ท่านผู้อ่านครับ
นับตั้งแต่ประธานาธิบดีโอบามาขึ้นมาบริหารประเทศนั้น ก็ได้มีการเปลี่ยนไปในเรื่องที่ควรจะเปลี่ยนไปหลายเรื่อง
และก็ดูจะถูกใจคนที่มีหัวก้าวหน้ามากโขอยู่นะครับ
อย่างเรื่องที่เขาปิดเรือนจำของทหารที่อ่าวกวนตานาโม เป็นต้น และเขาทำหลังเข้าไปบัญชาการที่ทำเนียบขาวภายใน 7 วันแรกเลยทีเดียว
แม้ว่าคุกที่กวนตานาโมในคิวบาจะไม่ได้ปิดในทันที เพราะมันมีขั้นตอนพอสมควร ไหนจะต้องจัดการกับนักโทษร่วม 250 คนในคดีก่อการร้ายไม่นับพวกพยานอีกจำนวนหนึ่ง
ในบรรดาผู้ที่ติดคุกอยู่นั้นมีกาลิค ซีค โมฮัมหมัด ตัวสำคัญที่เป็นคนวางแผนก่อการในแผน 9/11 รวมอยู่ด้วย เหตุผลที่ต้องเอาผู้ก่อการร้ายไปไว้ที่กวนตานาโมก็เพื่อป้องกันไม่ให้ขัดต่อกฎหมายอเมริกัน
สำหรับแนวนโยบายการต่างประเทศนั้น
ฮิลลารี่ คลินตัน ดูแลอยู่
และเธอต้องการให้นโยบายต่างประเทศไม่ได้เป็นแค่ทฤษฎี แต่ต้องการ practical คือปฏิบัติได้อย่างแท้จริง
ระหว่างที่รอให้คณะกรรมาธิการกิจการระหว่างประเทศยืนยันการตั้งเธอในตำแหน่ง รมต.ต่างประเทศอยู่นั้น ฮิลลารี่ ก็เริ่มรุกแล้ว โดยเธอแสดงจุดยืนว่าเธอมีความเห็นที่อยู่ตรงข้ามกับอดีตประธานาธิบดีบุชอยู่เกือบทุกประเด็นในหลายๆ ประเด็นต่างกรรมต่างวาระกัน
สำหรับเธอนั้นตะวันออกกลางเป็นความสำคัญและเธอถือว่ามีความจำเป็นที่อเมริกาต้องวางไว้ในลำดับแรก และเธอจะทำงานใกล้ชิดกับปักกิ่งและมอสโกในปัญหาหลักด้านความมั่นคง รวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ขณะที่จะร่วมมือกันดูแลปัญหาการก่อการร้ายสากล และปัญหาระดับโลก เช่น เรื่องโลกร้อนและเรื่องที่ต้องจัดให้มีการปฏิรูปตลาดการเงินโดยเร่งด่วน
เห็นได้ชัดว่าฮิลลารี่เตรียมทำเรื่องใหญ่ทั้งนั้น
และทำไปพร้อมๆ ด้วย
เธอสรุปว่าการดำเนินนโยบายต่างประเทศของเธอหรือของประเทศอเมริกานั้น
“เป็นการร่วมกันระหว่างหลักการที่เป็นจริงระหว่างความเป็นจริงไม่ใช่เอาแค่อุดมคติที่เคร่งเกินไป”
เธอเรียกร้องให้ใช้วิธีการนำเอา “อำนาจที่กล้าหาญและสง่างาม” มาใช้แทน “อำนาจเก่าๆ” ที่ล้าสมัย หรือ “แข็งกระด้าง” ไม่ก็ “อ่อน” เกินไปที่จะนำมาใช้
“เราต้องสร้างโลกที่มีพันธมิตรและมีจุดเปลี่ยนแปลงที่ผกผันน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยการใช้อำนาจที่สง่าและงดงาม และใช้ในการทูตปกป้องนโยบายต่างประเทศของอเมริกา”
ครับ จัดได้ว่าฮิลลารี่เป็นนักฝันเชิงอุดมคติได้เลย
