ASTVผู้จัดการรายวัน - เร่งสปีดใช้เงินงบประมาณเต็มเพดาน รัฐบาล "อภิสิทธิ์" ถลุงทุกทางหวังฟื้นเศรษฐกิจให้เร็วที่สุด กำชับข้าราชการทำแผนงบปี 52 ส่งสำนักงบภายใน 3 วัน เชื่อ 2-3 เดือนข้างหน้าเบิกจ่ายได้ สั่งหัวหน้าส่วนราชการเร่งใช้เงิน อปท.-รสก. "กอร์ปศักดิ์" เผยกองทุนเอสเอ็มแอลคือนโยบายเร่งด่วน ลั่นหมู่บ้านที่ไม่เคยได้รับจะต้องได้ 2 เท่า เงินช่วยคนแก่นอกระบบต้องลงทะเบียนเหมือนยุคแม้ว ผอ.สำนักงบฯ เด้งรับขาดดุล 350,000 ล้านไม่มีปัญหา เผยวันนี้สรุปกรอบงบกลางปี 100,000 ล้านก่อนเสนอสภาฯ 21 ม.ค. ครม.นัดแรกคลอดปฏิทินงบปี 52 ตารางแน่นเอี๊ยด แถมลุยต่อทำงบปี 53 ทันทีเดือน ก.พ.นี้
ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจ ที่ทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 10.00 น.วันนี้ (7 ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุมฯ กล่าวถึงวาระหลักว่าเป็นการหารือกรอบงบประมาณกลางปี 2552 (งบเพิ่มเติม) จำนวน 1 แสนล้านบาท ซึ่งได้สั่งการให้ทุกกระทรวงนำร่างแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจมาพิจารณา เพื่อเร่งจัดทำให้เสร็จเร็วที่สุด คาดว่าสามารถเสนอ ครม.ได้ในวันที่ 13 ม.ค.และเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 21 ม.ค. และสามารถเบิกจ่ายได้เร็วภายใน 2-3 เดือน
ทั้งนี้ จะมีการกำหนดกรอบการจัดทำแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ประกอบด้วยมาตรการช่วยเหลือประชาชนแต่ละกลุ่ม เช่น เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน ผู้มีเงินเดือนประจำ แต่ละภาคเศรษฐกิจ เช่น ภาคการเกษตร การท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ หลังจากนั้นจะให้หน่วยงานต่างที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณกลางปี นำเป้าหมายไปจัดทำเป็นรายละเอียดเพื่อนำมาเสนอกรอบของงบประมาณกลางปี ต่อที่ประชุม ครม.ในวันที่ 13 ม.ค.นี้ พร้อมกับการให้ความเห็นชอบแผนบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้สามารถอนุมัติ พ.ร.บ.งบประมาณกลางปี ได้ในวันที่ 21 ม.ค.และเสนอต่อสภาเพื่อพิจารณาในวันที่ 28 ม.ค.ต่อไป
**ยืนยันขาดดุลเรื้อรังไม่กระทบ
สำหรับกระบวนการงบประมาณปี 2553 นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ได้เริ่มแล้ว ปฏิทินการดำเนินการต่างๆ จะต้องเริ่มต้นไปพร้อมๆ กับการทำงบกลางปี และตั้งใจไว้ว่า ปีงบประมาณที่จะถึงนี้ ต้องการให้กฎหมายงบประมาณสามารถออกมาบังคับใช้ได้ทันปีงบประมาณเริ่มต้น คือ 1 ต.ค. หมายความว่า การทำงานตามปฏิทินต้องเริ่มทำงานตั้งแต่ช่วงนี้แล้ว
ส่วนที่หลายฝ่ายเป็นห่วงผลกระทบจากการตั้งงบประมาณขาดดุลหลายปีติดต่อกัน นายอภิสิทธิ์ยืนยันว่า มีกรอบเพดานกำกับอยู่แล้ว รวมทั้งหนี้สาธารณะจึงยังไม่มีประเด็นปัญหาที่ต้องกังวลว่าจะทำให้ไปละเมิดกรอบที่เป็นเรื่องของวินัยการเงินการคลังระยะยาว
