เมื่อมีคนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากภายใต้ระบอบการปกครองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการปกครองในระบอบเผด็จการ หรือระบอบประชาธิปไตย สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องมีเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของผู้คนในสังคม นอกเหนือจากขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และศาสนาแล้ว ก็คือ กฎหมาย
ทำไมต้องมีกฎหมาย ในเมื่อมีระเบียบสังคม เป็นต้นว่า ขนบธรรมเนียม และศาสนาอยู่แล้ว
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นประเด็นแห่งปัญหาดังกล่าวข้างต้นถูกต้องและเป็นไปในทางเดียวกัน ผู้เขียนใคร่ขออธิบายและขยายความเกี่ยวกับประเด็นนี้พอเป็นสังเขปดังต่อไปนี้
ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม รวมไปถึงคำสอนทางศาสนา เมื่อมีผู้กระทำผิด และถ้าผู้กระทำผิดไม่สำนึกในความผิด ก็ไม่มีใดๆ ที่จะทำให้ความผิดที่ว่านี้ได้รับการแก้ไข ในทางตรงกันข้าม ผู้กระทำผิดก็ยังดื้อด้านกระทำอย่างเดิมต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น จะมีผลบ้างก็เพียงทำให้ความน่าเชื่อถือ และความเป็นคนที่ควรค่าแก่การนับถือยกย่องลดลงเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศ หรือแม้กระทั่งผู้ที่มีหน้าที่ในการปกครองชุมชน และผู้นำทางสังคมนั้น จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายเข้ามาเกื้อหนุนให้ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งคำสอนทางศาสนามีผลในทางปฏิบัติมากขึ้น และเป็นรูปธรรมตามที่ผู้คนในสังคมส่วนใหญ่ต้องการให้เป็น ส่วนมีกฎหมายแล้วจะทำให้สังคมดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน เพียงไร ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ
1. เนื้อหาและสาระของกฎหมายครอบคลุมถึงการกระทำของผู้คนในสังคมมากน้อยแค่ไหน
ถ้าครอบคลุมในเรื่องที่สังคมไม่ต้องการให้เกิดขึ้น และมีผลบังคับให้กระทำในส่วนที่สังคมต้องการให้กระทำอย่างทั่วถึง การบังคับใช้กฎหมายก็มีผลทำให้สังคมดีขึ้นได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเนื้อหาสาระของกฎหมายครอบคลุมไม่ทั่วถึง ก็คงไม่ช่วยให้สังคมดีขึ้นได้เท่าใดนัก
2. ศักยภาพของผู้ใช้กฎหมายเริ่มต้นด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไปจนถึงตุลาการ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยการใช้กฎหมายผดุงความยุติธรรมให้แก่ผู้คนในสังคมโดยเสมอภาคกัน
ถ้าผู้มีส่วนโดยตรงในการบังคับใช้กฎหมาย มีความรู้ในเรื่องของกฎหมาย และมีคุณธรรม จริยธรรมกำกับในการใช้ความรู้เพียงพอ ก็จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิผล
ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้ใช้กฎหมายไม่มีความรอบคอบ ทั้งไม่รอบรู้ หรือแม้จะมีความรอบคอบรอบรู้ในเรื่องของกฎหมาย แต่ขาดคุณธรรมกำกับ โอกาสที่ใช้ความรู้ไปในทางที่ผิดเพื่อแลกกับผลประโยชน์อันอาจเกิดขึ้นกับการใช้กฎหมายในทางที่ผิดก็เกิดขึ้นได้ และถ้าเป็นเช่นนี้กฎหมายก็ไม่ช่วยให้เกิดประโยชน์อันใดแก่สังคมโดยรวม