ทุกวันนี้ชนวนกาซาและความขัดแย้งระหว่างอาหรับกับอิสราเอลยังคงคุกรุ่นอยู่ “มันส่งประกายแห่งความร้าวฉานไปถึงเอเชียและแอฟริกาด้วย” เธออธิบายว่ากระบวนการเพื่อให้มีสันติภาพได้นั้น
“ไม่ได้มีแค่พวกหรือผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้น แต่มันเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่โยงถึงอิทธิพลต่างๆ ในโลกด้วย”
เธอกล่าวว่าเราควรอาศัยองค์การสหประชาชาติและสถาบันที่มีฐานะสากลให้มากกว่าที่เคยใช้มัน
รัฐบาลโอบามานั้นต่อรองที่จะให้มีการยอมรับเกี่ยวกับเรื่องการหยุดทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิง และให้ตัดการใช้สนธิสัญญาที่จะใช้แร่ธาตุที่จะนำมาผลิตอาวุธนิวเคลียร์และควรให้ลดการซื้อขายอาวุธกับรัสเซียโดยประเทศต่างๆ
เธอหวังว่าจะมีการสร้างสายใยผูกพันกับรัฐบาลจีนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
แน่นอนว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนนั้นได้ก้าวหน้ามายาวไกลเต็มที่แล้ว
สำหรับอีกประเทศหนึ่งที่ถูกกำหนดว่าอยู่ในลำดับที่ต้องใส่ใจเป็นลำดับต้นๆ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลโอบามาก็คือประเทศอัฟกานิสถาน
ที่ซึ่งบิน ลาดิน ไปพำนักและสั่งการให้มีการก่อการร้ายขึ้นทั่วโลกนั่นแหละ
อัฟกานิสถานนั้นในทางประวัติศาสตร์ไม่มีใครเคยพิชิตได้ราบคาบ ไม่ว่าอเล็กซานเดอร์มหาราช, เจงกิสข่าน, กุบไบข่าน, รัสเซีย แม้กระทั่งอเมริกาที่ต้องการตัวบิน ลาดิน ก็เถอะ
พื้นที่ของอัฟกานิสถานนั้นโหดมาก มีภูเขาสูงซับซ้อนชัยภูมิเหมาะกับการหลบซ่อนอย่างยิ่ง
คณะกรรมาธิการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาได้รับทราบจากนางฮิลลารี่ คลินตันว่า เธอกำลังทำการทบทวนเรื่องรีวิวนโยบายเกี่ยวกับอัฟกานิสถานใหม่อยู่ ส่วนอิหร่านก็จะหาแนวทางใหม่ๆ ด้วย จะไม่เผชิญหน้ากับกลุ่มประเทศอาหรับอีกต่อไป
สำหรับผลการรีวิวอัฟกานิสถานแม้จะยังไม่ชัด
เท่าที่ทราบก็คือ อัฟกานิสถานถูกจัดให้เป็นประเทศที่อยู่ในลำดับความสำคัญลำดับที่หนึ่ง
เหตุผลในการสนับสนุนก็เพราะมีกำลังของเอมริกันไปอยู่ที่นั่น
และแนวโน้มก็จะไม่ “ถอน” ไม่ “ลด” จำนวนทหารลง
ข่าวนี้ทำให้ปากีสถานซึ่งมีพรมแดนติดกันกับอัฟกานิสถานพอใจ
เพราะหากเกิดอะไรขึ้นที่อัฟกานิสถาน
ก็จะทำให้ปากีสถานสั่นคลอน ได้รับผลกระทบทั้งทางการทหารและทางการเมืองภายใน ถึงขั้นต้องเปลี่ยนรัฐบาลกันเลย
ครับ... ผมเอาเรื่องเหล่านี้มาเล่าก็เพราะนโยบายต่างประเทศของฮิลลารี่ และโอบามานั้นถือว่าเด่นมากและเป็นสิ่งที่ไม่เหมือนกับรัฐบาลชุดที่แล้ว
