สคร.พอใจระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจปี 2550 เฉลี่ยอยู่ที่ 4.500 เผยองค์กรที่โดดเด่นนำโดย ปตท. ธอส. ออมสิน กฟน. และกนอ. ระบุถือเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และขีดความสามารถการดำเนินงาน เพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคตสู่ระดับสากล
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีรัฐวิสาหกิจเข้าสู่ระบบการประเมินผลรัฐวิสาหกิจจำนวนทั้งสิ้น 51 แห่ง หลังจาก สคร.ได้กำหนดกรอบการประเมินผลรัฐวิสาหกิจด้วยกัน 3 ด้านหลัก คือ 1. การดำเนินการตามนโยบาย 2. ผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ และ 3. การบริหารจัดการองค์กร ที่จะเป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญที่ช่วยให้รัฐวิสาหกิจมีผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ทั้งด้านการเงิน การบริการ กระบวนการทำงาน และการบริหารจัดการต่างๆ ที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ ระบบประเมินผลยังได้มีส่วนช่วยในการรองรับยุทธศาสตร์ในการแข่งขันและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของรัฐวิสาหกิจและของประเทศ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่ต้องแข่งขันกับเอกชนทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาพรวมปี 2550ที่ผ่านมานั้น ถ้าวัดจากระบบการประเมิณผลนั้นรัฐวิสาหกิจมีผลประกอบการทางการเงินที่ดี ซึ่งอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และมีการบริหารจัดการในภาพรวมที่เป็นระบบและมีมาตรฐาน โดยได้รับผลการประเมินเฉลี่ยประมาณ 4.500
“สำหรับรัฐวิสาหกิจที่โดดเด่นในปี 2550 ที่ผ่านมา ได้แก่ ปตท. ธอส. ธนาคารออมสิน กฟน. กนอ. กฟภ. บกท. กฟผ. กปน. และ กทพ. โดยทุกแห่งมีผลการดำเนินงานด้านการเงินและด้านที่ไม่ใช่การเงิน อาทิ คุณภาพการบริการ การรักษามาตรฐานของการดำเนินงานที่ดีขึ้น” ผอ.สคร. กล่าว
อย่างไรก็ตาม สำหรับรัฐวิสาหกิจที่ผลการดำเนินงานยังไม่ดีพอ หรือรัฐวิสาหกิจที่ยังประสบกับสภาวะขาดทุนอยู่ สคร.ก็ได้ผลักดันผ่านระบบประเมินผลให้มีการปรับปรุงการดำเนินงานให้ดีขึ้น หรือเพื่อลดการขาดทุนลง โดยการกำหนดเป้าหมายเพื่อให้การทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้นกว่าเดิมที่ผ่านมา (Self-improvement) หรือการกำหนดให้รัฐวิสาหกิจจัดทำแผนพลิกฟื้น และมีการวัดประเมินการดำเนินการตามแผนพลิกฟื้นนั้น ทั้งนี้ เพื่อยกระดับให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ขณะเดียวกัน รัฐวิสาหกิจได้ทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การลงทุนของประเทศ โดยได้มีการกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนไว้เป็นตัวชี้วัดหนึ่งในบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่องมาตลอด
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีรัฐวิสาหกิจเข้าสู่ระบบการประเมินผลรัฐวิสาหกิจจำนวนทั้งสิ้น 51 แห่ง หลังจาก สคร.ได้กำหนดกรอบการประเมินผลรัฐวิสาหกิจด้วยกัน 3 ด้านหลัก คือ 1. การดำเนินการตามนโยบาย 2. ผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ และ 3. การบริหารจัดการองค์กร ที่จะเป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญที่ช่วยให้รัฐวิสาหกิจมีผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ทั้งด้านการเงิน การบริการ กระบวนการทำงาน และการบริหารจัดการต่างๆ ที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ ระบบประเมินผลยังได้มีส่วนช่วยในการรองรับยุทธศาสตร์ในการแข่งขันและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของรัฐวิสาหกิจและของประเทศ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่ต้องแข่งขันกับเอกชนทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาพรวมปี 2550ที่ผ่านมานั้น ถ้าวัดจากระบบการประเมิณผลนั้นรัฐวิสาหกิจมีผลประกอบการทางการเงินที่ดี ซึ่งอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และมีการบริหารจัดการในภาพรวมที่เป็นระบบและมีมาตรฐาน โดยได้รับผลการประเมินเฉลี่ยประมาณ 4.500
“สำหรับรัฐวิสาหกิจที่โดดเด่นในปี 2550 ที่ผ่านมา ได้แก่ ปตท. ธอส. ธนาคารออมสิน กฟน. กนอ. กฟภ. บกท. กฟผ. กปน. และ กทพ. โดยทุกแห่งมีผลการดำเนินงานด้านการเงินและด้านที่ไม่ใช่การเงิน อาทิ คุณภาพการบริการ การรักษามาตรฐานของการดำเนินงานที่ดีขึ้น” ผอ.สคร. กล่าว
อย่างไรก็ตาม สำหรับรัฐวิสาหกิจที่ผลการดำเนินงานยังไม่ดีพอ หรือรัฐวิสาหกิจที่ยังประสบกับสภาวะขาดทุนอยู่ สคร.ก็ได้ผลักดันผ่านระบบประเมินผลให้มีการปรับปรุงการดำเนินงานให้ดีขึ้น หรือเพื่อลดการขาดทุนลง โดยการกำหนดเป้าหมายเพื่อให้การทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้นกว่าเดิมที่ผ่านมา (Self-improvement) หรือการกำหนดให้รัฐวิสาหกิจจัดทำแผนพลิกฟื้น และมีการวัดประเมินการดำเนินการตามแผนพลิกฟื้นนั้น ทั้งนี้ เพื่อยกระดับให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ขณะเดียวกัน รัฐวิสาหกิจได้ทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การลงทุนของประเทศ โดยได้มีการกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนไว้เป็นตัวชี้วัดหนึ่งในบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่องมาตลอด