ASTV ผู้จัดการรายวัน- "อภิสิทธิ์" เผยอาจทำประชามติ ฟังเสียงส่วนใหญ่ก่อนเริ่มกระบวนการนิรโทษกรรมให้แก่นักการเมือง วอนประชาชนใช้วิจารณญาณก่อนเชื่อเรื่องใบปลิวโจมตี-บิดเบือนข้อเท็จจริง เชื่อความขัดแย้งการเมืองสามารถหาทางออก ได้โดยให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้เริ่มแก้ไขปัญหา แจงกรณีมีพลทหารในบ้านแม่ทัพภาค 1 เสียชีวิต 1 นาย เกิดจากอุบัติเหตุ ย้ำไม่มีผู้เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ โชว์มิวสิกวิดีโอชุดใหม่ "เชื่อในตัวฉัน"
เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (26เม.ย.) ที่ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จัดรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลก็เดินหน้าในการที่จะนำบ้าน เมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากที่มีการประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้งแต่ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา โดยเมื่อวันพุธและวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ได้ขอเปิดการประชุมร่วมของรัฐสภา เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงการแสวงหาทางออกสำหรับบ้านเมือง เพื่อที่จะให้ความขัดแย้งต่างๆ คลี่คลายลงไป
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จุดยืนของรัฐบาล ในการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็เพื่อที่จะนำเรื่องของการรักษากฎหมายให้มีความศักดิ์สิทธิ์กลับคืนมาสู่ สังคม ไม่ได้เป็นการใช้กฎหมายในลักษณะที่จะหวังประโยชน์ในเรื่องของการเอาชนะคะคาน ในทางการเมืองแต่อย่างใด
"อย่างที่เรียนก็คือว่า การใช้สิทธิเสรีภาพของพี่น้องประชาชนตามรัฐธรรมนูญนั้น ย่อมทำได้ การแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง ย่อมทำได้ แต่ว่าพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย และกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องใช้เครื่องมือเครื่องไม้ตามกฎหมายจัดการ เพื่อที่จะไม่ให้สถานการณ์นั้นลุกลามและกระทบกับประเทศ และกระทบกับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน"
**ยันไม่มีคนตายจากการปฏิบัติหน้าที่
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขอยืนยันว่า ได้มีการประชุมกำชับกับหน่วยงานที่ปฏิบัติงานในช่วงที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน เกือบตลอดเวลาว่า ทุกมาตรการที่ใช้นั้น ต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ ปฏิบัติการทุกครั้งก็จะมีสื่อสารมวลชนทั้งไทย และต่างประเทศอยู่ด้วย และ หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ และทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับ หรือตัวบทกฎหมายทุกประการ
“ผมยังยืนยันครับ จนถึงวันนี้ว่าจากการติดตามตรวจสอบในทุกเรื่อง ยังไม่ปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตจากการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ ในช่วงที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉินร้ายแรง และในส่วนของการบาดเจ็บต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ทางเจ้าหน้าที่ได้เร่งเข้าไปดูแล รัฐบาลก็ได้ดำเนินการในเรื่องของการเยียวยาให้พี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นใคร ไม่ว่าจะอยู่กลุ่มใด" นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการเสียชีวิตของพลทหาร ที่อยู่บ้านแม่ทัพภาคที่ 1 ว่า พลทหารดังกล่าวเป็นผู้ที่ดูแลบ้านพักซึ่งตนได้ไปพักอยู่ แต่ว่าการเสียชีวิตนั้นเกิดขึ้นในช่วงค่ำของวันที่ 14 เม.ย. ซึ่งเป็นเวลาที่ตนไม่ได้พักอยู่ที่นั่นแล้ว ตนพักอยู่ที่นั่นในช่วงวันที่ 12 และ13 เม.ย. และจากรายงานเบื้องต้นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ทราบว่าบุคคลดังกล่าวประสบอุบัติเหตุในช่วงค่ำ และหลังจากนั้นก็มีพยานที่ได้สนทนา และได้ช่วยในเรื่องของการซื้อยา เพราะว่าทางเจ้าตัวนั้นได้บ่นว่าปวดศีรษะมาก แต่หลังจากที่นอนแล้วได้พบอาการผิดปกติ ได้มีการส่งโรงพยาบาล
**ตั้งคณะกก.ประมวลเหตุการณ์ต่างๆ
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสิ่งได้ดำเนินการเพื่อคลี่คลายวิกฤติการเมือง ว่า ข้อแรก ในส่วนของรัฐบาลเองได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประมวลเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งจะเป็นความรับผิดชอบของทางสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี อันนี้เป็นเรื่องของฝ่ายบริหารที่จะต้องดำเนินการ ข้อที่สอง คือในการประชุมสภาฯ เพื่อให้เกียรติกับเพื่อนสมาชิกที่ได้มีการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ตนได้เสนอแนะให้ทางท่านประธานรัฐสภาได้เชิญวิปของทั้งฝ่ายรัฐบาล ทั้งฝ่ายค้าน และวุฒิสภา ซึ่งเข้าใจว่าจะมีการพบปะกันในวันนี้ (27เม.ย.) เพื่อที่จะได้มีการดำเนินการ ว่า จะชำระสะสางประมวลเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างไร โดยตนยืนยันว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ กับการที่จะได้ข้อเท็จจริงต่างๆ
