ผู้จัดการรายวัน - คลังถลุงไม่เลิกค้ำประกัน ธ.ก.ส.กู้เงินกรุงไทย ออมสิน ทหารไทย นครหลวงไทย รวม 1.1 แสนล้าน พยุงราคาข้าวสูงกว่าตลาดโลก 4 แบงก์ร่วมโครงการหน้าบานกินดอกสูงปลอดความเสี่ยง ขณะที่ต้องควักภาษีกว่า 1 หมื่นล้านจ่ายดอกเบี้ยและค่าบริหารจัดการทั้งโครงการโดยที่สต็อกข้าวเดิมกว่า 2 ล้านตันกระทรวงพาณิชย์ยังไร้หนทางระบาย "ประดิษฐ์" ลั่นห้ามโรงสีบัญชีดำร่วมโครงการเด็ดขาด
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง แถลงถึงกรอบและหลักเกณฑ์การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 51/52 และผลผลิตทางการเกษตร ว่า ข้อสรุปในโครงการรับจำนำครั้งนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะเป็นผู้กู้เงินเองทั้งหมดจำนวน 1.1 แสนล้านบาทจากธนาคารกรุงไทย 4 หมื่นล้านบาท ธนาคารออมสิน 4 หมื่นล้านบาท ธนาคารทหารไทย 1.5 หมื่นล้านบาท และธนาคารนครหลวงไทยอีก 1.5 หมื่นล้านบาท ในกรอบระยะเวลา 1 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยที่ MLR-2%หรือประมาณ 5-5.25% โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกันและรับผิดชอบอัตราดอกเบี้ยรวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมดคาดประมาณ 1 หมื่นล้านบาท
ในวันที่ 4 พ.ย.นี้ จะเสนอแผนการกู้เงิน การตั้งงบประมาณกลางปี 52 ชดเชยดอกเบี้ย และการให้แยกบัญชีการดำเนินงานของธ.ก.ส.ในส่วนการดูแลโครงการรับจำนำข้าวนาปี เป็นบัญชีการดำเนินงานเพื่อสาธารณะหรือพีเอสเอ เพื่อไม่ให้มีผลต่อการดำเนินงานของธนาคารเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาต่อไป
สำหรับการเบิกจ่ายเงินจะเป็นการทยอยเบิกจากทั้ง 4 ธนาคาร โดยในเดือนพ.ย.-ธ.ค.คาดจะเบิกจ่ายได้มากถึงเดือนละ 4 หมื่นล้านบาท เพราะผลผลิตออกมามากในช่วงนี้ ซึ่งเงินจะถึงมือเกษตรกรได้เร็วที่สุดในวันที่ 6 พ.ย.นี้ อย่างไรก็ตามการกู้เงินจากทั้ง 4 ธนาคารอาจมากกว่าหรือน้อยกว่า 1.1 แสนล้านบาทได้ ขึ้นกับเกษตรกรจะมาจำนำข้าวมากกว่า 8 ล้านตันที่ตั้งเป้าไว้หรือไม่ รวมถึงเงื่อนไขการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งกระทรวงการคลังจะเสนอตัวเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อช่วยบริหารสภาพคล่อง เพื่อให้การระบายข้าวได้เงินกลับมาเร็วและอาจลดการกู้เงินจากธนาคารในคราวเดียวกันด้วย
ทั้งนี้ ยืนยันการขายข้าวจะไม่ขาดทุนเนื่องจากสต๊อกเก่าทั้งหมด 4.3 ล้านตัน ทั้งจากปี 47-49 ได้ซื้อไว้ที่ราคา 6-7 พันบาทต่อตัน สามารถเฉลี่ยกับการรับจำนำเมื่อกลางปี 51 ที่ราคาตันละ 1.4 หมื่นบาทได้ ดังนั้นจึงยังไม่มีแนวคิดจะจัดขายข้าวในนามรัฐบาลเพื่อลดราคาขายปลีกข้าวสารในประเทศให้ถูกลงกว่าปัจจุบัน อย่างไรก็ตามเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์จะดูแลราคาข้าวให้ยุติธรรมต่อผู้บริโภค
นายประดิษฐ์กล่าวว่า จะไม่อนุญาติให้โรงสีที่ขึ้นบัญชีดำ (แบล็กลิสต์) จากการโกงและทุจริตมาร่วมโครงการเด็ดขาด เพราะจะทำให้มีความเสี่ยงต่อเงินกู้ ส่วนโรงสีที่ไม่มีความผิดทุจริตแต่อาจเกิดจากความผิดพลาดก็อาจเข้าร่วมโครงการได้
นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รักษาการผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า การรับจำนำข้าวนาปี ธ.ก.ส.ซึ่งเป็นผู้กู้จะไม่ได้รับความเสียหายเลย เนื่องจากแผนเงินกู้ทั้งหมด สบน.จะเป็นผู้บริหารจัดการ ส่วนธ.ก.ส.อยู่ในฐานะผู้รับจ้างบริหารจัดการ ซึ่งจะได้รับค่าบริหารจัดการ 3% หรือคิดเป็นเงินประมาณ 3 พันล้านบาท
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า การปล่อยกู้ในครั้งนี้คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก เพราะปกติธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีที่ MLR-1% หรือประมาณ 6% เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาล โดยการกู้เงิน 1.1 แสนล้านบาทจะไม่กระทบสภาพคล่องในระบบ เนื่องจากเมื่อชาวนาได้รับเงินจำนำข้าวก็จะนำเงินออกมาจับจ่ายเพื่อการบริโภค
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ออมสินมีสภาพคล่องเพียงพอจะปล่อยกู้ และหากรัฐต้องการเพิ่มมากกว่า 4 หมื่นล้านบาทจากธนาคาร ก็พร้อมโดยสามารถนำเงินออกจากตราสารทุนที่ปัจจุบันมีกว่า 2.45 แสนล้านบาทออกมาซึ่งผลตอบแทนก็ต่ำกว่าการปล่อยกู้ให้ ธ.ก.ส.ครั้งนี้ด้วย.
