ASTVผู้จัดการรายวัน - เอดีบีชี้เศรษฐกิจไทยปีนี้หดตัว 2% คนตกงาน 2 ล้านคน หากเม็ดเงินจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าช้า ปัจจัยภายนอกเม็ดเงินภาครัฐล่าช้า-การเมืองในประเทศไม่คลี่คลาย อาจมีโอกาสได้เห็นติดลบ 4-5% ระบุรัฐบาลไทยชุดนี้มีมาตรการต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อนสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เอดีบีพร้อมร่วมมือปล่อยกู้ เผยรัฐบาลไทยมีโครงการลงทุนจ่อคิวเพียบจนถึงปีหน้า
นายฌอง ปิแอร์ เวอร์บิสท์ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนประจำประเทศไทย ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เปิดเผยเมื่อวานนนี้ (31 มี.ค.) ว่า เอดีบีได้ประเมินเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวติดลบ 2% ภายใต้มุมมองที่ดี ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วิกฤตปี 2541 ส่งผลให้จำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้นเกือบ 2 ล้านคน อย่างไรก็ตาม หากเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐลงสู่ระบบล่าช้าอาจฉุดให้เศรษฐกิจไทยหดตัวถึง 4% ถึงลบ 5% ซึ่งขณะนี้ปัจจัยภายนอกยังไม่มีความแน่นอน และหากการแก้ไขปัญหาการเมืองยังไม่คลี่คลายอาจส่งผลให้รัฐบาลต้องใช้เวลาในการตัดสินใจนโยบายหรือโครงการต่างๆ ล่าช้าไปอีก ซึ่งอาจกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงเพิ่มขึ้น
ขนาดของมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลไทยค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประเทศในแถบภูมิภาค แต่เชื่อว่ารัฐบาลไทยยังมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีก และมองว่าภาครัฐควรมีทั้งการลงทุนสาธารณูปโภคภาครัฐ และการช่วยเหลือผู้บริโภคควบคู่กันไปด้วยถึงจะได้ผลดี จึงไม่ใช่แค่มาตรการเช็คช่วยชาติเท่านั้น ส่วนมาตรการที่ออกมาจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและขนาดของมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมด้วยของรัฐบาลแต่ละประเทศ
"เช็คช่วยชาติ 2,000 บาท ก็ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เป็นการกระตุ้นการบริโภคระยะสั้น แต่ควรมีการลงทุนเพื่อหนุนเศรษฐกิจในวงกว้างและมีผลในระยะยาว รัฐบาลไทยชุดนี้รู้ดีว่าผลกระทบเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลมายังไทยรุนแรงแค่ไหน การเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นเรื่องไม่ง่าย เพราะเนื้อในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ บางเรื่องเป็นเรื่องต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อน ดังนั้น คงบอกว่านโยบายไม่ต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อนคงไม่ได้" นายฌอง ปิแอร์ กล่าว
อย่างไรก็ตามไทยมีการพึ่งพาการส่งออกมากจากตลาดต่างประเทศ รองจากสิงคโปร์ โดยโครงสร้างสินค้าส่วนใหญ่ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ และเครื่องนุ่งห่ม ทำให้อ่อนไหวมากเมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัว จึงคาดว่าในปีนี้การส่งออกหดตัว 18% และนำเข้าหดตัว 28% ทำให้ดุลการค้าเกินดุลมากถึง 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลถึง 8%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และปีหน้าเหลือ 4% และคาดว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 0.5% แม้ไม่ถึงเข้าสู่ภาวะเงินฝืดแต่ลดลงค่อนข้างมากในบางเดือน อีกทั้งด้านการลงทุนเอกชนปีนี้มีโอกาสติดลบ จึงจำเป็นต้องพึ่งการลงทุนภาครัฐเป็นหลัก
แนะร่วมมือสร้างความสมดุลใหม่