นอกจากนั้นในส่วนของหน่วยงานต่างๆ หากมีการร้องเรียนใดๆ ก็ต้องดำเนินการให้ได้ข้อเท็จจริงมา และก็ยืนยันว่ากำลังพล หรือบุคลากรของทุกหน่วยงานนั้นจะต้องปฏิบัติตามนโยบาย ตามกฎหมายเท่านั้น และก็จะต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตนตั้งใจว่าบรรดาข้อมูลต่างๆ ที่มีการนำเสนออยู่ในขณะนี้ ควรจะได้มีการตรวจสอบพิสูจน์ และมีการชี้แจงเผยแพร่ให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงทุกแง่ทุกมุม
ทั้งนี้ ความจำเป็นในเรื่องนี้ที่จะต้องทำมีเหตุผลสำคัญ 2 ประการ ประการแรก คือว่า คิดว่าอันนี้เป็นมาตรฐานในเรื่องของความโปร่งใสและธรรมาภิบาล เมื่อเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นก็ต้องมีการติดตามตรวจสอบชำระสะสาง และประมวลออกมาให้พี่น้องประชาชนรับทราบ ประการที่ 2 คือตนยังมีความเป็นห่วงว่า ยังมีคนจำนวนหนึ่ง พยายามที่จะนำเสนอข้อมูลซึ่งคลาดเคลื่อน หรือข้อมูลที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบ แล้วก็ไปทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนที่จะนำไปสู่ความรุนแรงให้เกิดขึ้นได้อีก
"ยกตัวอย่างว่า ขณะนี้ก็มีคนเอาใบปลิวมาให้ผมดู อ้างว่าเป็นใบปลิวจากผู้สื่อข่าวช่อง 3, 5, 7, 9 ที่บอกว่า ไม่สามารถเสนอความจริงได้กับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น และก็ไปบรรยายว่าจริงๆ แล้วมีความรุนแรง มีการตาย มีอะไร แต่ที่ผมเห็นชัดเจนและคลาดเคลื่อนก็คือว่า พูดถึงเหตุการณ์ที่กระทรวง มหาดไทย ก็บอกว่าผมไม่ได้อยู่ในรถยนต์คันที่มีการทำร้าย แล้วก็ไม่ได้มีอะไร เป็นเรื่องของการวางแผนเพื่อที่จะสร้างสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งผมอยู่ในเหตุการณ์เอง ผมทราบและพี่น้องประชาชนที่ดูข่าวก็จะทราบว่า ไม่ได้เป็นความจริงเลยตามที่มี การกล่าวอ้างในใบปลิวลักษณะนั้น เพราะฉะนั้น ในเรื่องของการประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้น ก็เพื่อความโปร่งใส" นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ในช่วงนี้ถ้าท่านได้ข้อมูลอะไร ขอให้ท่านได้ใช้วิจารณญาณไตร่ตรองแยกแยะ และถ้าสงสัยจะมีกระบวนการการพิสูจน์ชี้แจงต่อไป ซึ่งตนย้ำว่าจะไม่ได้ทำโดยรัฐบาลฝ่ายเดียว แต่ฝ่ายนิติบัญญัติ ก็จะดำเนินการ และตนเข้าใจว่าคงจะมีการนำเรื่องเหล่านี้ไปสู่องค์กรอิสระอื่นๆ เพื่อที่จะได้ชำระสะสางต่อไป
**เชิญทุกฝ่ายร่วมแก้วิกฤติการเมือง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ที่จะต้องมีการดำเนินการแน่นอนคือ ต้นเหตุของความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องของการเมือง เพราะฉะนั้น การหาทางออกทางการเมืองก็มีความจำเป็น เช่นเดียวกันหลังจากการประชุมรัฐสภาแล้ว ตนได้ขอให้ประธานรัฐสภา ได้เชิญทุกฝ่ายมาเพื่อที่จะเดินหน้าในการติดตามในเรื่องของการแสวงหาทางออกทางการเมือง แต่ตรงนี้คงจะไม่สามารถทำได้ลำพังเฉพาะฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะเป็นเรื่องของสังคมทั้งสังคม เพราะฉะนั้น ถ้าจะพูดถึงเรื่องของการปฏิรูปการเมือง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือการสมานฉันท์ใดๆ ก็ตาม กระบวนการนี้ต้องเป็นกระบวนการที่ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม คิดว่าตรงนี้เป็นเรื่องของความจำเป็น เพื่อที่จะปรับฐานการเมืองให้ทุกฝ่ายได้ยอมรับกฎ กติกา ต่าง ๆที่มีอยู่ ก่อนที่เราจะแสวงหาทางออกทางการเมืองในขั้นต่อไป เพราะถ้าหากว่าขณะนี้ยังไม่ชำระสะสางกันในเรื่องนี้ การเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆ คงไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานได้ เพราะว่าจะทำให้เราย้อนกลับไปอยู่ในสถานการณ์อย่างที่เราได้ผ่านมาในช่วง 2-3 เดือนนี้
ฉะนั้น ตรงนี้ก็เป็นอีกขั้นหนึ่ง อีกก้าวหนึ่งที่คิดว่าจะเป็นก้าวสำคัญในการคลี่คลายสภาพปัญหา ต่าง ๆที่เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ อยากจะบอกว่าไม่ได้หมายความว่าฝ่ายอื่นๆ จะเพิกเฉย สถาบัน องค์กรต่าง ๆ ซึ่งตนได้เคยร้องขอให้เข้ามาดูแล อย่างเช่น สถาบันพระปกเกล้า หรือหน่วยงานวิชาการ หรือสภาพัฒนาการเมือง หรือหน่วยงานอื่น ๆ ก็ควรที่จะได้มีการติดตามและทำเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
"สัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีการสะท้อนความคิดเห็นต่างๆ มากมายเกี่ยวกับเรื่องนิรโทษกรรม ทั้งเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทางสมาชิกรัฐสภาทุกคนก็พึงที่จะรับฟังในการหาคำตอบต่อไป ผมเองจะไม่ชี้นำอะไร "
นายกฯ กล่าวย้ำเรื่องสองมาตรฐานโดยยืนยีนว่า ในส่วนของฝ่ายบริหาร หรือในส่วนรัฐบาล ไม่มี2มาตรฐาน ตนทำงานทุ่มเททำงานให้กับทุกคนเสมอภาคกัน ส่วนปัญหาคดีความต่างๆ หรือแม้กระทั่งการตัดสินต่างๆ ที่ผ่านมา หลายส่วนเป็นเรื่องของอำนาจของฝ่ายตุลาการ หรือ องค์กรอิสระ ซึ่งตนคิดว่าหน่วยงานเหล่านั้นควรจะได้ทำคำชี้แจงว่า การตัดสินต่างๆ มีเหตุมีผล มีเรื่องของข้อกฎหมายรองรับอย่างไร ส่วนถ้ากฎหมายที่เป็นที่มาของการตัดสินตรงนั้น มีความไม่เป็นธรรม หรือมีความบกพร่อง หรือไม่สมบูรณ์อย่างไร ก็จะได้เป็นการสรุปเพื่อที่จะให้คณะที่ดูแลในเรื่องของการแก้ไขปัญหาทางการเมืองนำไปประกอบการพิจารณา
**ชวนทำบุญ ปฏิบัติธรรมชำระใจ
นายกฯ กล่าวว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า มีวันสำคัญ ๆ มากมาย ซึ่งบ่งบอกในเรื่องของการสนับสนุนสถาบันหลักของชาติ เช่น วันแรงงาน วันพืชมงคล วันฉัตรมงคล ซึ่งเป็นวันที่แสดงออกถึงการยอมรับกลุ่มคนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ นั่นคือเกษตรกร และผู้ใช้แรงงาน เรา จะมีวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
“ขอถือโอกาสเชิญชวนพุทธศาสนิกชนว่า ในช่วงจากนี้ไปจนถึงวันวิสาขบูชา ขอให้ท่านได้ร่วมกันจะปฏิบัติธรรม สวดมนต์ ภาวนา หรือเข้าไปร่วมในกิจกรรมทางศาสนาใดๆ เพื่อที่จะเตือนสติสังคมทั้งสังคมว่า สิ่งสำคัญที่สุดก็คือความสงบสุข และการไม่มีความขัดแย้งกันนะครับ" นายกฯรัฐมนตรี กล่าว
**โชว์มิวสิกวิดีโอ"เชื่อในตัวฉัน"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงพักครึ่งคั่นรายการ ก่อนที่จะมีการสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรี ได้มีการนำเสนอมิวสิควีดีโอ ชุดใหม่ที่ทางรายการจัดทำขึ้น ในเพลง“เชื่อในตัวฉัน” โดยนำเสนอภาพการปฏิบัติภารกิจของ นายอภิสิทธิ์ ในโอกาสต่างๆ ช่วงที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับนำเสนอตัวหนังสือ ซึ่งเป็นคำพูดของนายอภิสิทธิ์ ที่โดดเด่นบางประโยคที่เคยกล่าวไว้ในนโยบาย และสถานที่ต่างๆ ซึ่ง มิวสิควีดีโอชุดนี้ เพิ่งนำมาออกอากาศเป็นครั้งแรก
สำหรับในช่วงที่สองของรายการ นายอภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ ได้ทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ ซักถามนายกฯ ถึงประเด็นต่าง โดยถามถึงถึงเหตุรุนแรงที่พัทยา และกระทรวงมหาดไทย โดยนายกฯ กล่าวว่า หลายคนที่รู้จักตนก็จะทราบว่าตนไปไหนมาไหนธรรมดา ค่อนข้างจะไปง่ายๆ สบายๆ จึงไม่คาดคิดว่าการชุมนุมต่างๆ ทางการเมืองจะบานปลายไปเป็นลักษณะนั้น
"ก็นึกไม่ถึงจริงๆว่าจะมีการประกาศถึงขั้นว่าจะจับตัว จะไล่ล่า จะอะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าต่อไปนี้ก็ต้องปรับปรุง เพราะว่าไม่อย่างนั้นมันไม่ใช่เรื่องของผม มันเป็นเรื่องของผู้นำของประเทศไทย แล้วก็ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ และความมั่นใจที่ชาวโลกจะมี โดยเฉพาะผู้นำต่างประเทศ ซึ่งเขาจะต้องเดินทางเข้ามาด้วย ตอนนี้ก็มีการปรับไปพอสมควร ทั้งในส่วนที่อยู่กับผมตลอดเวลา และในส่วนที่สถานที่สำคัญต่างๆ ก็ต้องขออภัยด้วย ว่าเวลาที่ไปงาน ขบวนใหญ่ขึ้น และอาจจะมีการเข้มงวดกวดขันมากขึ้น"
อย่างไรก็ตาม การชุมนุมที่อาจจะเป็นปัญหานี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่า หนึ่ง ทางเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะตำรวจเองก็เปิดใจกับตนว่าไม่ค่อยแน่ใจว่ากฎหมายคุ้มครองเขาแค่ไหน เขาก็เกร็งเพราะว่าในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น พอมีการตรวจสอบมีอะไรต่างๆ นี้คุ้มครองเขาแค่ไหน เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่เราคิดถึงเรื่องการปรับปรุงกฎหมายต่อไป กับประการที่สองคือ ต้องให้ความมั่นใจว่า สมมติเขาทำตามนโยบาย และก็ทำตามความจำเป็นสมควรแก่เหตุ