**บี้หน่วยงานรัฐใช้เงิน อปท.-รสก.
บ่ายวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการมอบนโยบายให้แก่หัวหน้าส่วนราชการทั่วประเทศ ผบ.เหล่าทัพ โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเข้ามาทำงานของรัฐบาลชุดนี้มีความคาดหวังจากประชาชนที่อยากเห็นการแก้ไขปัญหาของประเทศที่อยู่ในภาวะวิกฤติ รวมทั้งการแก้ไขปัญหา ที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชนให้สำเร็จและลุล่วง การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ลำพังฝ่ายการเมืองคงไม่สามารถดำเนินการให้ประสบความสำเร็จได้ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย
"หนึ่งปีที่ผ่านมาที่ทุกคนได้รับทราบการชี้แจงนโยบายถึง 3 ครั้ง และแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่โดยระบบนโยบายที่ถูกกำหนดไว้นั้นถือเป็นวาระแห่งชาติ ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาลต้องดำเนินการต่อ ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ต่างก็ทราบดีในการสานต่อให้เกิดความต่อเนื่อง การกำหนดนโยบายของฝ่ายการเมืองที่เกิดขึ้นกำหนดโดยสถานการณ์ปัญหาของประเทศ เราต้องแก้ให้ตรงจุด ดังนั้นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่กำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการโดยการเริ่มต้นและทำให้สำเร็จในเวลา 1 ปี ถือเป็นเรื่องสำคัญ"
นายอภิสิทธิ์ ย้ำว่า ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาก็เห็นแล้วว่ากระทบกับชีวิตและเศรษฐกิจจริงของประชาชน แนวทางของการแก้ไขปัญหาขณะนี้สิ่งสำคัญคือการรักษากำลังซื้อของประชาชนให้คนมีเงินใช้จ่าย มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพื่อรักษาทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เรื่องการจ้างงาน การรักษาระดับรายได้ของประชาชน ซึ่งเราจำเป็นต้องมีแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งอย่างน้อย 1 แสนล้านบาท กระบวนการการจัดทำงบประมาณกว่าจะนำไปสู่การใช้จ่ายได้จริงต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 เดือน รัฐบาลจึงต้องเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณทั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รัฐวิสาหกิจ ที่ยังมีเงินค้างท่อหลักแสนล้าน รวมทั้งต้องดูแลให้สภาพคล่อง หรือการมีสินเชื่อ มีเงินหมุนเวียน จึงต้องมีการทำงานผ่านธนาคารของรัฐที่เป็นธนาคารเฉพาะกิจ และกลไกในสังคมโดยแข่งขันกับเวลา
วันที่ 7 ม.ค.นี้ ครม.เศรษฐกิจจะกำหนดกรอบแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้ดูกรอบและนำเสนอเพื่อประกอบการจัดทำแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและงบประมาณกลางปีต่อไป ส่วนนโยบายการช่วยเหลือผู้ว่างงาน ภาครัฐต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจหรือลดการเลิกจ้าง และในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีที่เริ่มมีปัญหาเรื่องแรงงานสัมพันธ์ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของต่างประเทศ หากเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้แรงงานกับผู้ประกอบการก็จะเป็นตัวปัญหาความเชื่อมั่นของต่างประเทศหรือสายตาของนักลงทุน ขณะที่การเลิกจ้างที่อาจเกิดขึ้นรัฐบาลมีมาตรการรองรับและอยู่ในแผนการฟื้นฟู นอกจากนี้รัฐบาลจะมีมาตรการทางภาษี มาตรการของสินเชื่อหรือสิทธิประโยชน์
