คณะกรรมการสภาพัฒน์ที่รับ “เผือกร้อน” ถูกมอบหมายจาก ครม.เมื่อสัปดาห์ก่อนให้ศึกษาโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวีใหม่ 4,000 คันเพื่อเสนอผลการศึกษากลับมาให้ครม.ตัดสินใจภายใน 1 เดือนได้เริ่มทำงานของพวกท่านไปบ้างแล้วเมื่อวันจันทร์ (8 มิ.ย.)
นั่นหมายความว่า จากนี้ไปราวๆ 20 กว่าวันเศษ หากไม่มีปัจจัยแทรกซ้อน สาธารณะหรือประชาชนอย่างเราๆ ก็จะได้รับคำตอบว่า ตกลงโครงการรถเมล์ใหม่ที่ยังไม่ทันวิ่งก็พลิกคว่ำพลิกหงายมาหลายตลบจะมีทิศทางไปทางไหน
เมื่อสภาพัฒน์มีคำตอบให้รัฐบาล ขั้นตอนจากนั้น ครม.ก็จะพิจารณาเพื่อตัดสินใจต่อไป
ก่อนจะไปถึงตรงนั้น...
มองดูความเคลื่อนไหวของฝ่ายผลักดันโครงการ คือ พรรคภูมิใจไทย และ ผู้บริหารของ ขสมก.เหมือนจะตัดสินใจแน่นอนแล้วว่า ไม่ว่าใครจะวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร ไม่ว่าผลการศึกษาสภาพัฒน์จะออกมาอย่างไรขอยืนกรานหัวชนฝา ดับเครื่องชนว่า “ เช่าดีกว่าซื้อ”
มิหนำซ้ำเปิดเกมรุกเต็มที่! สั่งให้ ขสมก.เจ้าของโครงการรถเมล์หุ้มทองฝังเพชรนี้ ทั้งๆ ที่ขาดทุนบักโกรกจ่ายเงินไม่น้อยเลยซื้อพื้นที่โฆษณา 2 หน้าเต็มๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์บางฉบับสำทับ ไม่นับรวมถึงคัตเอาต์ต่างๆ ที่จะขึ้นมาทั่วกรุงเพื่อโน้มน้าวข้อดีที่ว่า “ทำไมต้องเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน” โดยเน้นขีดเส้นใต้ที่คำว่า “เช่า” ตามที่พรรคภูมิใจไทยย้ำมาต่อเนื่อง
ขณะที่ข้างฝ่ายคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรียังอยู่ในลักษณะตั้งรับ ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา ทุกคำที่พูดดูเหมือนจะยึดมั่นในหลักการเดิมของเขาคือ ขอรอเวลาให้สภาพัฒน์มีผลการศึกษาออกมาก่อน
น่าสนใจว่า ศึกรถเมล์ทองคำนับจากนี้จะเป็นอย่างไรอีก
โดยเฉพาะเวลากว่า 1 เดือน สำหรับเกมการเมืองแล้วถือว่ามีเวลามากพอที่เงื่อนไขหลายอย่างสามารถพลิกผันได้
พรรคภูมิใจไทยรู้ คุณอภิสิทธิ์ก็รู้ แต่...ไม่ว่าเกมจะดำเนินไปอย่างไรก็น่าจะเบาใจได้ระดับหนึ่งว่า คุณอภิสิทธิ์ ที่จะเป็นด่านสุดท้ายรู้ว่านี่เป็นการตัดสินใจโดยมีความหวังและศรัทธาของประชาชนเป็นเดิมพัน!
ทั้งนี้ จากบทสัมภาษณ์ที่มีต่อ “น้องแอ้ม” สโรชา พรอุดมศักดิ์ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” คุณอภิสิทธิ์ได้พูดแล้วว่า....
