จากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 มกราคม ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไว้ 5 มาตรการ แต่ด้วยสภาวะการเงินการคลังของประเทศ และเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอย ทำให้รัฐบาลต้องพิจารณากู้เงินระหว่างประเทศ และด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ให้ต้องเสนอต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบก่อนดำเนินการส่งให้สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเรียกประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบการเจรจากู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยและญี่ปุ่น รวมถึงกรอบการเจรจาการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-ลาว และกรอบเจรจาว่าด้วยการประชุมอาเซียน ที่จะมีขึ้นในช่วงกลางเดือนเมษายนนี้
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล เชื่อมั่นว่าจะได้รับความร่วมมือจากสมาชิกรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบตามกรอบที่รัฐบาลเสนอ เนื่องจากกรอบการเจรจามีหลักการและเหตุผลในการดำเนินการอย่างชัดเจน แม้ก่อนหน้านี้ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะออกมาท้วงติงนโยบายการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล
สำหรับกรอบการเจรจากู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลให้เหตุผลว่า ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกัน การแก้ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวเพราะสถานการณ์วิกฤตในประเทศ ส่งผลให้ภาพรวมของเศรษฐกิจหดตัวและรุนแรงถึงร้อยละ 4.3 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 และติดลบครั้งแรกในรอบ 10 ปี ดังนั้น เพื่อแก้ไขและบรรเทาผลกระทบรัฐบาลจึงกำหนดมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยครอบคลุมทุกด้าน ด้วยการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 2552 แต่ยังไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อสนับสนุนนโยบายภายใต้กรอบเงินที่จะขอกู้ประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 70,000 ล้านบาท จากธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น มีระยะเวลาเงินกู้เฉลี่ยประมาณ 7-10 ปี
ส่วนร่างหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยและญี่ปุ่น และร่างสัญญาเงินกู้ มีสาระสำคัญให้กระทรวงการคลังกู้เงินผ่านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น หรือ ไจก้า จำนวน 63,018 ล้านเยน เพื่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต รวมระยะเวลาชำระเงิน 25 ปี นอกจากนั้น เป็นกรอบการเจรจาสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-ลาว รวมถึงกรอบการเจรจาอาเซียนในวาระต่างๆ ที่จะนำไปประกอบการประชุมอาเซียนในช่วงกลางเดือนเมษายนนี้
การพิจารณากรอบเจรจาเงินกู้และสัญญาเงินกู้ไทย-ญี่ปุ่น รัฐบาลได้เสนอเป็นวาระเร่งด่วนที่จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อนสิ้นเดือนมีนาคมนี้ เนื่องจากทางการญี่ปุ่นจะสิ้นสุดปีงบประมาณในช่วงเดือนมีนาคมนี้เช่นกัน ซึ่งหากไม่ทันต่อช่วงเวลาการนำเสนอ อาจจะส่งต่อความล่าช้าในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยได้
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล เชื่อมั่นว่าจะได้รับความร่วมมือจากสมาชิกรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบตามกรอบที่รัฐบาลเสนอ เนื่องจากกรอบการเจรจามีหลักการและเหตุผลในการดำเนินการอย่างชัดเจน แม้ก่อนหน้านี้ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะออกมาท้วงติงนโยบายการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล
สำหรับกรอบการเจรจากู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลให้เหตุผลว่า ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกัน การแก้ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวเพราะสถานการณ์วิกฤตในประเทศ ส่งผลให้ภาพรวมของเศรษฐกิจหดตัวและรุนแรงถึงร้อยละ 4.3 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 และติดลบครั้งแรกในรอบ 10 ปี ดังนั้น เพื่อแก้ไขและบรรเทาผลกระทบรัฐบาลจึงกำหนดมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยครอบคลุมทุกด้าน ด้วยการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 2552 แต่ยังไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อสนับสนุนนโยบายภายใต้กรอบเงินที่จะขอกู้ประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 70,000 ล้านบาท จากธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น มีระยะเวลาเงินกู้เฉลี่ยประมาณ 7-10 ปี
ส่วนร่างหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยและญี่ปุ่น และร่างสัญญาเงินกู้ มีสาระสำคัญให้กระทรวงการคลังกู้เงินผ่านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น หรือ ไจก้า จำนวน 63,018 ล้านเยน เพื่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต รวมระยะเวลาชำระเงิน 25 ปี นอกจากนั้น เป็นกรอบการเจรจาสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-ลาว รวมถึงกรอบการเจรจาอาเซียนในวาระต่างๆ ที่จะนำไปประกอบการประชุมอาเซียนในช่วงกลางเดือนเมษายนนี้
การพิจารณากรอบเจรจาเงินกู้และสัญญาเงินกู้ไทย-ญี่ปุ่น รัฐบาลได้เสนอเป็นวาระเร่งด่วนที่จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อนสิ้นเดือนมีนาคมนี้ เนื่องจากทางการญี่ปุ่นจะสิ้นสุดปีงบประมาณในช่วงเดือนมีนาคมนี้เช่นกัน ซึ่งหากไม่ทันต่อช่วงเวลาการนำเสนอ อาจจะส่งต่อความล่าช้าในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยได้