ASTVผู้จัดการรายวัน-โพลล์ชี้ธุรกิจไทยขาดสภาพคล่องหนัก หลังส่งออกวูบ ยอดขายหด แบงก์เข้มงวดปล่อยกู้ คาดประคองธุรกิจให้เดินหน้าได้อีกแค่ 8 เดือน หากไม่ได้รับการเยียวยา มีโอกาสปลดคนงานเพิ่มขึ้น หอการค้าไทยร้องรัฐซ้ำอีกรอบ เร่งแก้ปัญหาขาดสภาพคล่องด่วน
นางยาใจ ชูวิชา ประธานคณะจัดทำผลสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจสภาพคล่องและสถานภาพธุรกิจไทย โดยสำรวจจากภาคธุรกิจ ทั้งภาคเกษตร การค้า บริการ และการผลิต ระหว่างวันที่ 26-31 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 74.9% ระบุว่า ปัจจุบัน ขาดสภาพคล่องทางธุรกิจ ส่วนอีก 25.1% ไม่ขาดสภาพคล่อง โดยมีสาเหตุมาจากยอดคำสั่งซื้อลดลงมากที่สุดถึง 92.9% รองลงมา คือ มีปัญหาด้านหลักทรัพย์ค้ำประกัน 5% แหล่งเงินกู้ไม่ปล่อยสินเชื่อ 1.5% และลูกค้าไม่จ่ายค่าสินค้า 0.6% สำหรับวิธีแก้ปัญหา ส่วนใหญ่ตอบว่า ใช้กำไรสะสม รองลงมาคือ ขอสินเชื่อจากธนาคารอื่นๆ เจรจาขอผ่อนผันชำระหนี้ หรือชำระหนี้เท่าที่มีอยู่ หยุดชำระหนี้ หรือเลิกกิจการ
+++นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ภาคธุรกิจที่มีปัญหาขาดสภาพคล่องนั้น โดยเฉลี่ยแล้วมีความสามารถประคับประคองธุรกิจได้เพียง 8.6 เดือนเท่านั้น โดยธุรกิจที่ขาดสภาพคล่องถึง 100% ได้แก่ อาหาร สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า โรงแรมและภัตตาคาร สุขภาพ (สปา นวด) ค้าส่ง และค้าปลีก ในขณะนี้จึงยังไม่มีแผนขยายการลงทุน และขยายตลาด แต่จะขอสินเชื่อเพิ่มเพื่อดำเนินธุรกิจต่อ ส่วนการลงทุนเพิ่ม และขยายตลาดจะเริ่มต้นปี 2553
เมื่อถามถึงทัศนะต่อเศรษฐกิจและธุรกิจไทยนั้น ส่วนใหญ่ระบุว่า ปัญหาการเมืองภายในประเทศที่เกิดขึ้นอีกครั้งเป็นปัจจัยลบต่อการทำธุรกิจ และเศรษฐกิจไทย ตามมาด้วยวิกฤติเศรษฐกิจโลก นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐบาล ที่ยังไม่เพียงพอ รวมถึงความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม ที่ยังไม่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่า ในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว ลบ 2% ถึงลบ 1% ส่วนปี 2553 ส่วนใหญ่คาดขยายตัว 3-4%
ทั้งนี้ ภาคธุรกิจยังมองว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน เกิดสภาพคล่องทางธุรกิจ เกิดการลงทุนภาคเอกชน และเกิดการส่งออก ได้น้อยมาก นอกจากนี้ ยังระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศมาเที่ยวไทยลดลง ทำให้ขาดสภาพคล่อง การส่งออก รวมถึงยอดขาย ยอดรับคำสั่งซื้อ กำไร และการจ้างงานลดลงมาก โดยธุรกิจที่ยอดขาย และการจ้างงานลดลงมาก เช่น เครื่องดื่ม เครื่องหนัง/รองเท้า สุขภาพ ก่อสร้าง/วัสดุก่อสร้าง เครื่องเรือน เป็นต้น
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ภาคธุรกิจมองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีสัญญาณถดถอยต่อเนื่อง และปีนี้จะขยายตัวติดลบ 2% ถึง ลบ 1% สอดคล้องกับคาดการณ์ของศูนย์ฯ ที่คาดขยายตัวติดลบ 2.8% ส่วนปี 2553 คาดว่าจะดีขึ้น โดยภาคธุรกิจคาดขยายตัวที่ 3-4% เช่นเดียวกับที่ศูนย์ฯ คาดขยายตัว 3-5% แต่รัฐบาลต้องเร่งลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์ ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย การจ้างงาน ขณะเดียวกัน ต้องเร่งรัดให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐบาลปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจมากขึ้นด้วย
