพิงการส่งออกค่อนข้างมากน่าจะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จึงคาดว่าเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังจะฟื้นตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีความไม่แน่นอนอีกมาก ต้องรอดูปัจจัยสภาวะเศรษฐกิจโลกในภาพรวม โดยเมื่อเดือนเมษายนธนาคารโลกประเมินภาพรวมการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปีนี้ว่าจะติดลบร้อยละ 2.7 ซึ่งในเดือนตุลาคมนี้จะมีการประเมินใหม่
สำหรับการระดมเงินตามโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 นั้น เป็นการใช้เงินลงทุนภาครัฐปี 2553 และต่อเนื่องอีก 3 ปี ซึ่งเงินจะเบิกจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไม่รวดเร็วแต่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยโครงการลงทุนจะเริ่มมีผลปี 2553
น.ส.กิริฎากล่าวถึงภาพรวมสถาบันการเงินว่า ผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น แต่ไม่น่าห่วง ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์อีกระยะ อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินไทยยังมีสภาพคล่องส่วนเกินค่อนข้างมาก แต่ช่วงนี้อาจจะไม่อยากปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากไม่มั่นใจด้านความเสี่ยงการทำงานในช่วง 5 เดือนของรัฐบาลนี้ มีผลงานดี สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค มีการออกมาตรการรวดเร็ว เม็ดเงินกระจายถึงประชาชนได้ตามเป้าหมายแม้จะไม่ทุกกลุ่มก็ตาม
"แม้ความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่การทำงานในช่วง 5 เดือนของรัฐบาลนี้ มีผลงานดี สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค มีการออกมาตรการรวดเร็ว เม็ดเงินกระจายถึงประชาชนได้ตามเป้าหมายแม้จะไม่ทุกกลุ่มก็ตาม" น.ส.กิริฎากล่าว.