“ไทรอัมพ์” ปรับเกม รุกพื้นที่ยุทธศาสตร์จากเดิมป่าล้อมเมือง บริษัทแม่ยังซัพพอร์ทเต็มที่ไม่หวั่นวิกฤติเหตุระยะสั้น ลั่นปีนี้โต 10% แก้มือปีที่แล้วสะดุดขาตัวเองไม่เติบโต
นายจักร เฉลิมชัย ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายการตลาดและขาย บริษัท ไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดจำหน่ายชุดชั้นในและชุดว่ายน้ำ ไทรอัมพ์ เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ปรับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจใหม่ หลังจากที่ตนได้เข้ามาบริหารไทรอัมพ์เมื่อประมาณ 6 เดือนที่ผ่านมา ทั้งการปรับร้านค้าใหม่ การทำเมอร์ชันไดซิ่งส์ การเปิดบูติคชอป เป็นต้น
อย่างไรก็ตามขณะนี้บริษัทฯแม่ที่เยอรมันยังมีนโยบายสนับสนุนตลาดไทยเต็มที่ยังไม่ตัดงบประมาณ เนื่องจากมองว่าภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นช่วงสั้นเท่านั้น แต่มองระยะยาวยังดี โดยให้เน้นเรื่องการควบคุมสต๊อค การเพิ่มยอดขายต่อตารางเมตรให้มากขึ้น และการควบคุมเรื่องคน
“ปีที่แล้วยอดขายไทรอัมพ์เราไม่เติบโตเลย เพราะเรามีปัญหาสะดุดขาตัวเองเรื่องการผลิตจากโรงงาน แต่ว่าปีนี้ทุกอย่างจะดีขึ้นเพราะลงตัวหมดแล้ว เมื่อมีสินค้าเข้ามาตามเวลาก็จะทำยอดขายได้ แต่ปีนี้มองว่าจะเติบโต 10% จากเดิมโตเฉลี่ย 8-12% ขณะที่ภาพรวมตลาดชุดชั้นในจะเติบโตแค่ 5% เท่านั้น จากตลาดรวม 12,000 ล้านบาท ซึ่งไทรอัมพ์อยู่อันดับที่สอง” นายจักรกล่าว
โดยเฉพาะการเปิดบูติคชอปนั้น เดิมทีไทรอัมพ์ไม่มีสตารทติจี้โลเคชั่น (พื้นที่ยุทธศาสตร์) ทั้งที่เป็นแบรนด์ระดับพรีเมียม แต่ไปเปิดชอปลักษณะป่าล้อมเมือง ทั้งในต่างจังหวัดและชานเมืองและเมืองท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่ไม่มีอยู่ในใจกลางเมืองหรือย่านธุรกิจเท่าใดนัก ซึ่งปีนี้จะลงทุนประมาณ 25 ล้านบาท เปิด 5 แห่ง เน้นใจกลางเมือง และเปิดคอร์เนอร์ในห้างสรรพสินค้าอีก 20 แห่งลงทุนแห่งละ 1.5 ล้านบาท ปัจจุบันมีบูติค 30 กว่าแห่งและคอร์เนอร์ 300 กว่าแห่ง
ด้านการตลาดนั้นจะใช้งบรวม 70 ล้านบาท แบ่งเป็นแบรนด์ไทรอัมพ์ 50 ล้านบาท ทำตลาดเต็มที่เน้นเรื่องอีเวนต์ ไม่เน้นเรื่องราคาเนื่องจากเป็นแบรนด์พรีเมียมซึ่งสามารถกำไรได้สูงสุด 20% ของมาตรฐานอินเตอร์แบรนด์ สวนทางกับคู่แข่งที่เน้นทำตลาดเรื่องราคา
นอกจากนั้นจะออกสินค้าใหม่ในกลุ่มใหม่คือ ECO CHIC ชุดชั้นในไร้สารเคมี เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่าชุดชั้นในเดิม 20-30% แต่บริษัทฯยอมรับภาระเรื่องต้นทุนไว้เพื่อทำตลาด ราคา 850 บาท วางตลาดเดือนหน้า ขณะที่ราคาของไทรอัมพ์เฉลี่ยเดิมอยู่ที่ 800-1,500 บาท ซึ่งจับกลุ่มระดับบีบวกกว่า 70% ส่วนกลุ่มซีประมาณ 30% โดยเฉลี่ยจะมีคอลเลกชันใหม่ทุกเดือน
สำหรับสินค้ากลุ่มชุดชั้นในไทรอัมพ์มีหลายแบรนด์มีสัดส่วนรายได้กว่า 85-90% จากรายได้รวม ที่เหลือเป็นชุดว่ายน้ำ 10-15% โดยชุดชั้นในมี5 กลุ่มสินค้าหลักคือ 1. กลุ่มแม็กซิไมเออร์ สัดส่วนรายได้ 40% กลุ่มมิสไทรอัมพ์ กลุ่มไทรแอคชั่น และกลุ่มฟอร์แอนด์บิวตี้
“พฤติกรรมผู้หญิงไทยตอนนี้ซื้อชุดชั้นในเฉลี่ยปีละ2ครั้งเท่านั้นเอง แต่ปริมาณซื้อต่อครั้งเฉลี่ย 6 ตัว ซึ่งมองว่าตลาดชุดชั้นในไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก” นายจักรกล่าว