“การลดภาระค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ไฟฟ้า รถเมล์ รถไฟหรือก๊าซหุงต้มในหลักการรัฐบาลจะดำเนินการต่อ แต่อะไรที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนในรายละเอียดเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้พลังงานอย่างประหยัดก็ต้องดำเนินการ ซึ่งคงมีเพียงมาตรการเดียวที่ต้องปรับเปลี่ยนคือกรณีของน้ำมัน เพราะปัจจุบันราคาน้ำมันในในตลาดโลกเปลี่ยนแปลงไป และการที่เราต้องการช่วยเหลือประชาชนรัฐบาลจำเป็นต้องมีรายได้ วันนี้การคืนกลับไปสู่ระบบการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ก็จำเป็นต้องปรับเพื่อเป็นฐานรายได้ของรัฐบาล” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง มั่นใจว่า เม็ดเงินงบประมาณกลางปีจะอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ทันก่อนเดือนเมษายนนี้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังคงมีมาตรการในการช่วยเหลือผู้ว่างงานในการสร้างงานให้กับผู้ตกงาน รวมถึงสร้างงานในชนบท โดยทางกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และมั่นใจว่าจะรองรับผู้ตกงานในเบื้องต้นได้ ไม่ต่ำกว่า 5 แสนคน
**เพิ่มงบ SML หมู่บ้านแห้ว 2 เท่า
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในการมอบนโยบายแก่หัวหน้าส่วนราชการเมื่อวานนี้ว่า ขอให้หัวหน้าส่วนราชการส่งเรื่องไปยังรัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความเห็นชอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่น ส่งสำนักงบประมาณก่อนหรือภายใน วันศุกร์ที่ 9 มกราคมนี้
“ที่กำหนดเวลาให้น้อยมาก ก็เนื่องจากบ้านเมืองเราประสบวิกฤติในหลายๆ ด้าน ดังนั้นรัฐบาลที่เข้ามาทำงานแล้วก็จะต้องทำงานแข่งกับเวลา กรอบงบประมาณปี 2552 ครม.จำเป็นที่จะต้องพิจารณาในวันที่ 13 ม.ค.นี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ระบุว่าอย่างช้าวันที่ 28 ม.ค.นี้งบประมาณปี 2552 จะต้องเข้าพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภา” นายกอร์ปศักดิ์กล่าวและว่า นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เช่น กองทุนเอสเอ็มแอล เพราะยังมีการส่งมอบไปไม่ครบ อย่างไรก็ตามหมู่บ้านที่ไม่เคยได้รับจะต้องได้รับเป็น 2 เท่า เพื่อกระตุ้นไปควบคู่กับแรงซื้อที่จะเดินหน้าต่อไปได้ หรือนโยบายเงินช่วยเหลือผู้สูงอายุทุกคนที่อายุ 60 ปี นอกระบบ จะได้รับเงินช่วยเหลือโดยจะต้องมาลงทะเบียน เป็นต้น
**สำนักงบเด้งรับขาดดุล 3.5 แสนล้าน
นายบัณฑูร สุภัควณิช ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ หากจะจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 โดยตั้งเป็นงบขาดดุลอีกไม่น้อยกว่า 3.5 แสนล้านบาท ตามที่นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ให้หลักการไว้ ซึ่งสามารถทำได้ทุกอย่าง แต่ต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของเงินคงคลัง ขณะเดียวกัน 4 หน่วยงานหลัก ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงบประมาณ (สงป.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะเป็นหน่วยงานที่ทบทวนกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 2553 โดยจะเริ่มดำเนินการระหว่าง เดือน ม.ค.-ก.พ.52 นี้ให้มีความชัดเจนขึ้น
"หลักการในการตั้งงบประมาณขาดดุล จะต้องคำนึงถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี แต่หากขยายตัว 0% ก็อาจจะต้องตั้งงบประมาณตามเซกชั่น โดยเป็นการประมาณการรายได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการยกร่างกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 2553 ที่รมว.คลัง ตั้งขึ้น" นายบัณฑูรกล่าวและว่า ในส่วนของงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่รัฐบาลเร่งให้มีการเบิกจ่ายนั้น ยั้งมีงบประมาณค้างอยู่ 2-3 หมื่นล้านบาท ซึ่งนายกรัฐมนตรี จะเข้ามาเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่อนท้องถิ่น (กกถ.) ด้วยตัวเอง