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเรื่องบุคคลที่ดำรงชีวิตในแง่ของชาวโลกทั่วไป แต่การออกกฎหมายเพื่อการบังคับให้เกิดผลในการปกครองจำเป็นต้องมี แม้กระทั่งในโลกของนักบวชในศาสนา ทั้งๆ ที่ถ้ามองในแง่ว่าทุกศาสนามีคำสอนในส่วนของธรรมอันเป็นเครื่องช่วยป้องกันมิให้คนทำชั่วอยู่แล้ว เหตุใดจึงต้องมีคำสอนในส่วนของวินัยอันเปรียบได้กับกฎหมายด้วยเล่า
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ขอยกตัวอย่างวินัยของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา อันเป็นคำสอนที่ว่าด้วยข้อห้าม และข้ออนุญาตซึ่งมีอยู่ 227 ข้อ และมีการกำหนดโทษไว้ 3 ระดับ คือ
1. โทษหนักอันได้แก่ ปาชิก 4 เปรียบได้กับโทษประหารชีวิต เพราะถ้าพระภิกษุรูปใดต้องอาบัติประเภทนี้ จะต้องขาดจากความเป็นพระภิกษุ และห้ามบวชอีกตลอดชีวิต
2. โทษอย่างกลาง อันได้แก่ สังฆาทิเสส 13 ถ้าภิกษุรูปใดต้องอาบัติประเภทนี้จะต้องถูกลงโทษให้อยู่กรรมชั่วระยะหนึ่ง เปรียบได้กับการจำคุก
3. โทษอย่างเบา หรือโทษเล็กน้อย ถ้าภิกษุต้องแล้วเพียงสารภาพแก่ภิกษุด้วยกัน และให้คำมั่นว่าจะไม่กระทำผิดอีกก็ถือว่าพ้นโทษ เปรียบได้กับโทษปรับ
นอกจากบัญญัติวินัยไว้เพื่อเป็นหลักในการปกครองสงฆ์แล้ว พระพุทธเจ้าได้วางหลักในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างภิกษุกับภิกษุไว้ 7 ประการ เรียกว่าวิธีระงับอธิกรณ์ หรือสมถขันธกะ คือ
1. สัมมุขาวินัย คือการแก้ไขหรือการระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยให้คู่กรณีอยู่พร้อมหน้ากัน ทั้งผู้ระงับต้องให้ความเป็นธรรมด้วย
2. สติวินัย คือการระงับด้วยการยกให้เป็นผู้มีสติ
การระงับข้อขัดแย้งด้วยวิธีนี้ จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดเป็นคนดีมีคุณธรรม เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป แต่ถูกกล่าวหาด้วยการกลั่นแกล้งด้วยเลศนัยบางอย่าง
3. อมูฬหวินัย คือการระงับความขัดแย้งด้วยเหตุว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาเป็นคนบ้า กระทำไปในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะอยู่กับตัวอย่างสมบูรณ์เช่นคนปกติ
4. เยภุยยสิกา คือระงับความขัดแย้งโดยการใช้เสียงข้างมาก ในการระงับด้วยวิธีนี้ผู้ที่อยู่ในฐานะดำเนินการระงับจะต้องเข้าใจวิธีการลงคะแนน และต้องแน่ใจว่าผู้ที่เป็นกรรมการชี้ความผิดส่วนใหญ่ไม่มีอคติ 4 คือไม่ลำเอียงเพราะรัก เพราะเกลียด เพราะเขลา เพราะกลัว และเรื่องที่จะทำการระงับในลักษณะที่ว่านี้จะต้องมีเงื่อนไข 10 ประการดังต่อไปนี้
1. เป็นเรื่องเล็กน้อย 2. ไม่ลุกลามไปสู่วัดอื่น 3. ไม่ต้องคิดแล้วคิดเล่า 4. รู้ว่าผู้ว่ากล่าวไม่เป็นธรรมมีมากกว่า 5. รู้ว่าผู้ว่ากล่าวไม่เป็นธรรมอาจมีมากกว่า 6. รู้ว่าสงฆ์จะแตกกัน 7. รู้ว่าสงฆ์แตกกัน 8. ลงคะแนนโดยไม่เป็นธรรม 9. ลงคะแนนพร้อมกันเป็นพวก (ไม่ลงคะแนนทีละคน) 10. มิได้ลงคะแนนตามความเห็นของตน
