ผู้จัดการรายวัน - สำนักบริหารหนี้ปรับแผนก่อหนี้สำหรับโครงการขนาดใหญ่ หันกู้สถาบันการเงินระหว่างประเทศมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนหลังทิศทางดอกเบี้ยในประเทศเป็นขาขึ้นอย่างชัดเจน
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำกับด้านการเงินและการระดมทุนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐว่า จากต้นทุนทางการเงินในประเทศสูงขึ้นหลังแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับขึ้น ทำให้คณะกรรมการพิจารณาปรับแผนการระดมทุนใหม่ โดยเห็นชอบที่จะปรับสัดส่วนการระดมทุนจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น ธนาคารโลก ธนาคาเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(เอดีบี) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(เจบิก) เนื่องจากธนาคารเหล่านี้มีอัตราดอกเบี้ยในการปล่อยกู้อยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนค่าก่อสร้างต่ำลงด้วย โดยจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบภายใน 1-2 เดือนนี้
"ปรับแผนเงินกู้ครั้งใหม่จะปรับให้กู้เงินต่างประเทศมาอยู่ในระดับที่เท่ากับเงินกู้ในประเทศ ซึ่งแต่เดิมของในประเทศจะสูงกว่า เนื่องจากปัจจุบันดอกกู้ในประเทศแพงขึ้น อีกทั้งเพื่อลดการแข่งขันกับเอกชนที่ขณะนี้เริ่มกลับมาลงทุนในประเทศทำให้บูมขี้นมาใหม่"นายพงษ์ภาณุกล่าว
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมงบประมาณการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ยังคงสัดส่วนเดิมที่ 1.7 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในโครงการด้านเศรษฐกิจที่ 8 แสนล้านบาทซึ่งส่วนนี้มีโครงการรถไฟฟ้ารวมอยู่ ด้านสังคม 3.5 แสนล้านบาท และด้านพาณิชย์ 6 แสนล้านบาท ยังไม่ได้ปรับเพิ่ม
นอกจากนี้คณะกรรมการยังเห็นชอบให้เพิ่มสัดส่วนการเข้ามาลงทุนจากภาคเอกชน(พีพีพี)มากขึ้น เพื่อแบ่งเบาภาระงบประมาณและเงินกู้ ซึ่งจะได้นำเสนอรายละเอียดดังกล่าวต่อคณะกรรมการระดับชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ต่างๆของรัฐนั้น เป็นส่วนของโครงการรถไฟฟ้าที่มีความชัดเจนด้านสัดส่วนระดมทุนมากที่สุด โดยจะแบ่งกู้จากต่างประเทศ 40% ในประเทศ 30% และที่เหลือจะมาจากงบประมาณ ทั้งนี้ ในการขอกู้จากต่างประเทศทุกสายยกเว้นสีแดง(บางซื่อ-ตลิ่งชัน)และสีเขียว 2 สาย จะพึ่งพาเงินกู้จากเจบิกเป็นหลัก ซึ่งในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ เจบิกจะเข้ามาประเมินรถไฟสายสีแดง(บางซื่อ-รังสิต) จากนั้นจะขอกู้โดยงวดแรกจะขอกู้จำนวน 6 หมื่นล้านบาทในเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยเดิมที่ 1.4% และคาดปลายปีจะเซ็นสัญญารับเหมาก่อสร้างจากเอกชนได้ ส่วนสายอื่นยังต้องรอผลการพิจารณาอีไอเอสิ่งแวดล้อม จากนั้นเจบิกจึงจะเข้ามาต่อไป
สำหรับภาพรวมต้นทุนการก่อสร้างรถไฟฟ้านั้น ที่ผ่านมาได้มีการพิจารณาเฉพาะสายสีม่วงซึ่งเพิ่มขึ้น 15% ซึ่งคาดว่าในสายอื่นก็จะเพิ่มในสัดส่วนเท่ากัน เนื่องจากจากการพิจารณาต้นทุนของทุกสายได้พิจารณาในกรอบเวลาเดียวกันคือช่วงปี 48-49