**ครม.ไฟเขียวปฏิทินเร่งใช้งบฯ
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.เห็นชอบ การเตรียมความพร้อมในการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 และปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
ทั้งนี้ ปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 หลังจาก ครม.เห็นชอบการเตรียมและปฏิทินในวันที่ 6 ม.ค.แล้วจะมีการประชุม ครม.เศรษฐกิจในวันที่ 7 ม.ค. ขณะที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่เกี่ยวข้อง จะต้องให้ความเห็นชอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่น ส่งสำนักงบประมาณใน วันที่ 9 ม.ค.นี้ และ สำนักงบประมาณพิจารณาคำของบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฯ ระหว่างวันที่ 9 –12 มกราคม 2552
โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาขอความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ในวันที่ 13 ม.ค. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาและสำนักงบประมาณจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 พ.ศ. .... และเอกสารงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 14 ม.ค. และวันที่ 20 ม.ค. ตามลำดับ
ขณะที่จะเสนอ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 พ.ศ. .... ในวาระที่ 1 และประมาณวันที่ 28 ม.ค. และ วาระที่ 2 – 3 วันที่ 11 ก.พ. และเชื่อว่าจะเสนอวุฒิสภา ได้ประมาณวันที่ 20 ก.พ. และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 พ.ศ. .... ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ในวันที่ 24 ก.พ.
**คึกลุยต่อคลอดตารางงบฯ 53
ครม.ยังเห็นชอบปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 โดยสำนักงบประมาณ จะเสนอนโยบายงบประมาณ วงเงิน โครงสร้างงบประมาณรายจ่าย และ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และวงเงินรายจ่ายประจำขั้นต่ำที่จำเป็นและรายจ่ายตามข้อผูกพันต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในวันอังคารที่ 3 ก.พ.52
ทั้งนี้ เชื่อว่า การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ของสภาผู้แทนราษฎรวาระที่ 1 วันที่ 17 –18 มิ.ย.52 และวาระที่ 2 – 3 วันที่ 26-27 ส.ค.52
สำหรับการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ของวุฒิสภา วันที่ 11 และ วันที่ 14 ก.ย. 52 และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ในวันที่ 17 ก.ย. 52
ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจ ที่ทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 10.00 น.วันนี้ (7 ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุมฯ กล่าวถึงวาระหลักว่าเป็นการหารือกรอบงบประมาณกลางปี 2552 (งบเพิ่มเติม) จำนวน 1 แสนล้านบาท ซึ่งได้สั่งการให้ทุกกระทรวงนำร่างแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจมาพิจารณา เพื่อเร่งจัดทำให้เสร็จเร็วที่สุด คาดว่าสามารถเสนอ ครม.ได้ในวันที่ 13 ม.ค.และเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 21 ม.ค. และสามารถเบิกจ่ายได้เร็วภายใน 2-3 เดือน
ทั้งนี้ จะมีการกำหนดกรอบการจัดทำแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ประกอบด้วยมาตรการช่วยเหลือประชาชนแต่ละกลุ่ม เช่น เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน ผู้มีเงินเดือนประจำ แต่ละภาคเศรษฐกิจ เช่น ภาคการเกษตร การท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ หลังจากนั้นจะให้หน่วยงานต่างที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณกลางปี นำเป้าหมายไปจัดทำเป็นรายละเอียดเพื่อนำมาเสนอกรอบของงบประมาณกลางปี ต่อที่ประชุม ครม.ในวันที่ 13 ม.ค.นี้ พร้อมกับการให้ความเห็นชอบแผนบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้สามารถอนุมัติ พ.ร.บ.งบประมาณกลางปี ได้ในวันที่ 21 ม.ค.และเสนอต่อสภาเพื่อพิจารณาในวันที่ 28 ม.ค.ต่อไป
