การประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ วานนี้(10มิ.ย.) มีนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.สรรหา เป็นประธาน ได้มีการพิจารณาประเด็นที่มาของส.ส. โดยที่ประชุมมีความเห็นออกเป็น 2 ฝ่ายโดยกรรมการฯซีกรัฐบาล ต้องการให้ใช้ระบบเลือกตั้งแบบรวมเขตเรียงเบอร์ และระบบสัดส่วน ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อลดการเผชิญหน้า และลดปัญหาความรุนแรงช่วงหาเสียงเลือกตั้ง เนื่องจากประชาชนสามารถเลือกส.ส.ต่างพรรคผสมกันได้
ขณะที่กรรมการฯฝั่งพรรคเพื่อไทย ต้องการให้กลับไปใช้แบบระบบเขตเดียวเบอร์เดียว และระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2540 โดยให้เหตุผลว่า เป็นการเลือกตั้งที่ทำให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง
โดยนายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ถ้าเราต้องการความสมานฉันท์ต้องไม่เอาระบบเขตเดียว เบอร์เดียว เพราะจะเป็นการสร้างการเผชิญหน้า และไม่มีวันที่จะสร้างความสมานฉันท์ แต่ถ้าเป็นระบบรวมเขต เรียงเบอร์จะสร้างความประนีประนอมมากกว่า โดยที่ประชาชนในเขตนั้นอาจจะเลือกส.ส.ต่างพรรคผสมกันก็ได้ แบบนี้จะสร้างความสมาฉันท์ และลดการเผชิญหน้ามากกว่า
ทั้งนี้หลังจากที่กรรมการได้แสดงความเห็นในประเด็นดังกล่าวกว่า 2 ชั่วโมง นายดิเรก ได้สรุปความเห็นว่า กรรมการฯ ส่วนใหญ่ให้น้ำหนัก ในเรื่องที่มาของ ส.ส.ว่าควรที่จะเปลี่ยนไปใช้แบบรัฐธรรมนูญปี 2540 คือระบบเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว และระบบบัญชีรายชื่อ
**ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
สำหรับเรื่องระบบ ส.ว. นั้น พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา ประธานคณะอนุกรรมการฯ รายงานว่า ในการพิจารณา เสียงส่วนใหญ่เห็นว่า ควรให้ ส.ว.มาจากเลือกตั้งทั้งหมดจำนวน 200 คน แต่อีกส่วนเห็นว่าให้คงรูปแบบตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ทั้งนี้ การกำหนดให้ ส.ว.มีที่มาจากการเลือกตั้งสอดคล้องกับหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะยึดโยงกับประชาชน ส่วน ส.ว.สรรหา มาจากกรรมการสรรหา 7 คน แต่มีอำนาจสรรหาเท่ากับอำนาจของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งไม่เหมาะสม และในจำนวนกรรมการสรรหา 3 คนใน 7 คนนั้นมาจากศาล จึงเสมือนเป็นการนำองค์กรตุลาการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง
นอกจากนี้ ต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ของส.ว.ให้ชัดเจนก่อนแล้วจึงกำหนดที่มาของส.ว. เพราะอาจกลายเป็นการกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่มากเกินความเป็นวุฒิสภา เช่น การมีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือ ส.ส.ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน
หลังจากที่ประชุมได้อภิปรายกันกว่า 2 ชั่วโมง นาย ดิเรก สรุปว่าให้แก้ไขที่มา ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด มีจำนวน 200 คน โดยใช้เขตจังหวัด มีอำนาจหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย และตรวจสอบ รวมถึงแต่งตั้ง ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และระบุ เป็นข้อสังเกตด้วยว่า อาจให้ตัดบทเฉพาะกาล เรื่องวาระการดำรงตำแหน่งของ ส.ว.สรรหา ที่ระบุว่า วาระแรก ให้อยู่ 3 ปี ทิ้ง เพื่อให้ส.ว.สรรหาชุดแรก อยู่ได้ถึง 6 ปี อย่างไรก็ดี นาย ประยุทธ ศิริพานิชย์ นายคณิน บุญสุวรรณ กรรมการจากสัดส่วนพรรคเพื่อไทย ทักท้วงว่า ก่อนหน้านี้มีข่าว คณะกรรมการสมานฉันท์ฯล็อบบี้ส.ว.สรรหา ให้สนับสนันแก้รัฐธรรมนูญ แลกกลับการให้ส.ว.สรรหาอยู่ 6 ปี ฉะนั้นหากไปแตะ เป็นเรื่องใหญ่แน่