“ธุรกิจขาดสภาพคล่องหนัก และนำกำไรสะสมมาใช้ ซึ่งจะประคองธุรกิจได้ภายใน 8 เดือนเท่านั้น หากในระหว่างนี้ เศรษฐกิจไม่ฟื้นจนทำให้ยอดขายภาคธุรกิจดีขึ้น ประกอบกับ ธนาคารยังไม่ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ภาคธุรกิจซึ่งลดต้นทุนด้านต่างๆ อยู่แล้ว ก็จะเริ่มปลดพนักงานมากขึ้น ขณะเดียวกัน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็จะเริ่มช้าออกไป และการส่งออกจะติดลบมากขึ้น ทั้งปีคาดติดลบถึง 15%” นายธนวรรธน์กล่าว
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการมีความสามารถผ่อนชำระหนี้ลดลง และเสี่ยงที่จะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพราะมีรายได้และกำไรจากการขายสินค้าลดลง ลูกค้าขอยืดเวลาการชำระค่าสินค้านานถึง 30-90 วัน และไม่สามารถขอสินเชื่อจากธนาคารได้ เพราะธนาคารเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ จึงต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหา เช่น ออกเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือน ผ่อนปรนเกณฑ์ขอกู้ หรือประสานธนาคารยอมให้ผู้ส่งออกเอาแอล/ซีจากลูกค้าที่ขอยืดเวลาชำระเงินค่าสินค้ามาขึ้นเงินสดได้ทันที เพราะหากไม่สามารถแก้ปัญหาสภาพคล่องได้ ก็จะทยอยปลดคนงาน เพื่อประคอธุรกิจให้อยู่รอด ทั้งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น
นางยาใจ ชูวิชา ประธานคณะจัดทำผลสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจสภาพคล่องและสถานภาพธุรกิจไทย โดยสำรวจจากภาคธุรกิจ ทั้งภาคเกษตร การค้า บริการ และการผลิต ระหว่างวันที่ 26-31 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 74.9% ระบุว่า ปัจจุบัน ขาดสภาพคล่องทางธุรกิจ ส่วนอีก 25.1% ไม่ขาดสภาพคล่อง โดยมีสาเหตุมาจากยอดคำสั่งซื้อลดลงมากที่สุดถึง 92.9% รองลงมา คือ มีปัญหาด้านหลักทรัพย์ค้ำประกัน 5% แหล่งเงินกู้ไม่ปล่อยสินเชื่อ 1.5% และลูกค้าไม่จ่ายค่าสินค้า 0.6% สำหรับวิธีแก้ปัญหา ส่วนใหญ่ตอบว่า ใช้กำไรสะสม รองลงมาคือ ขอสินเชื่อจากธนาคารอื่นๆ เจรจาขอผ่อนผันชำระหนี้ หรือชำระหนี้เท่าที่มีอยู่ หยุดชำระหนี้ หรือเลิกกิจการ
+++นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ภาคธุรกิจที่มีปัญหาขาดสภาพคล่องนั้น โดยเฉลี่ยแล้วมีความสามารถประคับประคองธุรกิจได้เพียง 8.6 เดือนเท่านั้น โดยธุรกิจที่ขาดสภาพคล่องถึง 100% ได้แก่ อาหาร สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า โรงแรมและภัตตาคาร สุขภาพ (สปา นวด) ค้าส่ง และค้าปลีก ในขณะนี้จึงยังไม่มีแผนขยายการลงทุน และขยายตลาด แต่จะขอสินเชื่อเพิ่มเพื่อดำเนินธุรกิจต่อ ส่วนการลงทุนเพิ่ม และขยายตลาดจะเริ่มต้นปี 2553
เมื่อถามถึงทัศนะต่อเศรษฐกิจและธุรกิจไทยนั้น ส่วนใหญ่ระบุว่า ปัญหาการเมืองภายในประเทศที่เกิดขึ้นอีกครั้งเป็นปัจจัยลบต่อการทำธุรกิจ และเศรษฐกิจไทย ตามมาด้วยวิกฤติเศรษฐกิจโลก นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐบาล ที่ยังไม่เพียงพอ รวมถึงความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม ที่ยังไม่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่า ในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว ลบ 2% ถึงลบ 1% ส่วนปี 2553 ส่วนใหญ่คาดขยายตัว 3-4%
ทั้งนี้ ภาคธุรกิจยังมองว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน เกิดสภาพคล่องทางธุรกิจ เกิดการลงทุนภาคเอกชน และเกิดการส่งออก ได้น้อยมาก นอกจากนี้ ยังระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศมาเที่ยวไทยลดลง ทำให้ขาดสภาพคล่อง การส่งออก รวมถึงยอดขาย ยอดรับคำสั่งซื้อ กำไร และการจ้างงานลดลงมาก โดยธุรกิจที่ยอดขาย และการจ้างงานลดลงมาก เช่น เครื่องดื่ม เครื่องหนัง/รองเท้า สุขภาพ ก่อสร้าง/วัสดุก่อสร้าง เครื่องเรือน เป็นต้น
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ภาคธุรกิจมองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีสัญญาณถดถอยต่อเนื่อง และปีนี้จะขยายตัวติดลบ 2% ถึง ลบ 1% สอดคล้องกับคาดการณ์ของศูนย์ฯ ที่คาดขยายตัวติดลบ 2.8% ส่วนปี 2553 คาดว่าจะดีขึ้น โดยภาคธุรกิจคาดขยายตัวที่ 3-4% เช่นเดียวกับที่ศูนย์ฯ คาดขยายตัว 3-5% แต่รัฐบาลต้องเร่งลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์ ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย การจ้างงาน ขณะเดียวกัน ต้องเร่งรัดให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐบาลปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจมากขึ้นด้วย
“ธุรกิจขาดสภาพคล่องหนัก และนำกำไรสะสมมาใช้ ซึ่งจะประคองธุรกิจได้ภายใน 8 เดือนเท่านั้น หากในระหว่างนี้ เศรษฐกิจไม่ฟื้นจนทำให้ยอดขายภาคธุรกิจดีขึ้น ประกอบกับ ธนาคารยังไม่ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ภาคธุรกิจซึ่งลดต้นทุนด้านต่างๆ อยู่แล้ว ก็จะเริ่มปลดพนักงานมากขึ้น ขณะเดียวกัน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็จะเริ่มช้าออกไป และการส่งออกจะติดลบมากขึ้น ทั้งปีคาดติดลบถึง 15%” นายธนวรรธน์กล่าว
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการมีความสามารถผ่อนชำระหนี้ลดลง และเสี่ยงที่จะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพราะมีรายได้และกำไรจากการขายสินค้าลดลง ลูกค้าขอยืดเวลาการชำระค่าสินค้านานถึง 30-90 วัน และไม่สามารถขอสินเชื่อจากธนาคารได้ เพราะธนาคารเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ จึงต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหา เช่น ออกเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือน ผ่อนปรนเกณฑ์ขอกู้ หรือประสานธนาคารยอมให้ผู้ส่งออกเอาแอล/ซีจากลูกค้าที่ขอยืดเวลาชำระเงินค่าสินค้ามาขึ้นเงินสดได้ทันที เพราะหากไม่สามารถแก้ปัญหาสภาพคล่องได้ ก็จะทยอยปลดคนงาน เพื่อประคอธุรกิจให้อยู่รอด ทั้งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น