**ยืนยันขาดดุลเรื้อรังไม่กระทบ
สำหรับกระบวนการงบประมาณปี 2553 นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ได้เริ่มแล้ว ปฏิทินการดำเนินการต่างๆ จะต้องเริ่มต้นไปพร้อมๆ กับการทำงบกลางปี และตั้งใจไว้ว่า ปีงบประมาณที่จะถึงนี้ ต้องการให้กฎหมายงบประมาณสามารถออกมาบังคับใช้ได้ทันปีงบประมาณเริ่มต้น คือ 1 ต.ค. หมายความว่า การทำงานตามปฏิทินต้องเริ่มทำงานตั้งแต่ช่วงนี้แล้ว
ส่วนที่หลายฝ่ายเป็นห่วงผลกระทบจากการตั้งงบประมาณขาดดุลหลายปีติดต่อกัน นายอภิสิทธิ์ยืนยันว่า มีกรอบเพดานกำกับอยู่แล้ว รวมทั้งหนี้สาธารณะจึงยังไม่มีประเด็นปัญหาที่ต้องกังวลว่าจะทำให้ไปละเมิดกรอบที่เป็นเรื่องของวินัยการเงินการคลังระยะยาว
**บี้หน่วยงานรัฐใช้เงิน อปท.-รสก.
บ่ายวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการมอบนโยบายให้แก่หัวหน้าส่วนราชการทั่วประเทศ ผบ.เหล่าทัพ โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเข้ามาทำงานของรัฐบาลชุดนี้มีความคาดหวังจากประชาชนที่อยากเห็นการแก้ไขปัญหาของประเทศที่อยู่ในภาวะวิกฤติ รวมทั้งการแก้ไขปัญหา ที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชนให้สำเร็จและลุล่วง การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ลำพังฝ่ายการเมืองคงไม่สามารถดำเนินการให้ประสบความสำเร็จได้ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย
"หนึ่งปีที่ผ่านมาที่ทุกคนได้รับทราบการชี้แจงนโยบายถึง 3 ครั้ง และแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่โดยระบบนโยบายที่ถูกกำหนดไว้นั้นถือเป็นวาระแห่งชาติ ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาลต้องดำเนินการต่อ ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ต่างก็ทราบดีในการสานต่อให้เกิดความต่อเนื่อง การกำหนดนโยบายของฝ่ายการเมืองที่เกิดขึ้นกำหนดโดยสถานการณ์ปัญหาของประเทศ เราต้องแก้ให้ตรงจุด ดังนั้นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่กำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการโดยการเริ่มต้นและทำให้สำเร็จในเวลา 1 ปี ถือเป็นเรื่องสำคัญ"
นายอภิสิทธิ์ ย้ำว่า ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาก็เห็นแล้วว่ากระทบกับชีวิตและเศรษฐกิจจริงของประชาชน แนวทางของการแก้ไขปัญหาขณะนี้สิ่งสำคัญคือการรักษากำลังซื้อของประชาชนให้คนมีเงินใช้จ่าย มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพื่อรักษาทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เรื่องการจ้างงาน การรักษาระดับรายได้ของประชาชน ซึ่งเราจำเป็นต้องมีแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งอย่างน้อย 1 แสนล้านบาท กระบวนการการจัดทำงบประมาณกว่าจะนำไปสู่การใช้จ่ายได้จริงต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 เดือน รัฐบาลจึงต้องเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณทั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รัฐวิสาหกิจ ที่ยังมีเงินค้างท่อหลักแสนล้าน รวมทั้งต้องดูแลให้สภาพคล่อง หรือการมีสินเชื่อ มีเงินหมุนเวียน จึงต้องมีการทำงานผ่านธนาคารของรัฐที่เป็นธนาคารเฉพาะกิจ และกลไกในสังคมโดยแข่งขันกับเวลา
