ASTVผู้จัดการรายวัน – กำลังซื้อหวนคืน ครึ่งปีหลังสัญญาณบวก “โรบินสัน” มั่นใจทั้งปีรายได้โต 5% แตะ 13,000 ล้านบาท ชี้ผู้หญิงชอบให้รางวัลกับตัวเอง ล่าสุดระเบิดแคมเปญ “มาย รองเจอเรย์” ปลุกกระแส ได้เวลาเปลี่ยนบรา คาดกวาดยอดขายได้อีก 55ล้านบาทหลังจบแคมเปญ ส่งชุดชั้นในโตอีก 13-14% ในปีนี้
นางสาวสิรินิจ โชคชัยฤทธิกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา พบว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มกลับคืนมา สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ทั้งนี้ยังมองว่า หากสถานการณ์เมืองจะไม่นิ่งในช่วงนั้น ก็ไม่น่าจะส่งผลต่อกำลังซื้อและรายได้ที่จะเข้ามา เพราะส่วนใหญ่ลูกค้าโรบินสันจะเป็นกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด และกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ก็ไม่ได้มีความกังวลหรือได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองมากนัก ดูจากรายได้ที่ผ่านมา ยอดซื้อในต่างจังหวัดยังดีต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามโดยในช่วงไตรมาสสี่ ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซันของการขาย ทางโรบินสัน ยังมีแคมเปญใหญ่ที่จะจัดอีกราว4แคมเปญ คือ ฮาร์ดเซลล์ 3 ครั้ง และแคมเปญช่วงคริสมาร์ตอีก 1 ครั้ง ซึ่งเฉพาะแคมเปญที่จะจัดในช่วงนี้ ปกติจะใช้งบการตลาดถึง 40% ของงบการตลาดรวมทั้งปี โดยในปีนี้ใช้ทั้งปีที่ 260 ล้านบาท มั่นใจว่าภาพรวมรายได้ของบริษัทจะยังเติบโตตามแผนที่วางไว้ ประมาณ 5% คิดเป็นมูลค่าที่ 13,000-14,000ล้านบาท
นางสาวสิรินิจ กล่าวต่อว่า จากที่สภาพเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี แต่ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา พบว่า สินค้าแผนกชุดชั้นใน ยังมียอดขายเติบโตได้ดีอยู่ ไม่ต่ำกว่า 13-14% ส่วนหนึ่งมองว่าผู้หญิงให้ความสำคัญกับเรื่องชุดชั้นในค่อนข้างสูง ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร แต่การซื้อชุดชั้นในให้ตัวเองยังต้องมีอยู่ต่อเนื่อง บวกกับปัจจุบันแฟชั่นชุดชั้นใน
และการแตกเซกเม้นท์ย่อยของชุดชั้นในมากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานต่างๆ ถือเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ ที่ทำให้ผู้หญิงมีความถี่ในการซื้อชุดชั้นในสูงขึ้น จากปกติอยู่ที่ 3 เดือนต่อครั้ง มาเป็น 2 เดือนต่อครั้งแทน
กิโลกรัม ้ำหนักน้อยกว่าร่นดม 40หลักเดียว จากเดมที่มากเท่าในดัก เนื่องจกาปัญหาสภาพเศรษบกิจที่ไม่ดี อย่างไรก็ตามคขณะเดียวกันพฤติกรรมในการซื้อ ยังนิยมซื้อเป็นเซท อย่างน้อย 2 ชุด หรือมีค่าใช้จ่ายต่อครั้ง เฉลี่ยที่ 1,000 บาท
โดยปัจจุบันแผนกชุดชั้นใน มีสัดส่วนยอดขายที่ 10% ของรายได้รวมทั้งหมด ซึ่งมีสินค้าจำหน่ายกว่า 60 แบรนด์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ บรากลุ่มวัยรุ่น 35%, บรากลุ่มวัยสาว 35% และบรากลุ่มผู้ใหญ่ 30% โดยกลุ่มที่สร้างยอดขายยอดขายดีสุดคือ กลุ่มวัยรุ่นและวัยสาว ซึ่งในช่วงไตรมาสสี่ เชื่อว่ายอดขายชุดชั้นในจะดีขึ้นอีก ส่วนหนึ่งมาจากสัญญาณบวกทางเศรษฐกิจและอีกส่วนมาจากส่วนของผู้ประกอบการและซัพพลายเออร์ ที่เริ่มผลิตออเดอร์และสินค้าคอลเล็กชั่นใหม่ เพื่อรองรับไฮซีซันที่จะถึงนี้ด้วย
ทั้งปีมองว่าแผนกชุดชั้นในจะมียอดขายเติบโตที่ 13-14% ขณะที่ภาพรวมตลาดชุดชั้นใน เฉพาะช่องทางในห้างสรรพสินค้าทั้งหมด ปีนี้คาดว่าจะเติบโตประมาณ 10%
ล่าสุดได้เปิดตัวแคมเปญ My Lingerie (มาย รองเจอเรย์) ภายใต้งบการตลาด 3 ล้านบาท จากการตลาดรวมที่ใช้ในส่วนชุดชั้นในทั้งปีที่ 15 ล้านบาท เพื่อปลุกกระแสให้ผู้หญิงหันมาใส่ใจดูแลสเน่ห์จากภายใน ภายใต้แนวคิด “Time to Change” ได้เวลาเปลี่ยน (บรา)ตัวใหม่ ตั้งแต่วันที่ 5-15 ก.ย.นี้ คาดว่าจะมียอดขายระหว่างแคมเปญนี้ราว 55 ล้านบาท
