ผู้จัดการรายวัน-ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปัจจุบันต่ำสุดรอบ 71 เดือน เหตุคนวิตกปัญหาการเมือง วิกฤตการเงินสหรัฐฯ กระทบถึงไทย ปัญหาค่าครองชีพพุ่ง ตลาดหุ้นตก ส่งสัญญาณความเชื่อมั่นวูบยาวแน่ หลังเกิดเหตุรุนแรง 7 ต.ค. และหากยังไร้ทางยุติ คาดปีหน้าโอกาสเจอเผาจริงสูง เหตุบริษัทเจ๊ง ปลดคนงาน บัณฑิตใหม่ไร้งานทำ “ประมนต์”วอนลดความขัดแย้ง และหาทางรับมือวิกฤตที่เกิดขึ้น ก่อนไทยพินาศ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยประจำเดือนก.ย.2551 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นปรับลดลงทุกรายการ 2 เดือนติดต่อกัน โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปัจจุบัน ลดต่ำสุดรอบ 71 เดือน หรือ 6 ปี คือลดจากเดือนส.ค.ที่ 69.9 เหลือ 69.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ลดต่ำสุดในรอบปีอยู่ที่ระดับ 76.8 ลดจากเดือนส.ค.ที่ 77.7 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต 77.3 ลดจาก 78.3 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 69.5 ลดจาก 70.5 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ 70.3 ลดจาก 70.9 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้อนาคต 90.6 ลดจาก 91.7
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นลดลง ส่วนใหญ่มาจากความวิตกกังวลสถานการณ์การเมือง โดยเฉพาะการชุมนุมยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ที่กำลังลุกลามทั่วโลก จนส่งผลต่อการลงทุนและการส่งออกไทย ความวิตกกังวลต่อปัญหาค่าครองชีพและสินค้าที่ทรงตัวระดับสูง รวมถึงการลดลงของตลาดหุ้นไทย ค่าเงินบาทอ่อนตัว และการประมาณการณ์เศรฐกิจที่ลดลงในหลายหน่วยงาน นอกจากนี้ ผลสำรวจภาวะการณ์ใช้จ่ายซื้อรถยนต์ บ้าน ท่องเที่ยว และการลงทุนเอสเอ็มอี ยังตกทุกรายการอีกด้วย
“การสำรวจรอบนี้ยังไม่รวมเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ซึ่งเชื่อว่าหากปัญหารการเมืองไม่คลี่คลายจะทำให้ความเชื่อมั่นเป็นขาลงต่อไปถึงไตรมาส 4 หลังจากที่เริ่มกระทบมาตั้งแต่ไตรมาส 2 และในที่สุดจะส่งผลลบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจประเทศ โดยประเมินว่าปีนี้เศรษฐกิจจะโตเหลือเพียง 4-4.5% จากเดิมที่ 4.5-5% และหากความขัดแย้งยังรุนแรงจีดีพีอาจเหลือ 3.5-4% ก็ได้ โดยไตรมาส 3 จะโต 4.5% ขณะที่ไตรมาส 4 โต 3.5-4% ส่วนปีหน้าปัญหาคงหนักแน่ เพราะทั่วโลกจะถูกกระทบกระเทือนจากวิกฤตสหรัฐฯ ทั้งหมด และจีดีพีไทยทั้งปีจะขยายตัวที่ 3.5-4%”นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ในปีหน้าหากเศรษฐกิจขยายตัวได้ไตรมาสละ 3.5% เชื่อว่าจะกระทบต่อการจ้างงานอนาคต โดยแรงงานอุตสาหกรรมภาคก่อสร้าง หรือสินค้าฟุ่มเฟือย อาจต้องเผชิญการตกงาน ขณะที่แรงงานใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษาปีละ 700,000 คนอาจต้องประสบปัญหาว่างงานได้ ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีโอกาสการหางานที่ลดต่ำสุดในรอบ 10 ปี อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจขณะนี้ยังไม่พบธุรกิจใดมีปัญหาถึงขั้นต้องปิดกิจการ หรือปลดคนงานออก
นายดุสิต นนทะนาคร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า อีก 2-3 เดือนข้างหน้าวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจโลก จะทวีความรุนแรงขึ้นอีก และจะทำให้ไทยต้องเผชิญปัญหาหนักกว่าปี 2540 เพราะต้องเผชิญทั้งปัญหาภายใน และนอกประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกที่สร้างรายได้ถึง 70% ของจีดีพี จะได้รับผลกระทบ เนื่องจากตลาดคู่ค้าสำคัญ ทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และขณะนี้ได้แจ้งเตือนให้สมาชิกระมัดระวัง ให้ประเมินปัญหาในเชิงลบที่สุด และให้เตรียมรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น
นายกลินท์ สารสิน ประธานหอการค้านานาชาติ ประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของชาวต่างชาติในไทย และหากการลงทุนไม่ดี จนเกิดการถอนการลงทุน ก็จะกระทบต่อการจ้างงาน และการรับพนักงานใหม่ได้
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจยังไม่รุนแรงเท่ากับปี 2540 เพราะตอนนั้นเกิดกับไทยโดยตรงจนถึงขั้นธุรกิจล่มสลาย แต่ยอมรับวิกฤตการเงินระลอกใหม่นี้ได้สร้างปัญหาต่อภาคธุรกิจเช่นกัน ดังนั้น รัฐบาลและทุกฝ่ายต้องช่วยกันหาทางรับมือก่อนที่กระทบถึงไทย ด้วยการลดความขัดแย้งภายใน และตั้งรับกับสถานการณ์โลกโดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ เพราะถ้าปล่อยไปจะยิ่งเสียเวลา และทำให้ชาติอยู่ได้ลำบาก
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยประจำเดือนก.ย.2551 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นปรับลดลงทุกรายการ 2 เดือนติดต่อกัน โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปัจจุบัน ลดต่ำสุดรอบ 71 เดือน หรือ 6 ปี คือลดจากเดือนส.ค.ที่ 69.9 เหลือ 69.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ลดต่ำสุดในรอบปีอยู่ที่ระดับ 76.8 ลดจากเดือนส.ค.ที่ 77.7 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต 77.3 ลดจาก 78.3 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 69.5 ลดจาก 70.5 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ 70.3 ลดจาก 70.9 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้อนาคต 90.6 ลดจาก 91.7
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นลดลง ส่วนใหญ่มาจากความวิตกกังวลสถานการณ์การเมือง โดยเฉพาะการชุมนุมยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ที่กำลังลุกลามทั่วโลก จนส่งผลต่อการลงทุนและการส่งออกไทย ความวิตกกังวลต่อปัญหาค่าครองชีพและสินค้าที่ทรงตัวระดับสูง รวมถึงการลดลงของตลาดหุ้นไทย ค่าเงินบาทอ่อนตัว และการประมาณการณ์เศรฐกิจที่ลดลงในหลายหน่วยงาน นอกจากนี้ ผลสำรวจภาวะการณ์ใช้จ่ายซื้อรถยนต์ บ้าน ท่องเที่ยว และการลงทุนเอสเอ็มอี ยังตกทุกรายการอีกด้วย
“การสำรวจรอบนี้ยังไม่รวมเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ซึ่งเชื่อว่าหากปัญหารการเมืองไม่คลี่คลายจะทำให้ความเชื่อมั่นเป็นขาลงต่อไปถึงไตรมาส 4 หลังจากที่เริ่มกระทบมาตั้งแต่ไตรมาส 2 และในที่สุดจะส่งผลลบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจประเทศ โดยประเมินว่าปีนี้เศรษฐกิจจะโตเหลือเพียง 4-4.5% จากเดิมที่ 4.5-5% และหากความขัดแย้งยังรุนแรงจีดีพีอาจเหลือ 3.5-4% ก็ได้ โดยไตรมาส 3 จะโต 4.5% ขณะที่ไตรมาส 4 โต 3.5-4% ส่วนปีหน้าปัญหาคงหนักแน่ เพราะทั่วโลกจะถูกกระทบกระเทือนจากวิกฤตสหรัฐฯ ทั้งหมด และจีดีพีไทยทั้งปีจะขยายตัวที่ 3.5-4%”นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ในปีหน้าหากเศรษฐกิจขยายตัวได้ไตรมาสละ 3.5% เชื่อว่าจะกระทบต่อการจ้างงานอนาคต โดยแรงงานอุตสาหกรรมภาคก่อสร้าง หรือสินค้าฟุ่มเฟือย อาจต้องเผชิญการตกงาน ขณะที่แรงงานใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษาปีละ 700,000 คนอาจต้องประสบปัญหาว่างงานได้ ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีโอกาสการหางานที่ลดต่ำสุดในรอบ 10 ปี อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจขณะนี้ยังไม่พบธุรกิจใดมีปัญหาถึงขั้นต้องปิดกิจการ หรือปลดคนงานออก
นายดุสิต นนทะนาคร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า อีก 2-3 เดือนข้างหน้าวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจโลก จะทวีความรุนแรงขึ้นอีก และจะทำให้ไทยต้องเผชิญปัญหาหนักกว่าปี 2540 เพราะต้องเผชิญทั้งปัญหาภายใน และนอกประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกที่สร้างรายได้ถึง 70% ของจีดีพี จะได้รับผลกระทบ เนื่องจากตลาดคู่ค้าสำคัญ ทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และขณะนี้ได้แจ้งเตือนให้สมาชิกระมัดระวัง ให้ประเมินปัญหาในเชิงลบที่สุด และให้เตรียมรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น
นายกลินท์ สารสิน ประธานหอการค้านานาชาติ ประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของชาวต่างชาติในไทย และหากการลงทุนไม่ดี จนเกิดการถอนการลงทุน ก็จะกระทบต่อการจ้างงาน และการรับพนักงานใหม่ได้
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจยังไม่รุนแรงเท่ากับปี 2540 เพราะตอนนั้นเกิดกับไทยโดยตรงจนถึงขั้นธุรกิจล่มสลาย แต่ยอมรับวิกฤตการเงินระลอกใหม่นี้ได้สร้างปัญหาต่อภาคธุรกิจเช่นกัน ดังนั้น รัฐบาลและทุกฝ่ายต้องช่วยกันหาทางรับมือก่อนที่กระทบถึงไทย ด้วยการลดความขัดแย้งภายใน และตั้งรับกับสถานการณ์โลกโดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ เพราะถ้าปล่อยไปจะยิ่งเสียเวลา และทำให้ชาติอยู่ได้ลำบาก