ผู้จัดการรายวัน - สคร.เผยผลเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจเดือนเม.ย.มีจำนวน 1.2 หมื่นล้าน รวม 7 เดือนแรกของปีงบประมาณเบิกจ่ายได้แค่ 9.7 หมื่นล้านหรือคิดเป็น 28.64%ของวงเงินงบประมาณ โดยสาขาพลังงานเบิกจ่ายมากสุด 4.1 พันล้าน ขณะที่ยอดนำส่งรายได้เดือนพ.ค.มีจำนวน 3.2 พันล้าน ยังต่ำกว่าเป้า 3.7 พันล้าน
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในเดือนเมษายน 2551 มียอดเบิกจ่ายจริงทั้งสิ้น 11,978 ล้านบาท โดยช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ (ตุลาคม 2550-เมษายน 2551) รัฐวิสาหกิจได้เบิกจ่ายงบประมาณจริงแล้วทั้งสิ้น 97,777.93 ล้านบาท คิดเป็น 28.64% ของวงเงินงบประมาณปี 2551
ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน 2551 สาขาที่มีการเบิกจ่ายสูงสุดคือ สาขาพลังงาน เบิกจ่าย 4,123.99 ล้านบาท รองลงมาคือสาขาขนส่ง เบิกจ่าย 3,798.08 ล้านบาท สาขาสาธารณูปการ 2,920.28 ล้านบาท สาขาสื่อสาร 952.96 ล้านบาท สาขาพาณิชย์และบริการ 121.36 ล้านบาท สาขาสังคมและเทคโนโลยี 36.32 ล้านบาท สาขาอุตสาหกรรม 24.27 ล้านบาท และสาขาเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ 0.74 ล้านบาท
“สคร.จะติดตามเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน และเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ในปี 2551 ที่ 3.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 90%”
สำหรับผลการนำส่งรายได้ประจำเดือนพฤษภาคม 2551 รัฐวิสาหกิจสามารถนำส่งรายได้เข้ารัฐเป็นจำนวน 3,196.79 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 3,709.27 ล้านบาท โดยสามารรถแยกตามรายสาขา อาทิ สาขาพลังงาน1,048 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินนำส่งรายได้จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สาขาพาณิชย์และบริการ 1,030.40 ล้านบาท โดยเป็นเงินนำส่งรายได้จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
นอกจากนี้ สาขาขนส่ง นำส่งรายได้ 583.36 ล้านบาท เป็นเงินนำส่งรายได้จากบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) การท่าเรือแห่งประเทศไทย และบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด สาขาสื่อสาร 334.58 ล้านบาท เป็นเงินนำส่งรายได้จากบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) สาขาสังคมและเทคโนโลยี 58.58 ล้านบาท เป็นเงินนำส่งรายได้จากสำนักงานธนานุเคราะห์ และรายได้จากกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่า 50% จำนวน 141.87 ล้านบาท
นายอารีพงศ์ กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจที่สามารถนำส่งรายได้เข้ารัฐสูงสุด 5 อันดับแรก ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550-พฤษภาคม 2551) ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 16,828.01 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี 2550 ประมาณ 41, 000 ล้านบาท กฟผ. จำนวน 13,307 ล้านบาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 10,010.50 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 6,196 ล้านบาท และกฟภ. 3,580 ล้านบาท
“ในระยะเวลา 8 เดือนตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงปัจจุบัน รัฐวิสาหกิจสามารถนำส่งเงินรายได้เข้าคลังทั้งสิ้น 69,163.07 ล้านบาท หรือคิดเป็น 70.11%”
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในเดือนเมษายน 2551 มียอดเบิกจ่ายจริงทั้งสิ้น 11,978 ล้านบาท โดยช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ (ตุลาคม 2550-เมษายน 2551) รัฐวิสาหกิจได้เบิกจ่ายงบประมาณจริงแล้วทั้งสิ้น 97,777.93 ล้านบาท คิดเป็น 28.64% ของวงเงินงบประมาณปี 2551
ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน 2551 สาขาที่มีการเบิกจ่ายสูงสุดคือ สาขาพลังงาน เบิกจ่าย 4,123.99 ล้านบาท รองลงมาคือสาขาขนส่ง เบิกจ่าย 3,798.08 ล้านบาท สาขาสาธารณูปการ 2,920.28 ล้านบาท สาขาสื่อสาร 952.96 ล้านบาท สาขาพาณิชย์และบริการ 121.36 ล้านบาท สาขาสังคมและเทคโนโลยี 36.32 ล้านบาท สาขาอุตสาหกรรม 24.27 ล้านบาท และสาขาเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ 0.74 ล้านบาท
“สคร.จะติดตามเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน และเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ในปี 2551 ที่ 3.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 90%”
สำหรับผลการนำส่งรายได้ประจำเดือนพฤษภาคม 2551 รัฐวิสาหกิจสามารถนำส่งรายได้เข้ารัฐเป็นจำนวน 3,196.79 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 3,709.27 ล้านบาท โดยสามารรถแยกตามรายสาขา อาทิ สาขาพลังงาน1,048 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินนำส่งรายได้จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สาขาพาณิชย์และบริการ 1,030.40 ล้านบาท โดยเป็นเงินนำส่งรายได้จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
นอกจากนี้ สาขาขนส่ง นำส่งรายได้ 583.36 ล้านบาท เป็นเงินนำส่งรายได้จากบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) การท่าเรือแห่งประเทศไทย และบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด สาขาสื่อสาร 334.58 ล้านบาท เป็นเงินนำส่งรายได้จากบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) สาขาสังคมและเทคโนโลยี 58.58 ล้านบาท เป็นเงินนำส่งรายได้จากสำนักงานธนานุเคราะห์ และรายได้จากกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่า 50% จำนวน 141.87 ล้านบาท
นายอารีพงศ์ กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจที่สามารถนำส่งรายได้เข้ารัฐสูงสุด 5 อันดับแรก ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550-พฤษภาคม 2551) ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 16,828.01 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี 2550 ประมาณ 41, 000 ล้านบาท กฟผ. จำนวน 13,307 ล้านบาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 10,010.50 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 6,196 ล้านบาท และกฟภ. 3,580 ล้านบาท
“ในระยะเวลา 8 เดือนตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงปัจจุบัน รัฐวิสาหกิจสามารถนำส่งเงินรายได้เข้าคลังทั้งสิ้น 69,163.07 ล้านบาท หรือคิดเป็น 70.11%”