วานนี้ (21 เม.ย.) นายบัณฑูร สุภัควณิช ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2553 โดยปรับลดกรอบงบประมาณรายจ่ายลงจากเดิม 2 แสนล้านบาท จากเดิมที่ตั้งไว้ที่ 1.9 ล้านล้านบาท เหลือ 1.7 ล้านล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับประมาณการรายได้ที่ลดลงมาที่ 1.35 ล้านล้านบาท จากเดิม 1.51 ล้านล้านบาท ซึ่งจะเป็นการขาดุลงบประมาณ 350,000 ล้านบาท
การปรับลดงบประมาณรายจ่ายปี 2553 ส่วนใหญ่เป็นการตัดลดงบในส่วนที่กระจายสู่ท้องถิ่น งบทหาร และการเดินทาง ศึกษาดูงานต่างประเทศ ซึ่งการปรับกรอบงบประมาณปี 2553 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่ชะลอตัวลงกว่าที่คาดการณ์ไว้จากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกและปัญหาการเมืองในประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2552 จะลดลงจากที่คาดไว้ และจะส่งผลให้ประมาณการจัดเก็บรายได้ในอนาคตมีแนวโน้มลดลงตาม
โดยสภาพัฒน์ประเมินว่า แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยหรือจีดีพีในปี 2552 จะติดลบประมาณ 2.5-3.0% ขณะที่การจัดทำงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2553 อยู่ภายใต้คาดการณ์จีดีพีขยายตัว 2-3% ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 0-1%
สำหรับวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 วงเงิน 1.7 ล้านล้าน ลดลงจากปีงบประมาณ 2552 จำนวน 251,700 ล้านบาท คิดเป็น 12.9% แยกเป็นวงเงินรายจ่ายประจำ 1.33 ล้านล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ 52 คิดเป็น 5.7% รายจ่ายลงทุน จำนวน 307,000 ล้านบาท ลดลง 28.6% รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 62,764.9 ล้านบาท ลดลง 1.4% โดยคาดว่าจะไม่มีการรายงานเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชำระคืนเงินคงคลัง
ส่วนวงเงินงบประมาณที่จัดสรรให้องค์กรปรกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีจำนวน 148,000 ล้านบาท แต่เมื่อรวมประมาณการรายได้ของ อปท.อีก 201,000 แสนล้านบาท ทำให้ อปท. มีรายได้ทั้งสิ้น 349,000 แสนล้านบาท วงเงินงบประมาณขาดดุล 350,000 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณอยู่ที่ 13.5% ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ไม่เกิน 50% ของจีดีพี
“การปรับลดงบประมาณรายจ่ายครั้งนี้ ถือเป็นการปรับโครงสร้างงบประมาณให้เป็นจริงมากขึ้น โดยโครงการลงทุนใหม่ๆ จะดำเนินการ ภายใต้ประสิทธิภาพที่มีอยู่ แต่หากจะดำเนินการจะใช้เป็นเงินกู้ ไม่ใช่เงินงบประมาณ เพื่อให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ มีความระมัดระวังและตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การกู้เงินจะต้องคำนึงถึงการนำไปใช้เพื่อแก้ไขผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจด้วย" ผอ.สำนักงบประมาณ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อีกประมาณ 2 สัปดาห์ จะทราบรายละเอียดงบประมาณพร้อมความชัดเจนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 ซึ่งต้องอยู่ภายใต้กรอบของหนี้สาธารณะไม่ให้โตเกิน 60% ของจีดีพี ส่วนเศรษฐกิจไทยจะทรุดอีกยาวนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับต่างประเทศด้วย ตอนนี้สัญญาณค่อนข้างที่จะสับสนอยู่ เพราะบางช่วงเริ่มมีข่าวดีในบางประเทศ แต่บางช่วงยังมีปัญหา แม้แต่ตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศยังค่อนข้างที่จะผันผวนมาก อย่างไรก็ตาม คาดว่าประมาณตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้อาจจะติดลบอยู่ที่ 4-5%
