เอกชนวิตกเศรษฐกิจครึ่งปีหลังดิ่งเหว หลังสัญญาณสภาพคล่องมีปัญหา การค้าขายขาดความเชื่อมั่น ต้องใช้เงินสดแทนเครดิตแล้ว กกร. ถกจันทร์นี้ (7 ก.ค. )หวังอ้อน"สมัคร"หารือร่วมผ่านเวทีกรอ.ด่วน หลังทำหนังสือไปเกือบเดือนแต่ยังนิ่ง ยอมรับอุตสาหกรรมหันใช้ก๊าซหุงต้มแทนน้ำมันเตาเพิ่ม ขณะที่ศูนย์พยากรณ์ ม.หอการค้าไทย คาดศก.ปีนี้โตไม่เกิน 5% หลังเจอพิษน้ำมัน ทำต้นทุนพุ่ง ยอดขายลด กำไรหด ส่วนครึ่งปีหลังปัจจัยที่น่าห่วงคือ น้ำมัน ดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และปัญหาการเมือง หนุนธปท.ขึ้นดอกเบี้ยแก้ปัญหาเงินเฟ้อ แต่ควรขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ธุรกิจปรับตัว
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าว ในงานสัมมนา "พลังงานไทยภายใต้วิกฤตราคาพลังงาน และภาวะโลกร้อน" วานนี้ (4ก.ค.) ว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันที่ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และ ส.อ.ท. (กกร.) วันที่ 7 ก.ค. จะมีการหารือถึงภาพรวมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาน้ำมันแพงที่จะกระทบต่อการบริโภคชะลอตัว และแนวโน้มการเพิ่มราคาสินค้าในครึ่งปีหลัง ซึ่งเห็นว่ามีความจำเป็นต้องหารือกับภาครัฐที่ก่อนหน้า กกร.ได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือร่วมในนามคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนหรือ กรอ. อย่างเร่งด่วน
"ธุรกิจเริ่มส่งสัญญาณไม่ดีนัก ดีเซลที่ราคาใกล้แตะ 45 บาทต่อลิตรนั้น ขณะนี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการในต่างจังหวัดโดยเฉพาะขนาดกลางและย่อม เริ่มมีการประสบปัญหาขาดสภาพคล่องในบางอุตสาหกรรม เพราะไม่สามารถปรับราคาสินค้าได้ทันกับต้นทุนการผลิต ขณะที่การค้าขายหรือซื้อวัตถุดิบและสินค้าต้องใช้เงินสดอย่างเดียวแทนสินเชื่อ ส่วนบางรายเคยมีเครดิตสินเชื่อก็ที่เคยให้กันเริ่มลดลงแต่ภาพรวมคงไม่รุนแรงเท่าปี 40"นายสันติ กล่าว
ทั้งนี้ กกร.จะสรุปรวบรวมข้อคิดเห็นต่อรัฐบาล เช่น เสนอให้ลดภาษีนิติบุคคลเหลือร้อยละ 25 เช่นเดียวกับหลายประเทศในเอเชียที่ลดภาษีไปแล้ว ส่วนมาตรการดอกเบี้ย เอกชนเห็นร่วมกันว่า ไม่ควรปรับขึ้นทั้งระบบ เพราะจะยิ่งส่งผลต่อต้นทุนให้สูงขึ้น โดยแนวทางที่จะช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และชะลอภาวะเงินเฟ้อคือ ควรออกพันธบัตรเพื่อการออมเงิน โดยยกเว้นภาษีให้ด้วย ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยโดยรวมไม่ต้องปรับขึ้น และชะลอเงินเฟ้อ
ยอมรับหันพึ่งก๊าซหุงต้มเพิ่ม
นายสันติ ยังกล่าวถึง การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมเพื่อหนีวิกฤติน้ำมันแพงยอมรับว่าส่วนหนึ่งได้หันมาใช้ก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)แทนน้ำมันเตามากขึ้น เฉลี่ย 50% และอาจจะสูงขึ้นต่อเนื่องหากน้ำมันแพงซึ่งการที่รัฐจะปรับราคาเพิ่มขึ้นในส่วนของแอลพีจีสูงขึ้นนั้นคงเป็นการทยอยปรับขึ้นมากกว่าการปรับทันทีจนทำให้เอกชนตั้งตัวไม่ทัน
พลังงานชี้น้ำมันแพงต่อเนื่อง
พล.ท.(หญิง) พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน กล่าวยอมรับว่า ราคาน้ำมันที่สูงขณะนี้เนื่องจากเกิดจากการเก็งกำไร และยังมีปัจจัยกำลังย่างสู่ฤดูหนาวที่จะผลักดันให้การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะดีเซล นอกจากนี้ยังมีปัญหาความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ และอิหร่าน ปัจจัยทั้งหมดคาดว่าจะกดดันให้ราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวระดับสูง ซึ่งประชาชนควรหันมาใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดผลกระทบ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันที่สูงทำให้การใช้น้ำมันของคนไทยเดือนมิ.ย.เฉลี่ยลดลง 14%
ธุรกิจคาดเศรษฐกิจปีนี้โตไม่เกิน 5 %
