ประชาชนคนไทยหนี้ท่วมหัว ผลสำรวจพบปี 51 เป็นหนี้ต่อหัวไม่ต่ำกว่าคนละ 7 หมื่นบาท หรือหนี้รวมทั้งระบบ 6.75 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.9% หลังเจอพิษเศรษฐกิจ ทำค่าครองชีพสูง สินค้าเกษตรราคาตกต่ำ เรียกร้องรัฐบาลอัดฉีดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด่วน ก่อนพังพาบ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงสถานภาพของสหกรณ์ไทยว่า การกู้ยืมเงินของประชาชนที่เป็นสมาชิกระบบสหกรณ์ทั่วประเทศปี 2551 คาดว่าจะมีมูลค่า 6.75 แสนล้านบาท สูงขึ้น 9.8-9.9% เมื่อเทียบกับการกู้ยืมเงินในสหกรณ์ปี 2550 ที่มีมูลค่า 6.15 แสนล้านบาท หรือมีหนี้เฉลี่ย 69,587 บาท/คน เทียบจากปีก่อนที่มีหนี้เฉลี่ย 67,582 บาท/คน
ทั้งนี้ สถานภาพสหกรณ์ในภาพรวมของประเทศ ที่ได้ทำการเก็บสำรวจมีทั้งสหกรณ์ออกทรัพย์ครู สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์แท็กซี่ และสหกรณ์รถโดยสาร มีเงินหมุนเวียนในระบบสหกรณ์ประมาณ 1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 10% ของจีดีพีประเทศ และขณะนี้เริ่มมีปัญหาการชำระหนี้ เพราะหากขาดส่งค่าหุ้นเกิน 2 งวด จะถูกปลดออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ ซึ่งภาครัฐต้องเร่งคลายกฎตรงนี้
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ศูนย์ฯ ยังได้ทำการสำรวจสถานภาพของประชาชนระดับรากหญ้าจำนวน 4,958 ตัวอย่าง โดยส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม ครู คนขับแท็กซี่ คนขับ 3 ล้อ รับราชการและรับจ้าง ซึ่งมีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ต่ำกว่า 1,000 บาท ถึงสูงกว่า 1.25 หมื่นบาท ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ พบว่า ประชาชนระดับรากหญ้าส่วนใหญ่ 42.6% ประสบปัญหากับสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน สาเหตุมากจากต้นทุนค่าครองชีพสูงขึ้น ระดับราคาพืชผลเกษตรลดลง ยอดขายและเงินเดือนลดลง ส่งผลให้ภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นสวนทางกับรายได้ที่ลดลง
อย่างไรก็ตาม เมื่อแยกสัดส่วนหนี้สินตามวัตถุประสงค์การใช้ พบว่า ส่วนใหญ่ใช้เพิ่มการลงทุน 22.51% ซื้อที่อยู่อาศัย 20.21% ใช้จ่ายประจำวัน 19.53% ซื้อยานพาหนะ 14.37% โดยแหล่งเงินกู้ที่ใช้กู้ยืมมากสุดคือ สหกรณ์ รองลงมาเป็นกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารของรัฐ ญาติ/พี่น้อง ธนาคารพาณิชย์ บัตรเครดิต สถาบันการเงิน เพื่อน/คนรู้จัก นายทุน โรงรับจำนำ และธนาคารประชาชน ซึ่งภาระหนี้สินภาพรวมต่อคนอยู่ที่ 2.1 แสนบาท เป็นหนี้ที่ก่อในระบบ 66.70% และนอกระบบ 33.30% มีการผ่อนชำระต่อเดือนที่ 8,282 บาท
