ดัชนีความเชื่อมั่นคนไทยเดือน มิ.ย.ผงกหัวขึ้นในรอบ 5 เดือน หลังรัฐสภาไฟเขียว พ.ร.ก.และ พ.ร.บ.กู้เงิน 8 แสนล้านบาท ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องจับตาการระบาดของไข้หวัด 2009 ที่จะฉุดความเชื่อมั่นในเดือน ก.ค.ตกลงอีก แนะรัฐบาลรีบจัดการปัญหา อย่าให้บานปลาย เพราะอาจจะกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและกระทบเศรษฐกิจไทยในที่สุด
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจไทยประจำเดือน มิ.ย.2552 จากการสำรวจประชาชนทั่วประเทศ 2,245 ตัวอย่าง พบว่า ดัชนีผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (CCI) เท่ากับ 72.5 เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค.ที่อยู่ที่ 71.5
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปัจจุบัน 61.8 เพิ่มจาก 61.1 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต 74.7 จาก 73.4 ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 65.4 เพิ่มจาก 64.3 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำเท่ากับ 64.7 เพิ่มจาก 63.8 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 87.4 เพิ่มจาก 86.2
ทั้งนี้ ปัจจัยบวกที่ทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นในรอบ 5 เดือน เป็นผลจากรัฐสภาได้ผ่าน พ.ร.ก.และ พ.ร.บ.กู้เงิน รวม 8 แสนล้านบาท เพื่อให้อำนาจแก่รัฐบาลในการกู้ยืมเงิน ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2553-2555 การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 1 ช่วยสนับสนุนให้เกิดการบริโภคภายในประเทศและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 โดยใช้งบประมาณ 1.43 ล้านล้านบาท สำหรับลงทุนช่วงปี 2553-2555 ส่งผลทางจิตวิทยาเชิงบวกของผู้บริโภค และดัชนีตลาดหุ้นไทยเดือน มิ.ย.ปรับตัวดีขึ้นจาก พ.ค.37.07 จุด
“ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่กลับมาสูงขึ้นในรอบ 5 เดือนถือว่าดี แต่ยังเปราะบาง แสดงว่า ผู้บริโภคยังขาดความมั่นใจเศรษฐกิจปัจจุบันและอนาคตอยู่ การจับจ่ายใช้สอยไตรมาส 3 สัญญาณยังชะลอตัวอยู่ แต่คงไม่ติดลบมากไปกว่านี้ ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะอัดฉีดเม็ดเงินตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 ได้มีประสิทธิภาพหรือไม่ อาจทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลับมาไตรมาส 4” นายธนวรรธน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะปรับตัวดีขึ้น แต่ยังเป็นสัญญาณที่เปราะบาง เพราะทุกรายการยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 100 อีกทั้งหากดูจากปัจจัยลบในเดือน มิ.ย.ที่ขณะนั้นยังไม่มีการระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 มากนัก แต่คนส่วนใหญ่กังวลกับสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งปัจจัยลบดังกล่าวจะมีน้ำหนักมากขึ้นในการสำรวจความเชื่อมั่นในเดือน ก.ค.ที่อาจทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลับมาปรับตัวลดลงอีกครั้ง
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า สิ่งที่น่าห่วง คือ การระบายของไข้หวัด 2009 ในไทยที่รุนแรงมากขึ้น หากรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ภายในเดือน ก.ค.เศรษฐกิจไทยปีนี้น่าจะขยายตัวได้ตามการคาดการณ์เดิม คือ ติดลบ 3.5-4.5% โดยไตรมาส 4 เศรษฐกิจจะขยายตัวเป็นบวก 1-2% แต่หากสถานการณ์บานปลาย มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึงเดือน ก.ย.จะทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ติดลบเพิ่มขึ้นเป็น 3.8-4.8% โดยเศรษฐกิจไตรมาส 4 จะขยายตัวเหลือเพียง 0-1% เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบหนัก และอาจจะไปฟื้นตัวครึ่งปีหลังของปี 2553
“หากยืดเยื้อถึงเดือน ก.ย.จะยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจให้แย่ลง โดยการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวช้าจากต้นปีหน้าเป็นกลางปีหน้าแทน โดยประเมินว่าหากนักท่องเที่ยวหายไป 5 แสนถึง 1 ล้านคน จะสูญเสียรายได้ 1.5-3 หมื่นล้านบาท คิดจากค่าใช้จ่ายคนละ 3-4 หมื่นบาท/การมาเที่ยวเมืองไทย” นายธนวรรธน์ กล่าว
ดังนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องหามาตรการดูแลอย่างเร่งด่วน แต่ต้องไม่ใช้วิธีรุนแรงจนประชาชนและชาวต่างชาติวิตกเกินไป เช่น การปิดสนามบิน ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อภาพลักษณ์การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยเห็นด้วยในการรณรงฉีดวัคซีนช่วยประชาชน เพราะมีต้นทุน 300 บาทต่อเข็ม ถ้ารัฐบาลจะใช้งบประมาณ 1,800 ล้านบาท ฉีดยาให้ประชากร 60 ล้านคน ก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากว่าปล่อยให้เชื้อแพร่ระบาดเพราะจะสูญเสียมากกว่านี้
