ASTVผู้จัดการรายวัน - รัฐบาลหนี้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ธ.ก.ส.เผยล่าสุดหนี้สินจากการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรกรมีภาระทั้งสิ้น 2 แสนล้านบาท เป็นหนี้สะสมของ ธ.ก.ส.เกือบแสนล้าน จี้เร่งขายข้าวนำเงินชำระหนี้ พร้อมเดินหน้าประกันราคาข้าวเชื่อช่วยลดภาระของรัฐบาลในอนาคตได้อย่างมาก พาณิชย์แฉตัวเลขขาดทุนจำนำสินค้าเกษตรล่าสุด 4 หมื่นล้าน
นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รักษาการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลมีภาระจากการการดำเนินโยบายแทรกแซงสินค้าเกษตรแล้วกว่า 1.7 แสนล้านบาท ประกอบด้วยหนี้ ธ.ก.ส. 1 แสนล้านบาท เดิม 7 หมื่นล้านบาท ล่าสุด 2.3 หมื่นล้านบาท ใช้รับจำนำข้าวเปลือกนาปรังเพิ่มเติม 2 ล้านตัน
ส่วนอีก 1.1 แสนล้านบาท เป็นหนี้ธนาคาร 4 แห่งที่กู้มาใช้รับจำนำข้าวและข้าวโพด ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสินอย่างละ 4 หมื่นล้านบาท และธนาคารทหารไทยและนครหลวงไทยอีกอย่างละ 1.5 หมื่นล้านบาท ขณะนี้เบิกจ่ายมาแล้วประมาณ 1 แสนล้านบาท เหลืออีกประมาณ 1 หมื่นล้านบาท สำรองไว้ใช้ในการแทรกแซงราคายางและปาล์มที่ขณะนี้ยังไม่เริ่มดำเนินโครงการ
“ภาระหนี้สินในส่วนของการกู้เงินจาก 4 แบงก์ล่าสุดกระทรวงการคลังเจรจาต่อรองขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงจาก 4.95% ลงเหลือเพียง 1.98% ในช่วงเวลาที่เหลือตามสัญญาเงินกู้ 1 ปี 6 เดือน มีเพียงนครหลวงไทยเท่านั้นที่ลดให้เพียง 2.5% ซึ่งสูงกว่าอีก 3 แบงก์ที่เหลือจึงจะกู้เงินจากสถาบันการเงินอื่นเพื่อรีไฟแนนซ์ในส่วนนี้ต่อไป ซึ่งจะช่วยให้ภาระลดลงอย่างมาก” นายเอ็นนูกล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนของการใช้เงินรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังเพิ่มเติม 2.3 หมื่นล้านบาทนั้น จะใช้เงินของ ธ.ก.ส.เองและจะไม่กระทบกับสภาพคล่องของธนาคาร โดยเห็นว่ารัฐบาลมีความจำเป็นต้องรับจำนำเพิ่มนื่องจากมีข้าวออกมาสู่ตลาดจำนวนมากจริง แต่คงต้องดูแลในส่วนของการเก็บสต๊อกข้าวเข้ามาด้วยว่ามีโกดังรองรับเพียงพอหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้ยังมีข้าวเก่าที่ไม่ได้ระบายออกไป จึงอยากให้รัฐบาลเร่งระบายข้าวเก่าเพราะหากเก็บไว้นานจะเสื่อคุณภาพและส่วนหนึ่งจะได้นำเงินจากการขายข้วมาใช้หนี้คืนธนาคารและหนี้ส่วนอื่นๆ ด้วย
“ที่ผ่านมาจะมีการระบายข้าวในสต็อกปีต่อปี เพื่อจะได้ทราบผลกำไรขาดทุนและปิดบัญชีได้แต่ในช่วง 2-3 ปีมานี้แทบจะไม่ได้ระบายข้าวอกอไปทำให้หนี้สินสะสมเรื่อยๆ เข้าใจว่ารัฐบาลเองก็อยากขายข้าวออกไปแต่อาจติดปัญหาเรื่องราคารับซื้อที่สูงมากกว่าราคาที่ขายมากจนทำให้มีผลขาดทุน จึงไม่ค่อยกล้าตัดสินใจ รวมถึงเรื่องประเด็นความโปร่งใสที่ถูกจับตาอย่างมากด้วย”นายเอ็นนูกล่าว
นายเอ็นนูกล่าวว่า การที่ปริมาณข้าวออกมาจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเกษตรกรเร่งผลผลิต โดยใช้ข้าวพันธ์ใหม่ที่ใช้เวลาเก็บเกี่ยวเพียง 75 วันเพื่อจำได้นำเข้าวเข้าโครงการจำนำ เนื่องจากมีราคา 120% ของราคาตลาด จึงเกรงข้าวจะมีคุณภาพลดลงและเสียพันธ์ที่ดีไป แต่เข้าใจว่าการรับจำนำข้าวยังจำเป็นต้องมีต่อไปแม้ขณะนี้รัฐบาลจะริเริ่มการใช้รูปแบบของการประกันราคาแทน ซึ่งจะเริ่มเดือน ก.ค.-ธ.ค.ปีนี้เป็นการนำร่องใน 8 จังหวัด กำหนดเป้าหมายจำนวนข้าวหอมมะลิ 2 แสนตัน โดยให้เกษตรกรเข้าโครงการด้วยความสมัครใจและรับประกันต่อคนที่ 10 ตัน และเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจปิดจะเปลี่ยนเชื่อจากประกันราคาขั้นต่ำเป็น การสร้างหลักประกันความเสี่ยงด้านราคาแทน