“การชะลอโครงการต่างๆ อาจจะกระทบความสัมพันธ์พรรคร่วมบ้าง แต่อย่าใช้ประโยชน์ทางการเมืองเป็นเครื่องตัดสิน ไม่ได้คำนึงว่าข้อเสนอของพรรคไหน แต่ขอให้ยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง อย่าให้เกิดข้อกังขา ไม่เช่นนั้นรัฐบาลจะบริหารบ้านเมืองไม่ได้”
จากตรงนี้คุณอภิสิทธิ์ก็คงรู้อีกเช่นกันว่า ทุกๆ คนที่เสียภาษีย่อมหวังว่า โครงการรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันจะไม่ใช่การบริหารจัดการเอาเงินภาษีประชาชน 64,000 ล้านบาทไปละเลงโดยไม่คุ้มค่าเหมือนในอดีตที่เคยเกิดขึ้นกับหลายๆ โครงการของรัฐ
บางคนก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะเป็นโครงการตัวอย่างที่สะท้อนภาวะผู้นำของนายกฯ ในการเอาใจใส่ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนมากกว่าคำนึงถึงผลประโยชน์ของพรรคร่วมรัฐบาลที่เป็นประเพณีอันชั่วช้าของนักการเมืองน้ำเน่ามานานแสนนาน
นายกฯ ไม่สัญญาก็เหมือนสัญญาว่า จะไม่ทำให้ประชาชนผิดหวัง!
นอกจากนี้ คุณอภิสิทธิ์จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ในบทสัมภาษณ์คราเดียวกันนี้ของท่านยังสื่อความออกมาเป็นเชิงลักษณะผูกมัดให้คนรับฟังแอบหวังลึกๆ ว่า นายกฯ ของพวกเขาจะเลือกทำในสิ่งที่ดีที่สุด
“ประเด็นปัญหาเรื่องจะเช่า จะซื้อ หรือจะเช่าซื้อ จะต้องกู้หรือจะออกพันธบัตร หรือทำองค์กรพิเศษนี้ คือ มันล้วนแล้วแต่เป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งสิ้น และแต่ละทางเลือกก็มีจุดแข็ง จุดอ่อนที่แตกต่างกันไป…เราให้คณะกรรมการสภาพัฒน์ไปดู 1 เดือน ทางเลือกทั้งหมดผมว่าจะมีเวลาในการจะมาไล่เพื่อที่จะเปรียบเทียบ และหาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประชาชน” นายกฯ กล่าวตอบคำถามของพิธีกรสาวจากค่าย “ASTV ผู้จัดการ” ในวันนั้น
อะไรคือ สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประชาชน อีกไม่นานจะได้ทราบกัน!
อย่างไรก็ดี เมื่อนายกฯ ให้สัญญา และเห็นว่า ปัญหาของ ขสมก.ยังมีทางเลือกอื่น ทางเลือกที่ดีที่สุดที่ไม่ใช่จะจำกัดอยู่แค่จะเช่า จะซื้อ หรือจะเช่าซื้อรถเมล์ใหม่มาแทนรถเก่าทั้งหมด 4,000 คันเท่านั้น
สำหรับเวลาที่เหลืออยู่...
ภาระหนักจึงอยู่ที่บ่าของคณะกรรมการสภาพัฒน์อย่างช่วยไม่ได้
แม้จะน่าเป็นห่วงช่วงเวลาที่ศึกษานั้นสั้น คณะกรรมการสภาพัฒน์จะสามารถมีข้อมูลมาให้ ครม.ได้มากน้อยเพียงใด แต่หากเสนอได้ ผมอยากจะเห็นสภาพัฒน์ศึกษาพิจารณาปัญหาของ ขสมก.แบบการมองภาพรวมปัญหา ขสมก.ทั้งหมด
ขสมก.ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ก็ขาดทุนแล้วจนสะสมมาถึงปัจจุบัน ปัจจัยอะไรไหนบ้างที่ทำให้ ขสมก.ขาดทุน ภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของสภาพเศรษฐกิจและสังคมส่งผลกระทบอย่างไรต่อองค์กรแห่งนี้ รัฐบาลแต่ละยุคแต่ละสมัยก็มีความพยายามที่จะแก้แต่ทำไมยังล้มเหลว?
เชื่อว่าหากได้ผลการศึกษาเหล่านี้รวมกับที่สภาพัฒน์ศึกษาในประเด็นอื่นๆ แล้วรัฐบาลลงประกาศหรือทำประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้อ่าน ได้วิพากษ์วิจารณ์จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย
ขั้นตอนอาจจะเสียเวลามากกว่า 1 เดือนตามที่นายกฯ กำหนดก็ไม่เห็นจะเสียหาย เพื่อจะช่วยรัฐบาลตัดสินใจไม่ผิดพลาดว่า จะต้องทำอย่างไรกับ ขสมก.มันคุ้มค่ามิใช่หรือ?
อย่างน้อยๆ ก็คุ้มกว่าเงินของ ขสมก.ควักจ่ายลงโฆษณารับใช้นักการเมืองเจ้าของโครงการตัวจริงแน่นอน
โฆษณาที่นอกจากจะไม่ได้ผล ยังเผยให้เห็นถึงอาการลงแดงของนักการเมือง
ทำไมหรือ ไม่ได้ ‘เช่า’ รถเมล์ ขสมก.แล้วจะเป็นจะตาย?