"มีปัจจัยหลายตัวที่เห็นได้ชัดว่าเศรษฐกิจจะติดลบลง เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบโดยตรง ขณะที่ส่วนอื่นๆ มีเรื่องของความเชื่อมั่นผู้บริโภค ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้กระทบอยู่แล้ว ทำให้เราต้องปรับประมาณการเศรษฐกิจลงไป"
ส่วนจะมีการพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า "วันนี้ไม่ได้มีการพูดอะไรเพิ่มเติม เพราะทราบดีว่าขณะนี้เหลือทางเจ้าหน้าที่ที่จะรายงานกลับมาอีกครั้งว่าปัญหาที่เขาอยากจะไปคลี่คลายแก้ไข เดินหน้าไปตามเป้าหมายแล้ว"
***จำนนจัดซ่อมประชุมอาเซียนฯ ที่ภูเก็ต
ด้านความคืบหน้าในการจัดประชุมอาเซียนกับคู่เจรจา นายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศกำลังสอบถามไปยังประเทศผู้เกี่ยวข้องทั้ง 15 ประเทศ โดยเบื้องต้นในเดือนพฤษภาคมติดปัญหาว่าอินเดียอยู่ในช่วงที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และมีอีก 2 ประเทศที่ติดในเรื่องของงบประมาณ จึงต้องใช้เวลาในการดูตารางเวลาอีกระยะหนึ่ง แต่ไทยจะต้องจัดประชุมอาเซียนกับคู่เจรจาครั้งที่ 15 ในเดือนตุลาคม จึงต้องดูประโยชน์ของการประชุมเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ หลายฝ่ายมองค่อนข้างตรงกันว่าน่าจะประชุมให้ได้ภายในเดือนมิถุนายน เพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดความเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับเรื่องของแหล่งเงินทุน ที่จะมาใช้ในการพัฒนาและแก้ปัญหาวิกฤติของภูมิภาค ส่วนสถานที่เข้าใจว่ากระทรวงการต่างประเทศดูที่จังหวัดภูเก็ตเอาไว้ แต่จะนำไปปรึกษาหารือกับประเทศต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสบายใจและมั่นใจเพื่อที่จะได้เดินหน้าได้ ซึ่งไทยจะต้องทำเต็มที่ เพราะเป็นหน้าที่ของไทย
“ท่านเลขาฯอาเซียนก็อยากให้เร็ว หลายประเทศก็อยากให้เร็ว เพราะเรื่องหนึ่งที่เขาอยากจะหารือมาก คือเรื่องเกี่ยวกับการเงิน โดยเฉพาะเรื่องที่ธนาคารโลกกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศจะมีสินเชื่อใหม่และมีกติกาใหม่ในการปล่อยสินเชื่อ ก็อยากจะดูว่าภูมิภาคนี้จะใช้ประโยชน์จากตรงนั้นอย่างไร”นายกรัฐมนตรี กล่าว
ส่วนจะมีการเชิญผู้นำองค์กรสำคัญระดับโลกมาร่วมเหมือนที่เตรียมจัดที่พัทยา จังหวัดชลบุรีหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าในส่วนของเลขาธิการสหประชาชาติคงต้องมีมาร่วมประชุม แต่ในส่วนขององค์กรอื่นนั้นขึ้นอยู่กับว่าเลขาธิการอาเซียนประสานได้หรือไม่ เพราะเป็นรายการที่เพิ่มเติมเข้ามา
เมื่อถามว่า หากประเทศไทยจัดไม่ได้ จะส่งผลกระทบกับภูมิภาคหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แน่นอนว่าหากจัดไม่ได้ จะกระทบกับผลประโยชน์ของภูมิภาค และในส่วนของประเทศไทยก็ต้องมีผลกระทบเพิ่มเติมด้วย เพราะเป็นหน้าที่ของไทย อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้เตรียมประเทศเจ้าภาพสำรอง และประเทศสมาชิกก็ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ โดยรอดูท่าทีของไทยก่อน
เมื่อถามว่า มั่นใจได้อย่างไรว่าจะไม่มีการชุมนุมอย่างคนใส่เสื้อแดงที่พัทยาอีก นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงไม่มีแล้ว เพราะตอนนี้ไม่ได้ใส่เสื้อแดง
