ASTV ผู้จัดการายวัน – ศาลอาญา ไฟเขียวขยายเวลาอัยการคดีพิเศษ 1 สืบหาทรัพย์สิน “ทีพีไอโพลีน” จ่ายค่าปรับในคดีปั่นหุ้นจำนวน 6.9 พันล้าน ถึง 21 ธ.ค. 52 นี้ ระบุต้องรอประสานงานขอเอกสารจากศาลอุทธรณ์ก่อน
วานนี้ (11 มิ.ย.) ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ได้นัดพร้อมคดีสืบหาทรัพย์สินบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPL เพื่อชำระค่าปรับในคดีหมายเลขดำที่ อ.9377/2549 จากกรณีที่ศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ
บมจ.ทีพีไอ จำเลยที่ 2 และนายเชียรช่วง กัลยาณมิตร กรรมการบริหาร บริษัท สเติร์น สจ๊วต (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน จำเลยที่ 4 คนละ 3 ปี ที่กระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ในการเผยแพร่ข้อมูลนอกเหนือจากที่ได้แจ้งไว้ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสั่งปรับบมจ.ทีพีไอโพลีน จำเลยที่ 1 และ บริษัท สเติร์น สจ๊วต (ประเทศไทย) จำกัด จำเลยที่ 3 รายละ 6,900,300,000 บาท
ก่อนหน้านี้ศาลไต่สวนเพื่อสืบหาทรัพย์สินแล้ว เนื่องจาก บมจ.ทีพีไอ อ้างว่า ไม่มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะชำระค่าปรับ และนายประชัย ได้ยื่นอุทธรณ์ให้ศาลระงับการบังคับคดีชำระค่าปรับไว้ก่อน เนื่องคดียังอยู่ระหว่างอุทธรณ์และไม่ถึงที่สุด แต่ศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งยกคำร้องการของดบังคับคดี เนื่องจากเห็นว่าการบังคับคดี เป็นหน้าที่ของศาลอาญา ซึ่งเป็นศาลชั้นต้น เป็นคนละส่วนการต่อสู้คดีในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ ดังนั้นศาลอาญา จึงมีคำสั่งให้ยุติการไต่สวนสืบหาทรัพย์สิน และให้ฟังผลความคืบหน้าการบังคับคดี บมจ.ทีพีไอในวันนี้
อย่างไรก็ดี นายชัยณรงค์ แสงทองอร่าม อัยการผู้เชี่ยวชาญฝ่ายคดีพิเศษ 1 โจทก์ กล่าวว่า การนัดพร้อมเพื่อฟังคำสั่ง ที่ตนขอให้ศาลอนุญาตขยายเวลาสืบหาทรัพย์สิน บมจ.ทีพีไอ ซึ่งภายหลังที่ศาลอาญา มีคำบังคับให้ บมจ.ทีพีไอโพลีน นำเงิน 6.9 พันล้านบาทมาชำระค่าปรับ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ดำเนินการตรวจสอบหาทรัพย์สินของ มจ. ทีพีไอโพลีน ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในสำนวนคดีปั่นหุ้นของศาลอาญา แต่ยังไม่ได้รายละเอียดทรัพย์สิน เนื่องจากคดีนี้นายประชัย กับพวกยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ทำให้สำนวนคดีไปอยู่ที่ศาลอุทธรณ์ จึงต้องรอเจ้าหน้าที่ศาลอาญาประสานขอตรวจสอบสำนวนกับทางศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลได้อนุญาตให้ขยายเวลาถึงวันที่ 21 ธ.ค.นี้
ส่วนการชำระค่าปรับของ บมจ.สเติร์น ฯ นั้น นายชัยณรงค์ กล่าวว่า ตามขั้นตอนกฎหมายอัยการจะต้องยื่นคำร้องขอบังคับคดีกับบมจ. สเติร์นฯ เหมือนที่ทำกับบมจ. ทีพีไอโพลีน ซึ่งจะดำเนินการหลังจากนี้ โดยเบื้องต้นตรวจสอบหลักฐาน พบว่าบริษัทแห่งนี้ยังเปิดกิจการอยู่ หากไม่นำเงินมาชำระก็จะต้องดำเนินการสืบหาทรัพย์สินเพื่อยึดมาชำระหนี้ต่อไป
วานนี้ (11 มิ.ย.) ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ได้นัดพร้อมคดีสืบหาทรัพย์สินบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPL เพื่อชำระค่าปรับในคดีหมายเลขดำที่ อ.9377/2549 จากกรณีที่ศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ
บมจ.ทีพีไอ จำเลยที่ 2 และนายเชียรช่วง กัลยาณมิตร กรรมการบริหาร บริษัท สเติร์น สจ๊วต (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน จำเลยที่ 4 คนละ 3 ปี ที่กระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ในการเผยแพร่ข้อมูลนอกเหนือจากที่ได้แจ้งไว้ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสั่งปรับบมจ.ทีพีไอโพลีน จำเลยที่ 1 และ บริษัท สเติร์น สจ๊วต (ประเทศไทย) จำกัด จำเลยที่ 3 รายละ 6,900,300,000 บาท
ก่อนหน้านี้ศาลไต่สวนเพื่อสืบหาทรัพย์สินแล้ว เนื่องจาก บมจ.ทีพีไอ อ้างว่า ไม่มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะชำระค่าปรับ และนายประชัย ได้ยื่นอุทธรณ์ให้ศาลระงับการบังคับคดีชำระค่าปรับไว้ก่อน เนื่องคดียังอยู่ระหว่างอุทธรณ์และไม่ถึงที่สุด แต่ศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งยกคำร้องการของดบังคับคดี เนื่องจากเห็นว่าการบังคับคดี เป็นหน้าที่ของศาลอาญา ซึ่งเป็นศาลชั้นต้น เป็นคนละส่วนการต่อสู้คดีในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ ดังนั้นศาลอาญา จึงมีคำสั่งให้ยุติการไต่สวนสืบหาทรัพย์สิน และให้ฟังผลความคืบหน้าการบังคับคดี บมจ.ทีพีไอในวันนี้
อย่างไรก็ดี นายชัยณรงค์ แสงทองอร่าม อัยการผู้เชี่ยวชาญฝ่ายคดีพิเศษ 1 โจทก์ กล่าวว่า การนัดพร้อมเพื่อฟังคำสั่ง ที่ตนขอให้ศาลอนุญาตขยายเวลาสืบหาทรัพย์สิน บมจ.ทีพีไอ ซึ่งภายหลังที่ศาลอาญา มีคำบังคับให้ บมจ.ทีพีไอโพลีน นำเงิน 6.9 พันล้านบาทมาชำระค่าปรับ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ดำเนินการตรวจสอบหาทรัพย์สินของ มจ. ทีพีไอโพลีน ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในสำนวนคดีปั่นหุ้นของศาลอาญา แต่ยังไม่ได้รายละเอียดทรัพย์สิน เนื่องจากคดีนี้นายประชัย กับพวกยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ทำให้สำนวนคดีไปอยู่ที่ศาลอุทธรณ์ จึงต้องรอเจ้าหน้าที่ศาลอาญาประสานขอตรวจสอบสำนวนกับทางศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลได้อนุญาตให้ขยายเวลาถึงวันที่ 21 ธ.ค.นี้
ส่วนการชำระค่าปรับของ บมจ.สเติร์น ฯ นั้น นายชัยณรงค์ กล่าวว่า ตามขั้นตอนกฎหมายอัยการจะต้องยื่นคำร้องขอบังคับคดีกับบมจ. สเติร์นฯ เหมือนที่ทำกับบมจ. ทีพีไอโพลีน ซึ่งจะดำเนินการหลังจากนี้ โดยเบื้องต้นตรวจสอบหลักฐาน พบว่าบริษัทแห่งนี้ยังเปิดกิจการอยู่ หากไม่นำเงินมาชำระก็จะต้องดำเนินการสืบหาทรัพย์สินเพื่อยึดมาชำระหนี้ต่อไป