"วิทยา" เดือดสื่อ ตีข่าวเจรจาลับของบจากนายกฯ อ้างแค่ไปพบเพื่อสะท้อนปัญหา พ.ร.บ.งบประมาณ เชื่อพ.ร.บ.กู้เงิน 4 แสนล้าน ถูกวุฒิสภาตีกลับแน่ ด้าน"อภิสิทธิ์" ยันไม่มีการฮั้วฝ่ายค้านในการผ่าน พ.ร.บ.กู้เงิน 3 วาระรวด ยอมรับ "วิทยา" มาพบเพื่อร้องเรียนว่ามหาดไทยไม่ยอมกระจายงบลงพื้นที่ของฝ่ายค้าน ขณะที่การประชุมสภาวุ่น "ชัย"ไล่ ส.ส.เพื่อไทย ออกนอกห้องประชุม แต่ฝ่ายค้านไม่ยอม โวย ปธ.สภาบ้าอำนาจ ขู่ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ พ.ร.บ. "คำนูณ" เตือน "มาร์ค" ระวังเสียค่าโง่ เซ็นเช็คเปล่าให้รัฐบาลหน้าใช้
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 เป็นวันที่สอง เมื่อวานนี้ (18มิ.ย.) ในช่วงแรกการอภิปรายเป็นไปอย่างราบรื่น มีทั้งการอภิปรายติติง และสนับสนุน แต่บรรยากาศการประชุมเริ่มตึงเครียดขึ้นเมื่อ ฝ่ายค้านได้หยิบยกเรื่องที่รัฐบาลรวบรัดพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ จำนวน 4 แสนล้านบาท 3 วาระรวด ในช่วงดึกเมื่อคืนวันที่16 มิ.ย. มาอภิปราย โดยนายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.อยุธยา พรรคเพื่อไทย ประธานวิปฝ่ายค้าน แสดงความไม่สบายใจกรณีที่มีหนังสือพิมพ์พาดหัว ถึงการต่อรองเรื่องงบประมาณกับนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่าข่าวดังกล่าวให้ตนเสียหาย เพราะในการพิจารณาพ.ร.บ.กู้เงิน 4 แสนล้าน ฝ่ายค้านไม่เห็นชอบในการรับหลักการ เพราะไม่มีรายละเอียดโครงการต่างๆ ชัดเจน จึงเกรงว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายงบประมาณ เหมือนงบประมาณปี2552 จึงได้ทำหนังสือถึงนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ เพื่อขอให้จัดส่งข้อมูลรายละเอียดเอกสารโครงการทุกอย่างมาให้ตน เพื่อเป็นหลักฐานว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน นั้นมีรายละเอียดอย่างไร งบไปลงจังหวัดไหน ตำบลไหน เพราะเป็นครั้งแรกที่พิจารณาอนุมัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 4 แสนล้านบาท ด้วยเสียง 240 ต่อ 0 และใช้กรรมาธิการเต็มสภา ดังนั้น ก่อนผ่านร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2553 นายกรัฐมนตรีมั่นใจได้อย่างไรว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
"สภาแห่งนี้ไม่ใช่คิดว่าจะทำอะไร ก็จะทำ วันนี้เกิดอะไรขึ้น จะรอให้ประธานสภาฯ ส่งข้อมูลเอกสารมาให้ ก็จะเก็บเอาไว้ดูว่าหล่อแค่ไหน ขอดูรูปร่างหน้าตา เพราะร่างฉบับนี้จะต้องส่งไปให้ ส.ว.พิจารณาด้วย"
ด้านนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฏร ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ยืนยันว่า การประชุมสภาเป็นไปตามข้อบังคับทุกประการ และหากต้องการข้อมูล ก็สามารถตรวจสอบการประชุมจากบันทึกการประชุมได้ อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดสด เปิดเผยไปสู่สาธารณะด้วย
"มาร์ค"ยันไม่มีการฮั้วฝ่ายค้าน
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงทันทีว่า ข่าวที่ว่ามีการต่อรองกัน เมื่อไม่ได้ก็วอล์กเอาต์ หรือมีการฮั้วกันนั้น ไม่เป็นความจริง และการพิจารณา 3 วาระรวด ใม่ใช่เจตนาของรัฐบาล เมื่อรัฐบาลพิจารณาการกู้เงินครั้งแรก ประเมินยอดเงินกู้ 8 แสนล้านบาท เจ้าหน้าที่เสนอตั้งแต่ต้นให้ออกเป็น พ.ร.ก.ทั้งหมด เพราะในอดีตทุกยุคทำเช่นนั้น แต่ตนเห็นว่าบางโครงการใช้จ่ายเงินในช่วง 3 ปีข้างหน้า จึงไม่จำเป็นต้องออกเป็นพ.ร.ก.ทั้งหมด โครงการไหนเร่งด่วนก็ออกเป็นพ.ร.ก. โครงการไหนรอได้ ก็ควรออกเป็นพ.ร.บ. เพื่อให้สภามีส่วนร่วม
ส่วนร่างฎหมายที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังในการกู้เงิน ไม่มีรายละเอียดใช้จ่าย จึงอยากให้กรรมาธิการเข้ามาดูแลตรวจสอบ ก็มีข่าวมาตั้งแต่ต้นว่าฝ่ายค้านจะไม่ร่วมตั้งกมธ. แต่เมื่อคุยกับฝ่ายค้านแล้ว ก็รับปากว่า ไม่น่าจะมีปัญหา
อย่างไรก็ตาม การที่ฝ่ายค้านวอล์กเอาต์ ก็ เป็นสิทธิ์ที่จะแสดงความไม่พอใจการบริหารจัดสรรงบปี 52 ซึ่งเป็นการประท้วงตามสิทธิ์ เพราะเกรงว่า พ.ร.บ.กู้เงิน จะมีปัญหาเหมือนงบปี 52 แต่หากพรรคการเมืองใด ไม่ส่งตัวแทนมาร่วมเป็น กมธ. กระบวนการนิติบัญญัติ ก็เดินต่อไปไม่ได้ รัฐบาลจึงต้องให้งานเดินต่อไปโดยตั้งกมธ.เต็มสภา
ส่วนการบริหารงบปี 52 ตนก็ได้รับร้องเรียนจากส.ส.ไม่ใช่เฉพาะกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ยังมีกรมทางหลวงชนบท เมื่อร้องเรียนมาก็แจ้งไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่ในส่วนของงบท้องถิ่น อาจจะแตกต่างจากงบส่วนอื่น ตรงที่กระบวนการของบ ต้องเริ่มต้นจากการของบจากท้องถิ่น มีการกลั่นกรอง กำหนดหลักเกณฑ์ผ่านจังหวัดเข้ามายังกรม และคณะกรรมการกระจายอำนาจ เพื่อพิจารณาโครงการ หากเรียบร้อบ ก็อนุมัติ แต่ถ้ามีปัญหา ก็ส่งกลับไป กลับมา แต่พยายามทำให้เสร็จสิ้นในเดือนพ.ค. ยืนยันทุกพื้นที่ได้รับอย่างกันทั่วถึง จึงได้นัดหารือในเรื่องนี้ในสัปดาห์หน้า เมื่อตัดสินใจแล้วรัฐบาลก็จะต้องเดินหน้าต่อไป
จากนั้นนายวิทยา กล่าวอีกครั้งว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้น นายกฯได้รับเรื่องไปแล้ว ไม่ใช่มาบอกว่าประธานวิปฝ่ายค้านถกนายกฯ มีการต่อรองกัน ซึ่งเรื่องความเดือดร้อนประชาชนต้องมาก่อน ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติกว่าจะถึงวุฒิสภา เราไม่อยากอายกับวิธีการพิจารณา จึงต้องเล่นเกมการเมือง ตนเสนอทางออก ให้ถอนออกไป แต่รัฐบาลก็ไม่สง่าผ่าเผย วันนี้ต้องพูด และจะทำให้การพิจารณางบประมาณปี 53 ให้ราบรื่น ตามที่สภาอยากให้เป็น ซึ่งจะไม่วอล์กเอาต์แน่ ตนจะร่วมเป็น กมธ.งบประมาณด้วย เพียงอยากเห็นรายละเอียดโครงการของร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน
ต้องเดินหน้าแม้จะมีวอล์กเอาต์
นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงอีกครั้งว่า ฝ่ายค้านพูดเหมือนกล่าวหาว่ารัฐบาลตั้งเป้าผลักดัน 3 วาระ แต่ตนได้รับข้อเสนอว่า สามารถตั้ง กมธ.ศึกษาก่อนรับหลักการ เหมือนกฎหมายต้องไปพักใน กมธ. ไม่เป็นผลดีต่อการทำงานของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ แต่ถ้าจะมีการตั้ง กมธ.ขึ้นตรวจสอบนั้น ไม่ขัดข้อง แต่เมื่อร่วมพิจารณากันแล้ว ฝ่ายค้านเดินออกจากห้องประชุมก็จะต้องมาพิจารณา วันนั้นหากมีฝ่ายค้านเพียงคนเดียวลุกขึ้นเสนอขอให้ตั้ง กมธ.วิสามัญ คิดว่าไม่มีใครปฎิเสธ เมื่อฝ่ายค้านเดินออก รัฐบาลจำเป็นต้องเดินหน้าต่อไป
ด้านนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล ได้ชี้แจงเสริม การตัดสินใจพิจารณา 3 วาระรวด เพราะฝ่ายค้านปิดทางเลือก ทั้งที่รัฐบาลพร้อมเปิดทางในการตั้ง กมธ. แต่ฝ่ายค้านพูดมาตลอดว่า ถ้าไม่มีการถ่ายทอดสด ก็จะไม่ร่วมพิจารณา เมื่อมีการวอล์กเอาต์ ไม่ร่วมตั้ง กมธ. ก็ถือเป็นการปิดทางเลือก จึงจำเป็นต้องทำ เรามี 2 ทางเลือก ถ้าตั้ง กมธ.ฝ่ายเดียว อาจถูกกล่าวหา 2 มาตรฐาน จึงเลือตั้งกรรมาธิการเต็มสภา ซึ่งไม่อยากให้ฝ่ายค้านเอาเกมการเมืองมาเป็นตัวตั้ง
ไล่ "ชลน่าน" ออกนอกห้องประชุม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากถกเถียงกันพอสมควร นายชัย ตัดบทว่า วันนี้กำลังพิจารณางบประมาณปี 53 เรื่อง ดังพ.ร.บ.กู้เงิน ได้ผ่านไปแล้ว ขอให้ยุติกันได้แล้ว แต่นายวิทยา ได้ขอชี้แจงอีกครั้ง ยืนยันว่าเมื่อผ่าน 3 วาระรวด ก็อยากให้ส่งข้อมูลเอกสารให้ดู แต่นายชัย ย้ำและขอร้องให้เรื่องนี้ยุติ
ช่วงนี้ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นขอหารือ โดยอ้างว่าเป็นเรื่องเสียหายกับฝ่ายค้านและพยายามจะขอพูด แต่นายชัย ไม่ยอมโดยตัดบทอนุญาตให้นายปวีณ แซ่จึง ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย อภิปราย แต่ นพ.ชลน่าน ยังยืนประท้วง และพยายามจะชี้แจงให้ได้ โดยไม่ฟังคำสั่ง แม้ว่านายชัย จะสั่งให้นั่งลง
ในที่สุดนายชัย จึงสั่งให้ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เชิญนพ.ชลน่าน ออกนอกห้องประชุม เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปตามข้อบังคับ สร้างความไม่พอใจให้กับ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จนมีเสียงตะโกนบอกให้ ส.ส.ฝ่ายค้าน ลุกขึ้นพร้อมตะโกนท้าทายให้ รปภ. มาจับไปทั้งหมด
ขณะที่ นายไพจิตร ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ตะโกนว่า "ทำอย่างนี้ก็บ้าแล้ว สภาเสียหายกันไปใหญ่แล้ว ทำอย่างนี้มันลุแก่อำนาจชัดๆ" จนทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นเล็กน้อย ในที่สุดนายชัย ได้สั่งให้พัก การประชุม 3 นาที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงพักการประชุม นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ ส.ส.ปราจีนบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินเข้ามาตบไหล่ นพ.ชลน่าน ขอให้ใจเย็นๆ ขณะที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หลายคน นำโดยนายธนิตพล ชัยอนันต์ ส.ส.ตาก ในฐานะเลขานุการวิปรัฐบาล นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช และนายเชน เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ได้พยายามเดินเข้ามาหา นพ.ชลน่าน และกลุ่ม ส.ส.พรรคเพื่อไทย เพื่อทำความเข้าใจ ซึ่งช่วงหนึ่งนายเชน ได้เชิญให้นพ.ชลน่าน ออกไปเคลียร์กันนอกห้องประชุม แต่กลับถูกส.ส.พรรคเพื่อไทย ตะโกนกันห้ามไว้ ว่า “ให้อยู่นี่ก่อน จะออกไปทำไม”
จากนั้น ส.ส.พรรคเพื่อไทย พยายามดึงตัว และยืนล้อมนพ.ชลน่าน เอาไว้ พร้อมกับไล่เจ้าหน้าที่รปภ.ให้ออกไปจากห้องประชุม ทำให้เจ้าหน้าที่รปภ. ต้องออกไป ขณะที่ส.ส.ฝั่งรัฐบาลได้ยืนจับกลุ่มหารือกับ นายชินวรณ์ อย่างเคร่งเครียด จากนั้น นายเชน ได้นำผลการหารือกับนพ.ชลน่าน และสมาชิกพรรคเพื่อไทยไปแจ้งให้นายชัย ทราบ
ฝ่ายค้านขู่ยื่นตีความ พ.ร.บ.กู้
ในที่สุด นายชัย ได้เปิดประชุมอีกครั้งโดยกล่าว่า " ขณะนี้ทุกฝ่าย เปิดโอกาสให้นพ.ชลน่าน ได้อภิปรายอย่างเต็มที่ เป็นเวลา 10 นาที โดย นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ข้อกล่าวหาว่า ฝ่ายค้านไม่ร่วมตั้งกมธ. เพราะไม่พอใจการบริหารงบประมาณปี 52 ที่กระจายไม่ทั่วถึงนั้น ไม่เป็นความจริง แต่ข้อเท็จจริงคือ ฝ่ายค้านต้องการรายละเอียดของโครงการตามร่าง พ.ร.บ.นี้
ทั้งนี้ การกู้เงิน กู้ได้ แต่การจ่ายเงิน เอาอำนาจอะไรไปจ่าย เพราะระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 23 ให้อำนาจขอเงิน แต่รัฐบาลกลับใช้อำนาจเอาไปจ่ายเงิน ทำได้หรือ เป็นการซ่อนเร้น ขอฟ้องไปยังวุฒิสภาด้วย และจะร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญด้วย
นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ส่วนเรื่องงบอุดหนุนท้องถิ่น เงินออก 5 พันกว่าล้านบาท จาก 1.2 หมื่นล้าน ที่มีสมาชิกท้วงว่ากระจายไม่ทั่วถึง เป็นจริง สามารถดูเอกสารได้ และสงสัยว่า ทำไมคณะกรรมการกระจายอำนาจฯจึงกำหนดเกณฑ์หลังจากงบประมาณผ่านสภา และส่วนท้องถิ่นยังไปตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจมากลั่นกรองโครงการ จึงอาจขัดรัฐธรรมนูญ ละเมิดอำนาจของกมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 52