นั่นหมายความว่า จากนี้ไปราวๆ 20 กว่าวันเศษ หากไม่มีปัจจัยแทรกซ้อน สาธารณะหรือประชาชนอย่างเราๆ ก็จะได้รับคำตอบว่า ตกลงโครงการรถเมล์ใหม่ที่ยังไม่ทันวิ่งก็พลิกคว่ำพลิกหงายมาหลายตลบจะมีทิศทางไปทางไหน
เมื่อสภาพัฒน์มีคำตอบให้รัฐบาล ขั้นตอนจากนั้น ครม.ก็จะพิจารณาเพื่อตัดสินใจต่อไป
ก่อนจะไปถึงตรงนั้น...
มองดูความเคลื่อนไหวของฝ่ายผลักดันโครงการ คือ พรรคภูมิใจไทย และ ผู้บริหารของ ขสมก.เหมือนจะตัดสินใจแน่นอนแล้วว่า ไม่ว่าใครจะวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร ไม่ว่าผลการศึกษาสภาพัฒน์จะออกมาอย่างไรขอยืนกรานหัวชนฝา ดับเครื่องชนว่า “ เช่าดีกว่าซื้อ”
มิหนำซ้ำเปิดเกมรุกเต็มที่! สั่งให้ ขสมก.เจ้าของโครงการรถเมล์หุ้มทองฝังเพชรนี้ ทั้งๆ ที่ขาดทุนบักโกรกจ่ายเงินไม่น้อยเลยซื้อพื้นที่โฆษณา 2 หน้าเต็มๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์บางฉบับสำทับ ไม่นับรวมถึงคัตเอาต์ต่างๆ ที่จะขึ้นมาทั่วกรุงเพื่อโน้มน้าวข้อดีที่ว่า “ทำไมต้องเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน” โดยเน้นขีดเส้นใต้ที่คำว่า “เช่า” ตามที่พรรคภูมิใจไทยย้ำมาต่อเนื่อง
ขณะที่ข้างฝ่ายคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรียังอยู่ในลักษณะตั้งรับ ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา ทุกคำที่พูดดูเหมือนจะยึดมั่นในหลักการเดิมของเขาคือ ขอรอเวลาให้สภาพัฒน์มีผลการศึกษาออกมาก่อน
น่าสนใจว่า ศึกรถเมล์ทองคำนับจากนี้จะเป็นอย่างไรอีก
โดยเฉพาะเวลากว่า 1 เดือน สำหรับเกมการเมืองแล้วถือว่ามีเวลามากพอที่เงื่อนไขหลายอย่างสามารถพลิกผันได้
พรรคภูมิใจไทยรู้ คุณอภิสิทธิ์ก็รู้ แต่...ไม่ว่าเกมจะดำเนินไปอย่างไรก็น่าจะเบาใจได้ระดับหนึ่งว่า คุณอภิสิทธิ์ ที่จะเป็นด่านสุดท้ายรู้ว่านี่เป็นการตัดสินใจโดยมีความหวังและศรัทธาของประชาชนเป็นเดิมพัน!
ทั้งนี้ จากบทสัมภาษณ์ที่มีต่อ “น้องแอ้ม” สโรชา พรอุดมศักดิ์ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” คุณอภิสิทธิ์ได้พูดแล้วว่า....
“การชะลอโครงการต่างๆ อาจจะกระทบความสัมพันธ์พรรคร่วมบ้าง แต่อย่าใช้ประโยชน์ทางการเมืองเป็นเครื่องตัดสิน ไม่ได้คำนึงว่าข้อเสนอของพรรคไหน แต่ขอให้ยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง อย่าให้เกิดข้อกังขา ไม่เช่นนั้นรัฐบาลจะบริหารบ้านเมืองไม่ได้”
จากตรงนี้คุณอภิสิทธิ์ก็คงรู้อีกเช่นกันว่า ทุกๆ คนที่เสียภาษีย่อมหวังว่า โครงการรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันจะไม่ใช่การบริหารจัดการเอาเงินภาษีประชาชน 64,000 ล้านบาทไปละเลงโดยไม่คุ้มค่าเหมือนในอดีตที่เคยเกิดขึ้นกับหลายๆ โครงการของรัฐ
บางคนก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะเป็นโครงการตัวอย่างที่สะท้อนภาวะผู้นำของนายกฯ ในการเอาใจใส่ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนมากกว่าคำนึงถึงผลประโยชน์ของพรรคร่วมรัฐบาลที่เป็นประเพณีอันชั่วช้าของนักการเมืองน้ำเน่ามานานแสนนาน
นายกฯ ไม่สัญญาก็เหมือนสัญญาว่า จะไม่ทำให้ประชาชนผิดหวัง!