"ผมยืนยันว่า ฝ่ายการเมืองซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาเขาจะต้องเข้าไปรับผิดชอบใน เรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นนะครับ ทีนี้ในช่วงของการชุมนุม หรือเหตุการณ์ต่างๆ นี้ เขาพยายามใช้วิธีการเจรจา เสร็จแล้วปรากฏว่าพอเจรจากันไปเจรจากันมา ก็เหมือนกับเลยเหมือนปล่อยผ่านมา อันที่หนึ่งนะครับ อันที่สอง ในช่วงจนถึงพัทยานี้ เราก็พยายามไม่อยากให้มีภาพความรุนแรงอะไรเลย เพราะฉะนั้นตำรวจหรือแม้กระทั่งทหารเองบางทีมีแต่โล่อย่างเดียว ซึ่งพอเหตุการณ์มันลุกลาม เราประกาศใช้ พ.ร.ก. มันก็จึงต้องเปลี่ยนแปลงไป ในชั้นนี้ก็จะหาความลงตัว ความพอดี เลิกพ.ร.ก. ก็จริง แต่ว่าต้องเข้มงวดไม่ให้สถานการณ์มันย้อนกลับไปเหมือนก่อนสงกรานต์อีก" นายกฯกล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวยังกล่าวถึงการชุมนุม ที่สนามหลวงเมื่อคืนวันที่ 24เม.ย.ที่ผ่านมาว่า ตราบเท่าที่ชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ก็ไม่มีปัญหา ตนยังไม่ทราบว่ารายละเอียดในเรื่องของการชุมนุมนี้มีอะไรบ้าง แต่ว่าโดยรวมเหตุการณ์ไม่ได้มีปัญหาอะไร และก็ชุมนุมแล้วก็เลิกกันไป จะนัดชุมนุมใหม่ จะโจมตีวิพากษ์วิจารณ์ตนก็ไม่มีปัญหา แต่ต้องไม่มีเรื่องของการยุยงให้เกิดความรุนแรง ไปทำให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่น ปิดถนน หรือมีการเผาหรืออะไร อันนี้ไม่ได้
ส่วนการตามหาตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายจักรภพ เพ็ญแข นั้นทราบว่าอยู่ต่างประเทศ และก็คือเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม ตนได้เรียนกับเพื่อนสมาชิกรัฐสภา ได้อภิปรายช่วงสรุป และได้รับการตอบสนองด้วยดี คือตนบอกว่าเรื่องการเมืองนี้ท่านจะเรียกร้องอะไรกันต่อไป ไม่เป็นไร แต่ตนขอไว้ 2 เรื่อง เรื่องแรก คือว่า การไปดึงสถาบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เข้ามาเกี่ยวข้อง ขอให้หยุด ซึ่งขณะนี้ก็ต้องขอบคุณ และตนเข้าใจว่า ในส่วนของ ส.ส. ฝ่ายค้าน คนที่เคลื่อนไหวต่างๆ ก็ดูจะไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้
"ส่วนกรณี อดีตนายกฯ หรือ คุณจักรภพฯ จะพูดไป ก็ขอให้เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลแล้ว แล้วเราก็จะต้องดำเนินการ และในส่วนของรัฐบาลเองก็ทำหน้าที่ในการชี้แจงกับสื่อต่างประเทศไป คือผมก็สังเกตว่าตอนหลังสื่อต่างประเทศก็มีความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นว่า จริง ๆ แล้วการไปถึงขั้นที่เรียกว่าจาบจ้วง หรือกล่าวหาสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงอยู่เหนือการเมือง พระองค์ท่านทรงอยู่เหนือการเมือง และสถาบันทั้งสถาบันอยู่เหนือการเมือง ก็ดูมีความเข้าใจชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับพฤติกรรมในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีการพูดถึงการไปจะใช้ความรุนแรง ประกาศจะใช้อาวุธ ผมคิดว่าขณะนี้นานาชาติเขาต่อต้านด้วยซ้ำ การที่ไปเรียกร้องให้มีการใช้อาวุธนี้ความจริงก็แทบจะไม่ต่างจากผู้ก่อการร้ายแล้ว เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมว่าความร่วมมือจากต่างประเทศ ความเข้าใจจากต่างประเทศจะดีขึ้น ประการที่สองคือ ความรุนแรงทั้งหลาย ที่มาชักชวนว่าให้รุนแรงกัน มาแสดงความขอบอกขอบใจว่าสามารถขัดขวางการประชุมนานาชาติได้ ผมก็ยิ่งคิดว่าทำให้ต่างประเทศเขามองเห็น ว่าจริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องการเรียกร้องประชาธิปไตยหรือไม่ ส่วนการเรียกร้องประชาธิปไตยโดยคนจำนวนมาก ที่มีความรู้สึกจริง ๆ อย่างที่ผมได้บอกไปก่อนหน้านี้ ก็กำลังให้ทางสภาฯ เข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหา" นายกฯกล่าว
**แก้รธน.-นิรโทษ อาจใช้ประชามติ
ในตอนท้าย ผู้ดำเนินรายการถามว่า แนวทางในการปฏิรูปการเมือง นิรโทษกรรม จะเป็นแนวทางที่เป็นข้อสรุปสุดท้ายในการแก้ไขปัญหา หรือว่าเป็นแนวทางที่ทำให้ผ่อนหายใจให้บรรยากาศทางการเมืองช่วงนี้มันผ่าน พ้นไปเท่านั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนบอกว่าประเด็นในเรื่องของความผิดทางการเมือง เอามาวางบนโต๊ะกันได้ ส่วนจะทำหรือไม่ทำต้องมาพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล อาจจะต้องมีกระบวนการ อาจจะต้องถึงขั้นไปทำประชาพิจารณ์ ประชามติ ก็ได้ แต่ตนก็อยากจะบอกว่า 1. ต้องแยกเรื่องความผิดทางการเมือง ความผิดทางอาญา ความผิดทางอาญา นั้นไม่ควรจะพูดถึงเลย ตัดออกไป ส่วนความผิดทางการเมืองต้องมาดูที่ต้นตอของปัญหา บางคนบอกว่ากฎหมายไม่ดี ไม่สมบูรณ์บางมาตรา อยากจะแก้ ปัญหาก็คือ พอแก้นี้มันมีคนได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ มันก็จะมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่บอกว่าอย่างนี้แก้เพื่อตัวเองหรือเปล่า อันนี้เป็นปมที่มันค้างมา 2 ปีแล้ว ปีที่แล้วที่มีการชุมนุมกันทั้งปี มันเริ่มต้นจากจุดนี้ เพราะฉะนั้นก็ต้องหาความพอดีว่า ถ้าเราอยากจะทำ หลักความเห็นส่วนตัวของตนก็คือ อะไรที่เป็นระบบที่ถูกต้อง ก็ไปให้ถึงจุดนั้น แต่อย่าไปคำนึงถึงว่าทำอันนี้เพื่อที่จะให้คนนั้นคนนี้ คืนสิทธิ์หรือไม่คืน สิทธิ์อย่างไร ทั้งสองด้านเลย คือ ไม่ควรจะตั้งเป้าว่าคนเหล่านี้ควรได้รับการคืนสิทธิ์ หรือคนเหล่านี้เราควรจะดองเอาไว้หรืออะไร ไม่ควรจะมีอย่างนั้น ดูระบบก่อน ดูความเป็นธรรมก่อน แล้วบางทีคำตอบมันอาจจะไม่ใช่ว่านิรโทษหรือไม่นิรโทษก็ได้ อาจจะมีช่องทางอื่นอีกตั้งเยอะ ว่า แก้กฎหมายแล้วจะมีบทเฉพาะกาล เขียนอย่างไรให้มีความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ตอบคำถามของสังคมได้
เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (26เม.ย.) ที่ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จัดรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลก็เดินหน้าในการที่จะนำบ้าน เมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากที่มีการประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้งแต่ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา โดยเมื่อวันพุธและวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ได้ขอเปิดการประชุมร่วมของรัฐสภา เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงการแสวงหาทางออกสำหรับบ้านเมือง เพื่อที่จะให้ความขัดแย้งต่างๆ คลี่คลายลงไป
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จุดยืนของรัฐบาล ในการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็เพื่อที่จะนำเรื่องของการรักษากฎหมายให้มีความศักดิ์สิทธิ์กลับคืนมาสู่ สังคม ไม่ได้เป็นการใช้กฎหมายในลักษณะที่จะหวังประโยชน์ในเรื่องของการเอาชนะคะคาน ในทางการเมืองแต่อย่างใด
"อย่างที่เรียนก็คือว่า การใช้สิทธิเสรีภาพของพี่น้องประชาชนตามรัฐธรรมนูญนั้น ย่อมทำได้ การแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง ย่อมทำได้ แต่ว่าพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย และกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องใช้เครื่องมือเครื่องไม้ตามกฎหมายจัดการ เพื่อที่จะไม่ให้สถานการณ์นั้นลุกลามและกระทบกับประเทศ และกระทบกับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน"
**ยันไม่มีคนตายจากการปฏิบัติหน้าที่
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขอยืนยันว่า ได้มีการประชุมกำชับกับหน่วยงานที่ปฏิบัติงานในช่วงที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน เกือบตลอดเวลาว่า ทุกมาตรการที่ใช้นั้น ต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ ปฏิบัติการทุกครั้งก็จะมีสื่อสารมวลชนทั้งไทย และต่างประเทศอยู่ด้วย และ หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ และทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับ หรือตัวบทกฎหมายทุกประการ
“ผมยังยืนยันครับ จนถึงวันนี้ว่าจากการติดตามตรวจสอบในทุกเรื่อง ยังไม่ปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตจากการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ ในช่วงที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉินร้ายแรง และในส่วนของการบาดเจ็บต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ทางเจ้าหน้าที่ได้เร่งเข้าไปดูแล รัฐบาลก็ได้ดำเนินการในเรื่องของการเยียวยาให้พี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นใคร ไม่ว่าจะอยู่กลุ่มใด" นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการเสียชีวิตของพลทหาร ที่อยู่บ้านแม่ทัพภาคที่ 1 ว่า พลทหารดังกล่าวเป็นผู้ที่ดูแลบ้านพักซึ่งตนได้ไปพักอยู่ แต่ว่าการเสียชีวิตนั้นเกิดขึ้นในช่วงค่ำของวันที่ 14 เม.ย. ซึ่งเป็นเวลาที่ตนไม่ได้พักอยู่ที่นั่นแล้ว ตนพักอยู่ที่นั่นในช่วงวันที่ 12 และ13 เม.ย. และจากรายงานเบื้องต้นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ทราบว่าบุคคลดังกล่าวประสบอุบัติเหตุในช่วงค่ำ และหลังจากนั้นก็มีพยานที่ได้สนทนา และได้ช่วยในเรื่องของการซื้อยา เพราะว่าทางเจ้าตัวนั้นได้บ่นว่าปวดศีรษะมาก แต่หลังจากที่นอนแล้วได้พบอาการผิดปกติ ได้มีการส่งโรงพยาบาล
**ตั้งคณะกก.ประมวลเหตุการณ์ต่างๆ
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสิ่งได้ดำเนินการเพื่อคลี่คลายวิกฤติการเมือง ว่า ข้อแรก ในส่วนของรัฐบาลเองได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประมวลเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งจะเป็นความรับผิดชอบของทางสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี อันนี้เป็นเรื่องของฝ่ายบริหารที่จะต้องดำเนินการ ข้อที่สอง คือในการประชุมสภาฯ เพื่อให้เกียรติกับเพื่อนสมาชิกที่ได้มีการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ตนได้เสนอแนะให้ทางท่านประธานรัฐสภาได้เชิญวิปของทั้งฝ่ายรัฐบาล ทั้งฝ่ายค้าน และวุฒิสภา ซึ่งเข้าใจว่าจะมีการพบปะกันในวันนี้ (27เม.ย.) เพื่อที่จะได้มีการดำเนินการ ว่า จะชำระสะสางประมวลเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างไร โดยตนยืนยันว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ กับการที่จะได้ข้อเท็จจริงต่างๆ
นอกจากนั้นในส่วนของหน่วยงานต่างๆ หากมีการร้องเรียนใดๆ ก็ต้องดำเนินการให้ได้ข้อเท็จจริงมา และก็ยืนยันว่ากำลังพล หรือบุคลากรของทุกหน่วยงานนั้นจะต้องปฏิบัติตามนโยบาย ตามกฎหมายเท่านั้น และก็จะต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตนตั้งใจว่าบรรดาข้อมูลต่างๆ ที่มีการนำเสนออยู่ในขณะนี้ ควรจะได้มีการตรวจสอบพิสูจน์ และมีการชี้แจงเผยแพร่ให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงทุกแง่ทุกมุม
ทั้งนี้ ความจำเป็นในเรื่องนี้ที่จะต้องทำมีเหตุผลสำคัญ 2 ประการ ประการแรก คือว่า คิดว่าอันนี้เป็นมาตรฐานในเรื่องของความโปร่งใสและธรรมาภิบาล เมื่อเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นก็ต้องมีการติดตามตรวจสอบชำระสะสาง และประมวลออกมาให้พี่น้องประชาชนรับทราบ ประการที่ 2 คือตนยังมีความเป็นห่วงว่า ยังมีคนจำนวนหนึ่ง พยายามที่จะนำเสนอข้อมูลซึ่งคลาดเคลื่อน หรือข้อมูลที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบ แล้วก็ไปทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนที่จะนำไปสู่ความรุนแรงให้เกิดขึ้นได้อีก
"ยกตัวอย่างว่า ขณะนี้ก็มีคนเอาใบปลิวมาให้ผมดู อ้างว่าเป็นใบปลิวจากผู้สื่อข่าวช่อง 3, 5, 7, 9 ที่บอกว่า ไม่สามารถเสนอความจริงได้กับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น และก็ไปบรรยายว่าจริงๆ แล้วมีความรุนแรง มีการตาย มีอะไร แต่ที่ผมเห็นชัดเจนและคลาดเคลื่อนก็คือว่า พูดถึงเหตุการณ์ที่กระทรวง มหาดไทย ก็บอกว่าผมไม่ได้อยู่ในรถยนต์คันที่มีการทำร้าย แล้วก็ไม่ได้มีอะไร เป็นเรื่องของการวางแผนเพื่อที่จะสร้างสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งผมอยู่ในเหตุการณ์เอง ผมทราบและพี่น้องประชาชนที่ดูข่าวก็จะทราบว่า ไม่ได้เป็นความจริงเลยตามที่มี การกล่าวอ้างในใบปลิวลักษณะนั้น เพราะฉะนั้น ในเรื่องของการประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้น ก็เพื่อความโปร่งใส" นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ในช่วงนี้ถ้าท่านได้ข้อมูลอะไร ขอให้ท่านได้ใช้วิจารณญาณไตร่ตรองแยกแยะ และถ้าสงสัยจะมีกระบวนการการพิสูจน์ชี้แจงต่อไป ซึ่งตนย้ำว่าจะไม่ได้ทำโดยรัฐบาลฝ่ายเดียว แต่ฝ่ายนิติบัญญัติ ก็จะดำเนินการ และตนเข้าใจว่าคงจะมีการนำเรื่องเหล่านี้ไปสู่องค์กรอิสระอื่นๆ เพื่อที่จะได้ชำระสะสางต่อไป
**เชิญทุกฝ่ายร่วมแก้วิกฤติการเมือง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ที่จะต้องมีการดำเนินการแน่นอนคือ ต้นเหตุของความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องของการเมือง เพราะฉะนั้น การหาทางออกทางการเมืองก็มีความจำเป็น เช่นเดียวกันหลังจากการประชุมรัฐสภาแล้ว ตนได้ขอให้ประธานรัฐสภา ได้เชิญทุกฝ่ายมาเพื่อที่จะเดินหน้าในการติดตามในเรื่องของการแสวงหาทางออกทางการเมือง แต่ตรงนี้คงจะไม่สามารถทำได้ลำพังเฉพาะฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะเป็นเรื่องของสังคมทั้งสังคม เพราะฉะนั้น ถ้าจะพูดถึงเรื่องของการปฏิรูปการเมือง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือการสมานฉันท์ใดๆ ก็ตาม กระบวนการนี้ต้องเป็นกระบวนการที่ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม คิดว่าตรงนี้เป็นเรื่องของความจำเป็น เพื่อที่จะปรับฐานการเมืองให้ทุกฝ่ายได้ยอมรับกฎ กติกา ต่าง ๆที่มีอยู่ ก่อนที่เราจะแสวงหาทางออกทางการเมืองในขั้นต่อไป เพราะถ้าหากว่าขณะนี้ยังไม่ชำระสะสางกันในเรื่องนี้ การเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆ คงไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานได้ เพราะว่าจะทำให้เราย้อนกลับไปอยู่ในสถานการณ์อย่างที่เราได้ผ่านมาในช่วง 2-3 เดือนนี้
ฉะนั้น ตรงนี้ก็เป็นอีกขั้นหนึ่ง อีกก้าวหนึ่งที่คิดว่าจะเป็นก้าวสำคัญในการคลี่คลายสภาพปัญหา ต่าง ๆที่เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ อยากจะบอกว่าไม่ได้หมายความว่าฝ่ายอื่นๆ จะเพิกเฉย สถาบัน องค์กรต่าง ๆ ซึ่งตนได้เคยร้องขอให้เข้ามาดูแล อย่างเช่น สถาบันพระปกเกล้า หรือหน่วยงานวิชาการ หรือสภาพัฒนาการเมือง หรือหน่วยงานอื่น ๆ ก็ควรที่จะได้มีการติดตามและทำเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
"สัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีการสะท้อนความคิดเห็นต่างๆ มากมายเกี่ยวกับเรื่องนิรโทษกรรม ทั้งเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทางสมาชิกรัฐสภาทุกคนก็พึงที่จะรับฟังในการหาคำตอบต่อไป ผมเองจะไม่ชี้นำอะไร "
นายกฯ กล่าวย้ำเรื่องสองมาตรฐานโดยยืนยีนว่า ในส่วนของฝ่ายบริหาร หรือในส่วนรัฐบาล ไม่มี2มาตรฐาน ตนทำงานทุ่มเททำงานให้กับทุกคนเสมอภาคกัน ส่วนปัญหาคดีความต่างๆ หรือแม้กระทั่งการตัดสินต่างๆ ที่ผ่านมา หลายส่วนเป็นเรื่องของอำนาจของฝ่ายตุลาการ หรือ องค์กรอิสระ ซึ่งตนคิดว่าหน่วยงานเหล่านั้นควรจะได้ทำคำชี้แจงว่า การตัดสินต่างๆ มีเหตุมีผล มีเรื่องของข้อกฎหมายรองรับอย่างไร ส่วนถ้ากฎหมายที่เป็นที่มาของการตัดสินตรงนั้น มีความไม่เป็นธรรม หรือมีความบกพร่อง หรือไม่สมบูรณ์อย่างไร ก็จะได้เป็นการสรุปเพื่อที่จะให้คณะที่ดูแลในเรื่องของการแก้ไขปัญหาทางการเมืองนำไปประกอบการพิจารณา
**ชวนทำบุญ ปฏิบัติธรรมชำระใจ
นายกฯ กล่าวว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า มีวันสำคัญ ๆ มากมาย ซึ่งบ่งบอกในเรื่องของการสนับสนุนสถาบันหลักของชาติ เช่น วันแรงงาน วันพืชมงคล วันฉัตรมงคล ซึ่งเป็นวันที่แสดงออกถึงการยอมรับกลุ่มคนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ นั่นคือเกษตรกร และผู้ใช้แรงงาน เรา จะมีวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
“ขอถือโอกาสเชิญชวนพุทธศาสนิกชนว่า ในช่วงจากนี้ไปจนถึงวันวิสาขบูชา ขอให้ท่านได้ร่วมกันจะปฏิบัติธรรม สวดมนต์ ภาวนา หรือเข้าไปร่วมในกิจกรรมทางศาสนาใดๆ เพื่อที่จะเตือนสติสังคมทั้งสังคมว่า สิ่งสำคัญที่สุดก็คือความสงบสุข และการไม่มีความขัดแย้งกันนะครับ" นายกฯรัฐมนตรี กล่าว
**โชว์มิวสิกวิดีโอ"เชื่อในตัวฉัน"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงพักครึ่งคั่นรายการ ก่อนที่จะมีการสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรี ได้มีการนำเสนอมิวสิควีดีโอ ชุดใหม่ที่ทางรายการจัดทำขึ้น ในเพลง“เชื่อในตัวฉัน” โดยนำเสนอภาพการปฏิบัติภารกิจของ นายอภิสิทธิ์ ในโอกาสต่างๆ ช่วงที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับนำเสนอตัวหนังสือ ซึ่งเป็นคำพูดของนายอภิสิทธิ์ ที่โดดเด่นบางประโยคที่เคยกล่าวไว้ในนโยบาย และสถานที่ต่างๆ ซึ่ง มิวสิควีดีโอชุดนี้ เพิ่งนำมาออกอากาศเป็นครั้งแรก
สำหรับในช่วงที่สองของรายการ นายอภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ ได้ทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ ซักถามนายกฯ ถึงประเด็นต่าง โดยถามถึงถึงเหตุรุนแรงที่พัทยา และกระทรวงมหาดไทย โดยนายกฯ กล่าวว่า หลายคนที่รู้จักตนก็จะทราบว่าตนไปไหนมาไหนธรรมดา ค่อนข้างจะไปง่ายๆ สบายๆ จึงไม่คาดคิดว่าการชุมนุมต่างๆ ทางการเมืองจะบานปลายไปเป็นลักษณะนั้น
"ก็นึกไม่ถึงจริงๆว่าจะมีการประกาศถึงขั้นว่าจะจับตัว จะไล่ล่า จะอะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าต่อไปนี้ก็ต้องปรับปรุง เพราะว่าไม่อย่างนั้นมันไม่ใช่เรื่องของผม มันเป็นเรื่องของผู้นำของประเทศไทย แล้วก็ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ และความมั่นใจที่ชาวโลกจะมี โดยเฉพาะผู้นำต่างประเทศ ซึ่งเขาจะต้องเดินทางเข้ามาด้วย ตอนนี้ก็มีการปรับไปพอสมควร ทั้งในส่วนที่อยู่กับผมตลอดเวลา และในส่วนที่สถานที่สำคัญต่างๆ ก็ต้องขออภัยด้วย ว่าเวลาที่ไปงาน ขบวนใหญ่ขึ้น และอาจจะมีการเข้มงวดกวดขันมากขึ้น"
อย่างไรก็ตาม การชุมนุมที่อาจจะเป็นปัญหานี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่า หนึ่ง ทางเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะตำรวจเองก็เปิดใจกับตนว่าไม่ค่อยแน่ใจว่ากฎหมายคุ้มครองเขาแค่ไหน เขาก็เกร็งเพราะว่าในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น พอมีการตรวจสอบมีอะไรต่างๆ นี้คุ้มครองเขาแค่ไหน เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่เราคิดถึงเรื่องการปรับปรุงกฎหมายต่อไป กับประการที่สองคือ ต้องให้ความมั่นใจว่า สมมติเขาทำตามนโยบาย และก็ทำตามความจำเป็นสมควรแก่เหตุ
"ผมยืนยันว่า ฝ่ายการเมืองซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาเขาจะต้องเข้าไปรับผิดชอบใน เรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นนะครับ ทีนี้ในช่วงของการชุมนุม หรือเหตุการณ์ต่างๆ นี้ เขาพยายามใช้วิธีการเจรจา เสร็จแล้วปรากฏว่าพอเจรจากันไปเจรจากันมา ก็เหมือนกับเลยเหมือนปล่อยผ่านมา อันที่หนึ่งนะครับ อันที่สอง ในช่วงจนถึงพัทยานี้ เราก็พยายามไม่อยากให้มีภาพความรุนแรงอะไรเลย เพราะฉะนั้นตำรวจหรือแม้กระทั่งทหารเองบางทีมีแต่โล่อย่างเดียว ซึ่งพอเหตุการณ์มันลุกลาม เราประกาศใช้ พ.ร.ก. มันก็จึงต้องเปลี่ยนแปลงไป ในชั้นนี้ก็จะหาความลงตัว ความพอดี เลิกพ.ร.ก. ก็จริง แต่ว่าต้องเข้มงวดไม่ให้สถานการณ์มันย้อนกลับไปเหมือนก่อนสงกรานต์อีก" นายกฯกล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวยังกล่าวถึงการชุมนุม ที่สนามหลวงเมื่อคืนวันที่ 24เม.ย.ที่ผ่านมาว่า ตราบเท่าที่ชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ก็ไม่มีปัญหา ตนยังไม่ทราบว่ารายละเอียดในเรื่องของการชุมนุมนี้มีอะไรบ้าง แต่ว่าโดยรวมเหตุการณ์ไม่ได้มีปัญหาอะไร และก็ชุมนุมแล้วก็เลิกกันไป จะนัดชุมนุมใหม่ จะโจมตีวิพากษ์วิจารณ์ตนก็ไม่มีปัญหา แต่ต้องไม่มีเรื่องของการยุยงให้เกิดความรุนแรง ไปทำให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่น ปิดถนน หรือมีการเผาหรืออะไร อันนี้ไม่ได้