นายกรัฐมนตรี ชี้แจงอีกครั้ง โดยย้ำว่า รัฐบาลมีเจตนาให้ตั้ง กมธ.เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน เพื่อให้ฝ่ายค้านเข้ามาตรวจสอบ แต่ฝ่ายค้านไม่ตั้ง และชี้แจงต่อสภาเองว่า ไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะใช้เงินกู้ไปตามเจตนารมณ์หรือไม่ โดยยกตัวอย่างงบปี 52 ที่กระจายไม่ทั่วถึง ขณะที่รัฐบาลมีเจตนาเปิดให้เข้ามาตรวจสอบ ฉะนั้น มากล่าวหารัฐบาลไม่ได้ เพราะสภาต้องทำให้กระบวนการกฎหมายเดินไปได้ ส่วนเรื่องงบท้องถิ่น หลักเกณฑ์ทั้งหมดเกิดก่อนที่ตนจะมาเป็นนายกฯ อย่างไรก็ดี จะไปตรวจสอบให้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น นายชัย ได้ให้สมาชิกอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 ต่อไป
มั่นใจวุฒิสภาผ่าน พ.ร.บ.กู้เงิน
ทั้งนี้ ก่อนการประชุมสภาในช่วงเช้า นายอภิสิทธิ์ ได้ให้สัมภาษณ์ถึง กรณีที่มีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)ตั้งข้อสังเกตการผ่านร่าง พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ จำนวน 4 แสนล้านบาท 3 วาระรวด เป็นการเกี้ยเซียะกันระหว่างฝ่ายค้านกับรัฐบาลว่า ไม่มีเรื่องนี้ แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายค้านพูดคุยกันในคณะกรรมการประสานงาน (วิป) ว่ามีปัญหาบางอย่างที่ตกลงกันไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องของคณะกรรมาธิการ ฝ่ายค้านจึงตัดสินใจไม่ร่วม ดังนั้นรัฐบาลไม่มีทางเลือกจึงเดินหน้าต่อไป โดยใช้คณะกรรมาธิการเต็มสภา
เมื่อถามว่ามี ส.ว.บางคนขู่ว่าจะไม่ปล่อยให้ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวผ่านไปได้ง่าย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในขั้นตอนของวุฒิสภาก็เป็นไปตามปกติ แต่ไม่แน่ใจว่าจะสามารถเข้าสู่การพิจารณาในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ได้ทันหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่ทันจะไปพิจารณาในการประชุมสภาสมัยปกติ และเมื่อเข้าสู่การพิจารณามีการตั้งคณะกรรมาธิการ จะมีเวลาในชั้นของกรรมาธิการ ซึ่งรัฐบาลไม่มีข้อขัดข้องใดๆ แต่ไม่คิดว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะสะดุดในชั้นของวุฒิสภา เพราะจะมีกระบวนการกรอบการพิจารณาอย่างชัดเจน ซึ่งตนมั่นใจว่าจะผ่านการพิจารณาของวุฒิสภา เพราะเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. ที่ผ่านมา นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้ชี้แจงกับคณะกรรมาธิการ และคณะทำงานของ ส.ว.ที่ทำงานเรื่องนี้อยู่
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่นายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ระบุว่า ได้พบกับนายกฯ เพื่อต่อรองให้มีการกระจายงบท้องถิ่นให้ทั่วถึง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายวิทยาได้พูดถึงงบประมาณปี 52 โดยระบุว่า ในส่วนของงบส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีปัญหาในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ฝ่ายค้านเป็นส.ส.อยู่ ซึ่งตนก็ได้พูดคุยกับ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย หลายครั้งว่า ขอให้ดูให้เรียบร้อยว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้น ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งก็ต้องผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองที่ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย และคณะกรรมการกระจายอำนาจ ซึ่ง ตนจะประชุมคณะกรรมการกระจายอำนาจในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ก็จะสอบถามว่าปัญหาขณะนี้ คืออะไร
ต่อข้อถามว่า นายวิทยา ระบุด้วยว่านายกฯไม่มีอำนาจ และทำอะไรไม่ได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย ที่อยู่ภายใต้สังกัดพรรคภูมิใจไทย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่อำนาจของตนอยู่แล้ว เพราะเป็นเรื่องที่ท้องถิ่น ซึ่งต้องจัดทำงบประมาณขอผ่านมาทางจังหวัด โดยมีคณะกรรมการกลั่นกรองอนุมัติโดยมีหลักเกณฑ์ชัดเจน ถ้าการของบประมาณตรงกับหลักเกณฑ์ ก็จะอนุมัติไป แต่ถ้าไม่ตรง จะต้องขอให้ตนในฐานะประธานคณะกรรมการกระจายอำนาจเป็นผู้ยกเว้น ซึ่งปัจจุบันการขอยกเว้นในงวดแรกจากการสอบถามคณะกรรมการกระจายอำนาจว่า มีปัญหาอะไรหรือไม่นั้น ก็ได้รับการยืนยันกลับมาว่า ไม่มีปัญหาอะไร เรื่องก็ผ่านไป แต่งวดที่ 2 ยังไม่ผ่าน ก็จะนำเข้าสู่ที่ประชุมในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ซึ่งงวดที่ 2 ที่มีปัญหายังไม่ผ่าน เท่าที่ตนดูในตัวจังหวัดแล้ว ก็ไม่ใช่พื้นที่ของฝ่ายค้าน
"ฝ่ายค้านบอกว่า การบริหารงบประมาณปี 52 ในส่วนของ อปท.ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกรรมาธิการงบประมาณ ฝ่ายค้านจึงบอกว่าไม่ไว้ใจการใช้เงินกู้ และการใช้งบประมาณในปีต่อไป จึงประท้วงด้วยการไม่ตั้งกรรมาธิการขึ้นมาร่วมด้วย ไม่ใช่เป็นการมาต่อรองว่าจะต้องได้เงินเท่าไร ผมจึงบอกว่าเรื่องนี้ถ้ามีปัญหาว่า งบตรงไหนไม่โปร่งใส ก็อภิปรายในสภาได้ เพราะผมไม่สามารถทราบรายละเอียดในทุกพื้นที่ได้ ผมได้แนะนำถึงปัญหาระหว่างกระทรวงมหาดไทย กับส.ส.ฝ่ายค้านว่า ขอให้พูดคุยกัน เพราะกระทรวงมหาดไทยยืนยันกับผมว่า งบประมาณที่กระจายลงไปนั้น ไปในทุกพื้นที่ เพียงแต่บางพื้นที่อาจมีปัญหาว่าโครงการตรงกันหรือไม่" นายอภิสิทธิ์กล่าว
เชื่อวุฒิต้องตีกลับมาตั้ง กมธ.ร่วม
นายวิทยา บูรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ให้สัมภาษณ์ถึงข่าวที่ว่า ตนเข้าเจรจาลับกับนายกรัฐมนตรี เมื่อค่ำวันที่ 16 มิ.ย. เพื่อขอรับจัดสรรงบของ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมทางหลวงชนบทให้กับพื้นที่ของส.ส. พรรคเพื่อไทย ก่อนจะเกิดเหตุวอล์กเอาต์ว่า ไม่เคยพูดอย่างนั้น เพียงแต่ตำหนิ เรื่องที่บอกว่าทุกเรื่องให้ส.ส.ไปพบนายกฯ โดยเฉพาะกฎหมายงบประมาณ ที่ออกเป็น พ.ร.บ.แล้ว มีการแก้ไข เรื่องนี้ทำไมไม่ไปถามนายกฯ ตนไม่เคยพูดว่าไปต่อรองเรื่องงบประมาณ สื่อไปพาดหัวหน้า 1 ได้อย่างไร ตนเพียงแจ้งปัญหาให้นายกฯ ทราบว่า เมื่อ พ.ร.บ.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท ผ่านสภาแล้ว แล้วการแปรญัตติเต็มสภานั้นเป็นอย่างไร เพราะยังไม่มีรายละเอียดอะไรเลย แล้วถ้าไปถึงชั้นวุฒิสภา จะพิจารณากันอย่างไร เป็นเรื่องตลกมากที่คน 200 กว่าคน ต้องพิจารณาอะไรก็ไม่รู้ที่ไม่มีรายละเอียด เพราะมันยังทำไม่เสร็จ กฎหมายงบประมาณที่ผ่านสภา โดยกมธ.เต็มสภา เป็นเรื่องตลก
ส่วนที่ นายอภิสิทธิ์ ระบุว่าเหตุที่ต้องตั้งกมธ.เต็มสภา เพราะไม่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายค้านที่วอล์กเอาต์ นั้น นายวิทยา กล่าวว่า ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย นายกฯพูดอย่างนั้นยิ่งต้องตำหนิ ในฐานะเป็นผู้บริหาร ทำอย่างนั้นไม่ได้ เมื่อถามว่า ปัญหาคือฝ่ายค้านไม่ร่วมมือเอง นายวิทยา กล่าวด้วยน้ำเสียงมีอารมณ์ว่า
"ผมเสนอให้ตั้งกมธ.ไง แต่ให้พิจารณาก่อนรับหลักการ ฟังแล้ว งงไหม ทีหลังผมจะจัดสัมนาให้นักข่าวสักวัน วันนี้มันเป็นเรื่องมาโทษฝ่ายค้าน จริงๆ เราต้องการทำให้ถูกต้อง เพราะที่แล้วมาออกเป็น พ.ร.บ.แล้ว วันนี้ยังมีมาแก้ไขกันอยู่ แต่ครั้งนี้คงมีปัญหา เพราะเพิ่งจะปล่อยเงินออกไป"
"เรื่องนี้ผมยืนยันว่า มันต้องกลับมาสภาอีกรอบก็แล้วกัน เพราะไปชั้นวุฒิสภา ก็แก้ไขไม่ได้ ผลสุดท้ายมันก็ต้องมาตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันในสภาผู้แทนฯอีก ไม่เชื่อลองถามนักกฎหมายประชาธิปัตย์ดู เพราะหลักการไม่ชอบ คือมีการตั้ง กมธ.เต็มสภา แต่ไม่มีใครพูดอะไรเลย ไม่มีการแก้ไขอะไรเลย ผ่านรวดเดียว 3 วาระ เอกสารรายละเอียดก็ไม่มี เป็นครั้งแรกที่ทำกันแบบนี้ ทำให้รู้ว่า บัดนี้ฝ่ายนิติบัญญัติที่เสียงข้างมากลากไปมันมีปัญหาจริงๆ ผมไม่อยากพูดมาก ให้ความผิดมันสำเร็จก่อน แล้วผมจะพูด แล้วจะพิสูจน์ให้เห็นว่า สุดท้ายต้องกลับมาแก้กันอีก" นายวิทยากล่าว
เมื่อถามว่ารัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เคยทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ แบบมีการตั้ง กมธ.เต็มสภา นายวิทยา กล่าวว่า คนละอย่างกัน เพราะนั่นมีรายละเอียดให้
ส.ว.ส่วนใหญ่ยังข้องใจพ.ร.บ.กู้เงิน
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การที่นายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า มั่นใจว่า ส.ว.จะอนุมัติทั้ง พ.ร.ก. และ พ.ร.บ. กู้เงิน 8 แสนล้านบาท ก็เป็นความคิดของนายกฯ แต่สำหรับนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง และ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) พบว่า ยังมีปัญหาอีกค่อนข้างมากที่ทั้ง 2 คนไม่สามารถตอบคำถามของ ส.ว.ได้ เชื่อว่าการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ ขอให้ติดตามอย่างใกล้ชิด เชื่อว่า ส.ว.จะไต่ถามข้อข้องใจ และแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างกว้างขวาง แต่จะอนุมัติหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคน แต่ตนเชื่อว่า ทุกคนจะตัดสินใจอย่างสมศักดิ์ศรีในฐานะที่เป็นสภากลั่นกรอง โดยจะเป็นการตัดสินใจที่ไม่มีวาระซ่อนเร้น และไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ จากการสอบถามกันเองพบว่า ส.ว.ส่วนใหญ่ หลายกลุ่ม ไม่เห็นด้วยที่จะผ่านงบประมาณจำนวน 1.5 ล้านล้านบาท ภายใน 3 ปี ที่เป็นเงินนอกงบประมาณ ซึ่งระบบการตรวจสอบในเรื่องการจัดทำโครงการ มีความยืดหยุ่นมากเกินไปจนอาจจะเป็นอันตรายได้ ทั้งนี้หากมองว่าทั้ง นายอภิสิทธิ์ และนายกรณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริต แต่ไม่มีหลักประกันใดเลยว่า ท่านจะอยู่จนสิ้นสุดนโยบายไทยเข้มแข็งจนกระทั่งปี 2555 รวมถึงไม่มีหลักประกันใดเช่นกันว่ารัฐบาลที่จะเข้ามาหลังการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า ซึ่งอาจจะเป็นพรรคภูมิใจไทย หรือพรรคอื่นๆ จะเป็นรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล
"ถ้ารัฐบาลชุดนี้อยู่ไม่ถึงปี 2555 ก็จะเท่ากับว่า รัฐบาลชุดใหม่ที่เข้ามาก็จะสามารถกรอกตัวเลขในเช็คเปล่า ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ทำไว้ให้ได้เลย เหมือนเป็นการหาเงินไว้ให้เขาใช้ ผมอยากบอกว่า ข่าวคราวการต่อรองงบประมาณของสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาล รวมถึงพรรคฝ่ายค้านสร้างความไม่สบายให้กับส.ว.มาก" นายคำนูณกล่าวและ ยืนยันว่า ส.ว.ไม่ได้คัดค้านร่าง กม. ทั้ง 2 ฉบับ เพราะแม้จะคว่ำไป ก็ไม่ได้มีผลกับรัฐบาลอยู่แล้ว แต่ ส.ว. อยากให้รัฐบาลได้ข้อคิด เพื่อที่จะได้กลับไปทำให้ถูกต้อง หรือไปสร้างกลไกควบคุมต่างๆ เพื่อไม่ให้มีการใช้งบประมาณเกินความจำเป็น ซึ่งเราเห็นว่ารัฐบาลควรใช้เงินนอกงบประมาณเพียง 2 แสนล้านบาท เพื่อปิดหีบประมาณเท่านั้น ส่วนที่เหลือขอให้มีการใช้จ่ายเป็นกฎหมายงบประมาณตามปกติ.
