ASTVผู้จัดการรายวัน - รัฐบาลขยาดใช้เงินกู้อุ้มสินค้าเกษตรกร หลังกู้แบงก์ 1.1 แสนล้านดันต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายสูงถึง 8.0% ระบุหากดำเนินการผ่านธ.ก.ส.จะมีต้นทุนเพียง 6.0% เท่านั้นเตรียมดึงกลับให้ธ.ก.ส.ทำเองตามเดิม ประเดิมโครงการรับจำนำข้าวนาปรังครั้งใหม่ใช้เงิน 3 หมื่นล้านบาท ยืนยันไม่กระทบการปล่อยกู้สินเชื่อปกติของธ.ก.ส.แต่อย่างใด
นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รักษาการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรกร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า การดำเนินนโยบายดูแลราคาพืชผลทางการเกษตรกรในระยะต่อไปของรัฐบาลจะเน้นดำเนินการผ่านธ.ก.ส.เป็นหลัก โดยเฉพาะการใช้เงินเข้าไปรับจำนำหรือแทรกแซงราคา เนื่องจากเห็นว่าการใช้เงินกู้ 1.1 แสนล้านบาทเพื่อรับจำนำสินค้า 4 ประเภท คือ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลังและปาล์มนั้นมีต้นทุนการดำเนินงานที่ค่อนข้างสูง โดยเป็นต้นทุนดอกเบี้ยที่กู้ยืมจากสถาบันการเงิน 4.9% บวกกับค่าดำเนินงานของธ.ก.ส.อีก 3.0% รวมรัฐบาลมีต้นทุนเกือบ 8.0% เทียบกับการใช้เงินของธ.ก.ส.ดำเนินการจะมีต้นทุนประมาณ 6.0% (คิดอัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์-1%)
ทั้งนี้ โครงการแรกที่หันมาใช้เงินของธ.ก.ส.เอง คือ การรับจำนำข้าวนาปรังที่เพิ่งเริ่มดำเนินโครงการไปไม่นาน โดยมีเป้าหมายรับจำนำ 2.5 ล้านตัน ใช้เงินรวม 3 หมื่นล้านบาท โดยธ.ก.ส.ทำหน้าที่จ่ายเงินตามใบประทวนเท่านั้น ส่วนข้าวจะเก็บไว้ที่โรงสีที่เข้าโครงการ ซึ่งล่าสุดยังมีเกษตรกรมารับจำไม่มากนักจ่ายเงินไปเพียง 17 ล้านบาทเท่านั้น เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งจะเป็นคนละพื้นที่กับข้าวนาปีก่อนหน้านี้ โดยหลังปิดโครงการ 31 ก.ค.น่าจะมีปริมาณข้าวเข้ามาจำนำตามเป้าหมาย เพราะราคาที่รับจำนำถือว่าสูงกว่าตลาดเล็กน้อยอยู่ที่ตันละ 1.2 หมื่นบาทแต่ต่ำกว่าปีก่อนที่ราคาสูงถึงตันละ 1.4 หมื่นบาท
"การรับจำนำข้านาปรังครั้งนี้มองว่ารัฐบาลจะขาดทุนเล็กน้อยหากเกษตรกรไม่มาไถ่ถอนภายใน 3-4 เดือนและต้องขายข้าวออกไปซึ่งในส่วนที่ขาดทุนนั้นรัฐบาลต้องจ่ายชดเชยให้ธ.ก.ส.ในฐานะเจ้าของเงิน และการใช้เงิน 3 หมื่นล้านบาทครั้งนี้จะไม่กระทบกับการดำเนินงานปกติของธนาคารเพราะถือว่าไม่สูงมากนัก โดยในอนาคตหากจะต้องเข้าแทรกแซงสินค้าอื่นๆ อีก ธ.ก.ส.ก็พร้อมดำเนินการ" นายเอ็นนู กล่าวและว่าเนื่องจากที่ผ่านมามีเงินที่ได้จากการชำระหนี้คืนของลูกค้าเกษตรกรเข้ามาสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่ปัจุบันรัฐบาลยังค้างจ่ายเงินชดเชยจากการดำเนินนโยบายในอดีตเพียง 3 หมื่นล้านบาทเท่านั้น เพราะที่ผ่านมามีการตั้งงบประมาณชำระคืนเข้ามามากพอสมควร