นอกจากนี้ ความร่วมมือกันระดับภูมิภาคเอเชียควรมีมากขึ้นและหลากหลายรูปแบบ โดยนโยบายการเงินและการคลังในภูมิภาคต้องสอดคล้องกัน ขณะที่ตลาดทุนควรมีการเชื่อมโยงมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะส่งดีต่อผู้ระดมทุนให้มีตัวเลือกมากขึ้น ต้นทุนต่ำ เพื่อให้การลงทุนเหมาะสมกับความต้องการมากขึ้น นอกจากนี้ ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าเมื่อเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ทางรัฐบาลในแต่ละประเทศควรมีแผนจัดการงบประมาณขาดดุลสูง หลังจากที่พยายามต่อสู้ความถดถอย และหลังจากนั้นควรสร้างความสมดุลให้แก่เศรษฐกิจเอเชีย โดยหันมาพึ่งพาอุปสงค์ในประเทศแทนการส่งออกน้อยลง
ปล่อยกู้อภิมหาโครงการรัฐ
สำหรับความช่วยเหลือของเอดีบีในการสนับสนุนเงินกู้ให้แก่รัฐบาลไทยนั้น ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนประจำประเทศไทย เอดีบี กล่าวว่า ในปีนี้นอกเหนือจากการให้เงินกู้ร่วมกันของเอดีบี ไจก้า และธนาคารโลกที่ให้แก่รัฐบาลไทยจำนวน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเงินดังกล่าวได้ผ่านงบประมาณและรัฐบาลได้ไปจัดสรรผ่านโครงการสาธารณูปโภคต่างๆไปแล้ว และขณะนี้เอดีบีกำลังอยู่ระหว่างพูดคุยกับรัฐบาลไทยถึงเงินกู้เพิ่มเติมอีก 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ในระยะเวลา 15-18 ปี ซึ่งจะนำเงินนี้ไปลงทุนโดยตรงกับโครงการสาธารณูปโภคในการสร้างทางหลวงสู่ต่างจังหวัด อีกทั้งกำลังหารือแผนเงินกู้ในปี 2553 อีก 500 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินและระบบรางด้วย
หลายประเทศเอเชียเข้าสู่ถดถอย
สำหรับการเติบโตเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคเอเชียค่อนข้างต่ำในปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวประมาณ 3.4%จากปกติที่โตประมาณ 7-8% และคาดว่าปี 53 เศรษฐกิจเอเชียฟื้นตัวบ้าง แต่ก็ยังคงต่ำกว่าระดับปกติอยู่ โดยในปีนี้เศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตได้ดีถึง 7% ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียเข้าสู่ภาวะถดถอย “การขยายตัวของภาคส่งออกในทุกประเทศทั่วโลกลดลง แต่การนำเข้าลดลงมากกว่า จึงคาดว่าปีนี้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล ทำให้การว่างงานเพิ่มสูงขึ้น โดยหากจีดีพีลง 1% ส่งผลให้มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 4 แสนคน ทำให้กำลังการบริโภคลดลงเห็นได้จากการค้าปลีกในเอเชียหดตัว ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจในเอเชียกำลังหดตัวลง”
นายฌอง ปิแอร์ เวอร์บิสท์ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนประจำประเทศไทย ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เปิดเผยเมื่อวานนนี้ (31 มี.ค.) ว่า เอดีบีได้ประเมินเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวติดลบ 2% ภายใต้มุมมองที่ดี ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วิกฤตปี 2541 ส่งผลให้จำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้นเกือบ 2 ล้านคน อย่างไรก็ตาม หากเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐลงสู่ระบบล่าช้าอาจฉุดให้เศรษฐกิจไทยหดตัวถึง 4% ถึงลบ 5% ซึ่งขณะนี้ปัจจัยภายนอกยังไม่มีความแน่นอน และหากการแก้ไขปัญหาการเมืองยังไม่คลี่คลายอาจส่งผลให้รัฐบาลต้องใช้เวลาในการตัดสินใจนโยบายหรือโครงการต่างๆ ล่าช้าไปอีก ซึ่งอาจกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงเพิ่มขึ้น
ขนาดของมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลไทยค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประเทศในแถบภูมิภาค แต่เชื่อว่ารัฐบาลไทยยังมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีก และมองว่าภาครัฐควรมีทั้งการลงทุนสาธารณูปโภคภาครัฐ และการช่วยเหลือผู้บริโภคควบคู่กันไปด้วยถึงจะได้ผลดี จึงไม่ใช่แค่มาตรการเช็คช่วยชาติเท่านั้น ส่วนมาตรการที่ออกมาจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและขนาดของมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมด้วยของรัฐบาลแต่ละประเทศ