“จากการหารือกับสมาคมโรงสียืนยันว่าโรงสีที่ดีพร้อมเข้าร่วมโครงการและจะดูแลป้องกันการฮั้วราคากันได้ โดยคาดว่าในสัปดาห์หน้าจะได้ข้อสรุปเรื่องราคาขั้นต่ำที่ประกัน ซึ่งตามหลักการจำมีราคาสูงกว่ารับจำนำ 1-1.5 พันบาท เพื่อเป็นการจูงใจเข้าโครงการ และจะได้ข้อสรุปว่าราคารับซื้อจะให้ส่วนกลางหรือคณะกรรมการระดับจังหวัดเป็นผู้กำกหด ซึ่งอาจมีราคาแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่หรือเท่าเทียมกันก็ได้คงต้องรอดูข้อเสนอก่อน โดยการนำร่องโครงการเพื่อดูกระแสตอบรับของเกษตรกรและจังหวัดอื่นๆ ก่อนจะขยายไปสู่ข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเหนียวต่อไป ซึ่งอาจใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีกว่าระบบประกันราคาจะเข้ามาแทนการจำนำ แต่เชื่อว่าภาระของรัฐบาลจะค่อยๆ ลดลงจากการจ่ายเฉพาะส่วนต่างของราคาข้าว”
***เแฉจำนำสินค้าเกษตรส่อเจ๊ง 4 หมื่นล้าน
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า ผลจากการรับจำนำสินค้าเกษตรของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา ทั้งข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพด ในราคาสูงกว่าราคาตลาดมากจนเกินไป ทำให้รัฐบาลมีแนวโน้มขาดทุนเกือบ 4 หมื่นล้าน ประกอบด้วยการรับจำนำข้าว 1.4 หมื่นล้านบาท (รวมโควตารับจำนำที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่เพิ่มอีก 2 ล้านตัน) มันสำปะหลัง 2 หมื่นล้านบาท ข้าวโพด 5 พันล้านบาท ล่าสุดรัฐบาลตัดสินใจรับจำนำกุ้ง 2.5 หมื่นตัน อาจจะทำให้ขาดทุนอีก 800 ล้านบาท.
นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รักษาการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลมีภาระจากการการดำเนินโยบายแทรกแซงสินค้าเกษตรแล้วกว่า 1.7 แสนล้านบาท ประกอบด้วยหนี้ ธ.ก.ส. 1 แสนล้านบาท เดิม 7 หมื่นล้านบาท ล่าสุด 2.3 หมื่นล้านบาท ใช้รับจำนำข้าวเปลือกนาปรังเพิ่มเติม 2 ล้านตัน
ส่วนอีก 1.1 แสนล้านบาท เป็นหนี้ธนาคาร 4 แห่งที่กู้มาใช้รับจำนำข้าวและข้าวโพด ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสินอย่างละ 4 หมื่นล้านบาท และธนาคารทหารไทยและนครหลวงไทยอีกอย่างละ 1.5 หมื่นล้านบาท ขณะนี้เบิกจ่ายมาแล้วประมาณ 1 แสนล้านบาท เหลืออีกประมาณ 1 หมื่นล้านบาท สำรองไว้ใช้ในการแทรกแซงราคายางและปาล์มที่ขณะนี้ยังไม่เริ่มดำเนินโครงการ
“ภาระหนี้สินในส่วนของการกู้เงินจาก 4 แบงก์ล่าสุดกระทรวงการคลังเจรจาต่อรองขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงจาก 4.95% ลงเหลือเพียง 1.98% ในช่วงเวลาที่เหลือตามสัญญาเงินกู้ 1 ปี 6 เดือน มีเพียงนครหลวงไทยเท่านั้นที่ลดให้เพียง 2.5% ซึ่งสูงกว่าอีก 3 แบงก์ที่เหลือจึงจะกู้เงินจากสถาบันการเงินอื่นเพื่อรีไฟแนนซ์ในส่วนนี้ต่อไป ซึ่งจะช่วยให้ภาระลดลงอย่างมาก” นายเอ็นนูกล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนของการใช้เงินรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังเพิ่มเติม 2.3 หมื่นล้านบาทนั้น จะใช้เงินของ ธ.