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจผู้ประกอบการทั่วประเทศ 400 ราย เกี่ยวกับภาวะธุรกิจไทยครึ่งปีแรก และแนวโน้มครึ่งปีหลังว่า ส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยในปี51 จะขยายตัวได้แค่ 4.5-5% ต่ำกว่าประมาณการณ์ของรัฐบาลที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะโตเกินระดับ 5% เนื่องจากภาคธุรกิจกังวลปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามากระทบ โดยเฉพาะปัญหาน้ำมันแพง ที่กระทบต่อธุรกิจไทยในปัจจุบันโดยตรง
"ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 96.6% ตอบว่า ได้รับผลกระทบจากปัจจัยน้ำมัน ทำให้สถานภาพการประกอบธุรกิจในปัจจุบันมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ยอดขายและกำไรลดลง และคาดว่าจะเป็นอย่างนี้ไปตลอดทั้งปี"นายธนวรรธน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้ภาคธุรกิจส่วนใหญ่จะปรับตัว เพื่อรับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ทั้งการลดต้นทุนการบริหารจัดการ การผลิต การขนส่ง แต่ยังไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 62.1% ปรับตัวด้วยการปรับขึ้นราคาสินค้า และค่าบริการ ส่งผลกระทบทำให้อัตราขยายตัวของเงินเฟ้อในปีนี้เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ยังไม่มีสัญญาณและมีแนวโน้มว่าจะมีการปรับลดแรงงาน เพื่อพยุงต้นทุนการผลิต
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ภาคธุรกิจยังมองว่าในช่วงครึ่งปีหลัง ยังมีธุรกิจเด่นที่จะทำยอดขาย และผลกำไรดีได้ คือ สินค้าเกษตร อาหาร ปิโตรเลียม ยานยนต์ สุขภาพ และอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนที่ธุรกิจที่น่าเป็นห่วง และมีโอกาสขาดทุน คือ การก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง เครื่องหนัง และรองเท้า
สำหรับระดับราคาน้ำมันที่ธุรกิจรับได้ คือ ดีเซลอยู่ที่ 35 บาท/ลิตร เบนซิน 36 บาท/ลิตร อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อยู่ที่ 7.5% ต่อปี และอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 33.3 บาท/เหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน ภาคธุรกิจคลายความกังวลไปบ้างแล้ว จากการอ่อนค่าของเงินบาท แต่ยังมีความกังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ย ที่มีแนวโน้มว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจต้องขึ้นดอกเบี้ย เพื่อดูแลเงินเฟ้อ เพราะภาคธุรกิจส่วนใหญ่ไม่อยากให้ ธปท. ปรับขึ้นดอกเบี้ยเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ แต่หากปรับขึ้น ควรปรับแบบค่อยเป็นค่อยไป และขึ้นดอกเบี้ยไม่เกิน 0.5% ส่วนปัจจัยการเมือง เป็นประเด็นที่กลับมากังวลสูงอีกครั้งในรอบ 1 ปี เพราะทำให้นักลงทุนขาดความมั่นใจในการลงทุน
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ความเห็นของศูนย์ฯ สนับสนุนนโยบายการขึ้นดอกเบี้ยของธปท. เพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อไม่ให้สูงขึ้นเกินไป แต่การปรับขึ้นดอกเบี้ยนั้น ต้องค่อยเป็นค่อยไป หรือทยอยปรับขึ้น 2 ครั้ง ในระยะที่ห่างกัน โดยระยะเวลาที่เหมาะสมในการปรับ คือ เดือนก.ค. ปรับขึ้น 0.25% และเดือนต.ค. ขึ้นอีก 0.25% เพื่อให้การปรับขึ้นทั้งไม่ไม่เกิน 0.5% เพราะเป็นการส่งสัญญาณต่อต่างชาติว่า ไทยห่วงใยในการดูแลภาวะเงินเฟ้อ
"เชื่อว่าเงินเฟ้อทั้งปี จะอยู่ระดับ 7-8 % โดยบางเดือนของครึ่งปีหลัง เงินเฟ้อทั่วไปอาจขึ้นไปถึง 9-10 % และเงินเฟ้อพื้นฐานระดับ 4% เนื่องจากน้ำมันมีราคาสูงขึ้น และหากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกขึ้นถึง 170 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จะทำให้น้ำมันขายปลีกในประเทศเฉลี่ยขึ้นไปถึง 50 บาท/ลิตร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเงินเฟ้อ"นายธนวรรธน์กล่าว