“หากดูการชำระหนี้ต่อรายได้ พบว่ามีการชำระหนี้เกินรายได้ที่มีอยู่ทั้งหมด เมื่อเทียบภาระหนี้สินในปัจจุบันกับปีที่ผ่านมา โดยประชาชนส่วนใหญ่ตอบว่ามีหนี้สินในระบบเพิ่มขึ้น ส่วนหนี้นอกระบบมีน้อยลงกว่าปีที่ผ่าน และเมื่อสอบถามว่าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาเคยประสบปัญหาขาดการผ่อนชำระหนี้หรือผิดนักผ่อนชำระหนี้หรือไม่ 27.2% ตอบว่าเคย และเมื่อสอบถามถึงสถานะปัจจุบันว่ามีรายได้เพียงพอกับรายจ่ายหรือไม่ ส่วนใหญ่ต่อว่าไม่พอ เพราะราคาสินค้าแพงขึ้น อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และราคาน้ำมันแพงขึ้น ซึ่งแก้ไขสถานการณ์โดยวิธีกู้ยืม นำเงินออมออกมาใช้ ขายและจำนำสินทรัพย์ และขอความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง”นายธนวรรธน์กล่าว
สำหรับอาชีพที่ประสบปัญหาผ่อนชำระหนี้มากสุดในสถานการณ์ปัจจุบัน คือ คนขับ 3 ล้อ รองลงมาคนขับแท็กซี่ เกษตรกรรม และครู เมื่อสอบถามถึงความกังวลประเด็นต่างๆในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ตอบว่ากังวลปัญหาตกงานมากสุด รองลงมากังวลปัญหาขโมย ปัญหาอาชญากรรม รายได้ลดลง การชำระหนี้หารายได้ไม่พอชำระหนี้
ดังนั้น ข้อเสนอที่รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการ ก็คือ จะต้องเร่งฟื้นเศรษฐกิจให้เสร็จไม่เกินเดือนก.พ. หากทำไม่สำเร็จเชื่อว่าจะเกิดการปลดคนงานรุนแรงสุดช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. และรัฐจะต้องเข้าไปดูแลราคาพืชผลเกษตร พร้อมเร่งใช้งบประมาณกลางปี หากเพิ่มเป็น 2 แสนล้านบาทก็จะดี รวมทั้งอยากให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดึงเงินหรือเร่งเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนพร้อมกันทั้ง 75 จังหวัด เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายและเศรษฐกิจจะได้ฟื้นพร้อมกัน
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงสถานภาพของสหกรณ์ไทยว่า การกู้ยืมเงินของประชาชนที่เป็นสมาชิกระบบสหกรณ์ทั่วประเทศปี 2551 คาดว่าจะมีมูลค่า 6.75 แสนล้านบาท สูงขึ้น 9.8-9.9% เมื่อเทียบกับการกู้ยืมเงินในสหกรณ์ปี 2550 ที่มีมูลค่า 6.15 แสนล้านบาท หรือมีหนี้เฉลี่ย 69,587 บาท/คน เทียบจากปีก่อนที่มีหนี้เฉลี่ย 67,582 บาท/คน
ทั้งนี้ สถานภาพสหกรณ์ในภาพรวมของประเทศ ที่ได้ทำการเก็บสำรวจมีทั้งสหกรณ์ออกทรัพย์ครู สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์แท็กซี่ และสหกรณ์รถโดยสาร มีเงินหมุนเวียนในระบบสหกรณ์ประมาณ 1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 10% ของจีดีพีประเทศ และขณะนี้เริ่มมีปัญหาการชำระหนี้ เพราะหากขาดส่งค่าหุ้นเกิน 2 งวด จะถูกปลดออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ ซึ่งภาครัฐต้องเร่งคลายกฎตรงนี้
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ศูนย์ฯ ยังได้ทำการสำรวจสถานภาพของประชาชนระดับรากหญ้าจำนวน 4,958 ตัวอย่าง โดยส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม ครู คนขับแท็กซี่ คนขับ 3 ล้อ รับราชการและรับจ้าง ซึ่งมีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ต่ำกว่า 1,000 บาท ถึงสูงกว่า 1.25 หมื่นบาท ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ พบว่า ประชาชนระดับรากหญ้าส่วนใหญ่ 42.6% ประสบปัญหากับสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน สาเหตุมากจากต้นทุนค่าครองชีพสูงขึ้น ระดับราคาพืชผลเกษตรลดลง ยอดขายและเงินเดือนลดลง ส่งผลให้ภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นสวนทางกับรายได้ที่ลดลง
อย่างไรก็ตาม เมื่อแยกสัดส่วนหนี้สินตามวัตถุประสงค์การใช้ พบว่า ส่วนใหญ่ใช้เพิ่มการลงทุน 22.51% ซื้อที่อยู่อาศัย 20.21% ใช้จ่ายประจำวัน 19.53% ซื้อยานพาหนะ 14.37% โดยแหล่งเงินกู้ที่ใช้กู้ยืมมากสุดคือ สหกรณ์ รองลงมาเป็นกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารของรัฐ ญาติ/พี่น้อง ธนาคารพาณิชย์ บัตรเครดิต สถาบันการเงิน เพื่อน/คนรู้จัก นายทุน โรงรับจำนำ และธนาคารประชาชน ซึ่งภาระหนี้สินภาพรวมต่อคนอยู่ที่ 2.1 แสนบาท เป็นหนี้ที่ก่อในระบบ 66.70% และนอกระบบ 33.30% มีการผ่อนชำระต่อเดือนที่ 8,282 บาท
“หากดูการชำระหนี้ต่อรายได้ พบว่ามีการชำระหนี้เกินรายได้ที่มีอยู่ทั้งหมด เมื่อเทียบภาระหนี้สินในปัจจุบันกับปีที่ผ่านมา โดยประชาชนส่วนใหญ่ตอบว่ามีหนี้สินในระบบเพิ่มขึ้น ส่วนหนี้นอกระบบมีน้อยลงกว่าปีที่ผ่าน และเมื่อสอบถามว่าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาเคยประสบปัญหาขาดการผ่อนชำระหนี้หรือผิดนักผ่อนชำระหนี้หรือไม่ 27.2% ตอบว่าเคย และเมื่อสอบถามถึงสถานะปัจจุบันว่ามีรายได้เพียงพอกับรายจ่ายหรือไม่ ส่วนใหญ่ต่อว่าไม่พอ เพราะราคาสินค้าแพงขึ้น อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และราคาน้ำมันแพงขึ้น ซึ่งแก้ไขสถานการณ์โดยวิธีกู้ยืม นำเงินออมออกมาใช้ ขายและจำนำสินทรัพย์ และขอความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง”นายธนวรรธน์กล่าว
สำหรับอาชีพที่ประสบปัญหาผ่อนชำระหนี้มากสุดในสถานการณ์ปัจจุบัน คือ คนขับ 3 ล้อ รองลงมาคนขับแท็กซี่ เกษตรกรรม และครู เมื่อสอบถามถึงความกังวลประเด็นต่างๆในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ตอบว่ากังวลปัญหาตกงานมากสุด รองลงมากังวลปัญหาขโมย ปัญหาอาชญากรรม รายได้ลดลง การชำระหนี้หารายได้ไม่พอชำระหนี้
ดังนั้น ข้อเสนอที่รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการ ก็คือ จะต้องเร่งฟื้นเศรษฐกิจให้เสร็จไม่เกินเดือนก.พ. หากทำไม่สำเร็จเชื่อว่าจะเกิดการปลดคนงานรุนแรงสุดช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. และรัฐจะต้องเข้าไปดูแลราคาพืชผลเกษตร พร้อมเร่งใช้งบประมาณกลางปี หากเพิ่มเป็น 2 แสนล้านบาทก็จะดี รวมทั้งอยากให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดึงเงินหรือเร่งเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนพร้อมกันทั้ง 75 จังหวัด เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายและเศรษฐกิจจะได้ฟื้นพร้อมกัน