ASTV ผู้จัดการรายวัน - ศาลอุทธรณ์ ยกคำร้อง “ประชัย เลี่ยวไพรัตน์” จำเลยคดีปั่นหุ้น “ทีพีไอโพลีน” หลังร้องขอศาลระงับบังคับคดีจ่ายค่าปรับจำนวนกว่า 6.9 พันล้านบาท ระบุต้องร้องต่อศาลชั้นต้นผู้มีอำนาจเอง แถมสั่งให้นัดมาฟังผลการบังคับคดีทีพีไอ 11 มิ.ย.นี้ พร้อมจี้เจ้าหน้าที่เร่งดำเนินการบังคับคดีกับจำเลยร่วม “สเติร์นฯ” ภายใน 5 วัน
วานนี้ (22 ม.ค.) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ในคดีบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPL, นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ, บริษัท สเติร์น สจ๊วต ประเทศไทย จำกัด และนายเชียรช่วง กัลยาณมิตร ผู้เชี่ยวชาญการประเมินมูลค่าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทสเติร์นฯ เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดต่อ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในลักษณะปั่นหุ้นบมจ.ทีพีไอโพลีน จนทำให้เศรษฐกิจของประเทศเสียหาย โดยจำเลยได้ร้องขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งระงับการบังคับคดีไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา
ทั้งนี้ ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาจำคุกนายประชัย และนายเชียรช่วง คนละ 3 ปีโดยไม่รอลงอาญา และปรับเงินบมจ.ทีพีไอโพลีน และบริษัท สเติร์นฯ บริษัทละ 6,900 ล้านบาท
สำหรับคำร้องอุทธรณ์ครั้งนี้ สื่บเนื่องจากนายประชัย จำเลยที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์สรุปว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษ และปรับเป็นจำนวนเงิน 6.9 พันล้านบาท จำเลยทั้ง 4 อุทธรณ์ ส่วนจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอุทธรณ์ด้วยว่า จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทมหาชนจำกัดจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบธุรกิจผลิตภัณฑ์จำหน่ายปูนซีเมนต์ มีผู้ถือหุ้นมากกว่าหมื่นราย ขณะนี้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ฟื้นฟูกิจการ โดยมีภาระหนี้ต้องชำระให้เจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน เป็นจำนวนกว่า 7 พันล้านบาท และมีพนักงานลูกจ้างอีกกว่า 5 พันคน
ทั้งนี้ หากจำเลยที่ 1 ถูกอายัดทรัพย์ในขณะคดียังไม่ถึงที่สุดจะทำให้เกิดความเสียหายต่อจำเลยที่ 1 ผู้ถือหุ้น และลูกจ้างของจำเลยที่ 1 รวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อบังคับจำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับโดยไม่รอให้คดีถึงที่สุดเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 245 และรัฐธรรมนูญ มาตรา 39, 197
ประกอบกับจำเลยที่ 1 อุทธรณ์เฉพาะในส่วนของค่าปรับ ไม่ได้อุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิด ฉะนั้น ไม่ว่าจะอุทธรณ์หรือฎีกาอย่างไร จำเลยที่ 1 ก็ยังมีความผิดตามฟ้อง และต้องชำระเงินค่าปรับแน่นอน คดียังไม่เป็นที่ยุติตามฟ้องการบังคับคดีตามคำพิพากษาจะกระทำได้ต่อเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วขอศาลอุทธรณ์ได้โปรดมีคำสั่งแจ้งให้ศาลชั้นต้น งดการไต่สวนสืบหาทรัพย์สิน และงดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คำร้องของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอให้งดการบังคับคดีเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่ง จำเลยที่ 1 ต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาว่าจะงบการบังคับคดีหรือไม่ ดังนั้นศาลอุทธรณ์จึงมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 1
พร้อมกันนี้ หลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลอาญาได้มีคำสั่งว่า ข้อเท็จจริงที่ได้จากการไต่สวนที่ผ่านมาเพียงพอในการสืบหาทรัพย์ของบมจ. ทีพีไอโพลีน จำเลยที่ 1 เพื่อบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับนั้น ศาลเห็นได้ได้ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนเพียงพอแล้ว จึงให้ยุติการไต่สวนสืบหาทรัพย์ โดยให้นัดพร้อมเพื่อสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ต่อไปในวันที่ 11 มิ.ย.นี้ เวลา 09.00 น.
