คลังยืนยันไปเพิ่มงบขาดดุลหลังรัฐบาลตั้งเต็มเพดานที่ 20% ตามที่กฎหมายกำหนด เผยห่วงการจัดเก็บรายได้ปี 52 หลุดเป้า 1.56 ล้านล้านแน่นอน เหตุได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยตรง ระบุผลการดำเนินงานกลุ่มแบงก์พาณิชย์ 9 เดือนกำไรกว่า 8 หมื่นล้านจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บภาษีนิติบุคคล เตรียมเสนอ รมว.คลังผลักดันกฎหมายหลักประกันเสริมสภาพคล่องธุรกิจ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลไม่สามารถตั้งงบประมาณเพิ่มเติมได้อีก เนื่องจากในปีงบประมาณ2552 รัฐบาลตั้งงบขาดดุลแล้ว 3.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 3.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) บวกกับการตั้งงบชำระหนี้อีก 8 หมื่นล้านบาท ทำให้การตั้งงบประมาณขาดดุลเกือบเต็มเพดานที่ พ.ร.บ.งบประมาณกำหนดไว้ว่าสามารถตั้งได้ไม่เกิน 20% ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย บวกกับการตั้งงบชำระต้นเงินกู้อีก 80% ของงบชำระเงินกู้
"ปัจจุบันตั้งขาดดุลไว้ 4.3 แสนล้านบาท เกือบเต็มเพดานที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น จึงห่วงเรื่องรายได้ว่าจะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าเท่าไร่ แต่คาดว่าทั้งปีจะต่ำกว่าเป้าเพียงเล็กน้อย"
นายสมชัยเปิดเผยว่า นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นห่วงเรื่องการจัดเก็บรายได้ในปี 2552 จากปัญหาเศรษฐกิจที่จะชะลอตัว โดยคาดว่าจะจัดเก็บได้ไม่ตามเป้าที่ตั้งไว้ 1.56 ล้านล้านบาท ซึ่งจะกระทบกับกรอบวงเงินงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นจึงสั่งให้คณะกรรมการติดตามการจัดเก็บรายได้ ซึ่งมี ผู้อำนวยการ สศค. เป็นประธาน ติดตามการจัดเก็บรายได้อย่างใกล้ชิดแบบรายเดือน
"คณะกรรมการไม่ได้เข้าไปบี้ให้แต่ละหน่วยงานจัดเก็บรายได้ให้ได้มากๆ เพราะเข้าใจว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว การเก็บรายได้ย่อมได้รับผลกระทบแน่นอน แต่ก็จะพยายามควบคุมให้การจัดเก็บรายได้ในแต่ละเดือนให้ได้ตามเป้าที่วางไว้" ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังกล่าว
***กำไรแบงก์ 8 หมื่นล้านพยุงยอดจัดเก็บ
นายสมชัยเปิดเผยด้วยว่า ในปีนี้ผลกำไรของธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างดี โดยช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา อยู่ที่ 8 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2550 ทั้งปี อยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท และมีสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ทั้งระบบอยู่ในระดับต่ำที่ 6% และมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) ประมาณ 15.6% ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้นิติบุคคลในปีงบ 2552
อย่างไรก็ตาม สศค.ยังคงประมาณจีดีพี ในปี 2551 ไว้ที่ 5% ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนการขยายตัวจากครึ่งปีแรกที่ขยายตัวสูงถึง 5.7%ประกอบกับปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง ดุลบัญชีเดินสะพัด ทุนสำรองระหว่างประเทศยังมีมาก ขณะที่อัตราการว่างงานยังอยู่ระดับต่ำ 4.6% หรือประมาณ 5 แสนคน ต่อจำนวนกำลังแรงงานทั้งหมดประมาณ 35 ล้านคน ขณะที่ในปี 2552 ประมาณการว่าจีดีพีจะขยายตัวได้ 3-4% หรือไม่ต่ำกว่า 4% ซึ่งขยายตัวได้ต่ำกว่าปี 2551 เพราะชะลอตามตามภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะมีการปรับประมาณการเศรษฐกิจอีกครั้งในเดือนธันวาคม
สำหรับค่าเงินบาท ขณะนี้ยังอ่อนค่าน้อยที่สุดไม่ถึง 10% เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค ซึ่งอ่อนค่ามากกว่า 10% โดยจะต้องมีการดูแลค่าเงินบาทให้เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับภูมิภาค เพื่อไม่ให้เสียเปรียบทางการค้า
***เสนอ กม.หลักประกันฯ
ทั้งนี้ สศค.จะเสนอกฎหมายเรื่องหลักประกันทางธุรกิจ ให้นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลังพิจารณา และนำเข้าสู่การพิจารณาของครม.ต่อไป เพื่อขยายขอบเขตของหลักประกันที่จะนำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินให้มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอีกส่วนหนึ่งในการช่วยด้านสภาพคล่อง ทำให้สามารถกู้เงินได้ง่ายขึ้น และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาวะที่สภาพคล่องตึงตัวจากวิกฤตการเงินโลกในขณะนี้