"เช็คช่วยชาติ 2,000 บาท ก็ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เป็นการกระตุ้นการบริโภคระยะสั้น แต่ควรมีการลงทุนเพื่อหนุนเศรษฐกิจในวงกว้างและมีผลในระยะยาว รัฐบาลไทยชุดนี้รู้ดีว่าผลกระทบเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลมายังไทยรุนแรงแค่ไหน การเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นเรื่องไม่ง่าย เพราะเนื้อในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ บางเรื่องเป็นเรื่องต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อน ดังนั้น คงบอกว่านโยบายไม่ต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อนคงไม่ได้" นายฌอง ปิแอร์ กล่าว
อย่างไรก็ตามไทยมีการพึ่งพาการส่งออกมากจากตลาดต่างประเทศ รองจากสิงคโปร์ โดยโครงสร้างสินค้าส่วนใหญ่ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ และเครื่องนุ่งห่ม ทำให้อ่อนไหวมากเมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัว จึงคาดว่าในปีนี้การส่งออกหดตัว 18% และนำเข้าหดตัว 28% ทำให้ดุลการค้าเกินดุลมากถึง 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลถึง 8%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และปีหน้าเหลือ 4% และคาดว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 0.5% แม้ไม่ถึงเข้าสู่ภาวะเงินฝืดแต่ลดลงค่อนข้างมากในบางเดือน อีกทั้งด้านการลงทุนเอกชนปีนี้มีโอกาสติดลบ จึงจำเป็นต้องพึ่งการลงทุนภาครัฐเป็นหลัก
แนะร่วมมือสร้างความสมดุลใหม่
นอกจากนี้ ความร่วมมือกันระดับภูมิภาคเอเชียควรมีมากขึ้นและหลากหลายรูปแบบ โดยนโยบายการเงินและการคลังในภูมิภาคต้องสอดคล้องกัน ขณะที่ตลาดทุนควรมีการเชื่อมโยงมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะส่งดีต่อผู้ระดมทุนให้มีตัวเลือกมากขึ้น ต้นทุนต่ำ เพื่อให้การลงทุนเหมาะสมกับความต้องการมากขึ้น นอกจากนี้ ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าเมื่อเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ทางรัฐบาลในแต่ละประเทศควรมีแผนจัดการงบประมาณขาดดุลสูง หลังจากที่พยายามต่อสู้ความถดถอย และหลังจากนั้นควรสร้างความสมดุลให้แก่เศรษฐกิจเอเชีย โดยหันมาพึ่งพาอุปสงค์ในประเทศแทนการส่งออกน้อยลง
ปล่อยกู้อภิมหาโครงการรัฐ
สำหรับความช่วยเหลือของเอดีบีในการสนับสนุนเงินกู้ให้แก่รัฐบาลไทยนั้น ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนประจำประเทศไทย เอดีบี กล่าวว่า ในปีนี้นอกเหนือจากการให้เงินกู้ร่วมกันของเอดีบี ไจก้า และธนาคารโลกที่ให้แก่รัฐบาลไทยจำนวน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเงินดังกล่าวได้ผ่านงบประมาณและรัฐบาลได้ไปจัดสรรผ่านโครงการสาธารณูปโภคต่างๆไปแล้ว และขณะนี้เอดีบีกำลังอยู่ระหว่างพูดคุยกับรัฐบาลไทยถึงเงินกู้เพิ่มเติมอีก 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ในระยะเวลา 15-18 ปี ซึ่งจะนำเงินนี้ไปลงทุนโดยตรงกับโครงการสาธารณูปโภคในการสร้างทางหลวงสู่ต่างจังหวัด อีกทั้งกำลังหารือแผนเงินกู้ในปี 2553 อีก 500 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินและระบบรางด้วย
หลายประเทศเอเชียเข้าสู่ถดถอย
สำหรับการเติบโตเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคเอเชียค่อนข้างต่ำในปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวประมาณ 3.4%จากปกติที่โตประมาณ 7-8% และคาดว่าปี 53 เศรษฐกิจเอเชียฟื้นตัวบ้าง แต่ก็ยังคงต่ำกว่าระดับปกติอยู่ โดยในปีนี้เศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตได้ดีถึง 7% ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียเข้าสู่ภาวะถดถอย “การขยายตัวของภาคส่งออกในทุกประเทศทั่วโลกลดลง แต่การนำเข้าลดลงมากกว่า จึงคาดว่าปีนี้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล ทำให้การว่างงานเพิ่มสูงขึ้น โดยหากจีดีพีลง 1% ส่งผลให้มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 4 แสนคน ทำให้กำลังการบริโภคลดลงเห็นได้จากการค้าปลีกในเอเชียหดตัว ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจในเอเชียกำลังหดตัวลง”