นายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี NIDA Business School เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยปี 2552 มีโอกาสติดลบร้อยละ 0.4 ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่รุนแรงมาก และเป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 10 ปี และจะมีคนตกงานถึง 1,5000,000 คน หากรัฐบาลไม่เร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างจริงจัง และไปให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองมากเกินไป
นายเอกชัย กล่าวว่า สำหรับภาคการส่งออกมีโอกาสติดลบร้อยละ 5 นำเข้าติดลบร้อยละ 2.5 ดุลการค้าขาดดุล 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) มีโอกาสปิดกิจการถึง 2 ใน 3 เนื่องจากเอสเอ็มอีไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน จากที่ประมาณการว่าเอสเอ็มอี ต้องการเงินทุนสนับสนุน 6 ล้านล้านบาท แต่เข้าถึงเพียง 3 ล้านล้านบาท ดังนั้น รัฐบาลใหม่จะต้องเร่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจัง เพิ่มงบขาดดุลจาก 3.5 แสนล้านบาท เป็น 5-6 แสนล้านบาท รัฐบาลและเอกชนต้องร่วมมือกันผลักดันให้การขยายตัวของสินเชื่อโตร้อยละ 5 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ต้องลดอัตราดอกเบี้ยอีกอย่างน้อยร้อยละ 1 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องเร่งการลงทุนในโครงการที่ค้างคือเมกะโปรเจกต์ หากทำได้ก็จะทำให้เศรษฐกิจปี 2552 โตประมาณร้อยละ 1.4 หรืออาจจะถึงร้อยละ 2
นายนิพนธ์ สุรพงษ์รักเจริญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ขยายตัวลดลงกระทบให้อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ มีปัญหาตามไปด้วย และกระทบถึงเอสเอ็มอี ดังนั้น รัฐบาลจะต้องเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ เดินหน้าเครื่องยนต์เต็มที่ โดยจะต้องใช้งบขาดดุล 5-6 แสนล้านบาทให้คุ้มค่า อัดฉีดลงสู่เอสเอ็มอี
ขณะที่เอสเอ็มอีก็ต้องดูสภาพคล่องของตนเองและให้แต่ละจังหวัดรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ เพื่อร่วมมือกันผลักดันสินค้าที่ผลิตออกสู่ตลาดให้ได้มากที่สุด
นายเอกชัย กล่าวว่า สำหรับภาคการส่งออกมีโอกาสติดลบร้อยละ 5 นำเข้าติดลบร้อยละ 2.5 ดุลการค้าขาดดุล 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) มีโอกาสปิดกิจการถึง 2 ใน 3 เนื่องจากเอสเอ็มอีไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน จากที่ประมาณการว่าเอสเอ็มอี ต้องการเงินทุนสนับสนุน 6 ล้านล้านบาท แต่เข้าถึงเพียง 3 ล้านล้านบาท ดังนั้น รัฐบาลใหม่จะต้องเร่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจัง เพิ่มงบขาดดุลจาก 3.5 แสนล้านบาท เป็น 5-6 แสนล้านบาท รัฐบาลและเอกชนต้องร่วมมือกันผลักดันให้การขยายตัวของสินเชื่อโตร้อยละ 5 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ต้องลดอัตราดอกเบี้ยอีกอย่างน้อยร้อยละ 1 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องเร่งการลงทุนในโครงการที่ค้างคือเมกะโปรเจกต์ หากทำได้ก็จะทำให้เศรษฐกิจปี 2552 โตประมาณร้อยละ 1.4 หรืออาจจะถึงร้อยละ 2
นายนิพนธ์ สุรพงษ์รักเจริญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ขยายตัวลดลงกระทบให้อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ มีปัญหาตามไปด้วย และกระทบถึงเอสเอ็มอี ดังนั้น รัฐบาลจะต้องเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ เดินหน้าเครื่องยนต์เต็มที่ โดยจะต้องใช้งบขาดดุล 5-6 แสนล้านบาทให้คุ้มค่า อัดฉีดลงสู่เอสเอ็มอี
ขณะที่เอสเอ็มอีก็ต้องดูสภาพคล่องของตนเองและให้แต่ละจังหวัดรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ เพื่อร่วมมือกันผลักดันสินค้าที่ผลิตออกสู่ตลาดให้ได้มากที่สุด