วันที่ 7 ม.ค.นี้ ครม.เศรษฐกิจจะกำหนดกรอบแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้ดูกรอบและนำเสนอเพื่อประกอบการจัดทำแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและงบประมาณกลางปีต่อไป ส่วนนโยบายการช่วยเหลือผู้ว่างงาน ภาครัฐต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจหรือลดการเลิกจ้าง และในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีที่เริ่มมีปัญหาเรื่องแรงงานสัมพันธ์ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของต่างประเทศ หากเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้แรงงานกับผู้ประกอบการก็จะเป็นตัวปัญหาความเชื่อมั่นของต่างประเทศหรือสายตาของนักลงทุน ขณะที่การเลิกจ้างที่อาจเกิดขึ้นรัฐบาลมีมาตรการรองรับและอยู่ในแผนการฟื้นฟู นอกจากนี้รัฐบาลจะมีมาตรการทางภาษี มาตรการของสินเชื่อหรือสิทธิประโยชน์
“การลดภาระค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ไฟฟ้า รถเมล์ รถไฟหรือก๊าซหุงต้มในหลักการรัฐบาลจะดำเนินการต่อ แต่อะไรที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนในรายละเอียดเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้พลังงานอย่างประหยัดก็ต้องดำเนินการ ซึ่งคงมีเพียงมาตรการเดียวที่ต้องปรับเปลี่ยนคือกรณีของน้ำมัน เพราะปัจจุบันราคาน้ำมันในในตลาดโลกเปลี่ยนแปลงไป และการที่เราต้องการช่วยเหลือประชาชนรัฐบาลจำเป็นต้องมีรายได้ วันนี้การคืนกลับไปสู่ระบบการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ก็จำเป็นต้องปรับเพื่อเป็นฐานรายได้ของรัฐบาล” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง มั่นใจว่า เม็ดเงินงบประมาณกลางปีจะอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ทันก่อนเดือนเมษายนนี้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังคงมีมาตรการในการช่วยเหลือผู้ว่างงานในการสร้างงานให้กับผู้ตกงาน รวมถึงสร้างงานในชนบท โดยทางกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และมั่นใจว่าจะรองรับผู้ตกงานในเบื้องต้นได้ ไม่ต่ำกว่า 5 แสนคน
**เพิ่มงบ SML หมู่บ้านแห้ว 2 เท่า
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในการมอบนโยบายแก่หัวหน้าส่วนราชการเมื่อวานนี้ว่า ขอให้หัวหน้าส่วนราชการส่งเรื่องไปยังรัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความเห็นชอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่น ส่งสำนักงบประมาณก่อนหรือภายใน วันศุกร์ที่ 9 มกราคมนี้
“ที่กำหนดเวลาให้น้อยมาก ก็เนื่องจากบ้านเมืองเราประสบวิกฤติในหลายๆ ด้าน ดังนั้นรัฐบาลที่เข้ามาทำงานแล้วก็จะต้องทำงานแข่งกับเวลา กรอบงบประมาณปี 2552 ครม.จำเป็นที่จะต้องพิจารณาในวันที่ 13 ม.ค.นี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ระบุว่าอย่างช้าวันที่ 28 ม.ค.นี้งบประมาณปี 2552 จะต้องเข้าพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภา” นายกอร์ปศักดิ์กล่าวและว่า นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เช่น กองทุนเอสเอ็มแอล เพราะยังมีการส่งมอบไปไม่ครบ อย่างไรก็ตามหมู่บ้านที่ไม่เคยได้รับจะต้องได้รับเป็น 2 เท่า เพื่อกระตุ้นไปควบคู่กับแรงซื้อที่จะเดินหน้าต่อไปได้ หรือนโยบายเงินช่วยเหลือผู้สูงอายุทุกคนที่อายุ 60 ปี นอกระบบ จะได้รับเงินช่วยเหลือโดยจะต้องมาลงทะเบียน เป็นต้น
