ASTVผู้จัดการรายวัน-ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคดีดตัวดีขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน ขานรับการเมืองนิ่ง ความหวังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นห่วงปัญหาคนตกงานที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้น “ธนวรรธน์”ชี้ยังไม่ใช่สัญญาณฟื้นตัวชัดเจน แต่เริ่มมีความหวัง แนะรัฐบาลคลอดมาตรการกระตุ้นต่อเนื่อง เน้นสร้างงาน ท่องเที่ยว และส่งออก
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนม.ค.2552 จากกลุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ 2,223 คน พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเพิ่มเป็น 68.3 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้อนาคตเพิ่มเป็น 89.7 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มเป็น 75.2 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต เพิ่มเป็น 77.0 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานลดลงเหลือ 67.7 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปัจจุบันเหลือ 65.4
ปัจจัยบวกที่ช่วยให้ความเชื่อมั่นกลับมาดีขึ้น มาจากการบริหารงานรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ และได้รับผลดีเชิงจิตวิทยาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 18 มาตรการ วงเงิน 115,000 ล้านบาท รวมถึงการต่ออายุโครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน ที่ช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นได้มาก ขณะเดียวกันการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 2.75% เหลือ 2% ก็ช่วยลดรายจ่ายให้ประชาชนและภาคธุรกิจ
ส่วนปัจจัยลบยังมาจากความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และกระทบต่อบรรยากาศการค้าของไทย และการส่งออก การกังวลเรื่องค่าครองชีพที่ทรงตัวระดับสูง และปัญหาการเลิกจ้างที่กำลังทวีความรุนแรงต่อเนื่อง
สำหรับผลสำรวจภาวการณ์ด้านสังคมของผู้บริโภคพบว่า ดัชนีด้านสถานการณ์การเมืองปรับเพิ่มเป็น 61.9 ความสุขในการดำเนินชีวิต เพิ่มเป็น 94 ภาวะค่าครองชีพเพิ่มเป็น 47.2 ปัญหาคอร์รัปชั่นเพิ่มเป็น 76.5 แต่ปัญหายาเสพติดลดเหลือ 52.9
ทั้งนี้ คาดว่าแนวโน้มการบริโภคจะไม่ขยายตัวจนถึงไตรมาสสอง เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทุกตัวยังทรงตัวต่ำกว่าระดับปกติ เพราะกังวลเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจในและนอกประเทศ รวมทั้งปัญหาการว่างงาน
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า แม้ภาพรวมดัชนีความเชื่อมั่นจะเพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน แต่ยังไม่มีสัญญาณสะท้อนว่าเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน เพราะความเชื่อมั่นที่เพิ่มส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอนาคต ซึ่งประชาชนเฝ้าหวังว่าปัญหาเศรษฐกิจจะคลี่คลาย แต่ในความเป็นจริงประชาชนยังรู้สึกถึงเศรษฐกิจขาลง เห็นได้จากดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปัจจุบันยังลดลง
“ปัญหาการว่างงานเป็นประเด็นหลักที่บั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภค เพราะขณะนี้ภาคธุรกิจ ผู้ผลิตยังเลิกจ้าง และปลดคนงานอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจำเป็นต้องออกมาตรการรองรับปัญหาแรงงานให้เป็นรูปธรรมกว่าเดิม เพราะนโยบายที่ตอนนี้ยังไม่ชัดเจน แม้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะยืนยันว่ามีแผนรองรับการว่างง่านอีก 5 แสนคนก็ตาม แต่สิ่งที่ดีคือตอนนี้คนส่วนใหญ่กลับมาเชื่อมั่นสถานการณ์การเมืองมากขึ้น เดือนนี้มีดัชนีเพิ่ม 20 จุดและอยู่ระดับสูงสุดใน 10 เดือน รวมถึงปัญหาค่าครองชีพราคาแพงที่เห็นว่าเริ่มคลี่คลาย”นายธนวรรธน์กล่าว