ส่วนการตามหาตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายจักรภพ เพ็ญแข นั้นทราบว่าอยู่ต่างประเทศ และก็คือเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม ตนได้เรียนกับเพื่อนสมาชิกรัฐสภา ได้อภิปรายช่วงสรุป และได้รับการตอบสนองด้วยดี คือตนบอกว่าเรื่องการเมืองนี้ท่านจะเรียกร้องอะไรกันต่อไป ไม่เป็นไร แต่ตนขอไว้ 2 เรื่อง เรื่องแรก คือว่า การไปดึงสถาบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เข้ามาเกี่ยวข้อง ขอให้หยุด ซึ่งขณะนี้ก็ต้องขอบคุณ และตนเข้าใจว่า ในส่วนของ ส.ส. ฝ่ายค้าน คนที่เคลื่อนไหวต่างๆ ก็ดูจะไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้
"ส่วนกรณี อดีตนายกฯ หรือ คุณจักรภพฯ จะพูดไป ก็ขอให้เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลแล้ว แล้วเราก็จะต้องดำเนินการ และในส่วนของรัฐบาลเองก็ทำหน้าที่ในการชี้แจงกับสื่อต่างประเทศไป คือผมก็สังเกตว่าตอนหลังสื่อต่างประเทศก็มีความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นว่า จริง ๆ แล้วการไปถึงขั้นที่เรียกว่าจาบจ้วง หรือกล่าวหาสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงอยู่เหนือการเมือง พระองค์ท่านทรงอยู่เหนือการเมือง และสถาบันทั้งสถาบันอยู่เหนือการเมือง ก็ดูมีความเข้าใจชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับพฤติกรรมในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีการพูดถึงการไปจะใช้ความรุนแรง ประกาศจะใช้อาวุธ ผมคิดว่าขณะนี้นานาชาติเขาต่อต้านด้วยซ้ำ การที่ไปเรียกร้องให้มีการใช้อาวุธนี้ความจริงก็แทบจะไม่ต่างจากผู้ก่อการร้ายแล้ว เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมว่าความร่วมมือจากต่างประเทศ ความเข้าใจจากต่างประเทศจะดีขึ้น ประการที่สองคือ ความรุนแรงทั้งหลาย ที่มาชักชวนว่าให้รุนแรงกัน มาแสดงความขอบอกขอบใจว่าสามารถขัดขวางการประชุมนานาชาติได้ ผมก็ยิ่งคิดว่าทำให้ต่างประเทศเขามองเห็น ว่าจริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องการเรียกร้องประชาธิปไตยหรือไม่ ส่วนการเรียกร้องประชาธิปไตยโดยคนจำนวนมาก ที่มีความรู้สึกจริง ๆ อย่างที่ผมได้บอกไปก่อนหน้านี้ ก็กำลังให้ทางสภาฯ เข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหา" นายกฯกล่าว
**แก้รธน.-นิรโทษ อาจใช้ประชามติ
ในตอนท้าย ผู้ดำเนินรายการถามว่า แนวทางในการปฏิรูปการเมือง นิรโทษกรรม จะเป็นแนวทางที่เป็นข้อสรุปสุดท้ายในการแก้ไขปัญหา หรือว่าเป็นแนวทางที่ทำให้ผ่อนหายใจให้บรรยากาศทางการเมืองช่วงนี้มันผ่าน พ้นไปเท่านั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนบอกว่าประเด็นในเรื่องของความผิดทางการเมือง เอามาวางบนโต๊ะกันได้ ส่วนจะทำหรือไม่ทำต้องมาพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล อาจจะต้องมีกระบวนการ อาจจะต้องถึงขั้นไปทำประชาพิจารณ์ ประชามติ ก็ได้ แต่ตนก็อยากจะบอกว่า 1. ต้องแยกเรื่องความผิดทางการเมือง ความผิดทางอาญา ความผิดทางอาญา นั้นไม่ควรจะพูดถึงเลย ตัดออกไป ส่วนความผิดทางการเมืองต้องมาดูที่ต้นตอของปัญหา บางคนบอกว่ากฎหมายไม่ดี ไม่สมบูรณ์บางมาตรา อยากจะแก้ ปัญหาก็คือ พอแก้นี้มันมีคนได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ มันก็จะมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่บอกว่าอย่างนี้แก้เพื่อตัวเองหรือเปล่า อันนี้เป็นปมที่มันค้างมา 2 ปีแล้ว ปีที่แล้วที่มีการชุมนุมกันทั้งปี มันเริ่มต้นจากจุดนี้ เพราะฉะนั้นก็ต้องหาความพอดีว่า ถ้าเราอยากจะทำ หลักความเห็นส่วนตัวของตนก็คือ อะไรที่เป็นระบบที่ถูกต้อง ก็ไปให้ถึงจุดนั้น แต่อย่าไปคำนึงถึงว่าทำอันนี้เพื่อที่จะให้คนนั้นคนนี้ คืนสิทธิ์หรือไม่คืน สิทธิ์อย่างไร ทั้งสองด้านเลย คือ ไม่ควรจะตั้งเป้าว่าคนเหล่านี้ควรได้รับการคืนสิทธิ์ หรือคนเหล่านี้เราควรจะดองเอาไว้หรืออะไร ไม่ควรจะมีอย่างนั้น ดูระบบก่อน ดูความเป็นธรรมก่อน แล้วบางทีคำตอบมันอาจจะไม่ใช่ว่านิรโทษหรือไม่นิรโทษก็ได้ อาจจะมีช่องทางอื่นอีกตั้งเยอะ ว่า แก้กฎหมายแล้วจะมีบทเฉพาะกาล เขียนอย่างไรให้มีความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ตอบคำถามของสังคมได้