นายจักร เฉลิมชัย ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายการตลาดและขาย บริษัท ไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดจำหน่ายชุดชั้นในและชุดว่ายน้ำ ไทรอัมพ์ เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ปรับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจใหม่ หลังจากที่ตนได้เข้ามาบริหารไทรอัมพ์เมื่อประมาณ 6 เดือนที่ผ่านมา ทั้งการปรับร้านค้าใหม่ การทำเมอร์ชันไดซิ่งส์ การเปิดบูติคชอป เป็นต้น
อย่างไรก็ตามขณะนี้บริษัทฯแม่ที่เยอรมันยังมีนโยบายสนับสนุนตลาดไทยเต็มที่ยังไม่ตัดงบประมาณ เนื่องจากมองว่าภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นช่วงสั้นเท่านั้น แต่มองระยะยาวยังดี โดยให้เน้นเรื่องการควบคุมสต๊อค การเพิ่มยอดขายต่อตารางเมตรให้มากขึ้น และการควบคุมเรื่องคน
“ปีที่แล้วยอดขายไทรอัมพ์เราไม่เติบโตเลย เพราะเรามีปัญหาสะดุดขาตัวเองเรื่องการผลิตจากโรงงาน แต่ว่าปีนี้ทุกอย่างจะดีขึ้นเพราะลงตัวหมดแล้ว เมื่อมีสินค้าเข้ามาตามเวลาก็จะทำยอดขายได้ แต่ปีนี้มองว่าจะเติบโต 10% จากเดิมโตเฉลี่ย 8-12% ขณะที่ภาพรวมตลาดชุดชั้นในจะเติบโตแค่ 5% เท่านั้น จากตลาดรวม 12,000 ล้านบาท ซึ่งไทรอัมพ์อยู่อันดับที่สอง” นายจักรกล่าว
โดยเฉพาะการเปิดบูติคชอปนั้น เดิมทีไทรอัมพ์ไม่มีสตารทติจี้โลเคชั่น (พื้นที่ยุทธศาสตร์) ทั้งที่เป็นแบรนด์ระดับพรีเมียม แต่ไปเปิดชอปลักษณะป่าล้อมเมือง ทั้งในต่างจังหวัดและชานเมืองและเมืองท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่ไม่มีอยู่ในใจกลางเมืองหรือย่านธุรกิจเท่าใดนัก ซึ่งปีนี้จะลงทุนประมาณ 25 ล้านบาท เปิด 5 แห่ง เน้นใจกลางเมือง และเปิดคอร์เนอร์ในห้างสรรพสินค้าอีก 20 แห่งลงทุนแห่งละ 1.5 ล้านบาท ปัจจุบันมีบูติค 30 กว่าแห่งและคอร์เนอร์ 300 กว่าแห่ง
ด้านการตลาดนั้นจะใช้งบรวม 70 ล้านบาท แบ่งเป็นแบรนด์ไทรอัมพ์ 50 ล้านบาท ทำตลาดเต็มที่เน้นเรื่องอีเวนต์ ไม่เน้นเรื่องราคาเนื่องจากเป็นแบรนด์พรีเมียมซึ่งสามารถกำไรได้สูงสุด 20% ของมาตรฐานอินเตอร์แบรนด์ สวนทางกับคู่แข่งที่เน้นทำตลาดเรื่องราคา
นอกจากนั้นจะออกสินค้าใหม่ในกลุ่มใหม่คือ ECO CHIC ชุดชั้นในไร้สารเคมี เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่าชุดชั้นในเดิม 20-30% แต่บริษัทฯยอมรับภาระเรื่องต้นทุนไว้เพื่อทำตลาด ราคา 850 บาท วางตลาดเดือนหน้า ขณะที่ราคาของไทรอัมพ์เฉลี่ยเดิมอยู่ที่ 800-1,500 บาท ซึ่งจับกลุ่มระดับบีบวกกว่า 70% ส่วนกลุ่มซีประมาณ 30% โดยเฉลี่ยจะมีคอลเลกชันใหม่ทุกเดือน
สำหรับสินค้ากลุ่มชุดชั้นในไทรอัมพ์มีหลายแบรนด์มีสัดส่วนรายได้กว่า 85-90% จากรายได้รวม ที่เหลือเป็นชุดว่ายน้ำ 10-15% โดยชุดชั้นในมี5 กลุ่มสินค้าหลักคือ 1. กลุ่มแม็กซิไมเออร์ สัดส่วนรายได้ 40% กลุ่มมิสไทรอัมพ์ กลุ่มไทรแอคชั่น และกลุ่มฟอร์แอนด์บิวตี้
“พฤติกรรมผู้หญิงไทยตอนนี้ซื้อชุดชั้นในเฉลี่ยปีละ2ครั้งเท่านั้นเอง แต่ปริมาณซื้อต่อครั้งเฉลี่ย 6 ตัว ซึ่งมองว่าตลาดชุดชั้นในไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก” นายจักรกล่าว