ด้านพล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า คณะกรรมการชุดนี้ ไม่ได้มีหน้าที่แก้รัฐธรรมนูญ แต่เป็นหน้าที่ที่คณะกรรมการชุดใดๆที่ต่อไปอาจมีการตั้งขึ้นมาเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เป็นผู้พิจารณา ฉะนั้นข้อสังเกตเรื่องวาระของส.ว.สรรหา ก็น่าจะระบุไว้ได้ อย่างไรก็ดี นายดิเรก กล่าวสรุปว่า ให้ตัดข้อสังเกตเรื่องวาระของส.ว.สรรหา ทิ้ง เพื่อไม่ให้เป็นข้อครหา
**จวกแก้รธน.เพื่อนักเลือกตั้ง
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ สรุปผลการศึกษาออกมาแล้ว 6 ประเด็น ว่าล้วน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ส่วนตัวของนักการเมืองทั้งสิ้น ไม่มีประเด็นใดที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประชาชนเลย
โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ซึ่งเป็นโทษจากการทุจริตเลือกตั้ง ว่าด้วยการยุบพรรค และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของ กก.บริหารพรรคนั้นๆ ที่มีข้อสรุปให้แก้ไขโดยการยกเลิกโทษการยุบพรรค และให้เป็นแค่ความผิดเฉพาะตัวของผู้สมัครที่ทุจริต โดย กก.บริหารพรรคไม่ต้องรับโทษใดๆนั้น ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง เพราะในความเป็นจริง กก.บริหารพรรคจะต้องรับผิดชอบสูงกว่าสมาชิกพรรค หรือผู้สมัครส.ส. เพราะการทุจริตการเลือกตั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ มันเป็นผลประโยชน์ของพรรคการเมือง และกก.บริหารพรรคการเมืองนั้นๆโดยตรง จึงเห็นว่า มาตรานี้ ควรแก้ไขเพียงแค่ยกเว้นโทษการยุบพรรคการเมืองไปเท่านั้น แต่ยังให้คงโทษตัดสิทธิทางการเมืองกับ กก.บริหารพรรค เป็นเวลา 5 ปี
สำหรับกก.บริหารพรรคที่มีส่วนรู้เห็น และกระทำความผิดทุจริตเลือกตั้ง ต้องตัดสิทธิ 10 ปี เพื่อให้เข็ดหลาบ และหมดอนาคตท่างการเมืองไปเลย ดังนั้นจึงขอเรียกร้องไปยังคณะกรรมการสมานฉันท์ฯว่า ควรเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนด้วย พร้อมทั้งควรศึกษาประเด็นที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราที่เกี่ยวข้องกับสิทธิผลประโยชน์ของประชาชนด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะถูกสังคมครหาว่า เป็นเรื่องของนักการเมืองที่แก้ไขกฏหมายเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองเท่านั้น
ขณะที่กรรมการฯฝั่งพรรคเพื่อไทย ต้องการให้กลับไปใช้แบบระบบเขตเดียวเบอร์เดียว และระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2540 โดยให้เหตุผลว่า เป็นการเลือกตั้งที่ทำให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง
โดยนายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ถ้าเราต้องการความสมานฉันท์ต้องไม่เอาระบบเขตเดียว เบอร์เดียว เพราะจะเป็นการสร้างการเผชิญหน้า และไม่มีวันที่จะสร้างความสมานฉันท์ แต่ถ้าเป็นระบบรวมเขต เรียงเบอร์จะสร้างความประนีประนอมมากกว่า โดยที่ประชาชนในเขตนั้นอาจจะเลือกส.ส.ต่างพรรคผสมกันก็ได้ แบบนี้จะสร้างความสมาฉันท์ และลดการเผชิญหน้ามากกว่า
ทั้งนี้หลังจากที่กรรมการได้แสดงความเห็นในประเด็นดังกล่าวกว่า 2 ชั่วโมง นายดิเรก ได้สรุปความเห็นว่า กรรมการฯ ส่วนใหญ่ให้น้ำหนัก ในเรื่องที่มาของ ส.ส.ว่าควรที่จะเปลี่ยนไปใช้แบบรัฐธรรมนูญปี 2540 คือระบบเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว และระบบบัญชีรายชื่อ
**ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
สำหรับเรื่องระบบ ส.ว. นั้น พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา ประธานคณะอนุกรรมการฯ รายงานว่า ในการพิจารณา เสียงส่วนใหญ่เห็นว่า ควรให้ ส.ว.มาจากเลือกตั้งทั้งหมดจำนวน 200 คน แต่อีกส่วนเห็นว่าให้คงรูปแบบตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ทั้งนี้ การกำหนดให้ ส.ว.มีที่มาจากการเลือกตั้งสอดคล้องกับหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะยึดโยงกับประชาชน ส่วน ส.ว.สรรหา มาจากกรรมการสรรหา 7 คน แต่มีอำนาจสรรหาเท่ากับอำนาจของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งไม่เหมาะสม และในจำนวนกรรมการสรรหา 3 คนใน 7 คนนั้นมาจากศาล จึงเสมือนเป็นการนำองค์กรตุลาการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง
นอกจากนี้ ต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ของส.ว.ให้ชัดเจนก่อนแล้วจึงกำหนดที่มาของส.ว. เพราะอาจกลายเป็นการกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่มากเกินความเป็นวุฒิสภา เช่น การมีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือ ส.ส.ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน
หลังจากที่ประชุมได้อภิปรายกันกว่า 2 ชั่วโมง นาย ดิเรก สรุปว่าให้แก้ไขที่มา ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด มีจำนวน 200 คน โดยใช้เขตจังหวัด มีอำนาจหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย และตรวจสอบ รวมถึงแต่งตั้ง ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และระบุ เป็นข้อสังเกตด้วยว่า อาจให้ตัดบทเฉพาะกาล เรื่องวาระการดำรงตำแหน่งของ ส.ว.สรรหา ที่ระบุว่า วาระแรก ให้อยู่ 3 ปี ทิ้ง เพื่อให้ส.ว.สรรหาชุดแรก อยู่ได้ถึง 6 ปี อย่างไรก็ดี นาย ประยุทธ ศิริพานิชย์ นายคณิน บุญสุวรรณ กรรมการจากสัดส่วนพรรคเพื่อไทย ทักท้วงว่า ก่อนหน้านี้มีข่าว คณะกรรมการสมานฉันท์ฯล็อบบี้ส.ว.สรรหา ให้สนับสนันแก้รัฐธรรมนูญ แลกกลับการให้ส.ว.สรรหาอยู่ 6 ปี ฉะนั้นหากไปแตะ เป็นเรื่องใหญ่แน่
ด้านพล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า คณะกรรมการชุดนี้ ไม่ได้มีหน้าที่แก้รัฐธรรมนูญ แต่เป็นหน้าที่ที่คณะกรรมการชุดใดๆที่ต่อไปอาจมีการตั้งขึ้นมาเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เป็นผู้พิจารณา ฉะนั้นข้อสังเกตเรื่องวาระของส.ว.สรรหา ก็น่าจะระบุไว้ได้ อย่างไรก็ดี นายดิเรก กล่าวสรุปว่า ให้ตัดข้อสังเกตเรื่องวาระของส.ว.สรรหา ทิ้ง เพื่อไม่ให้เป็นข้อครหา
**จวกแก้รธน.เพื่อนักเลือกตั้ง
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ สรุปผลการศึกษาออกมาแล้ว 6 ประเด็น ว่าล้วน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ส่วนตัวของนักการเมืองทั้งสิ้น ไม่มีประเด็นใดที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประชาชนเลย
โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ซึ่งเป็นโทษจากการทุจริตเลือกตั้ง ว่าด้วยการยุบพรรค และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของ กก.บริหารพรรคนั้นๆ ที่มีข้อสรุปให้แก้ไขโดยการยกเลิกโทษการยุบพรรค และให้เป็นแค่ความผิดเฉพาะตัวของผู้สมัครที่ทุจริต โดย กก.บริหารพรรคไม่ต้องรับโทษใดๆนั้น ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง เพราะในความเป็นจริง กก.บริหารพรรคจะต้องรับผิดชอบสูงกว่าสมาชิกพรรค หรือผู้สมัครส.ส. เพราะการทุจริตการเลือกตั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ มันเป็นผลประโยชน์ของพรรคการเมือง และกก.บริหารพรรคการเมืองนั้นๆโดยตรง จึงเห็นว่า มาตรานี้ ควรแก้ไขเพียงแค่ยกเว้นโทษการยุบพรรคการเมืองไปเท่านั้น แต่ยังให้คงโทษตัดสิทธิทางการเมืองกับ กก.บริหารพรรค เป็นเวลา 5 ปี
สำหรับกก.บริหารพรรคที่มีส่วนรู้เห็น และกระทำความผิดทุจริตเลือกตั้ง ต้องตัดสิทธิ 10 ปี เพื่อให้เข็ดหลาบ และหมดอนาคตท่างการเมืองไปเลย ดังนั้นจึงขอเรียกร้องไปยังคณะกรรมการสมานฉันท์ฯว่า ควรเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนด้วย พร้อมทั้งควรศึกษาประเด็นที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราที่เกี่ยวข้องกับสิทธิผลประโยชน์ของประชาชนด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะถูกสังคมครหาว่า เป็นเรื่องของนักการเมืองที่แก้ไขกฏหมายเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองเท่านั้น