นับตั้งแต่ประธานาธิบดีโอบามาขึ้นมาบริหารประเทศนั้น ก็ได้มีการเปลี่ยนไปในเรื่องที่ควรจะเปลี่ยนไปหลายเรื่อง
และก็ดูจะถูกใจคนที่มีหัวก้าวหน้ามากโขอยู่นะครับ
อย่างเรื่องที่เขาปิดเรือนจำของทหารที่อ่าวกวนตานาโม เป็นต้น และเขาทำหลังเข้าไปบัญชาการที่ทำเนียบขาวภายใน 7 วันแรกเลยทีเดียว
แม้ว่าคุกที่กวนตานาโมในคิวบาจะไม่ได้ปิดในทันที เพราะมันมีขั้นตอนพอสมควร ไหนจะต้องจัดการกับนักโทษร่วม 250 คนในคดีก่อการร้ายไม่นับพวกพยานอีกจำนวนหนึ่ง
ในบรรดาผู้ที่ติดคุกอยู่นั้นมีกาลิค ซีค โมฮัมหมัด ตัวสำคัญที่เป็นคนวางแผนก่อการในแผน 9/11 รวมอยู่ด้วย เหตุผลที่ต้องเอาผู้ก่อการร้ายไปไว้ที่กวนตานาโมก็เพื่อป้องกันไม่ให้ขัดต่อกฎหมายอเมริกัน
สำหรับแนวนโยบายการต่างประเทศนั้น
ฮิลลารี่ คลินตัน ดูแลอยู่
และเธอต้องการให้นโยบายต่างประเทศไม่ได้เป็นแค่ทฤษฎี แต่ต้องการ practical คือปฏิบัติได้อย่างแท้จริง
ระหว่างที่รอให้คณะกรรมาธิการกิจการระหว่างประเทศยืนยันการตั้งเธอในตำแหน่ง รมต.ต่างประเทศอยู่นั้น ฮิลลารี่ ก็เริ่มรุกแล้ว โดยเธอแสดงจุดยืนว่าเธอมีความเห็นที่อยู่ตรงข้ามกับอดีตประธานาธิบดีบุชอยู่เกือบทุกประเด็นในหลายๆ ประเด็นต่างกรรมต่างวาระกัน
สำหรับเธอนั้นตะวันออกกลางเป็นความสำคัญและเธอถือว่ามีความจำเป็นที่อเมริกาต้องวางไว้ในลำดับแรก และเธอจะทำงานใกล้ชิดกับปักกิ่งและมอสโกในปัญหาหลักด้านความมั่นคง รวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ขณะที่จะร่วมมือกันดูแลปัญหาการก่อการร้ายสากล และปัญหาระดับโลก เช่น เรื่องโลกร้อนและเรื่องที่ต้องจัดให้มีการปฏิรูปตลาดการเงินโดยเร่งด่วน
เห็นได้ชัดว่าฮิลลารี่เตรียมทำเรื่องใหญ่ทั้งนั้น
และทำไปพร้อมๆ ด้วย
เธอสรุปว่าการดำเนินนโยบายต่างประเทศของเธอหรือของประเทศอเมริกานั้น
“เป็นการร่วมกันระหว่างหลักการที่เป็นจริงระหว่างความเป็นจริงไม่ใช่เอาแค่อุดมคติที่เคร่งเกินไป”
เธอเรียกร้องให้ใช้วิธีการนำเอา “อำนาจที่กล้าหาญและสง่างาม” มาใช้แทน “อำนาจเก่าๆ” ที่ล้าสมัย หรือ “แข็งกระด้าง” ไม่ก็ “อ่อน” เกินไปที่จะนำมาใช้
“เราต้องสร้างโลกที่มีพันธมิตรและมีจุดเปลี่ยนแปลงที่ผกผันน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยการใช้อำนาจที่สง่าและงดงาม และใช้ในการทูตปกป้องนโยบายต่างประเทศของอเมริกา”
ครับ จัดได้ว่าฮิลลารี่เป็นนักฝันเชิงอุดมคติได้เลย