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำกับด้านการเงินและการระดมทุนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐว่า จากต้นทุนทางการเงินในประเทศสูงขึ้นหลังแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับขึ้น ทำให้คณะกรรมการพิจารณาปรับแผนการระดมทุนใหม่ โดยเห็นชอบที่จะปรับสัดส่วนการระดมทุนจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น ธนาคารโลก ธนาคาเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(เอดีบี) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(เจบิก) เนื่องจากธนาคารเหล่านี้มีอัตราดอกเบี้ยในการปล่อยกู้อยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนค่าก่อสร้างต่ำลงด้วย โดยจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบภายใน 1-2 เดือนนี้
"ปรับแผนเงินกู้ครั้งใหม่จะปรับให้กู้เงินต่างประเทศมาอยู่ในระดับที่เท่ากับเงินกู้ในประเทศ ซึ่งแต่เดิมของในประเทศจะสูงกว่า เนื่องจากปัจจุบันดอกกู้ในประเทศแพงขึ้น อีกทั้งเพื่อลดการแข่งขันกับเอกชนที่ขณะนี้เริ่มกลับมาลงทุนในประเทศทำให้บูมขี้นมาใหม่"นายพงษ์ภาณุกล่าว
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมงบประมาณการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ยังคงสัดส่วนเดิมที่ 1.7 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในโครงการด้านเศรษฐกิจที่ 8 แสนล้านบาทซึ่งส่วนนี้มีโครงการรถไฟฟ้ารวมอยู่ ด้านสังคม 3.5 แสนล้านบาท และด้านพาณิชย์ 6 แสนล้านบาท ยังไม่ได้ปรับเพิ่ม
นอกจากนี้คณะกรรมการยังเห็นชอบให้เพิ่มสัดส่วนการเข้ามาลงทุนจากภาคเอกชน(พีพีพี)มากขึ้น เพื่อแบ่งเบาภาระงบประมาณและเงินกู้ ซึ่งจะได้นำเสนอรายละเอียดดังกล่าวต่อคณะกรรมการระดับชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ต่างๆของรัฐนั้น เป็นส่วนของโครงการรถไฟฟ้าที่มีความชัดเจนด้านสัดส่วนระดมทุนมากที่สุด โดยจะแบ่งกู้จากต่างประเทศ 40% ในประเทศ 30% และที่เหลือจะมาจากงบประมาณ ทั้งนี้ ในการขอกู้จากต่างประเทศทุกสายยกเว้นสีแดง(บางซื่อ-ตลิ่งชัน)และสีเขียว 2 สาย จะพึ่งพาเงินกู้จากเจบิกเป็นหลัก ซึ่งในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ เจบิกจะเข้ามาประเมินรถไฟสายสีแดง(บางซื่อ-รังสิต) จากนั้นจะขอกู้โดยงวดแรกจะขอกู้จำนวน 6 หมื่นล้านบาทในเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยเดิมที่ 1.4% และคาดปลายปีจะเซ็นสัญญารับเหมาก่อสร้างจากเอกชนได้ ส่วนสายอื่นยังต้องรอผลการพิจารณาอีไอเอสิ่งแวดล้อม จากนั้นเจบิกจึงจะเข้ามาต่อไป
สำหรับภาพรวมต้นทุนการก่อสร้างรถไฟฟ้านั้น ที่ผ่านมาได้มีการพิจารณาเฉพาะสายสีม่วงซึ่งเพิ่มขึ้น 15% ซึ่งคาดว่าในสายอื่นก็จะเพิ่มในสัดส่วนเท่ากัน เนื่องจากจากการพิจารณาต้นทุนของทุกสายได้พิจารณาในกรอบเวลาเดียวกันคือช่วงปี 48-49