หลังจากนี้ รัฐบาลควรออกมาตรการอัดฉีดเม็ดเงินลงเศรษฐกิจรอบใหม่เพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาว่างงาน และดูแลภาคการส่งออก และท่องเที่ยว ที่เป็นแหล่งรายได้ของประเทศให้ฟื้นโดยด่วน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในตลาดระยะใกล้แถบเอเชีย น่าจะมีศักยภาพฟื้นตัวได้ก่อน เพราะได้รับผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจน้อย จึงเห็นว่ารัฐบาลควรเพิ่มงบส่งเสริมทำการตลาดท่องเที่ยว และออกมาตรการพิเศษชักชวนนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนม.ค.2552 จากกลุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ 2,223 คน พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเพิ่มเป็น 68.3 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้อนาคตเพิ่มเป็น 89.7 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มเป็น 75.2 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต เพิ่มเป็น 77.0 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานลดลงเหลือ 67.7 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปัจจุบันเหลือ 65.4
ปัจจัยบวกที่ช่วยให้ความเชื่อมั่นกลับมาดีขึ้น มาจากการบริหารงานรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ และได้รับผลดีเชิงจิตวิทยาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 18 มาตรการ วงเงิน 115,000 ล้านบาท รวมถึงการต่ออายุโครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน ที่ช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นได้มาก ขณะเดียวกันการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 2.75% เหลือ 2% ก็ช่วยลดรายจ่ายให้ประชาชนและภาคธุรกิจ
ส่วนปัจจัยลบยังมาจากความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และกระทบต่อบรรยากาศการค้าของไทย และการส่งออก การกังวลเรื่องค่าครองชีพที่ทรงตัวระดับสูง และปัญหาการเลิกจ้างที่กำลังทวีความรุนแรงต่อเนื่อง
สำหรับผลสำรวจภาวการณ์ด้านสังคมของผู้บริโภคพบว่า ดัชนีด้านสถานการณ์การเมืองปรับเพิ่มเป็น 61.9 ความสุขในการดำเนินชีวิต เพิ่มเป็น 94 ภาวะค่าครองชีพเพิ่มเป็น 47.2 ปัญหาคอร์รัปชั่นเพิ่มเป็น 76.5 แต่ปัญหายาเสพติดลดเหลือ 52.9
ทั้งนี้ คาดว่าแนวโน้มการบริโภคจะไม่ขยายตัวจนถึงไตรมาสสอง เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทุกตัวยังทรงตัวต่ำกว่าระดับปกติ เพราะกังวลเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจในและนอกประเทศ รวมทั้งปัญหาการว่างงาน
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า แม้ภาพรวมดัชนีความเชื่อมั่นจะเพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน แต่ยังไม่มีสัญญาณสะท้อนว่าเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน เพราะความเชื่อมั่นที่เพิ่มส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอนาคต ซึ่งประชาชนเฝ้าหวังว่าปัญหาเศรษฐกิจจะคลี่คลาย แต่ในความเป็นจริงประชาชนยังรู้สึกถึงเศรษฐกิจขาลง เห็นได้จากดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปัจจุบันยังลดลง
“ปัญหาการว่างงานเป็นประเด็นหลักที่บั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภค เพราะขณะนี้ภาคธุรกิจ ผู้ผลิตยังเลิกจ้าง และปลดคนงานอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจำเป็นต้องออกมาตรการรองรับปัญหาแรงงานให้เป็นรูปธรรมกว่าเดิม เพราะนโยบายที่ตอนนี้ยังไม่ชัดเจน แม้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะยืนยันว่ามีแผนรองรับการว่างง่านอีก 5 แสนคนก็ตาม แต่สิ่งที่ดีคือตอนนี้คนส่วนใหญ่กลับมาเชื่อมั่นสถานการณ์การเมืองมากขึ้น เดือนนี้มีดัชนีเพิ่ม 20 จุดและอยู่ระดับสูงสุดใน 10 เดือน รวมถึงปัญหาค่าครองชีพราคาแพงที่เห็นว่าเริ่มคลี่คลาย”นายธนวรรธน์กล่าว
หลังจากนี้ รัฐบาลควรออกมาตรการอัดฉีดเม็ดเงินลงเศรษฐกิจรอบใหม่เพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาว่างงาน และดูแลภาคการส่งออก และท่องเที่ยว ที่เป็นแหล่งรายได้ของประเทศให้ฟื้นโดยด่วน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในตลาดระยะใกล้แถบเอเชีย น่าจะมีศักยภาพฟื้นตัวได้ก่อน เพราะได้รับผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจน้อย จึงเห็นว่ารัฐบาลควรเพิ่มงบส่งเสริมทำการตลาดท่องเที่ยว และออกมาตรการพิเศษชักชวนนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