ASTVผู้จัดการรายวัน-คาดสงกรานต์ปีนี้ เงินสะพัด 9.82 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.18% แต่ต่ำสุดในรอบ 5 ปี เผยหากไม่ได้แรงหนุนจากเช็กช่วยชาติ ปีนี้การใช้จ่ายจะติดลบ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2552 คาดว่าจะมีการใช้จ่ายคิดเป็นมูลค่า 9.82 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.18% เทียบกับการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2551 ที่มีมูลค่า 9.61 หมื่นล้านบาท ซึ่งการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้ เป็นผลจากการใช้จ่ายผ่านเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท ที่รัฐบาลแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้มีรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาท ที่คาดว่าจะนำออกมาใช้จ่ายช่วงเทศกาลสงกรานต์สัดส่วน 20-30% หรือมีเม็ดเงิน 3,000-5,400 ล้านบาท ของเม็ดเงินที่รัฐบาลแจกจ่ายผ่านเช็คช่วยชาติทั้งหมด 1-1.8 หมื่นล้านบาท
“ผลสำรวจพบว่าผู้ที่ได้รับเช็คช่วยชาติจะนำเช็คออกมาใช้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 20-30% หรือคิดเป็นเงิน 3,000-5,400 ล้านบาท หากตัดเม็ดเช็คช่วยชาติออกไป จะทำให้เทศกาลสงกรานต์ปีนี้มีเงินสะพัดแค่ 9.3-9.5 หมื่นล้านบาท หรือติดลบ 1-3% เมื่อเทียบกับใช้จ่ายปีก่อน”นายธนวรรธน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้จะยังคึกคัก เพราะมีเม็ดเงินจากเช็คช่วยชาติเข้ามาช่วย แต่การขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.18% ยังเป็นอัตราขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา สะท้อนว่าสภาพเศรษฐกิจไทยยังน่าห่วง ประชาชนกังวลกับปัญหาเศรษฐกิจและการว่างงาน เห็นได้จากคำถามของขวัญที่คนไทยอยากได้มากสุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยส่วนใหญ่ตอบว่าต้องการให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องมากสุด 55.47% ขณะที่การแก้ไขปัญหาการเมืองมีผู้ตอบ 26.21% เท่านั้น
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ประชาชนเป็นห่วงเรื่องปากท้องมาก โดยเฉพาะเดือนเม.ย.ที่เกรงว่าหลังจากสงกรานต์แล้ว จะเกิดปัญหาการเลิกจ้างงานตามมา คนจึงเห็นด้วยให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านเม็ดเงิน 1.56 ล้านล้านบาท แต่ยังมีความไม่เข้าใจในเรื่องของการกู้เงินมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจว่าจะได้ประโยชน์อย่างไร เพราะห่วงว่าประเทศจะเป็นหนี้มากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลต้องเร่งสร้างความเข้าใจเรื่องการกู้เงินให้กับประชาชน
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า แผนการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้เทียบกับปีที่แล้วในแง่มูลค่า พบว่าเพิ่มขึ้น 50.1% แต่ในแง่ปริมาณ หรือจำนวนชิ้นที่ซื้อสินค้า ผู้ตอบส่วนใหญ่ตอบลดลง 35.7% ซึ่งเป็นผลมาจากมูลค่าสินค้าราคาสูงขึ้น โดยแผนการใช้จ่าย พบว่า ผู้บริโภคจะไปทำบุญมากสุด 31.6% โดยเฉลี่ยของการทำบุญต่อคนอยู่ที่ 1,441 บาท รองลงมาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค เฉลี่ยใช้เงินต่อคน 3,251 บาท ทำอาหารทานที่บ้าน 12.5% เฉลี่ยต่อคน 1,082 บาท สังสรรค์/จัดเลี้ยง 11.3% เฉลี่ยต่อคน 2,993 บาท และซื้อสุรา 10.2% เฉลี่ยต่อคน 722 บาท
สำหรับแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ในเทศกาลสงกรานต์ 36.8% มาจากเงินเดือน/รายได้ปกติ 32.5% เงินออม 17% โบนัส/รายได้พิเศษ 11.6% เช็คช่วยชาติ 0.1% อื่นๆ ส่วนการวางแผนเดินทางไปเที่ยว ผู้ตอบส่วนใหญ่ 87.2% ระบุว่าเที่ยวภายในประเทศ และ 12.8% เที่ยวต่างประเทศ โดยการท่องเที่ยวจะใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน ออกเดินทาง 10-15 เม.ย. โดยรถยนต์ส่วนตัว รถตู้ รถไฟ และเครื่องบิน เดินทางกับครอบครัว เพื่อนแฟน เดินทางจำนวน 3-5 คน
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2552 คาดว่าจะมีการใช้จ่ายคิดเป็นมูลค่า 9.82 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.18% เทียบกับการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2551 ที่มีมูลค่า 9.61 หมื่นล้านบาท ซึ่งการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้ เป็นผลจากการใช้จ่ายผ่านเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท ที่รัฐบาลแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้มีรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาท ที่คาดว่าจะนำออกมาใช้จ่ายช่วงเทศกาลสงกรานต์สัดส่วน 20-30% หรือมีเม็ดเงิน 3,000-5,400 ล้านบาท ของเม็ดเงินที่รัฐบาลแจกจ่ายผ่านเช็คช่วยชาติทั้งหมด 1-1.8 หมื่นล้านบาท
“ผลสำรวจพบว่าผู้ที่ได้รับเช็คช่วยชาติจะนำเช็คออกมาใช้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 20-30% หรือคิดเป็นเงิน 3,000-5,400 ล้านบาท หากตัดเม็ดเช็คช่วยชาติออกไป จะทำให้เทศกาลสงกรานต์ปีนี้มีเงินสะพัดแค่ 9.3-9.5 หมื่นล้านบาท หรือติดลบ 1-3% เมื่อเทียบกับใช้จ่ายปีก่อน”นายธนวรรธน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้จะยังคึกคัก เพราะมีเม็ดเงินจากเช็คช่วยชาติเข้ามาช่วย แต่การขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.18% ยังเป็นอัตราขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา สะท้อนว่าสภาพเศรษฐกิจไทยยังน่าห่วง ประชาชนกังวลกับปัญหาเศรษฐกิจและการว่างงาน เห็นได้จากคำถามของขวัญที่คนไทยอยากได้มากสุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยส่วนใหญ่ตอบว่าต้องการให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องมากสุด 55.47% ขณะที่การแก้ไขปัญหาการเมืองมีผู้ตอบ 26.21% เท่านั้น
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ประชาชนเป็นห่วงเรื่องปากท้องมาก โดยเฉพาะเดือนเม.ย.ที่เกรงว่าหลังจากสงกรานต์แล้ว จะเกิดปัญหาการเลิกจ้างงานตามมา คนจึงเห็นด้วยให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านเม็ดเงิน 1.56 ล้านล้านบาท แต่ยังมีความไม่เข้าใจในเรื่องของการกู้เงินมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจว่าจะได้ประโยชน์อย่างไร เพราะห่วงว่าประเทศจะเป็นหนี้มากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลต้องเร่งสร้างความเข้าใจเรื่องการกู้เงินให้กับประชาชน
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า แผนการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้เทียบกับปีที่แล้วในแง่มูลค่า พบว่าเพิ่มขึ้น 50.1% แต่ในแง่ปริมาณ หรือจำนวนชิ้นที่ซื้อสินค้า ผู้ตอบส่วนใหญ่ตอบลดลง 35.7% ซึ่งเป็นผลมาจากมูลค่าสินค้าราคาสูงขึ้น โดยแผนการใช้จ่าย พบว่า ผู้บริโภคจะไปทำบุญมากสุด 31.6% โดยเฉลี่ยของการทำบุญต่อคนอยู่ที่ 1,441 บาท รองลงมาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค เฉลี่ยใช้เงินต่อคน 3,251 บาท ทำอาหารทานที่บ้าน 12.5% เฉลี่ยต่อคน 1,082 บาท สังสรรค์/จัดเลี้ยง 11.3% เฉลี่ยต่อคน 2,993 บาท และซื้อสุรา 10.2% เฉลี่ยต่อคน 722 บาท
สำหรับแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ในเทศกาลสงกรานต์ 36.8% มาจากเงินเดือน/รายได้ปกติ 32.5% เงินออม 17% โบนัส/รายได้พิเศษ 11.6% เช็คช่วยชาติ 0.1% อื่นๆ ส่วนการวางแผนเดินทางไปเที่ยว ผู้ตอบส่วนใหญ่ 87.2% ระบุว่าเที่ยวภายในประเทศ และ 12.8% เที่ยวต่างประเทศ โดยการท่องเที่ยวจะใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน ออกเดินทาง 10-15 เม.ย. โดยรถยนต์ส่วนตัว รถตู้ รถไฟ และเครื่องบิน เดินทางกับครอบครัว เพื่อนแฟน เดินทางจำนวน 3-5 คน