นอกจากนี้ คุณอภิสิทธิ์จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ในบทสัมภาษณ์คราเดียวกันนี้ของท่านยังสื่อความออกมาเป็นเชิงลักษณะผูกมัดให้คนรับฟังแอบหวังลึกๆ ว่า นายกฯ ของพวกเขาจะเลือกทำในสิ่งที่ดีที่สุด
“ประเด็นปัญหาเรื่องจะเช่า จะซื้อ หรือจะเช่าซื้อ จะต้องกู้หรือจะออกพันธบัตร หรือทำองค์กรพิเศษนี้ คือ มันล้วนแล้วแต่เป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งสิ้น และแต่ละทางเลือกก็มีจุดแข็ง จุดอ่อนที่แตกต่างกันไป…เราให้คณะกรรมการสภาพัฒน์ไปดู 1 เดือน ทางเลือกทั้งหมดผมว่าจะมีเวลาในการจะมาไล่เพื่อที่จะเปรียบเทียบ และหาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประชาชน” นายกฯ กล่าวตอบคำถามของพิธีกรสาวจากค่าย “ASTV ผู้จัดการ” ในวันนั้น
อะไรคือ สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประชาชน อีกไม่นานจะได้ทราบกัน!
อย่างไรก็ดี เมื่อนายกฯ ให้สัญญา และเห็นว่า ปัญหาของ ขสมก.ยังมีทางเลือกอื่น ทางเลือกที่ดีที่สุดที่ไม่ใช่จะจำกัดอยู่แค่จะเช่า จะซื้อ หรือจะเช่าซื้อรถเมล์ใหม่มาแทนรถเก่าทั้งหมด 4,000 คันเท่านั้น
สำหรับเวลาที่เหลืออยู่...
ภาระหนักจึงอยู่ที่บ่าของคณะกรรมการสภาพัฒน์อย่างช่วยไม่ได้
แม้จะน่าเป็นห่วงช่วงเวลาที่ศึกษานั้นสั้น คณะกรรมการสภาพัฒน์จะสามารถมีข้อมูลมาให้ ครม.ได้มากน้อยเพียงใด แต่หากเสนอได้ ผมอยากจะเห็นสภาพัฒน์ศึกษาพิจารณาปัญหาของ ขสมก.แบบการมองภาพรวมปัญหา ขสมก.ทั้งหมด
ขสมก.ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ก็ขาดทุนแล้วจนสะสมมาถึงปัจจุบัน ปัจจัยอะไรไหนบ้างที่ทำให้ ขสมก.ขาดทุน ภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของสภาพเศรษฐกิจและสังคมส่งผลกระทบอย่างไรต่อองค์กรแห่งนี้ รัฐบาลแต่ละยุคแต่ละสมัยก็มีความพยายามที่จะแก้แต่ทำไมยังล้มเหลว?
เชื่อว่าหากได้ผลการศึกษาเหล่านี้รวมกับที่สภาพัฒน์ศึกษาในประเด็นอื่นๆ แล้วรัฐบาลลงประกาศหรือทำประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้อ่าน ได้วิพากษ์วิจารณ์จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย
ขั้นตอนอาจจะเสียเวลามากกว่า 1 เดือนตามที่นายกฯ กำหนดก็ไม่เห็นจะเสียหาย เพื่อจะช่วยรัฐบาลตัดสินใจไม่ผิดพลาดว่า จะต้องทำอย่างไรกับ ขสมก.มันคุ้มค่ามิใช่หรือ?
อย่างน้อยๆ ก็คุ้มกว่าเงินของ ขสมก.ควักจ่ายลงโฆษณารับใช้นักการเมืองเจ้าของโครงการตัวจริงแน่นอน
โฆษณาที่นอกจากจะไม่ได้ผล ยังเผยให้เห็นถึงอาการลงแดงของนักการเมือง
ทำไมหรือ ไม่ได้ ‘เช่า’ รถเมล์ ขสมก.แล้วจะเป็นจะตาย?