อย่างไรก็ตาม หนี้ใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีในสวนของเงินกู้ 1.1 แสนล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมามีการใช้ไปแล้ว 9 หมื่นล้านบาท ที่เหลือสำหรับใช้ในโครงการรับจำนำปาล์มที่ยังไม่ได้เริ่ม และอาจต้องรับจำนำข้าวโพดเพิ่มบางส่วนตามที่เกษตรกรเรียกร้องเข้ามา หลังจากที่ปิดรับจำนำไปแล้วเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา
นอกจากนั้นนายเอ็นนู ยังตั้งข้อสังเกตุด้วยว่าการที่กระทรวงพาณิชย์เร่งระบายข้าวโพดในสต็อก 4.5 แสนตันอาจเพื่อต้องการนำเงินมาใช้หนี้ในโครงการรับจำนำที่ผ่านมา แต่มองว่าการขายข้าวโพดไม่ควรมีราคาต่ำกว่า 6-7 บาทต่อกิโลกรัมแม้จะขาดทุนก็ยังอยู่ในวิสัยที่ยอมรับได้ เพราะรัฐบาลรับจำนำในราคากิโลกรัมละ 8.50 บาทแต่หากขายแค่ 3-4 บาทคงไม่เหมะสม ซึ่งเข้าใจว่าการล้มประมูลใน 2 ครั้งที่ผ่านมาเนื่องจากภาคเอกชนเสนอราคามาต่ำเกินไป ครั้งแรกเสนอราคาที่ 2.50-5.00 บาทต่อกิโลกรัม และครั้งที่ 2 เสนอราคาที่ 3.50-7 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งทางคณะกรรมการก็ยังไม่พอใจกับราคาที่เสนอมา
ส่วนโครงการต้นกล้าอาชีพที่ล่าช้าอออกไปนั้นก็จะส่งผลให้การปล่อยกู้สร้างอาชีพของธ.ก.ส.ที่ร่วมกับสำนักงานประกันสังคม(สปส.)ต้องล่าช้าออกไปด้วย และจากจำนวนผู้สนใจฝึกอบรมที่มีน้อยกว่าเป้าหมายนั้นก็อาจส่งผลให้วงเงินที่ตั้งไว้ 4 พันล้านบาทมีการใช้จริงไม่ถึง 1 พันล้านบาท โดยขณะนี้ได้รับเงินมาจากสปส.แล้ว 300 ล้านบาทแต่ยังไม่ได้มีการใช้จริงแต่อย่างใด ซึ่งธ.ก.ส.พร้อมจะปล่อยกู้ให้ผู้ที่ต้องการเงินไปประกอบอาชีพจริงๆ หากไม่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ก็ไม่อยากสนับสนุนให้มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น
นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รักษาการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรกร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า การดำเนินนโยบายดูแลราคาพืชผลทางการเกษตรกรในระยะต่อไปของรัฐบาลจะเน้นดำเนินการผ่านธ.ก.ส.เป็นหลัก โดยเฉพาะการใช้เงินเข้าไปรับจำนำหรือแทรกแซงราคา เนื่องจากเห็นว่าการใช้เงินกู้ 1.1 แสนล้านบาทเพื่อรับจำนำสินค้า 4 ประเภท คือ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลังและปาล์มนั้นมีต้นทุนการดำเนินงานที่ค่อนข้างสูง โดยเป็นต้นทุนดอกเบี้ยที่กู้ยืมจากสถาบันการเงิน 4.9% บวกกับค่าดำเนินงานของธ.ก.ส.อีก 3.0% รวมรัฐบาลมีต้นทุนเกือบ 8.0% เทียบกับการใช้เงินของธ.ก.ส.ดำเนินการจะมีต้นทุนประมาณ 6.0% (คิดอัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์-1%)
ทั้งนี้ โครงการแรกที่หันมาใช้เงินของธ.ก.ส.เอง คือ การรับจำนำข้าวนาปรังที่เพิ่งเริ่มดำเนินโครงการไปไม่นาน โดยมีเป้าหมายรับจำนำ 2.5 ล้านตัน ใช้เงินรวม 3 หมื่นล้านบาท โดยธ.ก.ส.ทำหน้าที่จ่ายเงินตามใบประทวนเท่านั้น ส่วนข้าวจะเก็บไว้ที่โรงสีที่เข้าโครงการ ซึ่งล่าสุดยังมีเกษตรกรมารับจำไม่มากนักจ่ายเงินไปเพียง 17 ล้านบาทเท่านั้น เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งจะเป็นคนละพื้นที่กับข้าวนาปีก่อนหน้านี้ โดยหลังปิดโครงการ 31 ก.ค.น่าจะมีปริมาณข้าวเข้ามาจำนำตามเป้าหมาย เพราะราคาที่รับจำนำถือว่าสูงกว่าตลาดเล็กน้อยอยู่ที่ตันละ 1.2 หมื่นบาทแต่ต่ำกว่าปีก่อนที่ราคาสูงถึงตันละ 1.4 หมื่นบาท