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง แถลงถึงกรอบและหลักเกณฑ์การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 51/52 และผลผลิตทางการเกษตร ว่า ข้อสรุปในโครงการรับจำนำครั้งนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะเป็นผู้กู้เงินเองทั้งหมดจำนวน 1.1 แสนล้านบาทจากธนาคารกรุงไทย 4 หมื่นล้านบาท ธนาคารออมสิน 4 หมื่นล้านบาท ธนาคารทหารไทย 1.5 หมื่นล้านบาท และธนาคารนครหลวงไทยอีก 1.5 หมื่นล้านบาท ในกรอบระยะเวลา 1 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยที่ MLR-2%หรือประมาณ 5-5.25% โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกันและรับผิดชอบอัตราดอกเบี้ยรวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมดคาดประมาณ 1 หมื่นล้านบาท
ในวันที่ 4 พ.ย.นี้ จะเสนอแผนการกู้เงิน การตั้งงบประมาณกลางปี 52 ชดเชยดอกเบี้ย และการให้แยกบัญชีการดำเนินงานของธ.ก.ส.ในส่วนการดูแลโครงการรับจำนำข้าวนาปี เป็นบัญชีการดำเนินงานเพื่อสาธารณะหรือพีเอสเอ เพื่อไม่ให้มีผลต่อการดำเนินงานของธนาคารเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาต่อไป
สำหรับการเบิกจ่ายเงินจะเป็นการทยอยเบิกจากทั้ง 4 ธนาคาร โดยในเดือนพ.ย.-ธ.ค.คาดจะเบิกจ่ายได้มากถึงเดือนละ 4 หมื่นล้านบาท เพราะผลผลิตออกมามากในช่วงนี้ ซึ่งเงินจะถึงมือเกษตรกรได้เร็วที่สุดในวันที่ 6 พ.ย.นี้ อย่างไรก็ตามการกู้เงินจากทั้ง 4 ธนาคารอาจมากกว่าหรือน้อยกว่า 1.1 แสนล้านบาทได้ ขึ้นกับเกษตรกรจะมาจำนำข้าวมากกว่า 8 ล้านตันที่ตั้งเป้าไว้หรือไม่ รวมถึงเงื่อนไขการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งกระทรวงการคลังจะเสนอตัวเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อช่วยบริหารสภาพคล่อง เพื่อให้การระบายข้าวได้เงินกลับมาเร็วและอาจลดการกู้เงินจากธนาคารในคราวเดียวกันด้วย
ทั้งนี้ ยืนยันการขายข้าวจะไม่ขาดทุนเนื่องจากสต๊อกเก่าทั้งหมด 4.3 ล้านตัน ทั้งจากปี 47-49 ได้ซื้อไว้ที่ราคา 6-7 พันบาทต่อตัน สามารถเฉลี่ยกับการรับจำนำเมื่อกลางปี 51 ที่ราคาตันละ 1.4 หมื่นบาทได้ ดังนั้นจึงยังไม่มีแนวคิดจะจัดขายข้าวในนามรัฐบาลเพื่อลดราคาขายปลีกข้าวสารในประเทศให้ถูกลงกว่าปัจจุบัน อย่างไรก็ตามเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์จะดูแลราคาข้าวให้ยุติธรรมต่อผู้บริโภค
นายประดิษฐ์กล่าวว่า จะไม่อนุญาติให้โรงสีที่ขึ้นบัญชีดำ (แบล็กลิสต์) จากการโกงและทุจริตมาร่วมโครงการเด็ดขาด เพราะจะทำให้มีความเสี่ยงต่อเงินกู้ ส่วนโรงสีที่ไม่มีความผิดทุจริตแต่อาจเกิดจากความผิดพลาดก็อาจเข้าร่วมโครงการได้
นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รักษาการผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า การรับจำนำข้าวนาปี ธ.ก.ส.ซึ่งเป็นผู้กู้จะไม่ได้รับความเสียหายเลย เนื่องจากแผนเงินกู้ทั้งหมด สบน.จะเป็นผู้บริหารจัดการ ส่วนธ.ก.ส.อยู่ในฐานะผู้รับจ้างบริหารจัดการ ซึ่งจะได้รับค่าบริหารจัดการ 3% หรือคิดเป็นเงินประมาณ 3 พันล้านบาท
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า การปล่อยกู้ในครั้งนี้คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก เพราะปกติธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีที่ MLR-1% หรือประมาณ 6% เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาล โดยการกู้เงิน 1.1 แสนล้านบาทจะไม่กระทบสภาพคล่องในระบบ เนื่องจากเมื่อชาวนาได้รับเงินจำนำข้าวก็จะนำเงินออกมาจับจ่ายเพื่อการบริโภค
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ออมสินมีสภาพคล่องเพียงพอจะปล่อยกู้ และหากรัฐต้องการเพิ่มมากกว่า 4 หมื่นล้านบาทจากธนาคาร ก็พร้อมโดยสามารถนำเงินออกจากตราสารทุนที่ปัจจุบันมีกว่า 2.45 แสนล้านบาทออกมาซึ่งผลตอบแทนก็ต่ำกว่าการปล่อยกู้ให้ ธ.ก.ส.ครั้งนี้ด้วย.