ส่วนบริษัทสเติร์น สจ๊วต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ 3 เนื่องจากศาลมีคำสั่งให้ออกคำบังคับคดีกับจำเลยที่ 3 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ศาล ยังไม่ดำเนินการตามคำสั่ง จึงให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการโดยด่วนภายใน 5 วัน
วานนี้ (22 ม.ค.) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ในคดีบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPL, นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ, บริษัท สเติร์น สจ๊วต ประเทศไทย จำกัด และนายเชียรช่วง กัลยาณมิตร ผู้เชี่ยวชาญการประเมินมูลค่าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทสเติร์นฯ เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดต่อ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในลักษณะปั่นหุ้นบมจ.ทีพีไอโพลีน จนทำให้เศรษฐกิจของประเทศเสียหาย โดยจำเลยได้ร้องขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งระงับการบังคับคดีไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา
ทั้งนี้ ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาจำคุกนายประชัย และนายเชียรช่วง คนละ 3 ปีโดยไม่รอลงอาญา และปรับเงินบมจ.ทีพีไอโพลีน และบริษัท สเติร์นฯ บริษัทละ 6,900 ล้านบาท
สำหรับคำร้องอุทธรณ์ครั้งนี้ สื่บเนื่องจากนายประชัย จำเลยที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์สรุปว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษ และปรับเป็นจำนวนเงิน 6.9 พันล้านบาท จำเลยทั้ง 4 อุทธรณ์ ส่วนจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอุทธรณ์ด้วยว่า จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทมหาชนจำกัดจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบธุรกิจผลิตภัณฑ์จำหน่ายปูนซีเมนต์ มีผู้ถือหุ้นมากกว่าหมื่นราย ขณะนี้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ฟื้นฟูกิจการ โดยมีภาระหนี้ต้องชำระให้เจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน เป็นจำนวนกว่า 7 พันล้านบาท และมีพนักงานลูกจ้างอีกกว่า 5 พันคน
ทั้งนี้ หากจำเลยที่ 1 ถูกอายัดทรัพย์ในขณะคดียังไม่ถึงที่สุดจะทำให้เกิดความเสียหายต่อจำเลยที่ 1 ผู้ถือหุ้น และลูกจ้างของจำเลยที่ 1 รวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อบังคับจำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับโดยไม่รอให้คดีถึงที่สุดเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 245 และรัฐธรรมนูญ มาตรา 39, 197
ประกอบกับจำเลยที่ 1 อุทธรณ์เฉพาะในส่วนของค่าปรับ ไม่ได้อุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิด ฉะนั้น ไม่ว่าจะอุทธรณ์หรือฎีกาอย่างไร จำเลยที่ 1 ก็ยังมีความผิดตามฟ้อง และต้องชำระเงินค่าปรับแน่นอน คดียังไม่เป็นที่ยุติตามฟ้องการบังคับคดีตามคำพิพากษาจะกระทำได้ต่อเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วขอศาลอุทธรณ์ได้โปรดมีคำสั่งแจ้งให้ศาลชั้นต้น งดการไต่สวนสืบหาทรัพย์สิน และงดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คำร้องของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอให้งดการบังคับคดีเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่ง จำเลยที่ 1 ต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาว่าจะงบการบังคับคดีหรือไม่ ดังนั้นศาลอุทธรณ์จึงมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 1
พร้อมกันนี้ หลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลอาญาได้มีคำสั่งว่า ข้อเท็จจริงที่ได้จากการไต่สวนที่ผ่านมาเพียงพอในการสืบหาทรัพย์ของบมจ. ทีพีไอโพลีน จำเลยที่ 1 เพื่อบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับนั้น ศาลเห็นได้ได้ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนเพียงพอแล้ว จึงให้ยุติการไต่สวนสืบหาทรัพย์ โดยให้นัดพร้อมเพื่อสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ต่อไปในวันที่ 11 มิ.ย.นี้ เวลา 09.00 น.
ส่วนบริษัทสเติร์น สจ๊วต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ 3 เนื่องจากศาลมีคำสั่งให้ออกคำบังคับคดีกับจำเลยที่ 3 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ศาล ยังไม่ดำเนินการตามคำสั่ง จึงให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการโดยด่วนภายใน 5 วัน