"การรับจำนำข้านาปรังครั้งนี้มองว่ารัฐบาลจะขาดทุนเล็กน้อยหากเกษตรกรไม่มาไถ่ถอนภายใน 3-4 เดือนและต้องขายข้าวออกไปซึ่งในส่วนที่ขาดทุนนั้นรัฐบาลต้องจ่ายชดเชยให้ธ.ก.ส.ในฐานะเจ้าของเงิน และการใช้เงิน 3 หมื่นล้านบาทครั้งนี้จะไม่กระทบกับการดำเนินงานปกติของธนาคารเพราะถือว่าไม่สูงมากนัก โดยในอนาคตหากจะต้องเข้าแทรกแซงสินค้าอื่นๆ อีก ธ.ก.ส.ก็พร้อมดำเนินการ" นายเอ็นนู กล่าวและว่าเนื่องจากที่ผ่านมามีเงินที่ได้จากการชำระหนี้คืนของลูกค้าเกษตรกรเข้ามาสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่ปัจุบันรัฐบาลยังค้างจ่ายเงินชดเชยจากการดำเนินนโยบายในอดีตเพียง 3 หมื่นล้านบาทเท่านั้น เพราะที่ผ่านมามีการตั้งงบประมาณชำระคืนเข้ามามากพอสมควร
อย่างไรก็ตาม หนี้ใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีในสวนของเงินกู้ 1.1 แสนล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมามีการใช้ไปแล้ว 9 หมื่นล้านบาท ที่เหลือสำหรับใช้ในโครงการรับจำนำปาล์มที่ยังไม่ได้เริ่ม และอาจต้องรับจำนำข้าวโพดเพิ่มบางส่วนตามที่เกษตรกรเรียกร้องเข้ามา หลังจากที่ปิดรับจำนำไปแล้วเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา
นอกจากนั้นนายเอ็นนู ยังตั้งข้อสังเกตุด้วยว่าการที่กระทรวงพาณิชย์เร่งระบายข้าวโพดในสต็อก 4.5 แสนตันอาจเพื่อต้องการนำเงินมาใช้หนี้ในโครงการรับจำนำที่ผ่านมา แต่มองว่าการขายข้าวโพดไม่ควรมีราคาต่ำกว่า 6-7 บาทต่อกิโลกรัมแม้จะขาดทุนก็ยังอยู่ในวิสัยที่ยอมรับได้ เพราะรัฐบาลรับจำนำในราคากิโลกรัมละ 8.50 บาทแต่หากขายแค่ 3-4 บาทคงไม่เหมะสม ซึ่งเข้าใจว่าการล้มประมูลใน 2 ครั้งที่ผ่านมาเนื่องจากภาคเอกชนเสนอราคามาต่ำเกินไป ครั้งแรกเสนอราคาที่ 2.50-5.00 บาทต่อกิโลกรัม และครั้งที่ 2 เสนอราคาที่ 3.50-7 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งทางคณะกรรมการก็ยังไม่พอใจกับราคาที่เสนอมา
ส่วนโครงการต้นกล้าอาชีพที่ล่าช้าอออกไปนั้นก็จะส่งผลให้การปล่อยกู้สร้างอาชีพของธ.ก.ส.ที่ร่วมกับสำนักงานประกันสังคม(สปส.)ต้องล่าช้าออกไปด้วย และจากจำนวนผู้สนใจฝึกอบรมที่มีน้อยกว่าเป้าหมายนั้นก็อาจส่งผลให้วงเงินที่ตั้งไว้ 4 พันล้านบาทมีการใช้จริงไม่ถึง 1 พันล้านบาท โดยขณะนี้ได้รับเงินมาจากสปส.แล้ว 300 ล้านบาทแต่ยังไม่ได้มีการใช้จริงแต่อย่างใด ซึ่งธ.ก.ส.พร้อมจะปล่อยกู้ให้ผู้ที่ต้องการเงินไปประกอบอาชีพจริงๆ หากไม่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ก็ไม่อยากสนับสนุนให้มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น