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 เป็นวันที่สอง เมื่อวานนี้ (18มิ.ย.) ในช่วงแรกการอภิปรายเป็นไปอย่างราบรื่น มีทั้งการอภิปรายติติง และสนับสนุน แต่บรรยากาศการประชุมเริ่มตึงเครียดขึ้นเมื่อ ฝ่ายค้านได้หยิบยกเรื่องที่รัฐบาลรวบรัดพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ จำนวน 4 แสนล้านบาท 3 วาระรวด ในช่วงดึกเมื่อคืนวันที่16 มิ.ย. มาอภิปราย โดยนายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.อยุธยา พรรคเพื่อไทย ประธานวิปฝ่ายค้าน แสดงความไม่สบายใจกรณีที่มีหนังสือพิมพ์พาดหัว ถึงการต่อรองเรื่องงบประมาณกับนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่าข่าวดังกล่าวให้ตนเสียหาย เพราะในการพิจารณาพ.ร.บ.กู้เงิน 4 แสนล้าน ฝ่ายค้านไม่เห็นชอบในการรับหลักการ เพราะไม่มีรายละเอียดโครงการต่างๆ ชัดเจน จึงเกรงว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายงบประมาณ เหมือนงบประมาณปี2552 จึงได้ทำหนังสือถึงนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ เพื่อขอให้จัดส่งข้อมูลรายละเอียดเอกสารโครงการทุกอย่างมาให้ตน เพื่อเป็นหลักฐานว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน นั้นมีรายละเอียดอย่างไร งบไปลงจังหวัดไหน ตำบลไหน เพราะเป็นครั้งแรกที่พิจารณาอนุมัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 4 แสนล้านบาท ด้วยเสียง 240 ต่อ 0 และใช้กรรมาธิการเต็มสภา ดังนั้น ก่อนผ่านร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2553 นายกรัฐมนตรีมั่นใจได้อย่างไรว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
"สภาแห่งนี้ไม่ใช่คิดว่าจะทำอะไร ก็จะทำ วันนี้เกิดอะไรขึ้น จะรอให้ประธานสภาฯ ส่งข้อมูลเอกสารมาให้ ก็จะเก็บเอาไว้ดูว่าหล่อแค่ไหน ขอดูรูปร่างหน้าตา เพราะร่างฉบับนี้จะต้องส่งไปให้ ส.ว.พิจารณาด้วย"
ด้านนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฏร ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ยืนยันว่า การประชุมสภาเป็นไปตามข้อบังคับทุกประการ และหากต้องการข้อมูล ก็สามารถตรวจสอบการประชุมจากบันทึกการประชุมได้ อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดสด เปิดเผยไปสู่สาธารณะด้วย
"มาร์ค"ยันไม่มีการฮั้วฝ่ายค้าน
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงทันทีว่า ข่าวที่ว่ามีการต่อรองกัน เมื่อไม่ได้ก็วอล์กเอาต์ หรือมีการฮั้วกันนั้น ไม่เป็นความจริง และการพิจารณา 3 วาระรวด ใม่ใช่เจตนาของรัฐบาล เมื่อรัฐบาลพิจารณาการกู้เงินครั้งแรก ประเมินยอดเงินกู้ 8 แสนล้านบาท เจ้าหน้าที่เสนอตั้งแต่ต้นให้ออกเป็น พ.ร.ก.ทั้งหมด เพราะในอดีตทุกยุคทำเช่นนั้น แต่ตนเห็นว่าบางโครงการใช้จ่ายเงินในช่วง 3 ปีข้างหน้า จึงไม่จำเป็นต้องออกเป็นพ.ร.ก.ทั้งหมด โครงการไหนเร่งด่วนก็ออกเป็นพ.ร.ก. โครงการไหนรอได้ ก็ควรออกเป็นพ.ร.บ. เพื่อให้สภามีส่วนร่วม
ส่วนร่างฎหมายที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังในการกู้เงิน ไม่มีรายละเอียดใช้จ่าย จึงอยากให้กรรมาธิการเข้ามาดูแลตรวจสอบ ก็มีข่าวมาตั้งแต่ต้นว่าฝ่ายค้านจะไม่ร่วมตั้งกมธ. แต่เมื่อคุยกับฝ่ายค้านแล้ว ก็รับปากว่า ไม่น่าจะมีปัญหา
อย่างไรก็ตาม การที่ฝ่ายค้านวอล์กเอาต์ ก็ เป็นสิทธิ์ที่จะแสดงความไม่พอใจการบริหารจัดสรรงบปี 52 ซึ่งเป็นการประท้วงตามสิทธิ์ เพราะเกรงว่า พ.ร.บ.กู้เงิน จะมีปัญหาเหมือนงบปี 52 แต่หากพรรคการเมืองใด ไม่ส่งตัวแทนมาร่วมเป็น กมธ. กระบวนการนิติบัญญัติ ก็เดินต่อไปไม่ได้ รัฐบาลจึงต้องให้งานเดินต่อไปโดยตั้งกมธ.เต็มสภา
ส่วนการบริหารงบปี 52 ตนก็ได้รับร้องเรียนจากส.ส.ไม่ใช่เฉพาะกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ยังมีกรมทางหลวงชนบท เมื่อร้องเรียนมาก็แจ้งไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่ในส่วนของงบท้องถิ่น อาจจะแตกต่างจากงบส่วนอื่น ตรงที่กระบวนการของบ ต้องเริ่มต้นจากการของบจากท้องถิ่น มีการกลั่นกรอง กำหนดหลักเกณฑ์ผ่านจังหวัดเข้ามายังกรม และคณะกรรมการกระจายอำนาจ เพื่อพิจารณาโครงการ หากเรียบร้อบ ก็อนุมัติ แต่ถ้ามีปัญหา ก็ส่งกลับไป กลับมา แต่พยายามทำให้เสร็จสิ้นในเดือนพ.ค. ยืนยันทุกพื้นที่ได้รับอย่างกันทั่วถึง จึงได้นัดหารือในเรื่องนี้ในสัปดาห์หน้า เมื่อตัดสินใจแล้วรัฐบาลก็จะต้องเดินหน้าต่อไป
จากนั้นนายวิทยา กล่าวอีกครั้งว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้น นายกฯได้รับเรื่องไปแล้ว ไม่ใช่มาบอกว่าประธานวิปฝ่ายค้านถกนายกฯ มีการต่อรองกัน ซึ่งเรื่องความเดือดร้อนประชาชนต้องมาก่อน ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติกว่าจะถึงวุฒิสภา เราไม่อยากอายกับวิธีการพิจารณา จึงต้องเล่นเกมการเมือง ตนเสนอทางออก ให้ถอนออกไป แต่รัฐบาลก็ไม่สง่าผ่าเผย วันนี้ต้องพูด และจะทำให้การพิจารณางบประมาณปี 53 ให้ราบรื่น ตามที่สภาอยากให้เป็น ซึ่งจะไม่วอล์กเอาต์แน่ ตนจะร่วมเป็น กมธ.งบประมาณด้วย เพียงอยากเห็นรายละเอียดโครงการของร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน
ต้องเดินหน้าแม้จะมีวอล์กเอาต์
นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงอีกครั้งว่า ฝ่ายค้านพูดเหมือนกล่าวหาว่ารัฐบาลตั้งเป้าผลักดัน 3 วาระ แต่ตนได้รับข้อเสนอว่า สามารถตั้ง กมธ.ศึกษาก่อนรับหลักการ เหมือนกฎหมายต้องไปพักใน กมธ. ไม่เป็นผลดีต่อการทำงานของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ แต่ถ้าจะมีการตั้ง กมธ.ขึ้นตรวจสอบนั้น ไม่ขัดข้อง แต่เมื่อร่วมพิจารณากันแล้ว ฝ่ายค้านเดินออกจากห้องประชุมก็จะต้องมาพิจารณา วันนั้นหากมีฝ่ายค้านเพียงคนเดียวลุกขึ้นเสนอขอให้ตั้ง กมธ.วิสามัญ คิดว่าไม่มีใครปฎิเสธ เมื่อฝ่ายค้านเดินออก รัฐบาลจำเป็นต้องเดินหน้าต่อไป
ด้านนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล ได้ชี้แจงเสริม การตัดสินใจพิจารณา 3 วาระรวด เพราะฝ่ายค้านปิดทางเลือก ทั้งที่รัฐบาลพร้อมเปิดทางในการตั้ง กมธ. แต่ฝ่ายค้านพูดมาตลอดว่า ถ้าไม่มีการถ่ายทอดสด ก็จะไม่ร่วมพิจารณา เมื่อมีการวอล์กเอาต์ ไม่ร่วมตั้ง กมธ. ก็ถือเป็นการปิดทางเลือก จึงจำเป็นต้องทำ เรามี 2 ทางเลือก ถ้าตั้ง กมธ.ฝ่ายเดียว อาจถูกกล่าวหา 2 มาตรฐาน จึงเลือตั้งกรรมาธิการเต็มสภา ซึ่งไม่อยากให้ฝ่ายค้านเอาเกมการเมืองมาเป็นตัวตั้ง
ไล่ "ชลน่าน" ออกนอกห้องประชุม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากถกเถียงกันพอสมควร นายชัย ตัดบทว่า วันนี้กำลังพิจารณางบประมาณปี 53 เรื่อง ดังพ.ร.บ.กู้เงิน ได้ผ่านไปแล้ว ขอให้ยุติกันได้แล้ว แต่นายวิทยา ได้ขอชี้แจงอีกครั้ง ยืนยันว่าเมื่อผ่าน 3 วาระรวด ก็อยากให้ส่งข้อมูลเอกสารให้ดู แต่นายชัย ย้ำและขอร้องให้เรื่องนี้ยุติ
ช่วงนี้ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นขอหารือ โดยอ้างว่าเป็นเรื่องเสียหายกับฝ่ายค้านและพยายามจะขอพูด แต่นายชัย ไม่ยอมโดยตัดบทอนุญาตให้นายปวีณ แซ่จึง ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย อภิปราย แต่ นพ.ชลน่าน ยังยืนประท้วง และพยายามจะชี้แจงให้ได้ โดยไม่ฟังคำสั่ง แม้ว่านายชัย จะสั่งให้นั่งลง
ในที่สุดนายชัย จึงสั่งให้ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เชิญนพ.ชลน่าน ออกนอกห้องประชุม เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปตามข้อบังคับ สร้างความไม่พอใจให้กับ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จนมีเสียงตะโกนบอกให้ ส.ส.ฝ่ายค้าน ลุกขึ้นพร้อมตะโกนท้าทายให้ รปภ. มาจับไปทั้งหมด
ขณะที่ นายไพจิตร ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ตะโกนว่า "ทำอย่างนี้ก็บ้าแล้ว สภาเสียหายกันไปใหญ่แล้ว ทำอย่างนี้มันลุแก่อำนาจชัดๆ" จนทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นเล็กน้อย ในที่สุดนายชัย ได้สั่งให้พัก การประชุม 3 นาที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงพักการประชุม นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ ส.ส.ปราจีนบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินเข้ามาตบไหล่ นพ.ชลน่าน ขอให้ใจเย็นๆ ขณะที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หลายคน นำโดยนายธนิตพล ชัยอนันต์ ส.ส.ตาก ในฐานะเลขานุการวิปรัฐบาล นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช และนายเชน เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ได้พยายามเดินเข้ามาหา นพ.ชลน่าน และกลุ่ม ส.ส.พรรคเพื่อไทย เพื่อทำความเข้าใจ ซึ่งช่วงหนึ่งนายเชน ได้เชิญให้นพ.ชลน่าน ออกไปเคลียร์กันนอกห้องประชุม แต่กลับถูกส.ส.พรรคเพื่อไทย ตะโกนกันห้ามไว้ ว่า “ให้อยู่นี่ก่อน จะออกไปทำไม”
จากนั้น ส.ส.พรรคเพื่อไทย พยายามดึงตัว และยืนล้อมนพ.ชลน่าน เอาไว้ พร้อมกับไล่เจ้าหน้าที่รปภ.ให้ออกไปจากห้องประชุม ทำให้เจ้าหน้าที่รปภ. ต้องออกไป ขณะที่ส.ส.ฝั่งรัฐบาลได้ยืนจับกลุ่มหารือกับ นายชินวรณ์ อย่างเคร่งเครียด จากนั้น นายเชน ได้นำผลการหารือกับนพ.ชลน่าน และสมาชิกพรรคเพื่อไทยไปแจ้งให้นายชัย ทราบ
ฝ่ายค้านขู่ยื่นตีความ พ.ร.บ.กู้
ในที่สุด นายชัย ได้เปิดประชุมอีกครั้งโดยกล่าว่า " ขณะนี้ทุกฝ่าย เปิดโอกาสให้นพ.ชลน่าน ได้อภิปรายอย่างเต็มที่ เป็นเวลา 10 นาที โดย นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ข้อกล่าวหาว่า ฝ่ายค้านไม่ร่วมตั้งกมธ. เพราะไม่พอใจการบริหารงบประมาณปี 52 ที่กระจายไม่ทั่วถึงนั้น ไม่เป็นความจริง แต่ข้อเท็จจริงคือ ฝ่ายค้านต้องการรายละเอียดของโครงการตามร่าง พ.ร.บ.นี้
ทั้งนี้ การกู้เงิน กู้ได้ แต่การจ่ายเงิน เอาอำนาจอะไรไปจ่าย เพราะระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 23 ให้อำนาจขอเงิน แต่รัฐบาลกลับใช้อำนาจเอาไปจ่ายเงิน ทำได้หรือ เป็นการซ่อนเร้น ขอฟ้องไปยังวุฒิสภาด้วย และจะร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญด้วย
นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ส่วนเรื่องงบอุดหนุนท้องถิ่น เงินออก 5 พันกว่าล้านบาท จาก 1.2 หมื่นล้าน ที่มีสมาชิกท้วงว่ากระจายไม่ทั่วถึง เป็นจริง สามารถดูเอกสารได้ และสงสัยว่า ทำไมคณะกรรมการกระจายอำนาจฯจึงกำหนดเกณฑ์หลังจากงบประมาณผ่านสภา และส่วนท้องถิ่นยังไปตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจมากลั่นกรองโครงการ จึงอาจขัดรัฐธรรมนูญ ละเมิดอำนาจของกมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 52
