ASTVผู้จัดการรายวัน - ผู้บริหารกระทรวงการคลังโต้ "ดร.โอแม้ว" กรณีมั่วจีดีพีไทยติดลบ 4% กางตัวเลขรัฐบาลทั่วโลกอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนไทยยังมี 1.91 แสนล้าน สำรองพร้อมใช้ระยะกลาง-ยาว บอกเอาบุญ เฉพาะเงินก้อนนี้ดันจีดีพีได้ 1% แต่มั่นใจทั้งปี 2% "ธนวรรธน์" โผล่ชี้จีดีพีส่อติดลบ 1% เหตุส่งออกทรุดเลิกจ้างพุ่ง แนะรัฐบาลอัดฉีดสภาพคล่องต่อยอดงบกลางปีกับงบอุ้มราคาสินค้าเกษตร พร้อมลดภาษีช่วยเหลือภาคธุรกิจ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สสค.) แถลงเช้าวานนี้ (5 ม.ค.) ว่า สศค.รับฟังความประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจของนักเศรษฐศาสตร์ทุกคน แต่จากการวิเคราะห์ข้อมูลไม่พบว่า ปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวติดลบร้อยละ 4 หรือต่ำสุดในโลกตามที่นายโอฬาร ไชยประวัติ อดีตนายกมหาวิทยาลัยชินวัตร และ อดีตรองนายกฯ ในรัฐบาลสมชาย วิเคราะห์ ยกเว้นทุกประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทยไม่ออกมาตรการใดๆ มากระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้จากประมาณการของ 3 หน่วยงาน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), สศค. และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีความเห็นสอดคล้องกันว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวที่ 0-2%
ผู้อำนวยการ สศค.ระบุว่า ตามข้อเท็จจริงแล้วจะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆ ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง บางประเทศจะมีมาตรการมากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหา เช่น สหรัฐฯ ได้ใช้งบประมาณกว่า 8.2 แสนล้านดอลลาร์ คิดเป็น 6% ของจีดีพี มากระตุ้นเศรษฐกิจ, ญี่ปุ่นใช้ 5.39 แสนล้านดอลลาร์ คิดเป็น 12.3% ของจีดีพี, จีนใช้ 5.85 แสนล้านดอลลาร์ คิดเป็น 17.9% ของจีดีพี, สิงคโปร์ ซึ่งคล้ายกับไทย ที่ติดลบไตรมาส 4 ใช้ 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ คิดเป็น 8.4% ของจีดีพี ขณะที่ไทยใช้ประมาณ 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ คิดเป็น 5% ของจีดีพี
"ผมยืนยันว่ากระทรวงการคลัง พร้อมรับฟังประมาณการเศรษฐกิจของนักเศรษฐศาสตร์ที่มองว่าเศรษฐกิจไทยจะติดลบ ผมไม่ได้ต้องการมาตอบโต้กูรูของประเทศ แต่อยากให้ทราบข้อเท็จจริงว่าสถานการณ์ของไทยเป็นอย่างไร" นายสมชัยกล่าวและมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยปี 52 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ถึง 2% เกิดจากการที่รัฐบาลได้มีการออกมาตรการต่างๆ มากระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการจัดทำงบกลางปี 1.167 แสนล้านบาท ซึ่งจะมีเม็ดเงินจริงเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 9 หมื่นล้านบาท มีการเบิกจ่ายเงิบประมาณให้ได้ตามเป้าหมาย 94% มีการเบิกจ่ายงบเหลื่อมปีให้ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีเงินกู้สำรองที่พร้อมจะเบิกจ่ายได้ทันที ส่วนนี้จะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้แล้วอย่างน้อย 1%
"จะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้มีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นไปแล้ว 2 ล็อต หากมาตรการที่ออกไปยังไม่ได้ผล รัฐบาลก็ยังมีเงินเหลือสำรองในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไปอีกประมาณ 1.91 แสนล้านบาทเป็นการเตรียมมาตรการระยะกลางและระยะยาวเพื่อวางโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ เช่น การเดินหน้าโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่" นายสมชัยกล่าว
