นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาหอการค้าไทย กล่าวว่า ศูนย์พยากรณ์ได้ร่วมกับกรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจจังหวัด ประเมินเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 3 ปี 2551 ว่ายังคงขยายตัว แต่ว่ามีสัญญาณชะลอตัวจากปัญหาทางการเมือง รวมถึงระดับราคาสินค้าที่ทรงตัวในระดับสูง ทำให้การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว ประกอบกับมีปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้น แม้ว่าจะมีพื้นที่เสียหายไม่มากนัก โดย 33 จังหวัด พื้นที่เสียหายประมาณ 86,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.42 ของพื้นที่เพาะปลูกของประเทศ มูลค่าความเสียหายอยู่ที่ 5-8,000 ล้านบาท โดยภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงไตรมาส 3 ของปี เศรษฐกิจน่าจะโตอยู่ที่ร้อยละ 4.1 ภาคใต้ร้อยละ 3.1 ภาคกลางร้อยละ 4.9 ส่วนกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ยังคงเติบโตขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.7 ซึ่งเป็นผลมาจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ และผลจากราคาพืชผลที่ยังทรงตัวในระดับสูง
สำหรับเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ คาดว่าเศรษฐกิจยังคงชะลอตัว จากสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เศรษฐกิจโลกจากวิกฤตทางการเงินที่ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง รวมถึงการชะลอการใช้จ่ายให้สหรัฐฯ และยุโรป ทำให้การขยายตัวการส่งออกของไทยในปีหน้า ที่คาดว่าจะขยายตัวเหลือเพียงแค่ร้อยละ 8-10 จากปีนี้ที่ส่งออกขยายตัวถึงร้อยละ 20
ส่วนภาพรวมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เชื่อว่าปีนี้จะโตร้อยละ 4-4.5 บนพื้นฐานว่ารัฐจะต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ บนพื้นฐานความเชื่อมั่น ขณะที่ภาคการเมืองจะต้องเร่งนำนโยบายไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ขณะที่วิกฤตภาคการเมืองเชื่อว่าทั่วโลกจะต้องใช้เงินในการแก้ปัญหาอย่างน้อย 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดว่าว่าเศรษฐกิจโลกจะเริ่มดีขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า
สำหรับเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ คาดว่าเศรษฐกิจยังคงชะลอตัว จากสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เศรษฐกิจโลกจากวิกฤตทางการเงินที่ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง รวมถึงการชะลอการใช้จ่ายให้สหรัฐฯ และยุโรป ทำให้การขยายตัวการส่งออกของไทยในปีหน้า ที่คาดว่าจะขยายตัวเหลือเพียงแค่ร้อยละ 8-10 จากปีนี้ที่ส่งออกขยายตัวถึงร้อยละ 20
ส่วนภาพรวมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เชื่อว่าปีนี้จะโตร้อยละ 4-4.5 บนพื้นฐานว่ารัฐจะต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ บนพื้นฐานความเชื่อมั่น ขณะที่ภาคการเมืองจะต้องเร่งนำนโยบายไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ขณะที่วิกฤตภาคการเมืองเชื่อว่าทั่วโลกจะต้องใช้เงินในการแก้ปัญหาอย่างน้อย 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดว่าว่าเศรษฐกิจโลกจะเริ่มดีขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า