นายกรัฐมนตรี ชี้แจงอีกครั้ง โดยย้ำว่า รัฐบาลมีเจตนาให้ตั้ง กมธ.เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน เพื่อให้ฝ่ายค้านเข้ามาตรวจสอบ แต่ฝ่ายค้านไม่ตั้ง และชี้แจงต่อสภาเองว่า ไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะใช้เงินกู้ไปตามเจตนารมณ์หรือไม่ โดยยกตัวอย่างงบปี 52 ที่กระจายไม่ทั่วถึง ขณะที่รัฐบาลมีเจตนาเปิดให้เข้ามาตรวจสอบ ฉะนั้น มากล่าวหารัฐบาลไม่ได้ เพราะสภาต้องทำให้กระบวนการกฎหมายเดินไปได้ ส่วนเรื่องงบท้องถิ่น หลักเกณฑ์ทั้งหมดเกิดก่อนที่ตนจะมาเป็นนายกฯ อย่างไรก็ดี จะไปตรวจสอบให้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น นายชัย ได้ให้สมาชิกอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 ต่อไป
มั่นใจวุฒิสภาผ่าน พ.ร.บ.กู้เงิน
ทั้งนี้ ก่อนการประชุมสภาในช่วงเช้า นายอภิสิทธิ์ ได้ให้สัมภาษณ์ถึง กรณีที่มีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)ตั้งข้อสังเกตการผ่านร่าง พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ จำนวน 4 แสนล้านบาท 3 วาระรวด เป็นการเกี้ยเซียะกันระหว่างฝ่ายค้านกับรัฐบาลว่า ไม่มีเรื่องนี้ แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายค้านพูดคุยกันในคณะกรรมการประสานงาน (วิป) ว่ามีปัญหาบางอย่างที่ตกลงกันไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องของคณะกรรมาธิการ ฝ่ายค้านจึงตัดสินใจไม่ร่วม ดังนั้นรัฐบาลไม่มีทางเลือกจึงเดินหน้าต่อไป โดยใช้คณะกรรมาธิการเต็มสภา
เมื่อถามว่ามี ส.ว.บางคนขู่ว่าจะไม่ปล่อยให้ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวผ่านไปได้ง่าย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในขั้นตอนของวุฒิสภาก็เป็นไปตามปกติ แต่ไม่แน่ใจว่าจะสามารถเข้าสู่การพิจารณาในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ได้ทันหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่ทันจะไปพิจารณาในการประชุมสภาสมัยปกติ และเมื่อเข้าสู่การพิจารณามีการตั้งคณะกรรมาธิการ จะมีเวลาในชั้นของกรรมาธิการ ซึ่งรัฐบาลไม่มีข้อขัดข้องใดๆ แต่ไม่คิดว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะสะดุดในชั้นของวุฒิสภา เพราะจะมีกระบวนการกรอบการพิจารณาอย่างชัดเจน ซึ่งตนมั่นใจว่าจะผ่านการพิจารณาของวุฒิสภา เพราะเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. ที่ผ่านมา นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้ชี้แจงกับคณะกรรมาธิการ และคณะทำงานของ ส.ว.ที่ทำงานเรื่องนี้อยู่
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่นายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ระบุว่า ได้พบกับนายกฯ เพื่อต่อรองให้มีการกระจายงบท้องถิ่นให้ทั่วถึง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายวิทยาได้พูดถึงงบประมาณปี 52 โดยระบุว่า ในส่วนของงบส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีปัญหาในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ฝ่ายค้านเป็นส.ส.อยู่ ซึ่งตนก็ได้พูดคุยกับ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย หลายครั้งว่า ขอให้ดูให้เรียบร้อยว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้น ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งก็ต้องผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองที่ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย และคณะกรรมการกระจายอำนาจ ซึ่ง ตนจะประชุมคณะกรรมการกระจายอำนาจในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ก็จะสอบถามว่าปัญหาขณะนี้ คืออะไร
ต่อข้อถามว่า นายวิทยา ระบุด้วยว่านายกฯไม่มีอำนาจ และทำอะไรไม่ได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย ที่อยู่ภายใต้สังกัดพรรคภูมิใจไทย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่อำนาจของตนอยู่แล้ว เพราะเป็นเรื่องที่ท้องถิ่น ซึ่งต้องจัดทำงบประมาณขอผ่านมาทางจังหวัด โดยมีคณะกรรมการกลั่นกรองอนุมัติโดยมีหลักเกณฑ์ชัดเจน ถ้าการของบประมาณตรงกับหลักเกณฑ์ ก็จะอนุมัติไป แต่ถ้าไม่ตรง จะต้องขอให้ตนในฐานะประธานคณะกรรมการกระจายอำนาจเป็นผู้ยกเว้น ซึ่งปัจจุบันการขอยกเว้นในงวดแรกจากการสอบถามคณะกรรมการกระจายอำนาจว่า มีปัญหาอะไรหรือไม่นั้น ก็ได้รับการยืนยันกลับมาว่า ไม่มีปัญหาอะไร เรื่องก็ผ่านไป แต่งวดที่ 2 ยังไม่ผ่าน ก็จะนำเข้าสู่ที่ประชุมในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ซึ่งงวดที่ 2 ที่มีปัญหายังไม่ผ่าน เท่าที่ตนดูในตัวจังหวัดแล้ว ก็ไม่ใช่พื้นที่ของฝ่ายค้าน
"ฝ่ายค้านบอกว่า การบริหารงบประมาณปี 52 ในส่วนของ อปท.ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกรรมาธิการงบประมาณ ฝ่ายค้านจึงบอกว่าไม่ไว้ใจการใช้เงินกู้ และการใช้งบประมาณในปีต่อไป จึงประท้วงด้วยการไม่ตั้งกรรมาธิการขึ้นมาร่วมด้วย ไม่ใช่เป็นการมาต่อรองว่าจะต้องได้เงินเท่าไร ผมจึงบอกว่าเรื่องนี้ถ้ามีปัญหาว่า งบตรงไหนไม่โปร่งใส ก็อภิปรายในสภาได้ เพราะผมไม่สามารถทราบรายละเอียดในทุกพื้นที่ได้ ผมได้แนะนำถึงปัญหาระหว่างกระทรวงมหาดไทย กับส.ส.ฝ่ายค้านว่า ขอให้พูดคุยกัน เพราะกระทรวงมหาดไทยยืนยันกับผมว่า งบประมาณที่กระจายลงไปนั้น ไปในทุกพื้นที่ เพียงแต่บางพื้นที่อาจมีปัญหาว่าโครงการตรงกันหรือไม่" นายอภิสิทธิ์กล่าว
เชื่อวุฒิต้องตีกลับมาตั้ง กมธ.ร่วม