ก.ส.เองและจะไม่กระทบกับสภาพคล่องของธนาคาร โดยเห็นว่ารัฐบาลมีความจำเป็นต้องรับจำนำเพิ่มนื่องจากมีข้าวออกมาสู่ตลาดจำนวนมากจริง แต่คงต้องดูแลในส่วนของการเก็บสต๊อกข้าวเข้ามาด้วยว่ามีโกดังรองรับเพียงพอหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้ยังมีข้าวเก่าที่ไม่ได้ระบายออกไป จึงอยากให้รัฐบาลเร่งระบายข้าวเก่าเพราะหากเก็บไว้นานจะเสื่อคุณภาพและส่วนหนึ่งจะได้นำเงินจากการขายข้วมาใช้หนี้คืนธนาคารและหนี้ส่วนอื่นๆ ด้วย
“ที่ผ่านมาจะมีการระบายข้าวในสต็อกปีต่อปี เพื่อจะได้ทราบผลกำไรขาดทุนและปิดบัญชีได้แต่ในช่วง 2-3 ปีมานี้แทบจะไม่ได้ระบายข้าวอกอไปทำให้หนี้สินสะสมเรื่อยๆ เข้าใจว่ารัฐบาลเองก็อยากขายข้าวออกไปแต่อาจติดปัญหาเรื่องราคารับซื้อที่สูงมากกว่าราคาที่ขายมากจนทำให้มีผลขาดทุน จึงไม่ค่อยกล้าตัดสินใจ รวมถึงเรื่องประเด็นความโปร่งใสที่ถูกจับตาอย่างมากด้วย”นายเอ็นนูกล่าว
นายเอ็นนูกล่าวว่า การที่ปริมาณข้าวออกมาจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเกษตรกรเร่งผลผลิต โดยใช้ข้าวพันธ์ใหม่ที่ใช้เวลาเก็บเกี่ยวเพียง 75 วันเพื่อจำได้นำเข้าวเข้าโครงการจำนำ เนื่องจากมีราคา 120% ของราคาตลาด จึงเกรงข้าวจะมีคุณภาพลดลงและเสียพันธ์ที่ดีไป แต่เข้าใจว่าการรับจำนำข้าวยังจำเป็นต้องมีต่อไปแม้ขณะนี้รัฐบาลจะริเริ่มการใช้รูปแบบของการประกันราคาแทน ซึ่งจะเริ่มเดือน ก.ค.-ธ.ค.ปีนี้เป็นการนำร่องใน 8 จังหวัด กำหนดเป้าหมายจำนวนข้าวหอมมะลิ 2 แสนตัน โดยให้เกษตรกรเข้าโครงการด้วยความสมัครใจและรับประกันต่อคนที่ 10 ตัน และเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจปิดจะเปลี่ยนเชื่อจากประกันราคาขั้นต่ำเป็น การสร้างหลักประกันความเสี่ยงด้านราคาแทน
“จากการหารือกับสมาคมโรงสียืนยันว่าโรงสีที่ดีพร้อมเข้าร่วมโครงการและจะดูแลป้องกันการฮั้วราคากันได้ โดยคาดว่าในสัปดาห์หน้าจะได้ข้อสรุปเรื่องราคาขั้นต่ำที่ประกัน ซึ่งตามหลักการจำมีราคาสูงกว่ารับจำนำ 1-1.5 พันบาท เพื่อเป็นการจูงใจเข้าโครงการ และจะได้ข้อสรุปว่าราคารับซื้อจะให้ส่วนกลางหรือคณะกรรมการระดับจังหวัดเป็นผู้กำกหด ซึ่งอาจมีราคาแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่หรือเท่าเทียมกันก็ได้คงต้องรอดูข้อเสนอก่อน โดยการนำร่องโครงการเพื่อดูกระแสตอบรับของเกษตรกรและจังหวัดอื่นๆ ก่อนจะขยายไปสู่ข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเหนียวต่อไป ซึ่งอาจใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีกว่าระบบประกันราคาจะเข้ามาแทนการจำนำ แต่เชื่อว่าภาระของรัฐบาลจะค่อยๆ ลดลงจากการจ่ายเฉพาะส่วนต่างของราคาข้าว”
***เแฉจำนำสินค้าเกษตรส่อเจ๊ง 4 หมื่นล้าน
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า ผลจากการรับจำนำสินค้าเกษตรของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา ทั้งข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพด ในราคาสูงกว่าราคาตลาดมากจนเกินไป ทำให้รัฐบาลมีแนวโน้มขาดทุนเกือบ 4 หมื่นล้าน ประกอบด้วยการรับจำนำข้าว 1.4 หมื่นล้านบาท (รวมโควตารับจำนำที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่เพิ่มอีก 2 ล้านตัน) มันสำปะหลัง 2 หมื่นล้านบาท ข้าวโพด 5 พันล้านบาท ล่าสุดรัฐบาลตัดสินใจรับจำนำกุ้ง 2.5 หมื่นตัน อาจจะทำให้ขาดทุนอีก 800 ล้านบาท.