5. ตัสสปาปิยสิกา คือระงับความขัดแย้งด้วยการลงโทษ
การระงับเรื่องที่เกิดขึ้นด้วยวิธีนี้จะกระทำในกรณีที่จำเลยหรือผู้ถูกฟ้องร้องพูดกลับกลอก ไม่มีความแน่นอน
6. ปฏิญญาตกรณะ คือการระงับด้วยคำสารภาพของผู้ถูกฟ้อง หรือพูดง่ายๆ ก็คือการระงับด้วยการลงโทษผู้ถูกฟ้องร้องตามคำสารภาพ
7. ติณวัตถารกะ คือการระงับด้วยการให้เลิกแล้วต่อกัน แต่การจะระงับด้วยวิธีนี้จะต้องอยู่ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ไม่ใช่ความผิดขั้นร้ายแรง หรือที่เรียกว่าต้องอาบัติหนัก 2. ไม่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์อันเป็นบุคคลที่สามไม่เกี่ยวกับสงฆ์ 3. ผู้ที่เข้ามาเป็นตัวแทนแก้ต่างต้องไม่เห็นแย้งกัน 4. ผู้ที่ถูกกล่าวหารวมถึงคู่กรณีต้องมาอยู่พร้อมหน้ากัน
จะเห็นได้ว่าจาก 7 ข้อที่ว่านี้พอจะเป็นแนวทางในการแก้ไขความขัดแย้งในกรณีของเสื้อเหลือง เสื้อแดง และนักการเมืองกันได้ โดยเฉพาะถ้าจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมควรจะยึดแนวทางข้อที่ 7 คือ ติณวัตถารกะโดยตั้งคำถามทีละประเด็นว่า เรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อดีตนายกฯ ทักษิณอยู่ในข่ายจะเลิกแล้วต่อกันได้หรือไม่ โดยจากเงื่อนไขทีละข้อ เริ่มด้วยความผิดที่ทำเป็นโทษหนักไหม? และเป็นเรื่องระหว่างนักการเมืองกับนักการเมือง หรือเกี่ยวข้องกับคนทั่วไปด้วย และเสื้อแดงอันถือได้ว่าเป็นตัวแทนทักษิณ กับเสื้อเหลืองอันถือได้ว่าเป็นตัวแทนปวงชน ผู้ได้รับความเสียหายมีความเห็นตรงกันหรือไม่
และสุดท้าย ทักษิณจะยอมมาปรากฏตัวต่อศาลเพื่อรับฟังการประนอมความขัดแย้งหรือไม่?
ทำไมต้องมีกฎหมาย ในเมื่อมีระเบียบสังคม เป็นต้นว่า ขนบธรรมเนียม และศาสนาอยู่แล้ว
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นประเด็นแห่งปัญหาดังกล่าวข้างต้นถูกต้องและเป็นไปในทางเดียวกัน ผู้เขียนใคร่ขออธิบายและขยายความเกี่ยวกับประเด็นนี้พอเป็นสังเขปดังต่อไปนี้
ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม รวมไปถึงคำสอนทางศาสนา เมื่อมีผู้กระทำผิด และถ้าผู้กระทำผิดไม่สำนึกในความผิด ก็ไม่มีใดๆ ที่จะทำให้ความผิดที่ว่านี้ได้รับการแก้ไข ในทางตรงกันข้าม ผู้กระทำผิดก็ยังดื้อด้านกระทำอย่างเดิมต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น จะมีผลบ้างก็เพียงทำให้ความน่าเชื่อถือ และความเป็นคนที่ควรค่าแก่การนับถือยกย่องลดลงเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศ หรือแม้กระทั่งผู้ที่มีหน้าที่ในการปกครองชุมชน และผู้นำทางสังคมนั้น จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายเข้ามาเกื้อหนุนให้ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งคำสอนทางศาสนามีผลในทางปฏิบัติมากขึ้น และเป็นรูปธรรมตามที่ผู้คนในสังคมส่วนใหญ่ต้องการให้เป็น ส่วนมีกฎหมายแล้วจะทำให้สังคมดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน เพียงไร ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ
1. เนื้อหาและสาระของกฎหมายครอบคลุมถึงการกระทำของผู้คนในสังคมมากน้อยแค่ไหน
ถ้าครอบคลุมในเรื่องที่สังคมไม่ต้องการให้เกิดขึ้น และมีผลบังคับให้กระทำในส่วนที่สังคมต้องการให้กระทำอย่างทั่วถึง การบังคับใช้กฎหมายก็มีผลทำให้สังคมดีขึ้นได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเนื้อหาสาระของกฎหมายครอบคลุมไม่ทั่วถึง ก็คงไม่ช่วยให้สังคมดีขึ้นได้เท่าใดนัก
2. ศักยภาพของผู้ใช้กฎหมายเริ่มต้นด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไปจนถึงตุลาการ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยการใช้กฎหมายผดุงความยุติธรรมให้แก่ผู้คนในสังคมโดยเสมอภาคกัน
ถ้าผู้มีส่วนโดยตรงในการบังคับใช้กฎหมาย มีความรู้ในเรื่องของกฎหมาย และมีคุณธรรม จริยธรรมกำกับในการใช้ความรู้เพียงพอ ก็จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิผล
ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้ใช้กฎหมายไม่มีความรอบคอบ ทั้งไม่รอบรู้ หรือแม้จะมีความรอบคอบรอบรู้ในเรื่องของกฎหมาย แต่ขาดคุณธรรมกำกับ โอกาสที่ใช้ความรู้ไปในทางที่ผิดเพื่อแลกกับผลประโยชน์อันอาจเกิดขึ้นกับการใช้กฎหมายในทางที่ผิดก็เกิดขึ้นได้ และถ้าเป็นเช่นนี้กฎหมายก็ไม่ช่วยให้เกิดประโยชน์อันใดแก่สังคมโดยรวม
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเรื่องบุคคลที่ดำรงชีวิตในแง่ของชาวโลกทั่วไป แต่การออกกฎหมายเพื่อการบังคับให้เกิดผลในการปกครองจำเป็นต้องมี แม้กระทั่งในโลกของนักบวชในศาสนา ทั้งๆ ที่ถ้ามองในแง่ว่าทุกศาสนามีคำสอนในส่วนของธรรมอันเป็นเครื่องช่วยป้องกันมิให้คนทำชั่วอยู่แล้ว เหตุใดจึงต้องมีคำสอนในส่วนของวินัยอันเปรียบได้กับกฎหมายด้วยเล่า
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ขอยกตัวอย่างวินัยของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา อันเป็นคำสอนที่ว่าด้วยข้อห้าม และข้ออนุญาตซึ่งมีอยู่ 227 ข้อ และมีการกำหนดโทษไว้ 3 ระดับ คือ
1. โทษหนักอันได้แก่ ปาชิก 4 เปรียบได้กับโทษประหารชีวิต เพราะถ้าพระภิกษุรูปใดต้องอาบัติประเภทนี้ จะต้องขาดจากความเป็นพระภิกษุ และห้ามบวชอีกตลอดชีวิต
2. โทษอย่างกลาง อันได้แก่ สังฆาทิเสส 13 ถ้าภิกษุรูปใดต้องอาบัติประเภทนี้จะต้องถูกลงโทษให้อยู่กรรมชั่วระยะหนึ่ง เปรียบได้กับการจำคุก
3. โทษอย่างเบา หรือโทษเล็กน้อย ถ้าภิกษุต้องแล้วเพียงสารภาพแก่ภิกษุด้วยกัน และให้คำมั่นว่าจะไม่กระทำผิดอีกก็ถือว่าพ้นโทษ เปรียบได้กับโทษปรับ
นอกจากบัญญัติวินัยไว้เพื่อเป็นหลักในการปกครองสงฆ์แล้ว พระพุทธเจ้าได้วางหลักในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างภิกษุกับภิกษุไว้ 7 ประการ เรียกว่าวิธีระงับอธิกรณ์ หรือสมถขันธกะ คือ
1. สัมมุขาวินัย คือการแก้ไขหรือการระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยให้คู่กรณีอยู่พร้อมหน้ากัน ทั้งผู้ระงับต้องให้ความเป็นธรรมด้วย