ทุกวันนี้ชนวนกาซาและความขัดแย้งระหว่างอาหรับกับอิสราเอลยังคงคุกรุ่นอยู่ “มันส่งประกายแห่งความร้าวฉานไปถึงเอเชียและแอฟริกาด้วย” เธออธิบายว่ากระบวนการเพื่อให้มีสันติภาพได้นั้น
“ไม่ได้มีแค่พวกหรือผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้น แต่มันเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่โยงถึงอิทธิพลต่างๆ ในโลกด้วย”
เธอกล่าวว่าเราควรอาศัยองค์การสหประชาชาติและสถาบันที่มีฐานะสากลให้มากกว่าที่เคยใช้มัน
รัฐบาลโอบามานั้นต่อรองที่จะให้มีการยอมรับเกี่ยวกับเรื่องการหยุดทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิง และให้ตัดการใช้สนธิสัญญาที่จะใช้แร่ธาตุที่จะนำมาผลิตอาวุธนิวเคลียร์และควรให้ลดการซื้อขายอาวุธกับรัสเซียโดยประเทศต่างๆ
เธอหวังว่าจะมีการสร้างสายใยผูกพันกับรัฐบาลจีนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
แน่นอนว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนนั้นได้ก้าวหน้ามายาวไกลเต็มที่แล้ว
สำหรับอีกประเทศหนึ่งที่ถูกกำหนดว่าอยู่ในลำดับที่ต้องใส่ใจเป็นลำดับต้นๆ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลโอบามาก็คือประเทศอัฟกานิสถาน
ที่ซึ่งบิน ลาดิน ไปพำนักและสั่งการให้มีการก่อการร้ายขึ้นทั่วโลกนั่นแหละ
อัฟกานิสถานนั้นในทางประวัติศาสตร์ไม่มีใครเคยพิชิตได้ราบคาบ ไม่ว่าอเล็กซานเดอร์มหาราช, เจงกิสข่าน, กุบไบข่าน, รัสเซีย แม้กระทั่งอเมริกาที่ต้องการตัวบิน ลาดิน ก็เถอะ
พื้นที่ของอัฟกานิสถานนั้นโหดมาก มีภูเขาสูงซับซ้อนชัยภูมิเหมาะกับการหลบซ่อนอย่างยิ่ง
คณะกรรมาธิการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาได้รับทราบจากนางฮิลลารี่ คลินตันว่า เธอกำลังทำการทบทวนเรื่องรีวิวนโยบายเกี่ยวกับอัฟกานิสถานใหม่อยู่ ส่วนอิหร่านก็จะหาแนวทางใหม่ๆ ด้วย จะไม่เผชิญหน้ากับกลุ่มประเทศอาหรับอีกต่อไป
สำหรับผลการรีวิวอัฟกานิสถานแม้จะยังไม่ชัด
เท่าที่ทราบก็คือ อัฟกานิสถานถูกจัดให้เป็นประเทศที่อยู่ในลำดับความสำคัญลำดับที่หนึ่ง
เหตุผลในการสนับสนุนก็เพราะมีกำลังของเอมริกันไปอยู่ที่นั่น
และแนวโน้มก็จะไม่ “ถอน” ไม่ “ลด” จำนวนทหารลง
ข่าวนี้ทำให้ปากีสถานซึ่งมีพรมแดนติดกันกับอัฟกานิสถานพอใจ
เพราะหากเกิดอะไรขึ้นที่อัฟกานิสถาน
ก็จะทำให้ปากีสถานสั่นคลอน ได้รับผลกระทบทั้งทางการทหารและทางการเมืองภายใน ถึงขั้นต้องเปลี่ยนรัฐบาลกันเลย
ครับ... ผมเอาเรื่องเหล่านี้มาเล่าก็เพราะนโยบายต่างประเทศของฮิลลารี่ และโอบามานั้นถือว่าเด่นมากและเป็นสิ่งที่ไม่เหมือนกับรัฐบาลชุดที่แล้ว