สำนักบริหารเผยหนี้สาธารณะเดือนเม.ย.มีจำนวน 3.37 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 3.3 หมื่นล้านบาท ระบุปัจจัยหลักมาจากการกู้เงินเพื่อชดเชยงบขาดดุล โดยมียอดการกู้ 3.99 หมื่นล้านบาท
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะรายงานการกู้เงินภาครัฐเดือนเมษายน 2551 กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงินรวม 39,943 ล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาล วงเงิน 23,550 ล้านบาท พันธบัตรออมทรัพย์ วงเงิน 12,393 ล้านบาท และตั๋วเงินคลัง วงเงิน 4,000 ล้านบาท รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศ วงเงินรวม 8,718 ล้านบาท เป็นการกู้เพื่อลงทุนในโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย วงเงิน 3,000 ล้านบาท และ 1,718 ล้านบาท ตามลำดับ และเป็นการกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ วงเงิน 4,000 ล้านบาท
ส่งผลให้ช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551 ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 192,212 ล้านบาท โดยเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 142,391 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 49,821 ล้านบาท
การชำระหนี้ภาครัฐเดือนเมษายน 2551 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 5,915 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 541 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 5,374 ล้านบาท โดยรวม 7 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551 กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 63,507 ล้านบาท
และยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 มีจำนวน 3,374,966 ล้านบาท หรือร้อยละ 36.85 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,140,503 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 951,526 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 95,596 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 166,372 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 20,969 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 33,270 ล้านบาท เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงและหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 32,641 ล้านบาท และ 5,690 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินและหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 4,005 ล้านบาท และ 1,056 ล้านบาท ตามลำดับ
ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น ที่สำคัญเกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศที่รัฐบาลกู้โดยตรง โดยเพิ่มขึ้นสุทธิ 35,884 ล้านบาท เนื่องจากการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงินรวม 28,178 ล้านบาท และออกตั๋วเงินคลังเพื่อบริหารเงินสด วงเงิน 7,000 ล้านบาท
โดยหนี้สาธารณะ 3,374,966 ล้านบาท แยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 405,745 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.02 และ หนี้ในประเทศ 2,969,221 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.98 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 3,176,410 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.12 และหนี้ระยะสั้น 198,556 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.88 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 6 และ 7 ตามลำดับ
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะรายงานการกู้เงินภาครัฐเดือนเมษายน 2551 กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงินรวม 39,943 ล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาล วงเงิน 23,550 ล้านบาท พันธบัตรออมทรัพย์ วงเงิน 12,393 ล้านบาท และตั๋วเงินคลัง วงเงิน 4,000 ล้านบาท รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศ วงเงินรวม 8,718 ล้านบาท เป็นการกู้เพื่อลงทุนในโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย วงเงิน 3,000 ล้านบาท และ 1,718 ล้านบาท ตามลำดับ และเป็นการกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ วงเงิน 4,000 ล้านบาท
ส่งผลให้ช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551 ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 192,212 ล้านบาท โดยเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 142,391 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 49,821 ล้านบาท
การชำระหนี้ภาครัฐเดือนเมษายน 2551 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 5,915 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 541 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 5,374 ล้านบาท โดยรวม 7 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551 กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 63,507 ล้านบาท
และยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 มีจำนวน 3,374,966 ล้านบาท หรือร้อยละ 36.85 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,140,503 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 951,526 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 95,596 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 166,372 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 20,969 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 33,270 ล้านบาท เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงและหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 32,641 ล้านบาท และ 5,690 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินและหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 4,005 ล้านบาท และ 1,056 ล้านบาท ตามลำดับ
ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น ที่สำคัญเกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศที่รัฐบาลกู้โดยตรง โดยเพิ่มขึ้นสุทธิ 35,884 ล้านบาท เนื่องจากการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงินรวม 28,178 ล้านบาท และออกตั๋วเงินคลังเพื่อบริหารเงินสด วงเงิน 7,000 ล้านบาท
โดยหนี้สาธารณะ 3,374,966 ล้านบาท แยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 405,745 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.02 และ หนี้ในประเทศ 2,969,221 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.98 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 3,176,410 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.12 และหนี้ระยะสั้น 198,556 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.88 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 6 และ 7 ตามลำดับ