เขาย้ำว่า เศรษฐกิจไทยยังมีเสถียรภาพ ไม่ได้อยู่ภายใต้ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ซึ่งในปี 2553 ยังมองว่าเศรษฐกิจไทยยังน่าจะโต 3% ภายใต้การคาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาส 3 และ 4 และต่อเนื่องถึงปี 2553 แต่ยอมรับว่าอาจยังขยายตัวได้ไม่เต็มที่ ซึ่งจำเป็นที่รัฐบาลยังต้องใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณต่อเนื่องอีก ในส่วนของภาคการส่งออก จากเดิมเคยคาดการณ์ว่า จะติดลบในทุกเซ็คเตอร์ แต่จากข้อมูลล่าสุดพบว่า มี 2-3 เซ็คเตอร์ ที่ยังส่งออกเป็นบวก คือ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่มห่ม เกษตรและอาหาร พบว่า ยังไม่มีการปิดโรงงานหรือปรับลดคนงาน ถือว่าเป็นโอกาสในช่วงวิกฤต อาจทำให้การส่งออกขยายตัวได้ดี
นายสมชัยยังกล่าวถึงฐานะเงินคงคลัง ว่า มีคณะกรรมการดูแลรายรับรายจ่ายภาครัฐ เงินคงคลังจะมีการขึ้นลงเป็นช่วง โดยต้นปีจะลดลงและปรับเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีการจัดเก็บภาษีเงินได้กลางปี ยืนยันว่า ไม่ได้อยู่ในภาวะผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีคณะทำงานทั้ง สศค. และสำนักบริหารหนี้สาธารณะ และกรมบัญชีกลางดูแลการบริหารเงินคงคลังอย่างใกล้ชิด
**"ธนวรรธน์" คาดจีดีพีติดลบ 1%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ฯ ได้ปรับประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2552 โดยแบ่งสมมุติฐานออกเป็น 3 กรณี ได้แก่ กรณีแรก ภายใต้ปัจจัยเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอย่างมากในครึ่งปีแรก และกลับมาฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง ประกอบกับการเมืองไทยมีเสถียรภาพมากขึ้นและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเริ่มมีผลในช่วงครึ่งปีหลัง จะทำให้เศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ขยายตัวติดลบ 1.0% ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 10 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นกรณีที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากสุด 60%
สาเหตุที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวติดลบ 1.0% เป็นผลจากการส่งออกไทยขยายตัวติดลบ 5.8% มูลค่า 1.65 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพราะภาคส่งออกไทยมีสัดส่วน 65% ของจีดีพีประเทศ โดยสินค้าส่งออก 10 อันดับแรกของไทย มีถึงสัดส่วน 40% เช่น กลุ่มยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอัญมณี เป็นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่คาดว่ายอดส่งออกจะลดลง 10-30% ทำให้มีอัตราการว่างงานประมาณ 9 แสนคน ถึง 1.2 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราว่างงาน 2.3-3.1% เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่มีการว่างงาน 5 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราว่างงาน 1.5%
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะติดลบ 0.1-1% ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกไทยจะต้องเผชิญกับภาวะเงินฝืด โดยอัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวติดลบจนถึงเดือนส.ค. ก่อนฟื้นกลับมาในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 2 และฟื้นตัวกลับมาในไตรมาส 3 ทำให้คาดว่าครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยจะติดลบ 3-5%
“หลายประเทศมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ภาพของสถาบันการเงินที่ยังมีปัญหา บ่งชี้ว่าการบริโภคทั่วโลกจะยังคงทรุดตัวอยู่ ดังนั้น การส่งออกที่ติดลบ 5% จะทำให้มูลค่าหายไป 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3.5 แสนล้านบาท เมื่อรวมกับภาคการท่องเที่ยวปีนี้ที่คาดว่าจะลดลง 5-10% หรือรายได้หายไป 7 หมื่นถึง 1 แสนล้านบาท มีผลต่อจีดีพีประเทศลดลง 3-4% เพราะรายได้ที่หายไป 1 แสนล้านบาท จะทำให้จีดีพีลดลง 1%” นายธนวรรธน์กล่าว
ส่วนกรณี 2 มีโอกาสเกิดขึ้น 15% ซึ่งเป็นกรณีเลวร้ายสุด คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ยังไม่ได้ผล และทำเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวปลายปี ประกอบกับการเมืองไทยขาดเสถียรภาพ จะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวติดลบ 2.8% เป็นผลจากการส่งออกติดลบ 10% มูลค่า1.57 แสนล้านเหรียญสหรัฐ อัตราเงินเฟ้อติดลบ 1.3-2.3% และมีการว่างงานประมาณ 1.3 แสนคนถึง 1.5 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 3.4-3.9%
ขณะที่กรณี 3 มีโอกาสเกิดขึ้น 25% ถือเป็นสถานการณ์ที่ดีสุด คือ เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีแรก และฟื้นตัวช่วงกลางปี ประกอบกับการเมืองไทยมีเสถียรภาพ จะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 0.8% การส่งออก ขยายตัว 0% มูลค่า 1.75 แสนล้านเหรียญสหรัฐ อัตราเงินเฟ้ออยู่ระดับ 0.0-1.0% และอัตราการว่างงานประมาณ 7-9 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.9-2.3%
เขาย้ำว่า เศรษฐกิจขณะนี้มีโอกาสติดลบมากสุด แต่ยังมีโอกาสเป็นบวก หากรัฐบาลอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการกู้ยืมเงินเข้ามาอัดฉีดระบบเศรษฐกิจมากขึ้น เพราะมองว่างบประมาณกลางปีเพิ่มเติม 1.2 แสนล้านบาท และงบดูแลสินค้าเกษตรอีก 1 แสนล้านบาท ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยเป็นบวก
“หากอยากให้เศรษฐกิจไทยเป็นบวก รัฐบาลควรเร่งอัดเม็ดเงินเข้าไปทดแทนรายได้จากภาคส่งออกและท่องเที่ยวที่หายไปถึง 4 แสนล้านบาท และจะต้องเร่งรัดให้เม็ดเงินทั้งหมดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจภายในเดือนเม.ย. โดยอาจเน้นไปในด้านการลดภาษีให้ภาคธุรกิจประมาณ 1 แสนล้านบาท และช่วยเสริมด้านสภาพคล่องให้สถาบันการเงินปล่อยกู้อีก 5 หมื่น ถึง 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้จีดีพีพลิกกลับมาขยายตัว 1%” นายธนวรรธน์ กล่าว
สำหรับการแก้ไขปัญหาส่งออกด้วยการเดินทางออกไปโรดโชว์ตลาดต่างประเทศนั้น ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาตรงจุด เพราะการส่งออกที่ลดลงเกิดจากอำนาจซื้อของประชาชนลดลงตามภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ดังนั้น การโรดโชว์ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับนโยบายและการมาตรการทางการค้ามากกว่า แต่ไม่สามารถฉุดกำลังซื้อกลับคืนมาได้ ส่วนอัตราดอกเบี้ยปีนี้ คาดว่าจะยังปรับตัวลดลงอีก จากภาวะเศรษฐกิจเปราะบาง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย ควรใช้อัตราดอกเบี้ยเชิงนโยบายเป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยอาจจะทยอยลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 1% หรือลดครั้งละ 0.5-0.75% ก็ได้.
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สสค.) แถลงเช้าวานนี้ (5 ม.ค.) ว่า สศค.รับฟังความประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจของนักเศรษฐศาสตร์ทุกคน แต่จากการวิเคราะห์ข้อมูลไม่พบว่า ปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวติดลบร้อยละ 4 หรือต่ำสุดในโลกตามที่นายโอฬาร ไชยประวัติ อดีตนายกมหาวิทยาลัยชินวัตร และ อดีตรองนายกฯ ในรัฐบาลสมชาย วิเคราะห์ ยกเว้นทุกประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทยไม่ออกมาตรการใดๆ มากระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้จากประมาณการของ 3 หน่วยงาน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), สศค. และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีความเห็นสอดคล้องกันว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวที่ 0-2%
ผู้อำนวยการ สศค.ระบุว่า ตามข้อเท็จจริงแล้วจะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆ ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง บางประเทศจะมีมาตรการมากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหา เช่น สหรัฐฯ ได้ใช้งบประมาณกว่า 8.2 แสนล้านดอลลาร์ คิดเป็น 6% ของจีดีพี มากระตุ้นเศรษฐกิจ, ญี่ปุ่นใช้ 5.39 แสนล้านดอลลาร์ คิดเป็น 12.3% ของจีดีพี, จีนใช้ 5.85 แสนล้านดอลลาร์ คิดเป็น 17.9% ของจีดีพี, สิงคโปร์ ซึ่งคล้ายกับไทย ที่ติดลบไตรมาส 4 ใช้ 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ คิดเป็น 8.4% ของจีดีพี ขณะที่ไทยใช้ประมาณ 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ คิดเป็น 5% ของจีดีพี
"ผมยืนยันว่ากระทรวงการคลัง พร้อมรับฟังประมาณการเศรษฐกิจของนักเศรษฐศาสตร์ที่มองว่าเศรษฐกิจไทยจะติดลบ ผมไม่ได้ต้องการมาตอบโต้กูรูของประเทศ แต่อยากให้ทราบข้อเท็จจริงว่าสถานการณ์ของไทยเป็นอย่างไร" นายสมชัยกล่าวและมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยปี 52 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ถึง 2% เกิดจากการที่รัฐบาลได้มีการออกมาตรการต่างๆ มากระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการจัดทำงบกลางปี 1.167 แสนล้านบาท ซึ่งจะมีเม็ดเงินจริงเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 9 หมื่นล้านบาท มีการเบิกจ่ายเงิบประมาณให้ได้ตามเป้าหมาย 94% มีการเบิกจ่ายงบเหลื่อมปีให้ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีเงินกู้สำรองที่พร้อมจะเบิกจ่ายได้ทันที ส่วนนี้จะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้แล้วอย่างน้อย 1%
"จะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้มีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นไปแล้ว 2 ล็อต หากมาตรการที่ออกไปยังไม่ได้ผล รัฐบาลก็ยังมีเงินเหลือสำรองในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไปอีกประมาณ 1.91 แสนล้านบาทเป็นการเตรียมมาตรการระยะกลางและระยะยาวเพื่อวางโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ เช่น การเดินหน้าโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่" นายสมชัยกล่าว
เขาย้ำว่า เศรษฐกิจไทยยังมีเสถียรภาพ ไม่ได้อยู่ภายใต้ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ซึ่งในปี 2553 ยังมองว่าเศรษฐกิจไทยยังน่าจะโต 3% ภายใต้การคาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาส 3 และ 4 และต่อเนื่องถึงปี 2553 แต่ยอมรับว่าอาจยังขยายตัวได้ไม่เต็มที่ ซึ่งจำเป็นที่รัฐบาลยังต้องใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณต่อเนื่องอีก ในส่วนของภาคการส่งออก จากเดิมเคยคาดการณ์ว่า จะติดลบในทุกเซ็คเตอร์ แต่จากข้อมูลล่าสุดพบว่า มี 2-3 เซ็คเตอร์ ที่ยังส่งออกเป็นบวก คือ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่มห่ม เกษตรและอาหาร พบว่า ยังไม่มีการปิดโรงงานหรือปรับลดคนงาน ถือว่าเป็นโอกาสในช่วงวิกฤต อาจทำให้การส่งออกขยายตัวได้ดี
นายสมชัยยังกล่าวถึงฐานะเงินคงคลัง ว่า มีคณะกรรมการดูแลรายรับรายจ่ายภาครัฐ เงินคงคลังจะมีการขึ้นลงเป็นช่วง โดยต้นปีจะลดลงและปรับเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีการจัดเก็บภาษีเงินได้กลางปี ยืนยันว่า ไม่ได้อยู่ในภาวะผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีคณะทำงานทั้ง สศค. และสำนักบริหารหนี้สาธารณะ และกรมบัญชีกลางดูแลการบริหารเงินคงคลังอย่างใกล้ชิด
**"ธนวรรธน์" คาดจีดีพีติดลบ 1%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ฯ ได้ปรับประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2552 โดยแบ่งสมมุติฐานออกเป็น 3 กรณี ได้แก่ กรณีแรก ภายใต้ปัจจัยเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอย่างมากในครึ่งปีแรก และกลับมาฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง ประกอบกับการเมืองไทยมีเสถียรภาพมากขึ้นและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเริ่มมีผลในช่วงครึ่งปีหลัง จะทำให้เศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ขยายตัวติดลบ 1.0% ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 10 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นกรณีที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากสุด 60%
สาเหตุที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวติดลบ 1.0% เป็นผลจากการส่งออกไทยขยายตัวติดลบ 5.8% มูลค่า 1.65 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพราะภาคส่งออกไทยมีสัดส่วน 65% ของจีดีพีประเทศ โดยสินค้าส่งออก 10 อันดับแรกของไทย มีถึงสัดส่วน 40% เช่น กลุ่มยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอัญมณี เป็นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่คาดว่ายอดส่งออกจะลดลง 10-30% ทำให้มีอัตราการว่างงานประมาณ 9 แสนคน ถึง 1.2 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราว่างงาน 2.3-3.1% เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่มีการว่างงาน 5 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราว่างงาน 1.5%
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะติดลบ 0.1-1% ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกไทยจะต้องเผชิญกับภาวะเงินฝืด โดยอัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวติดลบจนถึงเดือนส.ค. ก่อนฟื้นกลับมาในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 2 และฟื้นตัวกลับมาในไตรมาส 3 ทำให้คาดว่าครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยจะติดลบ 3-5%
“หลายประเทศมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ภาพของสถาบันการเงินที่ยังมีปัญหา บ่งชี้ว่าการบริโภคทั่วโลกจะยังคงทรุดตัวอยู่ ดังนั้น การส่งออกที่ติดลบ 5% จะทำให้มูลค่าหายไป 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3.5 แสนล้านบาท เมื่อรวมกับภาคการท่องเที่ยวปีนี้ที่คาดว่าจะลดลง 5-10% หรือรายได้หายไป 7 หมื่นถึง 1 แสนล้านบาท มีผลต่อจีดีพีประเทศลดลง 3-4% เพราะรายได้ที่หายไป 1 แสนล้านบาท จะทำให้จีดีพีลดลง 1%” นายธนวรรธน์กล่าว
ส่วนกรณี 2 มีโอกาสเกิดขึ้น 15% ซึ่งเป็นกรณีเลวร้ายสุด คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ยังไม่ได้ผล และทำเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวปลายปี ประกอบกับการเมืองไทยขาดเสถียรภาพ จะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวติดลบ 2.8% เป็นผลจากการส่งออกติดลบ 10% มูลค่า1.57 แสนล้านเหรียญสหรัฐ อัตราเงินเฟ้อติดลบ 1.3-2.3% และมีการว่างงานประมาณ 1.3 แสนคนถึง 1.5 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 3.4-3.9%
ขณะที่กรณี 3 มีโอกาสเกิดขึ้น 25% ถือเป็นสถานการณ์ที่ดีสุด คือ เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีแรก และฟื้นตัวช่วงกลางปี ประกอบกับการเมืองไทยมีเสถียรภาพ จะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 0.8% การส่งออก ขยายตัว 0% มูลค่า 1.75 แสนล้านเหรียญสหรัฐ อัตราเงินเฟ้ออยู่ระดับ 0.0-1.0% และอัตราการว่างงานประมาณ 7-9 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.9-2.3%
เขาย้ำว่า เศรษฐกิจขณะนี้มีโอกาสติดลบมากสุด แต่ยังมีโอกาสเป็นบวก หากรัฐบาลอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการกู้ยืมเงินเข้ามาอัดฉีดระบบเศรษฐกิจมากขึ้น เพราะมองว่างบประมาณกลางปีเพิ่มเติม 1.2 แสนล้านบาท และงบดูแลสินค้าเกษตรอีก 1 แสนล้านบาท ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยเป็นบวก
“หากอยากให้เศรษฐกิจไทยเป็นบวก รัฐบาลควรเร่งอัดเม็ดเงินเข้าไปทดแทนรายได้จากภาคส่งออกและท่องเที่ยวที่หายไปถึง 4 แสนล้านบาท และจะต้องเร่งรัดให้เม็ดเงินทั้งหมดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจภายในเดือนเม.ย. โดยอาจเน้นไปในด้านการลดภาษีให้ภาคธุรกิจประมาณ 1 แสนล้านบาท และช่วยเสริมด้านสภาพคล่องให้สถาบันการเงินปล่อยกู้อีก 5 หมื่น ถึง 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้จีดีพีพลิกกลับมาขยายตัว 1%” นายธนวรรธน์ กล่าว
สำหรับการแก้ไขปัญหาส่งออกด้วยการเดินทางออกไปโรดโชว์ตลาดต่างประเทศนั้น ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาตรงจุด เพราะการส่งออกที่ลดลงเกิดจากอำนาจซื้อของประชาชนลดลงตามภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ดังนั้น การโรดโชว์ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับนโยบายและการมาตรการทางการค้ามากกว่า แต่ไม่สามารถฉุดกำลังซื้อกลับคืนมาได้ ส่วนอัตราดอกเบี้ยปีนี้ คาดว่าจะยังปรับตัวลดลงอีก จากภาวะเศรษฐกิจเปราะบาง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย ควรใช้อัตราดอกเบี้ยเชิงนโยบายเป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยอาจจะทยอยลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 1% หรือลดครั้งละ 0.5-0.75% ก็ได้.