สำหรับการดูแลภาวะเงินเฟ้อ ภาครัฐต้องสนับสนุนการขนส่งต้นทุนต่ำและใช้มาตรการทางภาษี เพื่อดูแลแรงงานและต้นทุน โดยสิ้นเดือน ก.ค.นี้ ทางหอการค้าไทยจะประเมินขยายตัวทางเศรษฐกิจใหม่ และมีโอกาสลดลงจากคาดการณ์เดิม 5-5.5 % โดยเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกยังขยายตัวได้ระดับ 5-6% แต่ครึ่งปีหลังจะเหลือ 4.5 %
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าว ในงานสัมมนา "พลังงานไทยภายใต้วิกฤตราคาพลังงาน และภาวะโลกร้อน" วานนี้ (4ก.ค.) ว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันที่ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และ ส.อ.ท. (กกร.) วันที่ 7 ก.ค. จะมีการหารือถึงภาพรวมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาน้ำมันแพงที่จะกระทบต่อการบริโภคชะลอตัว และแนวโน้มการเพิ่มราคาสินค้าในครึ่งปีหลัง ซึ่งเห็นว่ามีความจำเป็นต้องหารือกับภาครัฐที่ก่อนหน้า กกร.ได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือร่วมในนามคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนหรือ กรอ. อย่างเร่งด่วน
"ธุรกิจเริ่มส่งสัญญาณไม่ดีนัก ดีเซลที่ราคาใกล้แตะ 45 บาทต่อลิตรนั้น ขณะนี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการในต่างจังหวัดโดยเฉพาะขนาดกลางและย่อม เริ่มมีการประสบปัญหาขาดสภาพคล่องในบางอุตสาหกรรม เพราะไม่สามารถปรับราคาสินค้าได้ทันกับต้นทุนการผลิต ขณะที่การค้าขายหรือซื้อวัตถุดิบและสินค้าต้องใช้เงินสดอย่างเดียวแทนสินเชื่อ ส่วนบางรายเคยมีเครดิตสินเชื่อก็ที่เคยให้กันเริ่มลดลงแต่ภาพรวมคงไม่รุนแรงเท่าปี 40"นายสันติ กล่าว
ทั้งนี้ กกร.จะสรุปรวบรวมข้อคิดเห็นต่อรัฐบาล เช่น เสนอให้ลดภาษีนิติบุคคลเหลือร้อยละ 25 เช่นเดียวกับหลายประเทศในเอเชียที่ลดภาษีไปแล้ว ส่วนมาตรการดอกเบี้ย เอกชนเห็นร่วมกันว่า ไม่ควรปรับขึ้นทั้งระบบ เพราะจะยิ่งส่งผลต่อต้นทุนให้สูงขึ้น โดยแนวทางที่จะช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และชะลอภาวะเงินเฟ้อคือ ควรออกพันธบัตรเพื่อการออมเงิน โดยยกเว้นภาษีให้ด้วย ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยโดยรวมไม่ต้องปรับขึ้น และชะลอเงินเฟ้อ
ยอมรับหันพึ่งก๊าซหุงต้มเพิ่ม
นายสันติ ยังกล่าวถึง การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมเพื่อหนีวิกฤติน้ำมันแพงยอมรับว่าส่วนหนึ่งได้หันมาใช้ก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)แทนน้ำมันเตามากขึ้น เฉลี่ย 50% และอาจจะสูงขึ้นต่อเนื่องหากน้ำมันแพงซึ่งการที่รัฐจะปรับราคาเพิ่มขึ้นในส่วนของแอลพีจีสูงขึ้นนั้นคงเป็นการทยอยปรับขึ้นมากกว่าการปรับทันทีจนทำให้เอกชนตั้งตัวไม่ทัน
พลังงานชี้น้ำมันแพงต่อเนื่อง
พล.ท.(หญิง) พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน กล่าวยอมรับว่า ราคาน้ำมันที่สูงขณะนี้เนื่องจากเกิดจากการเก็งกำไร และยังมีปัจจัยกำลังย่างสู่ฤดูหนาวที่จะผลักดันให้การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะดีเซล นอกจากนี้ยังมีปัญหาความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ และอิหร่าน ปัจจัยทั้งหมดคาดว่าจะกดดันให้ราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวระดับสูง ซึ่งประชาชนควรหันมาใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดผลกระทบ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันที่สูงทำให้การใช้น้ำมันของคนไทยเดือนมิ.ย.เฉลี่ยลดลง 14%
ธุรกิจคาดเศรษฐกิจปีนี้โตไม่เกิน 5 %
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจผู้ประกอบการทั่วประเทศ 400 ราย เกี่ยวกับภาวะธุรกิจไทยครึ่งปีแรก และแนวโน้มครึ่งปีหลังว่า ส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยในปี51 จะขยายตัวได้แค่ 4.5-5% ต่ำกว่าประมาณการณ์ของรัฐบาลที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะโตเกินระดับ 5% เนื่องจากภาคธุรกิจกังวลปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามากระทบ โดยเฉพาะปัญหาน้ำมันแพง ที่กระทบต่อธุรกิจไทยในปัจจุบันโดยตรง
"ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 96.6% ตอบว่า ได้รับผลกระทบจากปัจจัยน้ำมัน ทำให้สถานภาพการประกอบธุรกิจในปัจจุบันมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ยอดขายและกำไรลดลง และคาดว่าจะเป็นอย่างนี้ไปตลอดทั้งปี"นายธนวรรธน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้ภาคธุรกิจส่วนใหญ่จะปรับตัว เพื่อรับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ทั้งการลดต้นทุนการบริหารจัดการ การผลิต การขนส่ง แต่ยังไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 62.1% ปรับตัวด้วยการปรับขึ้นราคาสินค้า และค่าบริการ ส่งผลกระทบทำให้อัตราขยายตัวของเงินเฟ้อในปีนี้เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ยังไม่มีสัญญาณและมีแนวโน้มว่าจะมีการปรับลดแรงงาน เพื่อพยุงต้นทุนการผลิต
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ภาคธุรกิจยังมองว่าในช่วงครึ่งปีหลัง ยังมีธุรกิจเด่นที่จะทำยอดขาย และผลกำไรดีได้ คือ สินค้าเกษตร อาหาร ปิโตรเลียม ยานยนต์ สุขภาพ และอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนที่ธุรกิจที่น่าเป็นห่วง และมีโอกาสขาดทุน คือ การก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง เครื่องหนัง และรองเท้า
สำหรับระดับราคาน้ำมันที่ธุรกิจรับได้ คือ ดีเซลอยู่ที่ 35 บาท/ลิตร เบนซิน 36 บาท/ลิตร อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อยู่ที่ 7.5% ต่อปี และอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 33.3 บาท/เหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน ภาคธุรกิจคลายความกังวลไปบ้างแล้ว จากการอ่อนค่าของเงินบาท แต่ยังมีความกังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ย ที่มีแนวโน้มว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจต้องขึ้นดอกเบี้ย เพื่อดูแลเงินเฟ้อ เพราะภาคธุรกิจส่วนใหญ่ไม่อยากให้ ธปท. ปรับขึ้นดอกเบี้ยเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ แต่หากปรับขึ้น ควรปรับแบบค่อยเป็นค่อยไป และขึ้นดอกเบี้ยไม่เกิน 0.5% ส่วนปัจจัยการเมือง เป็นประเด็นที่กลับมากังวลสูงอีกครั้งในรอบ 1 ปี เพราะทำให้นักลงทุนขาดความมั่นใจในการลงทุน
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ความเห็นของศูนย์ฯ สนับสนุนนโยบายการขึ้นดอกเบี้ยของธปท. เพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อไม่ให้สูงขึ้นเกินไป แต่การปรับขึ้นดอกเบี้ยนั้น ต้องค่อยเป็นค่อยไป หรือทยอยปรับขึ้น 2 ครั้ง ในระยะที่ห่างกัน โดยระยะเวลาที่เหมาะสมในการปรับ คือ เดือนก.ค. ปรับขึ้น 0.25% และเดือนต.ค. ขึ้นอีก 0.25% เพื่อให้การปรับขึ้นทั้งไม่ไม่เกิน 0.5% เพราะเป็นการส่งสัญญาณต่อต่างชาติว่า ไทยห่วงใยในการดูแลภาวะเงินเฟ้อ
"เชื่อว่าเงินเฟ้อทั้งปี จะอยู่ระดับ 7-8 % โดยบางเดือนของครึ่งปีหลัง เงินเฟ้อทั่วไปอาจขึ้นไปถึง 9-10 % และเงินเฟ้อพื้นฐานระดับ 4% เนื่องจากน้ำมันมีราคาสูงขึ้น และหากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกขึ้นถึง 170 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จะทำให้น้ำมันขายปลีกในประเทศเฉลี่ยขึ้นไปถึง 50 บาท/ลิตร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเงินเฟ้อ"นายธนวรรธน์กล่าว
สำหรับการดูแลภาวะเงินเฟ้อ ภาครัฐต้องสนับสนุนการขนส่งต้นทุนต่ำและใช้มาตรการทางภาษี เพื่อดูแลแรงงานและต้นทุน โดยสิ้นเดือน ก.ค.นี้ ทางหอการค้าไทยจะประเมินขยายตัวทางเศรษฐกิจใหม่ และมีโอกาสลดลงจากคาดการณ์เดิม 5-5.5 % โดยเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกยังขยายตัวได้ระดับ 5-6% แต่ครึ่งปีหลังจะเหลือ 4.5 %