คลังเผยมีนาคมรัฐบาลก่อหนี้ชดเชยขาดดุลงบประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท ยอด 6 เดือนก่อหนี้ไปแล้ว 1.4 แสนล้านบาท ขณะที่ยอดหนี้สาธารณะยังอยู่ที่ 3.3 ล้านล้านบาท หรือ 36.35% ของจีดีพี โดยเป็นสัดส่วนหนี้ในประเทศ 87.84%
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนมีนาคม 2551 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างพันธบัตรรัฐบาลที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่ครบกำหนดในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 จำนวน 34,950 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 4 รุ่น ในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม 2551 ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ได้ออกพันธบัตรรัฐบาลแล้ว 2 รุ่น จำนวน 19,000 ล้านบาท และในเดือนมีนาคมได้ออกพันธบัตรรัฐบาลอีก 2 รุ่น จำนวน 15,657 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 19,700 ล้านบาท โดยทำการ Refinance วงเงิน 12,000 ล้านบาท และ Roll Over วงเงิน 7,700 ล้านบาท โดยการเคหะแห่งชาติและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ทำการ Roll Over หนี้เดิม วงเงิน 3,500 ล้านบาท และ 4,200 ล้านบาท ตามลำดับ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ทำการ Refinance หนี้เดิม วงเงิน 12,000 ล้านบาท ส่วนหนี้ต่างประเทศได้ทำ Swap เงินกู้ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) วงเงินรวม 5,031 ล้านบาท
โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551 ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ ในประเทศวงเงินรวม 49,657 ล้านบาท โดยเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงิน 15,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลวงเงิน 34,657 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจได้ทำการ Roll Over และRefinance หนี้เดิมรวม 37,188 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศวงเงินรวม 9,199 ล้านบาท โดยเป็นการ Roll Over วงเงิน 7,500 ล้านบาท และเป็นการ Prepayment วงเงิน 1,699 ล้านบาท ทำให้สามารถลดภาระดอกเบี้ยรวม 258 ล้านบาท
สำหรับการกู้เงินภาครัฐได้กู้เงินในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงินรวม 28,178 ล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรออมทรัพย์ 228 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน 10,950 ล้านบาท และตั๋วเงินคลัง 17,000 ล้านบาท ส่วนรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวม 8,396 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุนในโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย วงเงิน 1,000 ล้านบาท และการเคหะแห่งชาติ วงเงิน 4,500 ล้านบาท และเป็นการกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ วงเงิน 2,896 ล้านบาท
นอกจากนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ลงนามสัญญาเงินกู้กับ JBIC ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 เพื่อลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ วงเงินรวม 62,442 ล้านเยน โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551 ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 143,551 ล้านบาท โดยเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 102,448 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 41,103 ล้านบาท
ขณะที่การชำระหนี้ภาครัฐ เดือนมีนาคม 2551 ได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 9,403 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 318 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 9,085 ล้านบาท และช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551 ได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 57,592 ล้านบาท
ด้านหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551 มีจำนวน 3,329,420 ล้านบาท หรือ 36.35% ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,107,862 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 933,560 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 99,602 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 167,427 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 20,969 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 5,136 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงและหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้น 11,953 ล้านบาท และ 1,923 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินและหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 7,737 ล้านบาท และ 1,003 ล้านบาท ตามลำดับ
โดยการเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น ที่สำคัญเกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศของรัฐบาลกู้โดยตรง โดยเพิ่มขึ้นสุทธิ 14,269 ล้านบาท เนื่องจากการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน และพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงินรวม 15,270 ล้านบาท และได้ชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 20,001 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล วงเงิน 19,000 ล้านบาท และ Premium ที่เกิดจากการออกพันธบัตร จำนวน 1,001 ล้านบาท
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนมีนาคม 2551 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างพันธบัตรรัฐบาลที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่ครบกำหนดในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 จำนวน 34,950 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 4 รุ่น ในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม 2551 ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ได้ออกพันธบัตรรัฐบาลแล้ว 2 รุ่น จำนวน 19,000 ล้านบาท และในเดือนมีนาคมได้ออกพันธบัตรรัฐบาลอีก 2 รุ่น จำนวน 15,657 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 19,700 ล้านบาท โดยทำการ Refinance วงเงิน 12,000 ล้านบาท และ Roll Over วงเงิน 7,700 ล้านบาท โดยการเคหะแห่งชาติและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ทำการ Roll Over หนี้เดิม วงเงิน 3,500 ล้านบาท และ 4,200 ล้านบาท ตามลำดับ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ทำการ Refinance หนี้เดิม วงเงิน 12,000 ล้านบาท ส่วนหนี้ต่างประเทศได้ทำ Swap เงินกู้ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) วงเงินรวม 5,031 ล้านบาท
โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551 ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ ในประเทศวงเงินรวม 49,657 ล้านบาท โดยเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงิน 15,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลวงเงิน 34,657 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจได้ทำการ Roll Over และRefinance หนี้เดิมรวม 37,188 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศวงเงินรวม 9,199 ล้านบาท โดยเป็นการ Roll Over วงเงิน 7,500 ล้านบาท และเป็นการ Prepayment วงเงิน 1,699 ล้านบาท ทำให้สามารถลดภาระดอกเบี้ยรวม 258 ล้านบาท
สำหรับการกู้เงินภาครัฐได้กู้เงินในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงินรวม 28,178 ล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรออมทรัพย์ 228 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน 10,950 ล้านบาท และตั๋วเงินคลัง 17,000 ล้านบาท ส่วนรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวม 8,396 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุนในโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย วงเงิน 1,000 ล้านบาท และการเคหะแห่งชาติ วงเงิน 4,500 ล้านบาท และเป็นการกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ วงเงิน 2,896 ล้านบาท
นอกจากนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ลงนามสัญญาเงินกู้กับ JBIC ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 เพื่อลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ วงเงินรวม 62,442 ล้านเยน โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551 ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 143,551 ล้านบาท โดยเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 102,448 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 41,103 ล้านบาท
ขณะที่การชำระหนี้ภาครัฐ เดือนมีนาคม 2551 ได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 9,403 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 318 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 9,085 ล้านบาท และช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551 ได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 57,592 ล้านบาท
ด้านหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551 มีจำนวน 3,329,420 ล้านบาท หรือ 36.35% ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,107,862 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 933,560 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 99,602 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 167,427 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 20,969 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 5,136 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงและหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้น 11,953 ล้านบาท และ 1,923 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินและหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 7,737 ล้านบาท และ 1,003 ล้านบาท ตามลำดับ
โดยการเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น ที่สำคัญเกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศของรัฐบาลกู้โดยตรง โดยเพิ่มขึ้นสุทธิ 14,269 ล้านบาท เนื่องจากการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน และพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงินรวม 15,270 ล้านบาท และได้ชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 20,001 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล วงเงิน 19,000 ล้านบาท และ Premium ที่เกิดจากการออกพันธบัตร จำนวน 1,001 ล้านบาท