นางสาวสิรินิจ โชคชัยฤทธิกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา พบว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มกลับคืนมา สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ทั้งนี้ยังมองว่า หากสถานการณ์เมืองจะไม่นิ่งในช่วงนั้น ก็ไม่น่าจะส่งผลต่อกำลังซื้อและรายได้ที่จะเข้ามา เพราะส่วนใหญ่ลูกค้าโรบินสันจะเป็นกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด และกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ก็ไม่ได้มีความกังวลหรือได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองมากนัก ดูจากรายได้ที่ผ่านมา ยอดซื้อในต่างจังหวัดยังดีต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามโดยในช่วงไตรมาสสี่ ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซันของการขาย ทางโรบินสัน ยังมีแคมเปญใหญ่ที่จะจัดอีกราว4แคมเปญ คือ ฮาร์ดเซลล์ 3 ครั้ง และแคมเปญช่วงคริสมาร์ตอีก 1 ครั้ง ซึ่งเฉพาะแคมเปญที่จะจัดในช่วงนี้ ปกติจะใช้งบการตลาดถึง 40% ของงบการตลาดรวมทั้งปี โดยในปีนี้ใช้ทั้งปีที่ 260 ล้านบาท มั่นใจว่าภาพรวมรายได้ของบริษัทจะยังเติบโตตามแผนที่วางไว้ ประมาณ 5% คิดเป็นมูลค่าที่ 13,000-14,000ล้านบาท
นางสาวสิรินิจ กล่าวต่อว่า จากที่สภาพเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี แต่ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา พบว่า สินค้าแผนกชุดชั้นใน ยังมียอดขายเติบโตได้ดีอยู่ ไม่ต่ำกว่า 13-14% ส่วนหนึ่งมองว่าผู้หญิงให้ความสำคัญกับเรื่องชุดชั้นในค่อนข้างสูง ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร แต่การซื้อชุดชั้นในให้ตัวเองยังต้องมีอยู่ต่อเนื่อง บวกกับปัจจุบันแฟชั่นชุดชั้นใน
และการแตกเซกเม้นท์ย่อยของชุดชั้นในมากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานต่างๆ ถือเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ ที่ทำให้ผู้หญิงมีความถี่ในการซื้อชุดชั้นในสูงขึ้น จากปกติอยู่ที่ 3 เดือนต่อครั้ง มาเป็น 2 เดือนต่อครั้งแทน
กิโลกรัม ้ำหนักน้อยกว่าร่นดม 40หลักเดียว จากเดมที่มากเท่าในดัก เนื่องจกาปัญหาสภาพเศรษบกิจที่ไม่ดี อย่างไรก็ตามคขณะเดียวกันพฤติกรรมในการซื้อ ยังนิยมซื้อเป็นเซท อย่างน้อย 2 ชุด หรือมีค่าใช้จ่ายต่อครั้ง เฉลี่ยที่ 1,000 บาท
โดยปัจจุบันแผนกชุดชั้นใน มีสัดส่วนยอดขายที่ 10% ของรายได้รวมทั้งหมด ซึ่งมีสินค้าจำหน่ายกว่า 60 แบรนด์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ บรากลุ่มวัยรุ่น 35%, บรากลุ่มวัยสาว 35% และบรากลุ่มผู้ใหญ่ 30% โดยกลุ่มที่สร้างยอดขายยอดขายดีสุดคือ กลุ่มวัยรุ่นและวัยสาว ซึ่งในช่วงไตรมาสสี่ เชื่อว่ายอดขายชุดชั้นในจะดีขึ้นอีก ส่วนหนึ่งมาจากสัญญาณบวกทางเศรษฐกิจและอีกส่วนมาจากส่วนของผู้ประกอบการและซัพพลายเออร์ ที่เริ่มผลิตออเดอร์และสินค้าคอลเล็กชั่นใหม่ เพื่อรองรับไฮซีซันที่จะถึงนี้ด้วย
ทั้งปีมองว่าแผนกชุดชั้นในจะมียอดขายเติบโตที่ 13-14% ขณะที่ภาพรวมตลาดชุดชั้นใน เฉพาะช่องทางในห้างสรรพสินค้าทั้งหมด ปีนี้คาดว่าจะเติบโตประมาณ 10%
ล่าสุดได้เปิดตัวแคมเปญ My Lingerie (มาย รองเจอเรย์) ภายใต้งบการตลาด 3 ล้านบาท จากการตลาดรวมที่ใช้ในส่วนชุดชั้นในทั้งปีที่ 15 ล้านบาท เพื่อปลุกกระแสให้ผู้หญิงหันมาใส่ใจดูแลสเน่ห์จากภายใน ภายใต้แนวคิด “Time to Change” ได้เวลาเปลี่ยน (บรา)ตัวใหม่ ตั้งแต่วันที่ 5-15 ก.ย.นี้ คาดว่าจะมียอดขายระหว่างแคมเปญนี้ราว 55 ล้านบาท