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจไทยประจำเดือน มิ.ย.2552 จากการสำรวจประชาชนทั่วประเทศ 2,245 ตัวอย่าง พบว่า ดัชนีผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (CCI) เท่ากับ 72.5 เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค.ที่อยู่ที่ 71.5
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปัจจุบัน 61.8 เพิ่มจาก 61.1 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต 74.7 จาก 73.4 ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 65.4 เพิ่มจาก 64.3 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำเท่ากับ 64.7 เพิ่มจาก 63.8 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 87.4 เพิ่มจาก 86.2
ทั้งนี้ ปัจจัยบวกที่ทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นในรอบ 5 เดือน เป็นผลจากรัฐสภาได้ผ่าน พ.ร.ก.และ พ.ร.บ.กู้เงิน รวม 8 แสนล้านบาท เพื่อให้อำนาจแก่รัฐบาลในการกู้ยืมเงิน ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2553-2555 การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 1 ช่วยสนับสนุนให้เกิดการบริโภคภายในประเทศและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 โดยใช้งบประมาณ 1.43 ล้านล้านบาท สำหรับลงทุนช่วงปี 2553-2555 ส่งผลทางจิตวิทยาเชิงบวกของผู้บริโภค และดัชนีตลาดหุ้นไทยเดือน มิ.ย.ปรับตัวดีขึ้นจาก พ.ค.37.07 จุด
“ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่กลับมาสูงขึ้นในรอบ 5 เดือนถือว่าดี แต่ยังเปราะบาง แสดงว่า ผู้บริโภคยังขาดความมั่นใจเศรษฐกิจปัจจุบันและอนาคตอยู่ การจับจ่ายใช้สอยไตรมาส 3 สัญญาณยังชะลอตัวอยู่ แต่คงไม่ติดลบมากไปกว่านี้ ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะอัดฉีดเม็ดเงินตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 ได้มีประสิทธิภาพหรือไม่ อาจทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลับมาไตรมาส 4” นายธนวรรธน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะปรับตัวดีขึ้น แต่ยังเป็นสัญญาณที่เปราะบาง เพราะทุกรายการยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 100 อีกทั้งหากดูจากปัจจัยลบในเดือน มิ.ย.ที่ขณะนั้นยังไม่มีการระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 มากนัก แต่คนส่วนใหญ่กังวลกับสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งปัจจัยลบดังกล่าวจะมีน้ำหนักมากขึ้นในการสำรวจความเชื่อมั่นในเดือน ก.ค.ที่อาจทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลับมาปรับตัวลดลงอีกครั้ง
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า สิ่งที่น่าห่วง คือ การระบายของไข้หวัด 2009 ในไทยที่รุนแรงมากขึ้น หากรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ภายในเดือน ก.ค.เศรษฐกิจไทยปีนี้น่าจะขยายตัวได้ตามการคาดการณ์เดิม คือ ติดลบ 3.5-4.5% โดยไตรมาส 4 เศรษฐกิจจะขยายตัวเป็นบวก 1-2% แต่หากสถานการณ์บานปลาย มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึงเดือน ก.ย.จะทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ติดลบเพิ่มขึ้นเป็น 3.8-4.8% โดยเศรษฐกิจไตรมาส 4 จะขยายตัวเหลือเพียง 0-1% เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบหนัก และอาจจะไปฟื้นตัวครึ่งปีหลังของปี 2553
“หากยืดเยื้อถึงเดือน ก.ย.จะยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจให้แย่ลง โดยการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวช้าจากต้นปีหน้าเป็นกลางปีหน้าแทน โดยประเมินว่าหากนักท่องเที่ยวหายไป 5 แสนถึง 1 ล้านคน จะสูญเสียรายได้ 1.5-3 หมื่นล้านบาท คิดจากค่าใช้จ่ายคนละ 3-4 หมื่นบาท/การมาเที่ยวเมืองไทย” นายธนวรรธน์ กล่าว
ดังนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องหามาตรการดูแลอย่างเร่งด่วน แต่ต้องไม่ใช้วิธีรุนแรงจนประชาชนและชาวต่างชาติวิตกเกินไป เช่น การปิดสนามบิน ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อภาพลักษณ์การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยเห็นด้วยในการรณรงฉีดวัคซีนช่วยประชาชน เพราะมีต้นทุน 300 บาทต่อเข็ม ถ้ารัฐบาลจะใช้งบประมาณ 1,800 ล้านบาท ฉีดยาให้ประชากร 60 ล้านคน ก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากว่าปล่อยให้เชื้อแพร่ระบาดเพราะจะสูญเสียมากกว่านี้