กฎหมายดังกล่าวนี้ สมาคมธนาคารไทยได้เสนอเรื่องไว้นานแล้ว เพราะต้องการให้มีหลักประกันที่หลากหลายมากขึ้นกว่าปัจจุบัน เช่นสินทรัพย์คงคลัง วัตถุดิบ อสังหาริมทรัพย์ที่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นเจ้าของเอง เป็นต้น ซึ่งได้ดำเนินการตามกระบวนการมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ที่ผ่านมาล่าช้าออกไปมาก เนื่องจากปัญหาด้านการเมืองที่เปลี่ยนแปลงบ่อย
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลไม่สามารถตั้งงบประมาณเพิ่มเติมได้อีก เนื่องจากในปีงบประมาณ2552 รัฐบาลตั้งงบขาดดุลแล้ว 3.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 3.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) บวกกับการตั้งงบชำระหนี้อีก 8 หมื่นล้านบาท ทำให้การตั้งงบประมาณขาดดุลเกือบเต็มเพดานที่ พ.ร.บ.งบประมาณกำหนดไว้ว่าสามารถตั้งได้ไม่เกิน 20% ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย บวกกับการตั้งงบชำระต้นเงินกู้อีก 80% ของงบชำระเงินกู้
"ปัจจุบันตั้งขาดดุลไว้ 4.3 แสนล้านบาท เกือบเต็มเพดานที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น จึงห่วงเรื่องรายได้ว่าจะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าเท่าไร่ แต่คาดว่าทั้งปีจะต่ำกว่าเป้าเพียงเล็กน้อย"
นายสมชัยเปิดเผยว่า นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นห่วงเรื่องการจัดเก็บรายได้ในปี 2552 จากปัญหาเศรษฐกิจที่จะชะลอตัว โดยคาดว่าจะจัดเก็บได้ไม่ตามเป้าที่ตั้งไว้ 1.56 ล้านล้านบาท ซึ่งจะกระทบกับกรอบวงเงินงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นจึงสั่งให้คณะกรรมการติดตามการจัดเก็บรายได้ ซึ่งมี ผู้อำนวยการ สศค. เป็นประธาน ติดตามการจัดเก็บรายได้อย่างใกล้ชิดแบบรายเดือน
"คณะกรรมการไม่ได้เข้าไปบี้ให้แต่ละหน่วยงานจัดเก็บรายได้ให้ได้มากๆ เพราะเข้าใจว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว การเก็บรายได้ย่อมได้รับผลกระทบแน่นอน แต่ก็จะพยายามควบคุมให้การจัดเก็บรายได้ในแต่ละเดือนให้ได้ตามเป้าที่วางไว้" ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังกล่าว
***กำไรแบงก์ 8 หมื่นล้านพยุงยอดจัดเก็บ
นายสมชัยเปิดเผยด้วยว่า ในปีนี้ผลกำไรของธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างดี โดยช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา อยู่ที่ 8 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2550 ทั้งปี อยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท และมีสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ทั้งระบบอยู่ในระดับต่ำที่ 6% และมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) ประมาณ 15.6% ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้นิติบุคคลในปีงบ 2552
อย่างไรก็ตาม สศค.ยังคงประมาณจีดีพี ในปี 2551 ไว้ที่ 5% ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนการขยายตัวจากครึ่งปีแรกที่ขยายตัวสูงถึง 5.7%ประกอบกับปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง ดุลบัญชีเดินสะพัด ทุนสำรองระหว่างประเทศยังมีมาก ขณะที่อัตราการว่างงานยังอยู่ระดับต่ำ 4.6% หรือประมาณ 5 แสนคน ต่อจำนวนกำลังแรงงานทั้งหมดประมาณ 35 ล้านคน ขณะที่ในปี 2552 ประมาณการว่าจีดีพีจะขยายตัวได้ 3-4% หรือไม่ต่ำกว่า 4% ซึ่งขยายตัวได้ต่ำกว่าปี 2551 เพราะชะลอตามตามภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะมีการปรับประมาณการเศรษฐกิจอีกครั้งในเดือนธันวาคม
สำหรับค่าเงินบาท ขณะนี้ยังอ่อนค่าน้อยที่สุดไม่ถึง 10% เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค ซึ่งอ่อนค่ามากกว่า 10% โดยจะต้องมีการดูแลค่าเงินบาทให้เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับภูมิภาค เพื่อไม่ให้เสียเปรียบทางการค้า
***เสนอ กม.หลักประกันฯ
ทั้งนี้ สศค.จะเสนอกฎหมายเรื่องหลักประกันทางธุรกิจ ให้นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลังพิจารณา และนำเข้าสู่การพิจารณาของครม.ต่อไป เพื่อขยายขอบเขตของหลักประกันที่จะนำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินให้มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอีกส่วนหนึ่งในการช่วยด้านสภาพคล่อง ทำให้สามารถกู้เงินได้ง่ายขึ้น และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาวะที่สภาพคล่องตึงตัวจากวิกฤตการเงินโลกในขณะนี้
กฎหมายดังกล่าวนี้ สมาคมธนาคารไทยได้เสนอเรื่องไว้นานแล้ว เพราะต้องการให้มีหลักประกันที่หลากหลายมากขึ้นกว่าปัจจุบัน เช่นสินทรัพย์คงคลัง วัตถุดิบ อสังหาริมทรัพย์ที่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นเจ้าของเอง เป็นต้น ซึ่งได้ดำเนินการตามกระบวนการมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ที่ผ่านมาล่าช้าออกไปมาก เนื่องจากปัญหาด้านการเมืองที่เปลี่ยนแปลงบ่อย