เอเอฟพี - ธงชาติในทั่วทั้งมลรัฐโคโลราโดของสหรัฐฯ จะถูกลดลงมาครึ่งเสาในวันจันทร์(20) เมื่อมลรัฐแห่งนี้จัดพิธีรำลึกเหตุสังหารหมู่ที่โรงเรียน โคลัมไบน์ ไฮสคูล ครบรอบ 10 ปี โศกนาฏกรรมคราวนั้นได้คร่าชีวิตผู้คนไป 13 คน และมีผู้บาดเจ็บอีก 23 ราย
บรรดาญาติของเหยื่อตลอดจนผู้นำชุมชนมาชุมนุมกันเพื่อแสดงความอาลัยต่อเหตุสลดซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 20 เมษายนปี 1999 เมื่อวัยรุ่นชาย 2 คน คืออีริค แฮร์ริส และไดแลนด์ เคลบอล์ด พร้อมอาวุธร้ายแรงหลายชนิด สาดกระสุนใส่เพื่อนนักเรียนทั่วโรงเรียน
ในวันอาทิตย์ (19) มีการทำพิธีจุดเทียนไว้อาลัยบริเวณอนุสรณ์สถานโคลัมไบน์ ที่เมืองลิตเทิลตันในมลรัฐโคโลราโด ก่อนที่วันรุ่งขึ้น (20) จะมีพิธีรำลึกครบรอบ 10 ปี ของวันอันโหดร้ายซึ่งกัดกร่อนอยู่ภายในจิตวิญญาณของชาติ
เหตุสังหารหมู่ครั้งนี้ เป็นหนึ่งในการก่อเหตุกราดยิงครั้งแรก ๆ ที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ภาพอันชวนขวัญสยองของเหล่าเด็กนักเรียนซึ่งได้รับบาดเจ็บพยายามตะเกียกตะกายออกมาทางหน้าต่าง ขณะที่ตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษพร้อมอาวุธครบมือกำลังบุกเข้าไป จึงถูกแพร่ภาพไปทั่วโลก
บิลล์ ริตเตอร์ ผู้ว่าการมลรัฐโคโรลาโด ซึ่งประกาศตั้งแต่วันศุกร์ (17) ให้อาคารสถานที่สาธารณะลดธงชาติลงมาครึ่งเสากล่าวว่า โศกนาฏกรรมครั้งนั้น "จะคงอยู่ในความทรงจำของเรา"
การสังหารนักเรียน 12 รายและครูของพวกเขาในครั้งนั้น ถือเป็นการสูญเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์ครั้งใหญ่ของสหรัฐฯ และความรำลึกถึงพวกเขาจักต้องไม่ถูกหลงลืม ผู้ว่ามลรัฐโคโรลาโดกล่าว "เราไม่อาจปล่อยให้บทเรียนต่าง ๆ จากเหตุสังหารหมู่ครั้งนั้น ถูกเลือนลางไปตามกาลเวลา ครอบครัวของผู้เสียชีวิตยังคงอยู่ในความคิดและการสวดมนต์วิงวอนของเรา"
หลังเกิดเหตุสลดดังกล่าว ทางโรงเรียนโคลัมไบน์ไฮสคูลจะหยุดการเรียนการสอนในวันที่ 20 เมษายนของทุก ๆ ปี
สำหรับแฟรงค์ ดีแอนเจลิส อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์ ซึ่งดำรงตำแหน่งมายาวนาน โดยเคยประกาศว่าจะทำหน้าที่ต่อจนกว่านักเรียนระดับอนุบาลทุกคนซึ่งอยู่ที่โรงเรียนในวันเกิดเหตุ จะสำเร็จการศึกษา ก็เป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมพิธีในวันจันทร์ด้วย (20)
ขณะที่เหตุการณ์โคลัมไบน์ได้กลายเป็นตัวเร่งทำให้เกิดการอภิปรายถกเถียงอย่างดุเดือดในเรื่องการควบคุมอาวุธปืนในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศที่รัฐธรรมนูญมีบทมาตราระบุคุ้มครองสิทธิในการครอบครองอาวุธปืน อย่างไรก็ดี ความพยายามทั้งหลายที่จะให้มีการจำกัดควบคุมปืนนั้น ในที่สุดก็ล้มเหลวลงอย่างไม่เป็นท่า
รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ล้มเหลวไม่ได้มีการยืดชีวิตกฎหมายห้ามซื้อขายอาวุธปืนไรเฟิลสังหาร ซึ่งหมดอายุลงในปี 2004
คณะรัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามาในปัจจุบัน ได้แถลงว่า มีแผนจะต่ออายุกฎหมายห้ามฉบับดังกล่าว ปรากฏว่าส่งผลให้การค้าขายอาวุธปืนเพิ่มมากขึ้น นับตั้งแต่การเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว
เกิดเหตุกราดยิงตามมาอีกหลายครั้งนับตั้งแต่โศกนาฎกรรมโคลอมไบน์ โดยที่สร้างความสะเทือนใจมากที่สุดคือ การสังหารหมู่ที่เวอร์จิเนีย เทค ในปี 2007 ซึ่งคร่าชีวิตเหยื่อ 32 ราย ปรากฏว่าอาวุธสังหารที่ใช้ก่อเหตุสลดเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ถูกครอบครองอย่างถูกกฎหมาย
แต่อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจของสำนักต่าง ๆ เมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นว่า เสียงสนับสนุนให้ใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้นในการควบคุมอาวุธปืนได้ตกต่ำถึงขีดสุด โดยจากผลสำรวจของซีเอ็นเอ็นระบุว่า มีเพียง 39 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สนับสนุนให้ใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้น เปรียบเทียบกับ 8 ปีที่แล้วซึ่งสูงถึง 54 เปอร์เซ็นต์
ขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและความมั่นคงกล่าวด้วยว่า เหตุสังหารหมู่ที่โคลัมไบน์ยังนำไปสู่การปรับปรุงในด้านต่างๆ เช่น การออกแบบสถานศึกษา, โครงการเพื่อเข้าถึงนักเรียน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและองค์กรการศึกษา
เดนนิส เลวิส ผู้อำนวยการของ "เอ็ดดู - เซฟ" องค์กรที่ปรึกษาด้านการอบรมและรักษาความปลอดภัยในสถานศึกษากล่าวว่า ยังจำเป็นต้องสร้างมาตรฐานความปลอดภัยระดับชาติสำหรับสถานศึกษาต่างๆ ขึ้นมา
บรรดาญาติของเหยื่อตลอดจนผู้นำชุมชนมาชุมนุมกันเพื่อแสดงความอาลัยต่อเหตุสลดซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 20 เมษายนปี 1999 เมื่อวัยรุ่นชาย 2 คน คืออีริค แฮร์ริส และไดแลนด์ เคลบอล์ด พร้อมอาวุธร้ายแรงหลายชนิด สาดกระสุนใส่เพื่อนนักเรียนทั่วโรงเรียน
ในวันอาทิตย์ (19) มีการทำพิธีจุดเทียนไว้อาลัยบริเวณอนุสรณ์สถานโคลัมไบน์ ที่เมืองลิตเทิลตันในมลรัฐโคโลราโด ก่อนที่วันรุ่งขึ้น (20) จะมีพิธีรำลึกครบรอบ 10 ปี ของวันอันโหดร้ายซึ่งกัดกร่อนอยู่ภายในจิตวิญญาณของชาติ
เหตุสังหารหมู่ครั้งนี้ เป็นหนึ่งในการก่อเหตุกราดยิงครั้งแรก ๆ ที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ภาพอันชวนขวัญสยองของเหล่าเด็กนักเรียนซึ่งได้รับบาดเจ็บพยายามตะเกียกตะกายออกมาทางหน้าต่าง ขณะที่ตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษพร้อมอาวุธครบมือกำลังบุกเข้าไป จึงถูกแพร่ภาพไปทั่วโลก
บิลล์ ริตเตอร์ ผู้ว่าการมลรัฐโคโรลาโด ซึ่งประกาศตั้งแต่วันศุกร์ (17) ให้อาคารสถานที่สาธารณะลดธงชาติลงมาครึ่งเสากล่าวว่า โศกนาฏกรรมครั้งนั้น "จะคงอยู่ในความทรงจำของเรา"
การสังหารนักเรียน 12 รายและครูของพวกเขาในครั้งนั้น ถือเป็นการสูญเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์ครั้งใหญ่ของสหรัฐฯ และความรำลึกถึงพวกเขาจักต้องไม่ถูกหลงลืม ผู้ว่ามลรัฐโคโรลาโดกล่าว "เราไม่อาจปล่อยให้บทเรียนต่าง ๆ จากเหตุสังหารหมู่ครั้งนั้น ถูกเลือนลางไปตามกาลเวลา ครอบครัวของผู้เสียชีวิตยังคงอยู่ในความคิดและการสวดมนต์วิงวอนของเรา"
หลังเกิดเหตุสลดดังกล่าว ทางโรงเรียนโคลัมไบน์ไฮสคูลจะหยุดการเรียนการสอนในวันที่ 20 เมษายนของทุก ๆ ปี
สำหรับแฟรงค์ ดีแอนเจลิส อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์ ซึ่งดำรงตำแหน่งมายาวนาน โดยเคยประกาศว่าจะทำหน้าที่ต่อจนกว่านักเรียนระดับอนุบาลทุกคนซึ่งอยู่ที่โรงเรียนในวันเกิดเหตุ จะสำเร็จการศึกษา ก็เป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมพิธีในวันจันทร์ด้วย (20)
ขณะที่เหตุการณ์โคลัมไบน์ได้กลายเป็นตัวเร่งทำให้เกิดการอภิปรายถกเถียงอย่างดุเดือดในเรื่องการควบคุมอาวุธปืนในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศที่รัฐธรรมนูญมีบทมาตราระบุคุ้มครองสิทธิในการครอบครองอาวุธปืน อย่างไรก็ดี ความพยายามทั้งหลายที่จะให้มีการจำกัดควบคุมปืนนั้น ในที่สุดก็ล้มเหลวลงอย่างไม่เป็นท่า
รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ล้มเหลวไม่ได้มีการยืดชีวิตกฎหมายห้ามซื้อขายอาวุธปืนไรเฟิลสังหาร ซึ่งหมดอายุลงในปี 2004
คณะรัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามาในปัจจุบัน ได้แถลงว่า มีแผนจะต่ออายุกฎหมายห้ามฉบับดังกล่าว ปรากฏว่าส่งผลให้การค้าขายอาวุธปืนเพิ่มมากขึ้น นับตั้งแต่การเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว
เกิดเหตุกราดยิงตามมาอีกหลายครั้งนับตั้งแต่โศกนาฎกรรมโคลอมไบน์ โดยที่สร้างความสะเทือนใจมากที่สุดคือ การสังหารหมู่ที่เวอร์จิเนีย เทค ในปี 2007 ซึ่งคร่าชีวิตเหยื่อ 32 ราย ปรากฏว่าอาวุธสังหารที่ใช้ก่อเหตุสลดเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ถูกครอบครองอย่างถูกกฎหมาย
แต่อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจของสำนักต่าง ๆ เมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นว่า เสียงสนับสนุนให้ใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้นในการควบคุมอาวุธปืนได้ตกต่ำถึงขีดสุด โดยจากผลสำรวจของซีเอ็นเอ็นระบุว่า มีเพียง 39 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สนับสนุนให้ใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้น เปรียบเทียบกับ 8 ปีที่แล้วซึ่งสูงถึง 54 เปอร์เซ็นต์
ขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและความมั่นคงกล่าวด้วยว่า เหตุสังหารหมู่ที่โคลัมไบน์ยังนำไปสู่การปรับปรุงในด้านต่างๆ เช่น การออกแบบสถานศึกษา, โครงการเพื่อเข้าถึงนักเรียน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและองค์กรการศึกษา
เดนนิส เลวิส ผู้อำนวยการของ "เอ็ดดู - เซฟ" องค์กรที่ปรึกษาด้านการอบรมและรักษาความปลอดภัยในสถานศึกษากล่าวว่า ยังจำเป็นต้องสร้างมาตรฐานความปลอดภัยระดับชาติสำหรับสถานศึกษาต่างๆ ขึ้นมา