2. สติวินัย คือการระงับด้วยการยกให้เป็นผู้มีสติ
การระงับข้อขัดแย้งด้วยวิธีนี้ จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดเป็นคนดีมีคุณธรรม เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป แต่ถูกกล่าวหาด้วยการกลั่นแกล้งด้วยเลศนัยบางอย่าง
3. อมูฬหวินัย คือการระงับความขัดแย้งด้วยเหตุว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาเป็นคนบ้า กระทำไปในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะอยู่กับตัวอย่างสมบูรณ์เช่นคนปกติ
4. เยภุยยสิกา คือระงับความขัดแย้งโดยการใช้เสียงข้างมาก ในการระงับด้วยวิธีนี้ผู้ที่อยู่ในฐานะดำเนินการระงับจะต้องเข้าใจวิธีการลงคะแนน และต้องแน่ใจว่าผู้ที่เป็นกรรมการชี้ความผิดส่วนใหญ่ไม่มีอคติ 4 คือไม่ลำเอียงเพราะรัก เพราะเกลียด เพราะเขลา เพราะกลัว และเรื่องที่จะทำการระงับในลักษณะที่ว่านี้จะต้องมีเงื่อนไข 10 ประการดังต่อไปนี้
1. เป็นเรื่องเล็กน้อย 2. ไม่ลุกลามไปสู่วัดอื่น 3. ไม่ต้องคิดแล้วคิดเล่า 4. รู้ว่าผู้ว่ากล่าวไม่เป็นธรรมมีมากกว่า 5. รู้ว่าผู้ว่ากล่าวไม่เป็นธรรมอาจมีมากกว่า 6. รู้ว่าสงฆ์จะแตกกัน 7. รู้ว่าสงฆ์แตกกัน 8. ลงคะแนนโดยไม่เป็นธรรม 9. ลงคะแนนพร้อมกันเป็นพวก (ไม่ลงคะแนนทีละคน) 10. มิได้ลงคะแนนตามความเห็นของตน
5. ตัสสปาปิยสิกา คือระงับความขัดแย้งด้วยการลงโทษ
การระงับเรื่องที่เกิดขึ้นด้วยวิธีนี้จะกระทำในกรณีที่จำเลยหรือผู้ถูกฟ้องร้องพูดกลับกลอก ไม่มีความแน่นอน
6. ปฏิญญาตกรณะ คือการระงับด้วยคำสารภาพของผู้ถูกฟ้อง หรือพูดง่ายๆ ก็คือการระงับด้วยการลงโทษผู้ถูกฟ้องร้องตามคำสารภาพ
7. ติณวัตถารกะ คือการระงับด้วยการให้เลิกแล้วต่อกัน แต่การจะระงับด้วยวิธีนี้จะต้องอยู่ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ไม่ใช่ความผิดขั้นร้ายแรง หรือที่เรียกว่าต้องอาบัติหนัก 2. ไม่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์อันเป็นบุคคลที่สามไม่เกี่ยวกับสงฆ์ 3. ผู้ที่เข้ามาเป็นตัวแทนแก้ต่างต้องไม่เห็นแย้งกัน 4. ผู้ที่ถูกกล่าวหารวมถึงคู่กรณีต้องมาอยู่พร้อมหน้ากัน
จะเห็นได้ว่าจาก 7 ข้อที่ว่านี้พอจะเป็นแนวทางในการแก้ไขความขัดแย้งในกรณีของเสื้อเหลือง เสื้อแดง และนักการเมืองกันได้ โดยเฉพาะถ้าจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมควรจะยึดแนวทางข้อที่ 7 คือ ติณวัตถารกะโดยตั้งคำถามทีละประเด็นว่า เรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อดีตนายกฯ ทักษิณอยู่ในข่ายจะเลิกแล้วต่อกันได้หรือไม่ โดยจากเงื่อนไขทีละข้อ เริ่มด้วยความผิดที่ทำเป็นโทษหนักไหม? และเป็นเรื่องระหว่างนักการเมืองกับนักการเมือง หรือเกี่ยวข้องกับคนทั่วไปด้วย และเสื้อแดงอันถือได้ว่าเป็นตัวแทนทักษิณ กับเสื้อเหลืองอันถือได้ว่าเป็นตัวแทนปวงชน ผู้ได้รับความเสียหายมีความเห็นตรงกันหรือไม่
และสุดท้าย ทักษิณจะยอมมาปรากฏตัวต่อศาลเพื่อรับฟังการประนอมความขัดแย้งหรือไม่?