วิกฤตเศรษฐกิจพ่นพิษ ส่อขาดดุลเพิ่มเป็น 4.8 แสนล้าน สรรพากรยอมรับปี 52 จัดเก็บต่ำเป้า 10% หรือประมาณ 1.3 แสนล้าน เหนื่อยแน่! ต้องกู้นอกเสริม “กรณ์” กัดฟันบอกเอาอยู่ แค่ตัวเลขทางบัญชี พร้อมกำชับการจัดเก็บภาษีต้องไม่ไปรีดไถให้ประชาชนเดือดร้อน หวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเห็นผลภายในเดือนนี้
ภายหลังการประชุมร่วมกับ รมช.คลัง และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง วานนี้ (8 ม.ค.) นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากกรมสรรพากร ว่า การจัดเก็บรายได้ของกรม ในปี 2552 คาดว่า จะจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าถึง 1.2-1.3 แสนล้านบาท ซึ่งหากรวมกับการขาดดุลงบประมาณประจำปีอีก 3.5 แสนล้านบาท จะส่งผลให้การขาดดุลการคลังปีนี้สูงถึง 4.8 แสนล้านบาท ขณะที่กรมศุลกากรก็จัดเก็บรายได้ได้ต่ำกว่าเป้าหมาย รวมทั้งรายได้นำส่งรัฐของรัฐวิสาหกิจที่มีแนวโน้มลดลงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทั้งหมดนี้จะสร้างภาระทางการคลังให้รัฐบาล และส่งผลต่อเนื่องถึงความสามารถในการจัดทำงบประมาณประจำปี 2553 ที่มีข้อจำกัดเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม รมว.คลัง ยังมองว่า การขาดดุลดังกล่าวอยู่ในขอบเขตที่รัฐบาลจะบริหารและจัดการได้ ประกอบกับการจัดทำงบประมาณปี 2553 ยืดหยุ่นเพียงพอจะรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจระยะยาว นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังมีช่องทางอื่นนอกจากงบประมาณที่ยังไม่ได้นำมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจชะลอนี้ถือเป็นความจำเป็น ไม่ได้เป็นเรื่องของการใช้จ่ายที่มากไป แต่เป็นการทำน้อยไปมากกว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจใดๆ ในขณะนี้เป็นเรื่องของการเร่งรักษาแผลเพื่อรักษาชีวิต โดยรายละเอียดจะเป็นอย่างไร นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และตนอยู่ระหว่างพิจารณา เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
“ต้องยอมรับว่า ในทางบัญชีเราต้องขาดดุลการคลังปีนี้สูงถึง 4.8 แสนล้านบาท ซึ่งมาจากการขาดดุลงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท และรายได้ของกรมสรรพากรต่ำเป้า 1.2-1.3 แสนล้านบาท ซึ่งส่งผลให้รายได้ภาพรวมที่คาดจะได้ 1.58 ล้านล้านบาท จะเหลือเพียง 1.4 กว่าล้านล้านบาท ต่ำกว่าเป้า 10% แม้จะเป็นภาระกับรัฐบาลแต่ไม่คิดว่ารายได้ที่คาดจะต่ำลงจะเป็นอุปสรรคต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ”
นายกรณ์ กล่าวยืนยันว่า ในการจัดทำนโยบาย หรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใดๆ จะไม่ผลักภาระให้ประชาชนในระยะยาวและส่งผลต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจในอนาคต และแม้คาดการณ์รายได้ของกรมสรรพากรจะต่ำกว่าเป้า ตนได้กำชับไปแล้วว่าการจัดเก็บต้องเป็นไปตามครรลองปกติ ไม่เร่งรัดรีดภาษีจากประชาชนและทำให้ประชาชนเดือดร้อน
ทั้งนี้ รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการภาษีมาช่วยเหลือผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ภายในเดือนมกราคมนี้ ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อเสนอต่อ ครม.ภายในเดือน ม.ค.นี้
“มาตรการด้านการคลัง ที่รัฐบาลนำมาใช้ อาจไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้นต้องการให้สถาบันการเงินเข้ามาช่วยดูแลภาคแรงงานด้วย โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ” รมว.คลัง กล่าว
ภายหลังการประชุมร่วมกับ รมช.คลัง และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง วานนี้ (8 ม.ค.) นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากกรมสรรพากร ว่า การจัดเก็บรายได้ของกรม ในปี 2552 คาดว่า จะจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าถึง 1.2-1.3 แสนล้านบาท ซึ่งหากรวมกับการขาดดุลงบประมาณประจำปีอีก 3.5 แสนล้านบาท จะส่งผลให้การขาดดุลการคลังปีนี้สูงถึง 4.8 แสนล้านบาท ขณะที่กรมศุลกากรก็จัดเก็บรายได้ได้ต่ำกว่าเป้าหมาย รวมทั้งรายได้นำส่งรัฐของรัฐวิสาหกิจที่มีแนวโน้มลดลงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทั้งหมดนี้จะสร้างภาระทางการคลังให้รัฐบาล และส่งผลต่อเนื่องถึงความสามารถในการจัดทำงบประมาณประจำปี 2553 ที่มีข้อจำกัดเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม รมว.คลัง ยังมองว่า การขาดดุลดังกล่าวอยู่ในขอบเขตที่รัฐบาลจะบริหารและจัดการได้ ประกอบกับการจัดทำงบประมาณปี 2553 ยืดหยุ่นเพียงพอจะรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจระยะยาว นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังมีช่องทางอื่นนอกจากงบประมาณที่ยังไม่ได้นำมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจชะลอนี้ถือเป็นความจำเป็น ไม่ได้เป็นเรื่องของการใช้จ่ายที่มากไป แต่เป็นการทำน้อยไปมากกว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจใดๆ ในขณะนี้เป็นเรื่องของการเร่งรักษาแผลเพื่อรักษาชีวิต โดยรายละเอียดจะเป็นอย่างไร นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และตนอยู่ระหว่างพิจารณา เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
“ต้องยอมรับว่า ในทางบัญชีเราต้องขาดดุลการคลังปีนี้สูงถึง 4.8 แสนล้านบาท ซึ่งมาจากการขาดดุลงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท และรายได้ของกรมสรรพากรต่ำเป้า 1.2-1.3 แสนล้านบาท ซึ่งส่งผลให้รายได้ภาพรวมที่คาดจะได้ 1.58 ล้านล้านบาท จะเหลือเพียง 1.4 กว่าล้านล้านบาท ต่ำกว่าเป้า 10% แม้จะเป็นภาระกับรัฐบาลแต่ไม่คิดว่ารายได้ที่คาดจะต่ำลงจะเป็นอุปสรรคต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ”
นายกรณ์ กล่าวยืนยันว่า ในการจัดทำนโยบาย หรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใดๆ จะไม่ผลักภาระให้ประชาชนในระยะยาวและส่งผลต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจในอนาคต และแม้คาดการณ์รายได้ของกรมสรรพากรจะต่ำกว่าเป้า ตนได้กำชับไปแล้วว่าการจัดเก็บต้องเป็นไปตามครรลองปกติ ไม่เร่งรัดรีดภาษีจากประชาชนและทำให้ประชาชนเดือดร้อน
ทั้งนี้ รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการภาษีมาช่วยเหลือผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ภายในเดือนมกราคมนี้ ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อเสนอต่อ ครม.ภายในเดือน ม.ค.นี้
“มาตรการด้านการคลัง ที่รัฐบาลนำมาใช้ อาจไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้นต้องการให้สถาบันการเงินเข้ามาช่วยดูแลภาคแรงงานด้วย โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ” รมว.คลัง กล่าว