***อสังหาฯหนุนรัฐกู้เงิน-เร่งเบิกจ่าย
นายรัตนชัย ผาตินาวิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีสเทิร์น สตาร์ เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ คือ การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อสร้างให้ระบบธุรกิจมีการขับเคลื่อน โดยแนวทางที่รัฐบาลจะไปกู้เงินจากต่างประเทศนั้น เป็นเรื่องที่จำเป็น เพื่อนำแหล่งเงินกู้มาพัฒนาประเทศ และเติมสภาพคล่องเข้าสู่ระบบให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน รัฐบาลควรที่จะเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินประมาณให้มากและเร็วขึ้น
"รัฐควรมีการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ เช่น ระบบสาธารณูปโภค เนื่องจากเป็นโครงการที่ผันเงินก้อนใหญ่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และหากเป็นไปได้ รัฐบาลควรจัดโซนนิ่งในการส่งเสริมการลงทุนแบบพิเศษสุดๆ เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 3-4 แห่ง เพื่อจูงใจและดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เกิดการจ้างงาน มีเงินเดือน" นายรัตนชัยกล่าว
นายรัตน์ พานิชพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ก็มีความกังวลต่อแผนการเปิดโครงการในช่วงไตรมาส 3 ที่จะทยอยเปิด 8 โครงการ เพราะจากการประเมินเหตุการณ์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะยอดขายปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.และมี.ค.จากผลกระทบดังกล่าวทำให้รายได้ในปีนี้ คงจะลดลงมาอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท ขณะที่กำไรก็อาจจะเห็นการปรับลดลงเช่นกัน แต่ส่วนการที่เรามองว่าปีหน้าจะกลับมาสู่ภาวะปกติ หรือมีรายได้ ใกล้เคียงปี 51 เนื่องจาก บริษัทจะมียอดการโอนโครงการคอนโดฯ ที่ตากสิน และหลังสวน มูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท
"ตอนนี้ผมไม่อยากเดาว่า สถานการณ์จะเป็นอย่างไร และไม่รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะยาวนานขนาดไหน รู้แต่ว่า สิ่งที่เกิดส่งผลต่อผู้ประกอบการ ไม่ใช่แต่ผม รวมถึงรายอื่นด้วย" นายรัตน์กล่าว.
การปรับลดงบประมาณรายจ่ายปี 2553 ส่วนใหญ่เป็นการตัดลดงบในส่วนที่กระจายสู่ท้องถิ่น งบทหาร และการเดินทาง ศึกษาดูงานต่างประเทศ ซึ่งการปรับกรอบงบประมาณปี 2553 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่ชะลอตัวลงกว่าที่คาดการณ์ไว้จากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกและปัญหาการเมืองในประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2552 จะลดลงจากที่คาดไว้ และจะส่งผลให้ประมาณการจัดเก็บรายได้ในอนาคตมีแนวโน้มลดลงตาม
โดยสภาพัฒน์ประเมินว่า แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยหรือจีดีพีในปี 2552 จะติดลบประมาณ 2.5-3.0% ขณะที่การจัดทำงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2553 อยู่ภายใต้คาดการณ์จีดีพีขยายตัว 2-3% ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 0-1%
สำหรับวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 วงเงิน 1.7 ล้านล้าน ลดลงจากปีงบประมาณ 2552 จำนวน 251,700 ล้านบาท คิดเป็น 12.9% แยกเป็นวงเงินรายจ่ายประจำ 1.33 ล้านล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ 52 คิดเป็น 5.7% รายจ่ายลงทุน จำนวน 307,000 ล้านบาท ลดลง 28.6% รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 62,764.9 ล้านบาท ลดลง 1.4% โดยคาดว่าจะไม่มีการรายงานเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชำระคืนเงินคงคลัง
ส่วนวงเงินงบประมาณที่จัดสรรให้องค์กรปรกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีจำนวน 148,000 ล้านบาท แต่เมื่อรวมประมาณการรายได้ของ อปท.อีก 201,000 แสนล้านบาท ทำให้ อปท. มีรายได้ทั้งสิ้น 349,000 แสนล้านบาท วงเงินงบประมาณขาดดุล 350,000 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณอยู่ที่ 13.5% ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ไม่เกิน 50% ของจีดีพี
“การปรับลดงบประมาณรายจ่ายครั้งนี้ ถือเป็นการปรับโครงสร้างงบประมาณให้เป็นจริงมากขึ้น โดยโครงการลงทุนใหม่ๆ จะดำเนินการ ภายใต้ประสิทธิภาพที่มีอยู่ แต่หากจะดำเนินการจะใช้เป็นเงินกู้ ไม่ใช่เงินงบประมาณ เพื่อให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ มีความระมัดระวังและตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การกู้เงินจะต้องคำนึงถึงการนำไปใช้เพื่อแก้ไขผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจด้วย" ผอ.สำนักงบประมาณ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อีกประมาณ 2 สัปดาห์ จะทราบรายละเอียดงบประมาณพร้อมความชัดเจนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 ซึ่งต้องอยู่ภายใต้กรอบของหนี้สาธารณะไม่ให้โตเกิน 60% ของจีดีพี ส่วนเศรษฐกิจไทยจะทรุดอีกยาวนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับต่างประเทศด้วย ตอนนี้สัญญาณค่อนข้างที่จะสับสนอยู่ เพราะบางช่วงเริ่มมีข่าวดีในบางประเทศ แต่บางช่วงยังมีปัญหา แม้แต่ตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศยังค่อนข้างที่จะผันผวนมาก อย่างไรก็ตาม คาดว่าประมาณตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้อาจจะติดลบอยู่ที่ 4-5%
"มีปัจจัยหลายตัวที่เห็นได้ชัดว่าเศรษฐกิจจะติดลบลง เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบโดยตรง ขณะที่ส่วนอื่นๆ มีเรื่องของความเชื่อมั่นผู้บริโภค ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้กระทบอยู่แล้ว ทำให้เราต้องปรับประมาณการเศรษฐกิจลงไป"
ส่วนจะมีการพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า "วันนี้ไม่ได้มีการพูดอะไรเพิ่มเติม เพราะทราบดีว่าขณะนี้เหลือทางเจ้าหน้าที่ที่จะรายงานกลับมาอีกครั้งว่าปัญหาที่เขาอยากจะไปคลี่คลายแก้ไข เดินหน้าไปตามเป้าหมายแล้ว"
***จำนนจัดซ่อมประชุมอาเซียนฯ ที่ภูเก็ต
ด้านความคืบหน้าในการจัดประชุมอาเซียนกับคู่เจรจา นายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศกำลังสอบถามไปยังประเทศผู้เกี่ยวข้องทั้ง 15 ประเทศ โดยเบื้องต้นในเดือนพฤษภาคมติดปัญหาว่าอินเดียอยู่ในช่วงที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และมีอีก 2 ประเทศที่ติดในเรื่องของงบประมาณ จึงต้องใช้เวลาในการดูตารางเวลาอีกระยะหนึ่ง แต่ไทยจะต้องจัดประชุมอาเซียนกับคู่เจรจาครั้งที่ 15 ในเดือนตุลาคม จึงต้องดูประโยชน์ของการประชุมเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ หลายฝ่ายมองค่อนข้างตรงกันว่าน่าจะประชุมให้ได้ภายในเดือนมิถุนายน เพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดความเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับเรื่องของแหล่งเงินทุน ที่จะมาใช้ในการพัฒนาและแก้ปัญหาวิกฤติของภูมิภาค ส่วนสถานที่เข้าใจว่ากระทรวงการต่างประเทศดูที่จังหวัดภูเก็ตเอาไว้ แต่จะนำไปปรึกษาหารือกับประเทศต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสบายใจและมั่นใจเพื่อที่จะได้เดินหน้าได้ ซึ่งไทยจะต้องทำเต็มที่ เพราะเป็นหน้าที่ของไทย
“ท่านเลขาฯอาเซียนก็อยากให้เร็ว หลายประเทศก็อยากให้เร็ว เพราะเรื่องหนึ่งที่เขาอยากจะหารือมาก คือเรื่องเกี่ยวกับการเงิน โดยเฉพาะเรื่องที่ธนาคารโลกกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศจะมีสินเชื่อใหม่และมีกติกาใหม่ในการปล่อยสินเชื่อ ก็อยากจะดูว่าภูมิภาคนี้จะใช้ประโยชน์จากตรงนั้นอย่างไร”นายกรัฐมนตรี กล่าว
ส่วนจะมีการเชิญผู้นำองค์กรสำคัญระดับโลกมาร่วมเหมือนที่เตรียมจัดที่พัทยา จังหวัดชลบุรีหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าในส่วนของเลขาธิการสหประชาชาติคงต้องมีมาร่วมประชุม แต่ในส่วนขององค์กรอื่นนั้นขึ้นอยู่กับว่าเลขาธิการอาเซียนประสานได้หรือไม่ เพราะเป็นรายการที่เพิ่มเติมเข้ามา
เมื่อถามว่า หากประเทศไทยจัดไม่ได้ จะส่งผลกระทบกับภูมิภาคหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แน่นอนว่าหากจัดไม่ได้ จะกระทบกับผลประโยชน์ของภูมิภาค และในส่วนของประเทศไทยก็ต้องมีผลกระทบเพิ่มเติมด้วย เพราะเป็นหน้าที่ของไทย อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้เตรียมประเทศเจ้าภาพสำรอง และประเทศสมาชิกก็ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ โดยรอดูท่าทีของไทยก่อน
เมื่อถามว่า มั่นใจได้อย่างไรว่าจะไม่มีการชุมนุมอย่างคนใส่เสื้อแดงที่พัทยาอีก นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงไม่มีแล้ว เพราะตอนนี้ไม่ได้ใส่เสื้อแดง
***อสังหาฯหนุนรัฐกู้เงิน-เร่งเบิกจ่าย
นายรัตนชัย ผาตินาวิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีสเทิร์น สตาร์ เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ คือ การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อสร้างให้ระบบธุรกิจมีการขับเคลื่อน โดยแนวทางที่รัฐบาลจะไปกู้เงินจากต่างประเทศนั้น เป็นเรื่องที่จำเป็น เพื่อนำแหล่งเงินกู้มาพัฒนาประเทศ และเติมสภาพคล่องเข้าสู่ระบบให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน รัฐบาลควรที่จะเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินประมาณให้มากและเร็วขึ้น
"รัฐควรมีการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ เช่น ระบบสาธารณูปโภค เนื่องจากเป็นโครงการที่ผันเงินก้อนใหญ่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และหากเป็นไปได้ รัฐบาลควรจัดโซนนิ่งในการส่งเสริมการลงทุนแบบพิเศษสุดๆ เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 3-4 แห่ง เพื่อจูงใจและดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เกิดการจ้างงาน มีเงินเดือน" นายรัตนชัยกล่าว
นายรัตน์ พานิชพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ก็มีความกังวลต่อแผนการเปิดโครงการในช่วงไตรมาส 3 ที่จะทยอยเปิด 8 โครงการ เพราะจากการประเมินเหตุการณ์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะยอดขายปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.และมี.ค.จากผลกระทบดังกล่าวทำให้รายได้ในปีนี้ คงจะลดลงมาอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท ขณะที่กำไรก็อาจจะเห็นการปรับลดลงเช่นกัน แต่ส่วนการที่เรามองว่าปีหน้าจะกลับมาสู่ภาวะปกติ หรือมีรายได้ ใกล้เคียงปี 51 เนื่องจาก บริษัทจะมียอดการโอนโครงการคอนโดฯ ที่ตากสิน และหลังสวน มูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท
"ตอนนี้ผมไม่อยากเดาว่า สถานการณ์จะเป็นอย่างไร และไม่รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะยาวนานขนาดไหน รู้แต่ว่า สิ่งที่เกิดส่งผลต่อผู้ประกอบการ ไม่ใช่แต่ผม รวมถึงรายอื่นด้วย" นายรัตน์กล่าว.