**สำนักงบเด้งรับขาดดุล 3.5 แสนล้าน
นายบัณฑูร สุภัควณิช ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ หากจะจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 โดยตั้งเป็นงบขาดดุลอีกไม่น้อยกว่า 3.5 แสนล้านบาท ตามที่นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ให้หลักการไว้ ซึ่งสามารถทำได้ทุกอย่าง แต่ต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของเงินคงคลัง ขณะเดียวกัน 4 หน่วยงานหลัก ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงบประมาณ (สงป.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะเป็นหน่วยงานที่ทบทวนกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 2553 โดยจะเริ่มดำเนินการระหว่าง เดือน ม.ค.-ก.พ.52 นี้ให้มีความชัดเจนขึ้น
"หลักการในการตั้งงบประมาณขาดดุล จะต้องคำนึงถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี แต่หากขยายตัว 0% ก็อาจจะต้องตั้งงบประมาณตามเซกชั่น โดยเป็นการประมาณการรายได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการยกร่างกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 2553 ที่รมว.คลัง ตั้งขึ้น" นายบัณฑูรกล่าวและว่า ในส่วนของงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่รัฐบาลเร่งให้มีการเบิกจ่ายนั้น ยั้งมีงบประมาณค้างอยู่ 2-3 หมื่นล้านบาท ซึ่งนายกรัฐมนตรี จะเข้ามาเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่อนท้องถิ่น (กกถ.) ด้วยตัวเอง
**ครม.ไฟเขียวปฏิทินเร่งใช้งบฯ
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.เห็นชอบ การเตรียมความพร้อมในการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 และปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
ทั้งนี้ ปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 หลังจาก ครม.เห็นชอบการเตรียมและปฏิทินในวันที่ 6 ม.ค.แล้วจะมีการประชุม ครม.เศรษฐกิจในวันที่ 7 ม.ค. ขณะที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่เกี่ยวข้อง จะต้องให้ความเห็นชอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่น ส่งสำนักงบประมาณใน วันที่ 9 ม.ค.นี้ และ สำนักงบประมาณพิจารณาคำของบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฯ ระหว่างวันที่ 9 –12 มกราคม 2552
โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาขอความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ในวันที่ 13 ม.ค. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาและสำนักงบประมาณจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 พ.ศ. .... และเอกสารงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 14 ม.ค. และวันที่ 20 ม.ค. ตามลำดับ
ขณะที่จะเสนอ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 พ.ศ. .... ในวาระที่ 1 และประมาณวันที่ 28 ม.ค. และ วาระที่ 2 – 3 วันที่ 11 ก.พ. และเชื่อว่าจะเสนอวุฒิสภา ได้ประมาณวันที่ 20 ก.พ. และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 พ.ศ. .... ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ในวันที่ 24 ก.พ.
**คึกลุยต่อคลอดตารางงบฯ 53
ครม.ยังเห็นชอบปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 โดยสำนักงบประมาณ จะเสนอนโยบายงบประมาณ วงเงิน โครงสร้างงบประมาณรายจ่าย และ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และวงเงินรายจ่ายประจำขั้นต่ำที่จำเป็นและรายจ่ายตามข้อผูกพันต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในวันอังคารที่ 3 ก.พ.52
ทั้งนี้ เชื่อว่า การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ของสภาผู้แทนราษฎรวาระที่ 1 วันที่ 17 –18 มิ.ย.52 และวาระที่ 2 – 3 วันที่ 26-27 ส.ค.52
สำหรับการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ของวุฒิสภา วันที่ 11 และ วันที่ 14 ก.ย. 52 และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ในวันที่ 17 ก.ย. 52