นายวิทยา บูรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ให้สัมภาษณ์ถึงข่าวที่ว่า ตนเข้าเจรจาลับกับนายกรัฐมนตรี เมื่อค่ำวันที่ 16 มิ.ย. เพื่อขอรับจัดสรรงบของ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมทางหลวงชนบทให้กับพื้นที่ของส.ส. พรรคเพื่อไทย ก่อนจะเกิดเหตุวอล์กเอาต์ว่า ไม่เคยพูดอย่างนั้น เพียงแต่ตำหนิ เรื่องที่บอกว่าทุกเรื่องให้ส.ส.ไปพบนายกฯ โดยเฉพาะกฎหมายงบประมาณ ที่ออกเป็น พ.ร.บ.แล้ว มีการแก้ไข เรื่องนี้ทำไมไม่ไปถามนายกฯ ตนไม่เคยพูดว่าไปต่อรองเรื่องงบประมาณ สื่อไปพาดหัวหน้า 1 ได้อย่างไร ตนเพียงแจ้งปัญหาให้นายกฯ ทราบว่า เมื่อ พ.ร.บ.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท ผ่านสภาแล้ว แล้วการแปรญัตติเต็มสภานั้นเป็นอย่างไร เพราะยังไม่มีรายละเอียดอะไรเลย แล้วถ้าไปถึงชั้นวุฒิสภา จะพิจารณากันอย่างไร เป็นเรื่องตลกมากที่คน 200 กว่าคน ต้องพิจารณาอะไรก็ไม่รู้ที่ไม่มีรายละเอียด เพราะมันยังทำไม่เสร็จ กฎหมายงบประมาณที่ผ่านสภา โดยกมธ.เต็มสภา เป็นเรื่องตลก
ส่วนที่ นายอภิสิทธิ์ ระบุว่าเหตุที่ต้องตั้งกมธ.เต็มสภา เพราะไม่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายค้านที่วอล์กเอาต์ นั้น นายวิทยา กล่าวว่า ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย นายกฯพูดอย่างนั้นยิ่งต้องตำหนิ ในฐานะเป็นผู้บริหาร ทำอย่างนั้นไม่ได้ เมื่อถามว่า ปัญหาคือฝ่ายค้านไม่ร่วมมือเอง นายวิทยา กล่าวด้วยน้ำเสียงมีอารมณ์ว่า
"ผมเสนอให้ตั้งกมธ.ไง แต่ให้พิจารณาก่อนรับหลักการ ฟังแล้ว งงไหม ทีหลังผมจะจัดสัมนาให้นักข่าวสักวัน วันนี้มันเป็นเรื่องมาโทษฝ่ายค้าน จริงๆ เราต้องการทำให้ถูกต้อง เพราะที่แล้วมาออกเป็น พ.ร.บ.แล้ว วันนี้ยังมีมาแก้ไขกันอยู่ แต่ครั้งนี้คงมีปัญหา เพราะเพิ่งจะปล่อยเงินออกไป"
"เรื่องนี้ผมยืนยันว่า มันต้องกลับมาสภาอีกรอบก็แล้วกัน เพราะไปชั้นวุฒิสภา ก็แก้ไขไม่ได้ ผลสุดท้ายมันก็ต้องมาตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันในสภาผู้แทนฯอีก ไม่เชื่อลองถามนักกฎหมายประชาธิปัตย์ดู เพราะหลักการไม่ชอบ คือมีการตั้ง กมธ.เต็มสภา แต่ไม่มีใครพูดอะไรเลย ไม่มีการแก้ไขอะไรเลย ผ่านรวดเดียว 3 วาระ เอกสารรายละเอียดก็ไม่มี เป็นครั้งแรกที่ทำกันแบบนี้ ทำให้รู้ว่า บัดนี้ฝ่ายนิติบัญญัติที่เสียงข้างมากลากไปมันมีปัญหาจริงๆ ผมไม่อยากพูดมาก ให้ความผิดมันสำเร็จก่อน แล้วผมจะพูด แล้วจะพิสูจน์ให้เห็นว่า สุดท้ายต้องกลับมาแก้กันอีก" นายวิทยากล่าว
เมื่อถามว่ารัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เคยทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ แบบมีการตั้ง กมธ.เต็มสภา นายวิทยา กล่าวว่า คนละอย่างกัน เพราะนั่นมีรายละเอียดให้
ส.ว.ส่วนใหญ่ยังข้องใจพ.ร.บ.กู้เงิน
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การที่นายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า มั่นใจว่า ส.ว.จะอนุมัติทั้ง พ.ร.ก. และ พ.ร.บ. กู้เงิน 8 แสนล้านบาท ก็เป็นความคิดของนายกฯ แต่สำหรับนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง และ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) พบว่า ยังมีปัญหาอีกค่อนข้างมากที่ทั้ง 2 คนไม่สามารถตอบคำถามของ ส.ว.ได้ เชื่อว่าการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ ขอให้ติดตามอย่างใกล้ชิด เชื่อว่า ส.ว.จะไต่ถามข้อข้องใจ และแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างกว้างขวาง แต่จะอนุมัติหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคน แต่ตนเชื่อว่า ทุกคนจะตัดสินใจอย่างสมศักดิ์ศรีในฐานะที่เป็นสภากลั่นกรอง โดยจะเป็นการตัดสินใจที่ไม่มีวาระซ่อนเร้น และไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ จากการสอบถามกันเองพบว่า ส.ว.ส่วนใหญ่ หลายกลุ่ม ไม่เห็นด้วยที่จะผ่านงบประมาณจำนวน 1.5 ล้านล้านบาท ภายใน 3 ปี ที่เป็นเงินนอกงบประมาณ ซึ่งระบบการตรวจสอบในเรื่องการจัดทำโครงการ มีความยืดหยุ่นมากเกินไปจนอาจจะเป็นอันตรายได้ ทั้งนี้หากมองว่าทั้ง นายอภิสิทธิ์ และนายกรณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริต แต่ไม่มีหลักประกันใดเลยว่า ท่านจะอยู่จนสิ้นสุดนโยบายไทยเข้มแข็งจนกระทั่งปี 2555 รวมถึงไม่มีหลักประกันใดเช่นกันว่ารัฐบาลที่จะเข้ามาหลังการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า ซึ่งอาจจะเป็นพรรคภูมิใจไทย หรือพรรคอื่นๆ จะเป็นรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล
"ถ้ารัฐบาลชุดนี้อยู่ไม่ถึงปี 2555 ก็จะเท่ากับว่า รัฐบาลชุดใหม่ที่เข้ามาก็จะสามารถกรอกตัวเลขในเช็คเปล่า ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ทำไว้ให้ได้เลย เหมือนเป็นการหาเงินไว้ให้เขาใช้ ผมอยากบอกว่า ข่าวคราวการต่อรองงบประมาณของสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาล รวมถึงพรรคฝ่ายค้านสร้างความไม่สบายให้กับส.ว.มาก" นายคำนูณกล่าวและ ยืนยันว่า ส.ว.ไม่ได้คัดค้านร่าง กม. ทั้ง 2 ฉบับ เพราะแม้จะคว่ำไป ก็ไม่ได้มีผลกับรัฐบาลอยู่แล้ว แต่ ส.ว. อยากให้รัฐบาลได้ข้อคิด เพื่อที่จะได้กลับไปทำให้ถูกต้อง หรือไปสร้างกลไกควบคุมต่างๆ เพื่อไม่ให้มีการใช้งบประมาณเกินความจำเป็น ซึ่งเราเห็นว่ารัฐบาลควรใช้เงินนอกงบประมาณเพียง 2 แสนล้านบาท เพื่อปิดหีบประมาณเท่านั้น ส่วนที่เหลือขอให้มีการใช้จ่ายเป็นกฎหมายงบประมาณตามปกติ.